วิจัยเล่มจริง64 Flipbook PDF


79 downloads 120 Views 5MB Size

Recommend Stories


64
k ˜ OFICINA ESPANOLA DE PATENTES Y MARCAS 19 k kInt. Cl. : B29C 49/64 11 N´ umero de publicaci´on: 6 51 ˜ ESPANA k 2 124 355 B29C 49/42 TRAD

64 BITS)
MINIPRINTER TERMICA ENTEC TM-188/T (PRP-188) DRIVERS PARA WINDOWS 10 (32/64 BITS) - REFERENCIA Nota: La miniprinter deberá conectarse en modo APAGAD

Story Transcript

รายงานการประเมินโครงการ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564

นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร รองผู้อานวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม

โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ



ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ชื่อผู้จัดทำ

นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม

บทคัดย่อ การประเมินครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 โดยใช้ แบบจำลองซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิ ต (Product Evaluation)ของโครงการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม จำนวน 12 คน ครูโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม จำนวน 74 คน ผู้ปกครองนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 306 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 306 คน โดยกำหนดตัวอย่าง ตามตารางเครจซี่มอร์แกน(Krejcie and Morgan. 1970: 607-610) จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่ง ชั้น ชนิดสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ซึ่ง ใช้ระดับชั้นของผู้ ปกครองนักเรียนเป็นชั้ น ภู มิ จากนั้นกำหนดผู้ให้ข้อมูล โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบประเมิน ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต(Product Evaluation) โดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการประเมิน พบว่า 1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิ ทั ศ น์ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ มเพื ่ อ สนั บ สนุ น การเรี ย นรู ้ ข องนั ก เรี ย น โรงเรี ย นสุ ว รรณารามวิ ท ยาคม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ ด้านความ สอดคล้ อ งกั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องโครงการ และด้ า นความสอดคล้ อ งกั บ นโยบายของหน่ ว ยงาน ตามความคิดของผู้บริหารและครู โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนา ภูมิทัศน์แ ละสิ่ง แวดล้ อมเพื ่อ สนั บ สนุน การเรียนรู้ ของนัก เรี ยน โรงเรียนสุวรรณารามวิ ท ยาคม

ข ปี ก ารศึ ก ษา 2564 จำนวน 4 ด้ า น ได้ แ ก่ ด้ า นบุ ค ลากร ด้ า นงบประมาณ ด้ า นวั ส ดุ อ ุ ป กรณ์ และสถานที่ และด้านการบริหารจัดการ ตามความคิดของผู้บริหารและครู โดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนา ภูมิทัศน์แ ละสิ่ง แวดล้ อมเพื่ อ สนั บ สนุนการเรี ยนรู้ ของนัก เรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิ ท ยาคม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 4 ด้านได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการตรวจสอบ และติดตาม และด้านการปรับปรุง ตามความคิดของผู้บริหารและครู โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก 4. ผลการประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทศั น์ และสิ ่ ง แวดล้ อ มเพื ่ อ สนั บ สนุ น การเรี ย นรู ้ ข องนั ก เรี ย น โรงเรี ย นสุ ว รรณารามวิ ท ยาคม ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ดังนี้ 4.1 การประเมิ น ด้ า นผลผลิ ต (Product Evaluation) ของโครงการพั ฒ นา ภูมิทัศน์แ ละสิ่ง แวดล้ อมเพื ่อ สนั บ สนุน การเรียนรู้ ของนัก เรี ยน โรงเรียนสุวรรณารามวิ ท ยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4.2 การประเมิ น ด้ า นผลผลิ ต (Product Evaluation) ของโครงการพั ฒ นา ภูมิทัศน์แ ละสิ่ง แวดล้ อมเพื่อ สนั บ สนุนการเรียนรู้ ของนัก เรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิ ท ยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดของครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก 4.3 การประเมิ น ด้ า นผลผลิ ต (Product Evaluation) ของโครงการพั ฒ นา ภูมิทัศน์แ ละสิ่ง แวดล้ อมเพื่อ สนั บ สนุนการเรียนรู้ ของนัก เรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิ ท ยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4.4 การประเมิ น ด้ า นผลผลิ ต (Product Evaluation) ของโครงการพั ฒ นา ภูมิทัศน์ แ ละสิ่ง แวดล้ อมเพื่อ สนั บ สนุนการเรียนรู้ ของนัก เรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิ ท ยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็น ของผู้ปกครองโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4.5 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ ่ ง แวดล้ อ มเพื ่ อ สนั บ สนุ น การเรี ย นรู ้ ข องนั ก เรี ย น โรงเรี ย นสุ ว รรณารามวิ ท ยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็น ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด



ประกาศคุณูปการ รายงานการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ได้รับความอนุเคราะห์ คำแนะนำอย่างดียิ่งจาก นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ที่ให้การเสนอแนะรูปแบบขั้นตอนการจัดทำ รายงาน การประเมิน ตลอดจนตรวจแบบประเมินโครงการ จึงทำให้รายงานฉบับนี้สำเร็จเรียบร้อย ผู้ประเมิน ขอขอบพระคุณท่านไว้ ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ นายไสว บรรณาลัย อดีตท่านผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ผู้มีพระคุณที่ให้ โอกาสสนับสนุนและเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารสถานศึกษา ขอขอบพระคุณ นายประจวบ อินทรโชติ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทวีธาภิเศก นายราเมศ มุสิกานนท์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย นางลัดดา เจียมจูไร ผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ นายเทพพร อาจเวทย์ ผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ นางพิมลมาศ พัดสมร ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษโรงเรียนอุบลรัต นราชกัญญาราชวิทยาลัย ที่กรุณาช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือและเค้าโครงรายงานการประเมิน โครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปี การศึกษา 2564 ขอขอบคุณรองผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้ หัวหน้างาน ครู ผู้ปกครองและนักเรียน ที่ให้ข้อมูลตามสภาพจริงในการทำแบบประเมินของโครงการ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้วยดีเสมอมา คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากรายงานการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ฉบับนี้ ผู้ประเมินขอมอบ เป็นกตัญญูกตเวทิตาแด่บิดา - มารดา บูรพาจารย์ตลอดจนผู้มีพระคุณทุกท่าน

นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม



คำนิยม นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ได้ จัดทำโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณา รามวิ ท ยาคม ปี ก ารศึ ก ษา 2564 ได้ ป ระสบผลสำเร็ จ ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ เกิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิทธิผลต่อครู บุคลากร และนักเรียน เป็นที่ประจักษ์และเป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่น ๆ ได้ดี ขอชื่นชมยินดีที่ นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มี ความมุ่งมั่นในการดำเนินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ให้ประสบความสำเร็จด้วยความขยัน ตั้ง ใจจริงใน การทำงาน ขอให้ประสบความเจริญ รุ่งเรือง ในหน้าที่การงานตลอดไป

ลงชื่อ (นายสุริยนั ต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม



สารบัญ หน้า ก ค ง จ ญ ฏ 1 1 3 3 5 6 7 8 9 9 10 13 18 26 26 27 29 30 41 41

บทคัดย่อ ........................................................................................................................................ ประกาศคุณูปการ .......................................................................................................................... คำนิยาม ......................................................................................................................................... สารบัญ ........................................................................................................................................... สารบัญตาราง ................................................................................................................................. สารบัญภาพ ................................................................................................................................... บทที่ 1 บทนำ ................................................................................................................................ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา .......................................................................... 2. วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ......................................................................... 3. ขอบเขตของการประเมินโครงการ ................................................................................ 4. กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการ ........................................................................... 5. นิยามศัพท์เฉพาะ .......................................................................................................... 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ........................................................................................... บบทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .......................................................................................... ตอนที่ 1 ทฤษฎีแนวคิดในการประเมินโครงการ ................................................................. 1.1 ความหมายของการประเมินโครงการ ........................................................... 1.2 ความสำคัญของการประเมินโครงการ .......................................................... 1.3 ประเภทของการประเมินโครงการ ............................................................... 1.4 รูปแบบของการประเมินโครงการ ................................................................. ตอนที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ............................................ 2.1 ความหมายของภูมิทัศน์ ............................................................................... 2.2 ความหมายของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ......................................................... 2.3 ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ........................................................ 2.4 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ............................................ ตอนที่ 3 บริบทโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม .................................................................... 3.1 ประวัติโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม .......................................................... 3.2 โครงการโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมปีการศึกษา 2564 ........................................ 42



สารบัญ (ต่อ) ตอนที่ 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ............................................................................... 4.1 งานวิจัยในประเทศ .......................................................................... 4.2 งานวิจัยต่างประเทศ ....................................................................... บทที่ 3 วิธีดำเนินการประเมินโครงการ ................................................................................. 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ................................................................................ 2. วิธีการประเมินโครงการ ..................................................................................... 3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน .............................................................................. 4. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือประเมิน ........................................... 5. รูปแบบที่ใช้ในการประเมินโครงการ .................................................................. 6. การเก็บรวบรวมข้อมูล ....................................................................................... 7. การวิเคราะห์ข้อมูล ............................................................................................ 8. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล .......................................................................... บทที่ 4 ผลการประเมินโครงการ ........................................................................................... 1. การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล .................................................................... 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ........................................................................................ บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ...................................................................... 1. จุดมุ่งหมายของการประเมิน ................................................................................. 2. ขอบเขตของการประเมิน ..................................................................................... 3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ................................................................................ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล ......................................................................................... 5. การวิเคราะห์ข้อมูล .............................................................................................. 6. สรุปผลวิเคราะห์ข้อมูล ......................................................................................... 7. อภิปรายผล ........................................................................................................... 8. ข้อเสนอแนะ ........................................................................................................

หน้า 46 46 60 63 63 66 66 67 74 80 80 82 83 83 83 103 103 103 105 106 107 107 111 115



สารบัญ (ต่อ) หน้า บรรณานุกรม ............................................................................................................................. ภาคผนวก ................................................................................................................................. ภาคผนวก ก ....................................................................................................................... - รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือแบบสอบถามประเมินโครงการ ................ - หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือแบบสอบถามประเมินโครงการ ......... ภาคผนวก ข ....................................................................................................................... - แบบตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาเครื่องมือวิจัย (IOC) เรื่อง การประเมิน โครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ................................................ - แบบตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาเครื่องมือวิจัย (IOC) เรื่อง การประเมิน โครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 สำหรับผู้เชีย่ วชาญประเมิน 5 ท่าน ...................................................................................................................... - แบบสรุปความเที่ยงตรงของเนื้อหาเครื่องมือวิจัย (IOC) เรื่อง การประเมิน โครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ................................................ - แบบสอบถามเพื่อประเมิน เรื่องการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ................................................................................................ ภาคผนวก ค ...................................................................................................................... คุณภาพเครื่องมือ ........................................................................................................ - แบบสรุปค่าอำนาจจำแนก (r) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิท ยาคม ปีการศึกษา 2564 ....................................................................................................................

116 121 122 123 124 129

130

137

164

170 180 180

181



สารบัญ (ต่อ) หน้า - ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ข อ ง ค ร อ น บ า ค (Cronbach โ ด ย ก า ร ป ร ะ เมิ น แบบสอบถามด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนา ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณา รามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน - ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ข อ ง ค ร อ น บ า ค (Cronbach โ ด ย ก า ร ป ร ะ เมิ น แบบสอบถามด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิ ทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ........ - ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แ อลฟา (Alpha Coefficient) ข อ ง ค ร อ น บ า ค (Cronbach โ ด ย ก า ร ป ร ะ เมิ น แบบสอบถามด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิ ทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ........ - ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่ อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ข อ ง ค ร อ น บ า ค (Cronbach โ ด ย ก า ร ป ร ะ เมิ น แบบสอบถามด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่ง แวดล้ อมเพื่ อ สนั บ สนุ น การเรีย นรู้ ข องนั ก เรีย นโรงเรี ยนสุ ว รรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ........ ภาคผนวก ง ........................................................................................................................ - โครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ................................................ ภาคผนวก จ ....................................................................................................................... - หนังสือขอบคุณผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือแบบสอบถามประเมินโครงการ ภาคผนวก ฉ ....................................................................................................................... - เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ..................................................................................

185

188

191

194 197 198 201 202 207 208



สารบัญ (ต่อ) หน้า ภาคผนวก ช ....................................................................................................................... 219 - ประวัติผู้ประเมินโครงการ .................................................................................... 220



สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1. จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการของโรงเรียนสุวรรณา รามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ............................................................................. 64 2. จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งตามระดับชั้นของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 65 3. จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งตามระดับชั้นของนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ................................................................ 65 4. ค่าอำนาจจำแนกและความเชื่อมั่นของแบบประเมินโครงการ ................................ 74 5. กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 โดย แสดงวัตถุประสงค์ของการประเมิน ข้อมูลที่ต้องการ แหล่งข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล และเกณฑ์ในการประเมิน ........................................................ 76 6. จำนวนและร้อยละของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ........................ 84 7. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้าน สภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร สถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ ................. 85 8. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้าน ปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ ................................................ 89 9. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้าน กระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ ................................................ 92 10. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้าน ผลผลิต(Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม โดยรวมและรายข้อ .................................................................................. 96



สารบัญตาราง ตารางที่ 11. แบบสรุปค่าอำนาจจำแนก (r) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ....................................................................................................................... 12. ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถาม ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพั ฒ นาภู มิทัศ น์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ......................... 13. ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แ อลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถาม ด้ า นปั จ จั ย เบื้ อ งต้ น (Input Evaluation) ของโครงการพั ฒ นาภู มิ ทั ศ น์ แ ละ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปี การศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ............................ 14. ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์ แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถาม ด้ า นกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพั ฒ นาภู มิ ทั ศ น์ แ ละ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปี การศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ............................ 15. ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิ ทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถาม ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน .............................................

หน้า

181

185

188

191

194



สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1. กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการ ................................................................... 6 2. รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ................................................................ 19

1

บทที่ 1 บทนำ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ อย่างชัดเจนมาก สืบเนื่องมาจากสงครามยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ สถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกและเป็นปัญ หาที่ส่ง ผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อีกทั้งโรคระบาด COVID – 19 ที่องค์การอนามัยโลกยกระดับให้เป็นภาวการณ์ระบาดใหญ่ทั่วโลก นักเศรษฐศาสตร์ทั่ว โลกออกมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกว่าจะมีผลกระทบผ่านห่วงโซ่อุปทานโลกจากปัญหา การขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ เนื่องจากประเทศจีนเป็นเป็นโรงงานผลิตและส่งออกสินค้าชั้นกลาง รายใหญ่ของโลก จำเป็นต้องหยุ ดการผลิตตามที่ทางการจีนมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด จึงจำเป็น อย่างยิ่งที่ทุกประเทศจะต้องวางแผนด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อปากท้องของประชากรในประเทศ เพื่อให้ประเทศเจริญ ก้าวหน้าและผ่านพ้นวิ กฤตเศรษฐกิจนี้ไปให้ได้ นั้นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือ คุณภาพของคนในประเทศ และคนในประเทศนั้นจะมีคุณภาพได้ปัจจัยหลักคือการศึกษา จากเหตุผลดังกล่าว การศึกษาจึงเป็นปัจจัยหลักสำคัญ ที่จะพัฒนาประชากรในประเทศให้ มี คุณภาพ มีความรู้ความสารมารถ เพราะการที่ประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรืองในด้านเศรษฐกิจ สัง คม การเมืองและวัฒนธรรมนั้น มีปัจจัยที่เอื้ออำนวยหลายด้าน และปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งคือประชากรที่มี คุ ณ ภาพจะต้ อ งผ่า นกระบวนการพั ฒนา ที ่ เ รี ย กว่า การศึก ษา (วิ ไ ล ตั ้ ง จิ ต สมคิ ด . 2544 :13) และ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545) มาตรา 4 หมวด การจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ ว่า การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงาม ของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การ เรียนรู้ปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การพั ฒ นาคุ ณ ภาพในสถานศึ ก ษาให้ ด ี ข ึ ้ น จะส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษา ระดับประเทศให้ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย วสันต์ ปัญญา (2544) กล่าวว่า สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อชีวิต ความเป็นอยู่ ตลอดจนการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่นเดียวกับมนุษย์ที่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาตนให้ เข้ากับการยอมรับของสังคมและสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เกิด มนุษย์จะพยายามเรียนรู้ให้อยู่ในสภาวะสมดุล ทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม การได้รับความรัก การยอมรับ การเอาใจใส่ การให้กำลังใจ หรือการให้ โอกาสตามความเหมาะสมเป็นแนวทางที่จำทำให้มนุษย์พัฒนาตนได้ดีและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ Savage & Savage (2010) กล่าวว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มีความสำคัญจะส่งผลโดยตรงและมีส่วน

2

ช่วยเหลือสนับสนุนผู้เรียน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สามารถเป็นไปได้ทั้งมีส่วนช่วยในการอำนวยความ สะดวกหรือขัดขวางการทำกิจกรรมของผู้เรียน การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้และเหมาะสม กับวัยและระดับผู้เรียนนั้นเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความรู้สึกอยากเรียนรู้และเกิดประสิทธิภาพใน การเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา สอดคล้องกับ วิชิต เทพ ประสิทธิ์ (2549) กล่าวว่า การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียนจะเป็นสิ่ง สนับสนุนทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกอยากจะเรียน และเกิดประสิทธิภาพในการเรีย นรู้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้ โรงเรียนได้ดำเนินไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับ เชิดชู กาฬวงศ์ (2545) กล่าวถึง ความสำคัญของ การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนว่าโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จัดมวลประสบการณ์แก่นักเรียนทั้ง ทางตรงและทางอ้อมเพื่อนำประสบการณ์เหล่านั้นไปพัฒ นาตนเองในอนาคต แต่จะทำอย่างไรให้เด็ก ชอบมาโรงเรียนเป็นคนใฝ่รู้ มีความรู้สึกสนุกสนาน มีเจตคติที่ดีต่อโรงเรียน การที่โรงเรียนจะได้รับการ ตอบสนองจากนักเรียนโรงเรียนต้องดำเนินการสร้างแรงจูงใจกับนักเรียนให้เกิดความคิดว่าตนเองเป็น ส่วนหนึ่งของสถานศึกษาดังกล่าว แนวทางการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอน โรงเรียนต้อง ดำเนินการพัฒนาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้มีผลต่อการเรียนรู้สามารถปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับ การเรียนการสอน โดยคำนึงถึงเพศและวัยของผู้เรียน จากข้อมูลที่กล่าวมาจะเห็นว่าการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนทั้งภายในอาคาร เรียน ภายนอกอาคารเรียนล้วนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนของครูทั้งสิ้น สภาพแวดล้อมที่สวยงาม ร่มรื่น เป็นระเบียบบรรยากาศดี มีความปลอดภัย จึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้มีความสวยงาม ร่มรื่น สะอาดปลอดภัย เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีนักเรียน จำนวน 1,440 คน ครูจำนวน 74 คน ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 16 คน รวม 90 คน ตั้งอยู่วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร มีพื้นที่ 7 ไร่ 3 งาน มีอาคารเรียน 5 หลัง อาคารประกอบ 5 หลัง โครงสร้างบริหารงานแบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารทั่วไป มุ่งเน้น พั ฒ นาคุ ณ ภาพการจั ด การศึ ก ษา โดยมี น ั ก เรี ย นโครงการพิ เ ศษ ( Gifted Education) ระดั บ ชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 6 ห้องเรียน และนักเรียนห้องเรียนปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 40 ห้องเรียน มีสภาพแวดล้อ มทั ้ง ภายในและภายนอกห้ องเรีย นที่ จ ำเป็น ต้องพัฒนาเพื่ อ สนับสนุนการกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถจำแนกปัญหาออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1.ปัญหาด้าน กายภาพ สภาพห้องเรียนยังไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2. ปัญหาด้านภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารเรียน ขาดบรรยากาศที่ร่มรื่นไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3. ปัญหาด้านการบริหาร งบประมาณไม่เอื้อต่อการพัฒนา

3

จากหลักสภาพปัญหา ดังกล่าวผู้ประเมินโครงการสนใจศึกษาโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 โดย การสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ในรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) แบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิ ต (Product Evaluation) ทั้ง นี้เพื่อนำผลการ ประเมินโคงการไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ในลำดับถัดไป

2. วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ 2.1 เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2.2 เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2.3 เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2.4 เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564

3. ขอบเขตของการประเมินโครงการ การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ผู้ประเมินได้กำหนด ขอบเขตการประเมินออกเป็น 3 ส่วนคือ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย 1) ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา จำนวน 4 คน ประกอบด้ ว ย ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ย น รอง ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ มบริห ารวิ ช าการ รองผู้ อ ำนวยการโรงเรี ย นกลุ่ ม บริ ห ารงานบุ ค คล รอง ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณ และรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไป โรงเรี ยน สุวรรณารามวิทยาคม

4

2) คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 12 คน 3) ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 74 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 1,440 คน 5) นักเรียนระดั บชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 1,440 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย 1) ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา จำนวน 4 คน ประกอบด้ ว ย ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ย น รอง ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารวิ ช าการ รองผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารงานบุค คล รอง ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณ และ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไป โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 12 คน โดยการสุ่ม แบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3) ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 74 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 4) ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 306 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี ่แ ละมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970: 607-610) จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นชนิดสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ซึ่งใช้ระดับชั้นของผู้ปกครองนักเรียนเป็นชั้นภูมิ จากนั้นกำหนดผู้ให้ข้อมูล โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 5) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 306 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970: 607-610) จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นชนิดสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ซึ่งใช้ระดับชั้น ของนักเรียนเป็นชั้นภูมิ จากนั้นกำหนดผู้ให้ข้อมูล โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 3.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา สิ่งที่ผู้ประเมินทำการประเมินผลครั้งนี้ คือ โครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามรูปแบบการประเมิน ซิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation)

5

3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ด้านผลผลิต(Product Evaluation) 3.3 ขอบเขตด้านเวลาในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ใช้เวลาประเมินในระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2565

4 กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการ ผู ้ ป ระเมิ น ใช้ ก รอบแนวคิ ด ในการประเมิ น โครงการตามแนวคิ ด ของสตั ฟ เฟิ ล บี ม (Stufflebeam) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ โมเดล (CIPP Model) ในการประเมินโครงการ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปี การศึกษา 2564 ประกอบด้วย 4.1 การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 3 ด้าน ได้แก่ 4.1.1 ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ 4.1.2 ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 4.1.3 ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน 4.2 การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 4 ด้าน ได้แก่ 4.2.1 ด้านบุคลากร 4.2.2 ด้านงบประมาณ 4.2.3 ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ 4.2.4 ด้านการบริหารจัดการ 4.3 การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4 ด้าน ได้แก่ 4.3.1 ด้านการวางแผน 4.3.2 ด้านการดำเนินงาน 4.3.3 ด้านการตรวจสอบและติดตาม 4.3.4 ด้านการปรับปรุง 4.4 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) การประเมินผลที่ได้รับภายหลังการ ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้วตามกรอบแนวคิด

6

ซิปป์โมเดล (CIPP Model) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation)

แนวทางการพั ฒ นาภู ม ิ ท ั ศ น์ และสิ่ง แวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม

การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)

แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการ

5 นิยามศัพท์เฉพาะ 5.1 ภูมิทัศน์ หมายถึง พื้นที่ภายนอกอาคารของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่มนุษย์รับรู้ทางสายตาใน ระยะห่าง ที่มีการปรับแต่งพื้นที่ให้มีประโยชน์ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพ มีความร่มรื่นสวยงามและมี เอกลักษณ์ เช่น ม้านั่ง ถังขยะ น้ำพุ น้ำตก สวนหย่อม เป็นต้น 5.2 สิ่งแวดล้อม หมายถึง องค์ประกอบและสิ่ง ต่างๆที่อยู่ภายในโรงเรียนที่มีผลต่อการ แสดงออกทางพฤติกรรมของผู้เรียนในด้านต่างๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ ต้นไม้ อาคารเรียน อาคารประกอบ 5.3 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมด้าน อาคารสถานที่ การจัดสภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริหาร เพื่อ ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ 5.4 การประเมิ น โครงการ หมายถึ ง กระบวนการในการศึกษา เก็ บ รวบรวมข้ อมูลเพื่อ วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ในการดำเนินโครงการ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารโครงการนำมาตัดสินใจปรับปรุง การดำเนินงานให้สัมฤทธิ์ผลรวมทั้งการจัดทำโครงการใหม่ให้มีความถูกต้องและเหมาะสม 5.5 ซิปป์โมเดล (CIPP Model) หมายถึง แนวทางในการประเมิน เพื่อให้ ทราบผลการ ดำเนินงานโครงการทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย

7

1) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) หมายถึง การประเมิน ความต้องการ ความสอดคล้องด้านสภาวะแวดล้อม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการและจำเป็นของ โครงการด้านความสอดคล้องกับวัต ถุประสงค์ของโครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบ ายของ หน่วยงาน 2) การประเมิน ด้านปัจจัยเบื ้อ งต้นเบื้อ งต้น (Input Evaluation) หมายถึง การ ประเมินความเหมาะสมความเพียงพอของปัจจัยเบื้องต้นเบื้องต้นที่นำมาใช้ในการดำเนินโครงการ 4 ด้าน ได้แก่ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ ด้านการบริหารจัดการ 3) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) หมายถึง การประเมินการ ปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการตรวจสอบและ ติดตาม ด้านการปรับปรุง 4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) หมายถึง การประเมินผลที่ เกิดขึน้ หรือผลที่ได้รับภายหลังการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6.1 เป็นข้อมูลให้แก่ ผู ้บริ หาร ครู คณะกรรมการสถานศึก ษาในการพัฒนาภูม ิท ัศน์ แ ละ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นข้อมูลเพื่อวางแผนในการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต 6.2 โรงเรียนสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ไปใช้ เป็น แนวทางในการวางแผน ปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในปี การศึกษาต่อไป 6.3 สถานศึกษาหรือ หน่วยงานอื่น สามารถนำผลการประเมิน โครงการพัฒนาภูมิทัศน์แ ละ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ไปใช้ เป็นแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติ

8

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่ง แวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนัก เรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ผู้ประเมินได้ศึกษา ค้นคว้า แนวคิด หลักการและ ทฤษฎี งานประเมินโครงการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการ โดยขอนำเสนอการศึกษาตามลำดับ ขั้นตอนดังนี้ ตอนที่ 1 ทฤษฎีแนวคิดในการประเมินโครงการ 1.1 ความหมายของการประเมินโครงการ 1.2 ความสำคัญของการประเมินโครงการ 1.3 ประเภทของการประเมินโครงการ 1.4 รูปแบบการประเมินโครงการ ตอนที่ 2 แนวคิดที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 2.1 ความหมายของภูมิทัศน์ 2.2 ความหมายของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 2.3 ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 2.4 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ตอนที่ 3 บริบทโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 3.1 ประวัติโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 3.2 โครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมปีการศึกษา 2564 ตอนที่ 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4.1 งานวิจัยในประเทศ 4.2 งานวิจัยต่างประเทศ

9

ตอนที่ 1 ทฤษฎี แนวคิดในการประเมินโครงการ 1.1 ความหมายของการประเมินโครงการ นักวิชาการได้กล่าวถึงความหมายของการประเมินโครงการไว้ ดังนี้ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam,1977) ให้ความหมายองการประเมินไว้ว่า หมายถึง กระบวนการ การพรรณนา การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดเตรียมข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ เป็นประโยชน์เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ และการแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการ ดำเนินการต่อไป สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2541 : 17) ได้ให้ความหมายของการประเมินโครงการไว้ว ่า การ ประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการก่อให้เกิดสารสนเทศในการปรับปรุงโครงการและสารสนเทศใน การตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ นิศา ชูโต (2538: 2) ให้ความหมายของการประเมินว่า การประเมินเป็นกิจกรรมที่มนุษย์ กระทำอยู่ตลอดเวลา เมื่อต้องตัดสินใจเลือกระหว่างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายสิ่งหลายอย่างในการเลือก นั้นจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการตัดสินใจ ถ้าการตัดสินใจเป็นการกระทำเพื่ อตนเองแน่นอนที่ ตัวผู้เลือกก็เป็นผู้ตั้งเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินเอาเองแต่ถ้าเป็นเรื่องของรัฐบาลหรือส่วนร่วมเกณฑ์ ย่อมต้อง เปลี่ยนไป เกณฑ์ที่ใช้จะต้องรวมความคิดและผลประโยชน์ของสาธารณชนเข้ามาร่วมด้วย เกณฑ์ดังกล่าว อาจกระทบกระเทือนต่อผู้บริหารโครงการหรือขัดกับความเชื่อของผู้ประเมินเองก็ได้ ผู้ประเมินจะต้อง ประสานผลประโยชน์และก่อให้เกิดความยุติธรรมนั่นเอง สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2541 : 2) กล่าวไว้ว่า ประเมินโครงการ หมายถึงกระบวนการในการ เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของการดำเนินโครงการ และพิจารณาบ่งชี้ให้ทราบถึงจุดเด่ นหรือ จุดด้อยของโครงการนั้น ๆ อย่างมีระเบียบและตัดสินใจว่าจะปรับแก้ไขโครงการนั้น ๆ อย่างมีระเบียบ และตัดสินใจว่าจะปรับแก้ไขโครงการนั้นเพื่อดำเนินงานต่อไปหรือยุติการดำเนินงานโครงการนั้น ลัดดา เจียมจูไร (2550 : 31) ได้สรุปความหมายของการประเมินโครงการ หมายถึง กิจกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ความหมายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความต้องการ การหาแนวทางวิธีการ ปรับปรุง วิธีการจัดเกี่ยวกับโครงการและหาผลที่แน่ใจว่าเกิดจากโครงการ เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพและ ประสิทธิภาพเกี่ยวกับโครงการให้ดีขึ้น Worthen & Sander (1973 อ้ า งถึ ง ในสุ ว ิ ม ล ติ ร กานั น ท์ 2544 : 2) ให้ ค วามหมายการ ประเมินโครงการไว้ว่า เป็นการพิจารณาคุณค่าของสิ่ง ๆ หนึ่ง ประกอบด้วยการจัดหาสารสนเทศเพื่อ ตัดสินคุณค่าของแผนงาน ผลผลิต กระบวนการ หรือการบรรลุวัตถุประสงค์ หรือพิจารณาศักยภาพของ ทางเลือกต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ Stufflebeam and Shinkfield (1990 อ้างถึงใน สุวิมล ติรกานันท์ 2544 : 3) ให้ความหมาย ของการประเมินว่า เพื่อการกำหนดคุณค่าหรือข้อดีของบางสิ่งบางอย่างอย่างมีระบบ

10

ครอนบาค (Cronbach, 1963 อ้างถึงใน เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี , 2553) กล่าวว่า การ ประเมินคือการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการทางการศึกษา คำ ว่าโครงการอาจหมายถึงการกระจายอุปกรณ์การเรียนการสอนระดับชาติ กิจกรรมการเรียนการสอนใน โรงเรียนแห่งหนึ่ง หรือประสบการณ์ทางการศึกษาที่จัดให้กับนักเรียนคนหนึ่ง การประเมินจะเกี่ยวข้อง กับการตัดสินใจหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งจำเป็นและต้องอาศัยข้อมูลหลาย ๆ ด้าน ดังนั้น การประเมินจึง ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ หลายขั้นตอน และเทคนิควิธีที่ต่างกัน ไม่มีวิธีการประเมินแบบใดที่จะ นำไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์ จากความหมายของการประเมินโครงการที่ กล่าวมาทั้ง หมดแล้วนั้น สรุปได้ว่ าการประเมิน โครงการ หมายถึง กระบวนการในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ในการดำเนิน โครงการ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารโครงการนำมาตัดสินใจปรับปรุงการดำเนินงานให้สัมฤทธิ์ผลรวมทั้ง การจัดทำโครงการใหม่ให้มีความถูกต้องและเหมาะสมเพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพ เกี่ยวกับโครงการให้ดีขึ้น 1.2 ความสำคัญของการประเมินโครงการ นักวิชาการได้กล่าวถึงความสำคัญของการประเมินโครงการไว้ ดังนี้ จักษวัชร ศิริวรรณ (2559: ออนไลน์) กล่าวถึง การประเมิน โครงการไว้ด ัง นี้ การประเมิ น โครงการมีความสำคัญสำหรับผู้บริหารหรือผู้สนับสนุนงบประมาณ ในการตัดสินใจปรับปรุง หรือ ล้มเลิก โครงการ การกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ในการวิจัย การประเมินโครงการ จึงมีความจำเป็นและควรให้มี ลักษณะที่เอื้ออำนวยและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ผลการประเมิน ผู้ใช้ผลการประเมิ นแต่ ละ ระดับมีความต้องการและความสนใจแตกต่างกัน เช่นผู้บริหารระดับสูงสนใจข้อมูลเกี่ยวกั บนโยบาย ระดับรองลงมาสนใจข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผน ระดับปฏิบัติการสนใจข้อมูลในขั้นตอนการดำเนิน โครงการ การดำเนินงาน ประเมินโครงการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหมาะสมจึงทำให้ผลการประเมิน มี คุณภาพ ซึ่งได้จำแนกขั้นตอนของการประเมินโครงการออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ก่อนทำการประเมินโครงการผู้ประเมิน จะต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น โครงการที่เสนอขออนุมัติ ถ้าเป็นโครงการนำร่องก็ควร ศึกษาเอกสารรายงานความก้าวหน้าของโครงการ หรือถ้ามีรายงานผลการประเมินโครงการฉบับสมบูรณ์ ก็ควรนำมาศึกษาจะทำให้ผู้ประเมินได้เข้าใจความเป็นมาของโครงการ สภาพแวดล้อมวัตถุประสงค์ ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ประเมินสามารถกำหนดประเด็นการประเมินและตัวชี้วัดต่อไปได้ ขั้นตอนที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน ในขั้นตอนนี้ผู้ประเมินจะต้องตอบคำถามให้ ได้ว่า จะประเมินโครงการอะไร ประเมินทำไม เพื่อใคร หรือใครเป็นผู้ใช้ผลการประเมินข้อมูลที่จะตอบ คำถามเหล่านี้ได้มาจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบ โครงการ ผู้สนับสนุนโครงการ

11

ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดขอบเขตของการประเมิน เป็นขั้นตอนที่สำคั ญอีกขั้นตอนหนึ่งที่จะทำ ให้การประเมินโครงการสามารถดำเนินการได้และบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยการพิจารณาจากพื้นที่ที่ จะทำการประเมิน หน่วยงานที่ต้องการติดตาม บุคคลที่ผู้ประเมินต้องสัมภาษณ์ เป็นต้น ขั้นตอนที่ 4 การพิจารณากำหนดตัวบ่งชี้และแหล่งข้อมูล การกำหนดตั วบ่งชี้ในการประเมิน สามารถกำหนดได้จากวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือจากตัวแบบการประเมินเชิงทฤษฎี เช่น การ กำหนดตัวบ่งชี้จากรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Modle หรืออาจจะพิจารณาจากความคาดหวังของ ผู้ใช้ผลการประเมินก็ได้ ตัวบ่งชี้มีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในเชิงปริมาณนั้น เช่น จำนวนนักเรียนที่ ผ่านเกณฑ์ร้อยละของนักศึกษาที่มีบุตร อัตราส่วนจำนวนนักเรียนตอครู เป็นต้น ส่วนเชิงคุณภาพนั้น เช่น ความเหมาะสม ความสอดคล้อง ประสิทธิภาพในการทำงาน เป็ นต้น การกำหนดแหล่งข้อมูลนั้น จะต้องสอดคล้องกับตัวบ่งชี้ เช่น นักประเมินต้องการวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการจากการวัดความรู้ของผู้ เข้ารับการอบรม แต่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวัด ซึ่งไม่เหมาะสม ข้อมูลที่ต้องการอาจมีการ บันทึกไว้แล้วหรือต้องทำการเก็บรวบรวมขึ้นมาใหม่ เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี (2546: 283 อ้างในเชาว์ อินใย, 2553: 17) ได้กล่าวว่ า การพิจารณาคัดเลือกกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อทำการ สอบถามหรือสัมภาษณ์มีแนวทางพิจารณาได้ 2 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบ “จากบนสู่ล่าง” (Top Down) หมายถึง การรวบรวมและวิเคราะห์ ความคิดเห็นจากผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ และบุคลากรในเชิงนโยบายที่เกี่ ยวข้องกับโครงการ นั้น ๆ จากผู้รับผิดชอบระดับสูงไปสู่ระดับต่ำ (2) รูปแบบ“จากล่างสู่บน” (Bottom Up) หมายถึง การรวบรวมและวิเคราะห์ ความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ รวมทั้งกลุ่มบุคคลเป้าหมายของโครงการและกลุ่ม บุคคลที่น่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการ โดยเริ่มจากผู้รับผิดชอบระดับผู้น้อยหรือระดับล่างไปสู่ ผู้รับผิดชอบระดับชั้นผู้ใหญ่หรือระดับบน ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผู้ประเมินเก็บรวบรวมมา ตัวอย่างเช่น ข้อจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมใช้ค่าร้อยละ ความ คิดเห็นต่อโครงการที่อยู่ในรูปมาตราส่วนประมาณค่า ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลที่เก็บ รวบรวมจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ฯลฯ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 6 การสรุปผลการประเมิน การสรุปผลการประเมินโครงการ ผู้ประเมินควรเน้น ประเด็ น ที ่ ส ำคั ญ ดั ง นี ้ คื อ ผลผลิ ต จากโครงการ ปั ญ หา และข้ อ จำกั ด ของการดำเนิ น โครงการ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการ นอกจากนั้นควรสรุปผลโครงการไปในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น (1) การยอมรับในคุณค่าของโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย (2) การขยายผลโครงการและความต้องการของโครงการที่ต่อเนื่อง (3) การก่อให้เกิด “สิ่งใหม่”เช่น เทคโนโลยีหรือเอกสารทางวิชาการ (4) การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางกายภาพหรือทางสังคม

12

(5) การเรียนรู้จากการปฏิบัติโครงการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (6) การแพร่กระจายผลให้เป็น สารสนเทศที่เ ป็นประโยชน์ ต่อ ผู้ ที่ เกี่ยวข้ อ งกั บ โครงการ (7) การพัฒนาศักยภาพหรือประสิทธิภาพของโครงการในด้านอื่น ๆ อุทัย ศักดิ์สูง (2554: ออนไลน์) การประเมินโครงการเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการดำเนิน โครงการ สรุปได้ดังนี้ 1. ทำให้มีกำหนดวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานในการดำเนินการที่ชัดเจน 2. ทำให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์เต็มที่และคุ้มค่า 3. ทำให้แผนงานบรรลุตามวัต ถุประสงค์ คือ เริ่มจากการวางแผน ดำเนินการตามแผนและ ประเมินผล 4. ทำให้เกิดคุณภาพของงาน วิเคราะห์ส่วนของโครงการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา 5. เพื่อทราบปัญหาอุปสรรค ข้อดี ข้อเสีย ตลอดจนแนวทางการปรับปรุงแก้ไข เพื่อผู้บริหารจะ ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการหรือยุติโครงการ สมคิด พรมจุ้ย (2550: 30) กล่าวว่า การประเมินมีความสำคัญอย่ างยิ่ง ต่อการวางแผนและ บริหารโครงการ สรุปได้ดังนี้ 1. ช่วยให้ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนงานและ โครงการ ตรวจสอบความพร้อมของทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ ตลอดจนตรวจสอบ ความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ 2. ช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน 3. ช่วยจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคของการดำเนินโครงการ 4. ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ความสำเร็จ และความล้มเหลวของโครงการเพื่ อนำไปใช้ใ นการ ตัดสินใจ และวินิจฉัยว่าการดำเนินโครงการในช่วงต่อไปหรือไม่ จะยกเลิกหรือขยายการดำเนินงานต่อไป เยาวดี วิบูลย์ศรี (2546: 75) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการประเมินโครงการไว้ว่า เพื่อให้ได้รับ ข้อมูลข่าวสารในการปรับปรุงโครงการ โครงการที่ดำเนินไปโดยไม่มีการป้ อนกลับจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับ โครงการ ก็ย่อมไม่สามารถที่ตอบคำถามว่า โครงการสามารถดำเนินการไปได้หรือประสบผลสำเร็จ หรือไม่เพียงใด ข้อจำกัด ปัญหาในการปฏิบัติเป็นอย่างไร ดังนั้นการดำเนินการประเมินโครงการก็เป็น วิธีการที่จะทำให้มีการป้อนกลับของข้อมูล สมหวัง พิธิยานุ วัฒน์ (2544: 92) ได้สรุปวัตถุประสงค์สำคัญ ของการประเมินว่า เพื่อ ช่ ว ย ปรับปรุงการบริหารงานหรือโครงการ ตลอดจนการดำเนินงานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อช่วยให้ ผู้บริหารตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการหรืองานที่รับผิดชอบอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้ 1. เพื่อช่วยปรับปรุงพันางานหรือโครงการต่าง ๆ 2. เพื่อตัดสินผลเกี่ยวกับระดับผลสัมฤทธิ์ของงานโครงการต่าง ๆ

13

3. เพื่อช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการหรืออนาคตของโครงการหรืออนาคตของ โครงการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 4. กระตุ้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาเรื่องความสำคัญของการประเมินโครงการ สรุปได้ว่า การประเมินโครงการมี ความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารนำมาพิจารณาตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. การประเมินโครงการช่วยให้ทราบว่าโครงการที่จะดำเนินการนั้นมีความต้องการหรือจำเป็น มากน้อยเพียงใด ควรดำเนินโครงการต่อไป หรือยุติ หรือควรปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม 2. การประเมินโครงการช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในการประกอบการตัด สินใจ เกี่ยวกับการวางแผน การกำกับติดตามตรวจสอบความพร้อมของทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นในการ ดำเนินงานตามโครงการ ว่าควรจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไรจึงจะเพียงพอ และเป็นไปอย่างประหยัด เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด 1.3 ประเภทของการประเมินโครงการ สุรพร เสี้ยนสลาย (2547) จำแนกการประเมินโครงการออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. ประเภทของการประเมินผลโครงการจำแนกตามระยะเวลาการประเมิน แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ การประเมินก่อนเริ่ม โครงการ (Pre-Evaluation) การประเมินระหว่างการดำเนิ น งาน (On-going Evaluation) การประเมินหลังการดำเนินงานโครงการ (Post-Evaluation) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 การประเมินก่อนเริ่มโครงการ (Pre-Evaluation) หมายถึงการประเมินผลโครงการใน ขั้นการวางแผนโครงการ ประกอบด้วย การประเมินความต้องการจำเป็น (needs assessment) ซึ่งเป็น การประเมินก่อนจัดทำโครงการ และการประเมินความเหมาะสมหรือการศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการ (Project Appraisal or Feasibility Study) ซึ่งเป็นการประเมินก่อนตัดสินใจอนุมัติโครงการ เน้นการตัดสินคุณค่าของโครงการด้วยผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตของโครงการ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าโครงการจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.2 การประเมินระหว่างการดำเนินงาน (On-going Evaluation) เป็นการประเมินโครงการ ในระหว่างที่โครงการกำลังถูกนำไปปฏิบัติโดยทีมงานโครงการ วัตถุประสงค์สำคัญของการประเมินผล ประเภทนี้ก็คือเพื่อตรวจสอบดูว่าโครงการดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ผลลัพธ์และผลกระทบ ที่คาดหมายหรือไม่ของโครงการ การประเมินผลได้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ หาก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของโครงการไม่สอดคล้อง ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือมีปัญหาอุปสรรคใด เกิดขึ้นกับโครงการ ผู้จัดการโครงการก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้โดยทันที การประเมินผลประเภทนี้จึงมี บทบาทมากในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของโครงการโดยตรง

14

1.3 การประเมินหลังการดำเนินงานโครงการ (Post-Evaluation) เป็นการประเมินผลเพื่อ ตรวจสอบหรือตอบคำถามว่าโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ควรขยายฐานการดำเนินงานให้กว้างขวางขึ้นหรือไม่ หรือยุติการดำเนินงานของโครงการนี้หรือไม่ ข้อมูล ที่ไ ด้จากการประเมินผลหลังโครงการนี้จะเป็นประโยชน์แก่การตัดสินใจของผู้บริหารโครงการและ ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สูงในองค์ ก ร การประเมิ นผลประเภทนี ้ อาจทำทั นที ห ลัง สิ้ นสุ ด โครงการ เป็ น การ ประเมินผลสรุปโครงการ หรืออาจประเมินหลังโครงการสิ้นสุดไประยะหนึ่งเพื่อดูผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ตามโครงการ 2. ประเภทของการประเมินผลโครงการจำแนกตามจุ ดมุ่งหมายของการประเมิน จำแนกได้ 2 ประเภท คื อ การประเมิ น ความก้ า วหน้ า (Formative Evaluation) และการประเมิ น รวมสรุ ป (Summative Evaluation) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) หรือการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นกิจกรรมการติดตาม ดูแล และตัดสินคุณค่าของการปฏิบัติงาน จึงมีบทบาท สำคัญ ในการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อช่วยปรับปรุงกลไกการดำเนินงาน และพัฒนาการปฏิบัติงานใน ระหว่างการดำเนินงานตามโครงการ เป็นการประเมินที่พยายามตอบคำถามว่าการดำเนินงานที่เกิดขึ้น จริงเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ในโครงการหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง ผลสัมฤทธิ ์ เริ่ม เกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของงาน ข้อมูลที่ได้จากการ ประเมินผลประเภทนี้จะใช้ในการตัดสินใจปรับปรุงงานหรือโครงการในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ เป็นการ เพิ่มโอกาสความสำเร็จของโครงการให้มีมากขึ้น 2.2 การประเมิ น รวมสรุ ป หรื อ สรุ ป ผลโครงการ (Summative Evaluation) เป็ น การ ประเมินผลโครงการเมื่อโครงการสิ้นสุดลง หรือเป็นการประเมินผลหลังโครงการ การประเมินผลแบบนี้ มุ่ง เน้นให้เป็นการสรุปผลของโครงการทั้ง หมด เน้นตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ (ผลผลิต ผลลัพธ์ รวมถึง ผลกระทบ) ของโครงการว่าเกิดผลดีตามความคาดหวังของโครงการหรือไม่ ผลการดำเนินการคุ้มค่าที่ผล การประเมินก่อนโครงการระบุไว้หรือไม่ 3. ประเภทของการประเมินผลโครงการจำแนกตามวัตถุประสงค์โครงการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คื อ การประเมิ น โดยยึ ด วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องโครงการเป็ นหลั ก (Goal-Based Evaluation) และการ ประเมินผลที่ ไม่มีวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นหลัก (Goal-Free Evaluation) ซึ่งมีความแตกต่างกัน การประเมินเชิงประสิทธิภาพ (Efficiency) ส่วนหนึ่งคือความประหยัดในเรื่องเงิน ซึ่งถ้าเป็นโครงการ ของภาคเอกชนจะคำนึ ง ถึ ง เรื ่ อ งนี ้ ด ้ ว ย แต่ ใ นกรณี โ ครงการของภาครั ฐ มั ก จะเน้ น ประสิ ท ธิ ผ ล (Effectiveness) หรือความสำเร็จของโครงการมากกว่าจะคำนึงถึงเรื่องทุนหรืองบประมาณ โดยสรุป แล้วเห็นว่าการประเมินก่อนดำเนินโครงการที่สำคัญ ๆ คือ ควรประเมินว่าควรทำโครงการหรื อมีความ จำเป็นหรือไม่ ด้วยการประเมินความต้องการจำเป็นและทำได้หรือไม่โดยประเมินปัจจัยสนับสนุนหรือมี ความเป็นไปได้แค่ไหน โดยการประเมินความพร้อม และถ้าต้องการประเมินในเชิงเศรษฐศาสตร์หรือ

15

ประสิทธิภาพ และเชิงประสิทธิผลในโครงการ ที่คิดเป็นตัวเงินได้ ก็อาจประเมินด้วยการวิเคราะห์ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายกับผลค่าตอบแทนต่าง ๆ ซึ่งถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ๆ และมีความสำคัญและอยู่ในวิสัย ที่ทำได้ก็อาจประเมินตั้งแต่ความต้องการจำเป็น ความพร้อม และวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย หรือเลือกประเมิน บางประเภทตามความเหมาะสม 4. การประเมินระหว่างการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินในระหว่างที่โครงการดำเนินการ อยู่ เพื่อหาข้อมูลมาตัดสินใจปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการโครงการในระยะต่อไปให้บรรลุ วัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพสูงสุด มีสาระสำคัญ คือ 4.1 ประเมินในขณะที่โครงการดำเนินอยู่ ซึ่งอาจเป็นการดำเนินโครงการครั้งแรก หรือเป็น โครงการต่อเนื่อง หรือโครงการประจำแต่ละปีงบประมาณ ตามลักษณะเวลาเป็นช่วง ๆ เช่น โครงการ ฝึกอบรมเป็นรุ่น ๆ ตามหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งมีแนวโน้มจะดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ โอกาสยุติโครงการมี น้อย การประเมินจึงเป็นการประเมินความก้าวหน้า 4.2 ประเมินเพื่อศึ กษากระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่ง เป็นการตรวจสอบว่ า กิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปตามแผนหรือไม่ ทั้งในระยะเวลา งบประมาณ เป้าหมาย ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผล มาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานในระยะหรือช่วงต่อ ๆ ไป 4.3 ประเมินเพื่อหาสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ สารสนเทศที่ไ ด้จากกระบวนการ ดำเนินงานจะนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงานเองและส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้ เช่น รายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการ ความพร้อมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เป็นต้น 4.4 ประเมินเพื่อเน้นตรวจสอบความก้าวหน้าของผลดำเนินโครงการ นอกจากการประเมิน ตามข้อ 4.1–4.3 แล้ว จะมีการตรวจสอบถึงผลที่ได้ว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยอาจตรวจสอบทั้งเชิง ปริมาณและคุณภาพ เพื่อปรับการดำเนินงานให้เอื้อต่อความสำเร็จของโครงการ 5. การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นการประเมินหลังจากโครงการสิ้ นสุดแล้วเพื่อศึกษาผล การดำเนินโครงการว่ามีประสิทธิภาพ ประสิ ทธิผล หรือผลทั้งทางตรงทางอ้อมอย่างไร สารสนเทศที่ได้ จึง เน้นใช้ตัดสินใจ เลิก หยุด หรือดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หรือดำเนินการใหม่ในโอกาสต่อไป ซึ่ง แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ 5 ประเภท คือ 5.1 การประเมินผลผลิต (Outputs Evaluation) อาจเรียกว่าผลโดยตรง (Direct Effect) ของโครงการหรือผลที่เกิดขึ้นทันทีทันใด (Immediately Effect) ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่ง บางครั้งก็สามารถประเมินผลผลิตได้ง่ายในเชิงปริมาณ ถ้าผลผลิตเกิดขึ้นโดยเร็ว บางโครงการก็ประเมิน ได้ยาก เช่น โครงการก่อสร้างอาคารสถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ผลผลิตในเชิงปริม าณอาจประเมินได้จ าก สิ่งก่อสร้างนั้น ๆ ตามขนาดหรือคุณสมบัติ (Specification) ที่ได้กำหนดไว้ แต่ถ้าเป็นโครงการบริการ สังคมหรือประชาชนซึ่งต้องดู ผลที่เกิดขึ้นในตัวคนแล้วจะวัดผลเพื่อนำมาประเมินได้ยาก เช่น โครงการ ฝึกอบรม ซึ่งต้องวัดความรู้ที่ได้ว่ามีความรู้ที่ได้เป็ นไปตามเกณฑ์หรือไม่เพียงใด และจะยากยิ่งขึ้นถ้า ต้องการวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย เช่น เจตคติหรือความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ เป็นต้น

16

5.2 การประเมินผลลัพธ์ (Outcomes Evaluation) ผลลัพธ์เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องจากผลผลิต โดยต้องรอเวลาให้เกิดผลผลิตก่อน เป็นลักษณะเงื่อนไข คือถ้าไม่มีผลผลิตก็จะมีผลลัพธ์ไม่ได้ ในเรื่องการ ประเมินผลผลิต บางครั้งแม้ได้ผลผลิตแล้วแต่อาจไม่ได้ผลลัพธ์ก็ได้ นั่นคือไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับ ตนเอง ในทางปฏิบัติมักพบเสมอว่าผลโครงการได้แต่เพียงผลผลิตแต่ไ ม่ได้ถึงผลลัพธ์ ดัง นั้นในการ ประเมินผลลัพธ์ของโครงการจึงต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งมากกว่าการประเมินผลผลิต และอาจต้องใช้เวลา หลังโครงการสิ้นสุดแล้วระยะหนึ่งเพื่อดูว่าผลของโครงการเกี่ยวกับผลลัพธ์มีจริงหรือไม่ 5.3 การประเมินผลกระทบ (Impacts Evaluation) เป็นการประเมินในลักษณะเงื่อนไงที่ ส่วนใหญ่มีผลต่อเนื่องมาจากผลลัพธ์ นั่นคือถ้าไม่มีผลลัพธ์ก็ไม่มีผลกระทบ เพียงแต่ผลกระทบอาจมีได้ ทั้งทางบวกและทางลบ การประเมินผลกระทบโดยรวมก็เพื่อพิจารณาดู ว่าโครงการได้ส่งผลต่อองค์การ หรือถ้าเป็นโครงการใหญ่ก็ดูว่า ส่งผลต่อชุมชน สังคมอย่างไรบ้าง จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับการประเมิน ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบจะเห็นว่าเกี่ยวเนื่องกัน โดยการประเมินผลผลิตจะประเมินได้ง่ายกว่า ผลลัพธ์และผลกระทบตามลำดับ บางครั้งอาจมีการเรี ยกการประเมินหลังสิ้นสุดโครงการทั้ง 3 ประเภท เหลื่อมหรือต่างกันบ้าง โดยเฉพาะการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบ แต่โดยรวมแล้วอาจสรุปว่าผลเมื่อ สิ้นสุดโครงการซึ่งเป็นผลผลิต คือสิ่งที่ได้ ผลลัพธ์คือนำไปใช้และผลกระทบคือประโยชน์แก่ส่วนรวม นั่นเอง 5.4 การประเมินด้วยการติดตามผลหลังสิ้นสุดโครงการไปแล้วระยะหนึ่ง (Follow Up Evaluation) เช่น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี หรือ 2 ปี เป็นต้น โดยอาจคิดตามเป็นระยะ ๆ จนกว่าจะได้ สารสนเทศครบตามวัตถุประสงค์ คำว่าคิดตามผลนั้น ผล หมายถึง ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบหรือ หลายผลก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเน้น ผลลัพธ์และผลกระทบเพราะเป็นผลที่เกิดขึ้นช้าจึงต้องให้ระยะเวลา หนึ่งแล้วค่อยติดตาม มักจะใช้กับโครงการขนาดใหญ่ ๆ ที่เห็นผลช้า 5.5 การประเมินงานประเมินโครงการ (Meta Evaluation) การประเมินประเภทนี้จะสนใจ ถึงคุณภาพของงานประเมินโครงการ หรือรายงานการประเมินโครงการ ซึ่งอาจใช้วิธีต่าง ๆ ได้หลายวิธี เช่น การตรวจสอบ เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน การใช้แบบตรวจสอบ รายการต่าง ๆ การวิพากษ์วิจารณ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เกี่ยวข้อง และการใช้แนวทางการประเมินรายงานวิจัย เป็น ต้น เข็มทอง ศิริแสงเลิศ (2552) กล่าวว่าการประเมินโครงการสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ตามวงจรชีวิตของโครงการได้ 3 ประเภท คือ 1. การประเมินก่อนเริ่มโครงการ เป็นการประเมินขณะที่ยังไม่ดำเนินโครงการเพื่อศึกษาความ เหมาะสมของโครงการ และหาสารสนเทศในการตัดสินใจวางแผนเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรให้แ ก่ โครงการการประเมินก่อนเริ่มโครงการอาจแบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1.1 การประเมิ น ความต้ อ งการจำเป็ น (Needs Assessment) เป็ น การประเมิ น เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างสภาพจริงกับสภาพที่ควรจะเป็นว่ามีความแตกต่างกันเพียงใด สิ่งที่ตรวจสอบ

17

คือ ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เป็นโอกาส อุปสรรค หรือปัญหาที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือพัฒนา ในเรื่องนั้น ๆ แล้วนำมาจัดลำดับความจำเป็น และความสำคัญ เป้าหมายสำคัญของการประเมินความ ต้องการจำเป็นคือ การวางแผนจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมกับโครงการที่จะดำเนินการ 1.2 การประเมิ น ความเป็ น ไปได้ (Feasibility Study) เป็ น การประเมิ น เกี ่ ย วกั บ สภาพแวดล้อม จึงมีความเหลื่อมกันกับการประเมินบริบท (Context) ที่เกี่ยวข้องหรือส่งผลต่อโครงการ ทั้งด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี การคมนาคม ฯลฯ การประเมินความเป็นไปได้เรียก อีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ซึ่งเป็นการศึกษาสภาพความพร้อมใน ด้านต่าง ๆ ของการดำเนินโครงการว่ามีปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจะ ดำเนินโครงการหรือไม่ เป็นการประเมินทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพของปัจจัยนำเข้าของโครงการ ได้แก่ งบประมาณ กำลังคน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ฯลฯ 1.3 การประเมิ นเกี่ยวกับต้นทุน (Cost) จะมีการประเมิน 2 ลักษณะ คือ การวิเคราะห์ ค่าใช้จ่ายกับผลตอบแทน (Cost-Benefit Analysis) และการวิเคราะห์ต้นทุนกับประสิทธิผล (Cost Effectiveness Analysis) 1.4 การประเมินร่างโครงการ (Project Appraisal) เป็นการประเมินความเหมาะสมหรือ ความสมเหตุสมผลของโครงการ เพื่อตรวจสอบว่าโครงการมีความเป็นไปได้ 2. การประเมินระหว่างดำเนินโครงการ เป็นการประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ ประเมิ น กระบวนการปฏิ บ ั ต ิ ง าน คื อ เป็ น การตรวจสอบและควบคุ ม กระบวนการทำงานว่ า มี ความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคในการปฏิบัติง านอย่างไรบ้าง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการ ตัดสินใจ ปรับปรุงแก้ไขกิจกรรม และตรวจสอบความก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทำให้การ ดำเนินงานบรรลุความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 3. การประเมินเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ เรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่าการประเมิ นผลโครงการเพื่ อ ตรวจสอบว่าโครงการก่อให้เกิดผลที่ต้องการหรือไม่ มีผลกระทบอะไรบ้าง แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตาม ลักษณะของการประเมิน ดังนี้ 3.1 การประเมิ น ผลผลิ ต หรื อ ผลโครงการ (Direct Effect) ของโครงการ เป็ น การ ประเมินผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 3.2 การประเมินผลลัพธ์ (Outcomes) ผลลัพธ์เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากผลผลิต คือต้อง เกิดผลผลิตก่อนจึงจะเกิดผลลัพธ์ ผลลัพธ์จัดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระยะยาว 3.3 การประเมินผลกระทบ (Impact) ผลกระทบเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากผลลัพธ์มีได้ทั้ง ทางบวกและทางลบ การประเมินผลกระทบโดยรวมมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาดูว่าโครงการได้ส่ง ผลต่อ องค์กรหรือสังคมและชุมชนอย่างไรบ้าง

18

3.4 การประเมินติดตามผลหลังเสร็จสิ้นโครงการไปแล้วระยะหนึ่ง (Follow-up Study) อาจเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี หรือ 2 ปี โดยการติดตามเป็นระยะ ๆ จนกว่าจะได้สารสนเทศ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ 3.5 การประเมินงานประเมินโครงการ (Meta Evaluation) เป็นการตรวจสอบผลการ ประเมินโครงการหรือรายงานการประเมินโครงการ ว่ามีปริมาณและคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือไม่ จากข้อมูลข้างต้นกล่าวได้ว่าการประเมินโครงการสามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 1. จำแนกตามระยะเวลาการประเมินโครงการ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.1 การประเมินก่อนเริ่มโครงการ (Pre-Evaluation) การประเมินระหว่างการดำเนิน โครงการ (On-going Evaluation) 1.2 การประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ (Post-Evaluation) 2. จำแนกตามจุดมุ่งหมายของการประเมิน จำแนกได้ 2 ประเภท คือ 2.1 การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) 2.2 การประเมินรวมสรุป (Summative Evaluation) 3. จำแนกตามการยึดวัตถุประสงค์โครงการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 3.1 การประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นหลัก (Goal – Based Evaluation) 3.2 การประเมินผลที่ไม่ยึดวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นหลัก (Goal-Free Evaluation) 1.4 รูปแบบการประเมินโครงการ การประเมินโครงการ สามารถจัดแบ่งได้หลายแบบ รูปแบบการประเมินเป็นเพียงกรอบความคิดหรือแบบแผนหรือแผนผังของการดำเนิน งานอย่างเป็น ระบบในการประเมินวัตถุ (Object) ที่จะประเมิน เช่น นโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม ว่าควร พิจารณาประเมินอะไรบ้าง (What) ในแต่ละรายการที่ประเมินจะมีวิธีการตรวจสอบอย่างไร (How) การ ประเมิ น โครงการ ผู ้ ศ ึ ก ษาเลื อ กใช้ ร ู ป แบบการประเมิ น เพื ่ อ การตั ด สิ น ใจ (Decision–Oriented Evaluation Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่มุ่งผลิตสารสนเทศเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเลือก ทางเลือกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ได้แก่รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam: CIPP Model) อัลคิน (Alkin) มาร์วิน (Marwin) และครอนบาค (Cronbach) ซึ่งบทบาทของนักประเมิน คือ การตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้บริหาร โดยผู้บริหารเป็นผู้กำหนดบริบทของการตัดสินใจ และเกณฑ์การตัดสินความสำเร็จของโครงการ นักประเมินไม่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจทางการบริหาร เพราะจะทำให้เสียความเป็นกลางในการประเมิน ฉะนั้นนักประเมินควรมี บทบาทเพียงเสนอสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร

19

1) รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม แนวคิ ด ในการประเมิ น ของสตั ฟ เฟิ ล บี ม เป็ น การประเมิ นโดยใช้ ห ลั ก เหตุ ผ ลที ่ อ ธิ บ าย ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินกับการตัดสินใจ รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) แบ่งการ ประเมินออกเป็น 4 ประเภทซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจ 4 ประเภทเช่นกัน (เข็มทอง ศิริแสงเลิศ, 2552) การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context evaluation)

ปรับวัตถุประสงค์ของโครงการ

การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation)

เลือก/ปรับเปลี่ยนกิจกรรมหรือวิธี ดำเนินโครงการ

การประเมินกระบวนการ (Process evaluation)

ปรับปรุงวิธีดำเนินการ การเร่งรัดโครงการ

การประเมินผลผลิต (Product evaluation)

ปรับขยายโครงการ ยุติโครงการ ยกฐานะเป็นงานประจำ

แผนภาพที่ 2 รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) คำว่าซิป (CIPP) มาจากการนำตัวอักษรตัวแรกของสิ่งที่จะประเมินของสตัฟเฟิลบีมมาเรียงต่อ กัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (1) การประเมินบริบท (Context Evaluation) หรือการประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ เป็นการประเมินก่อนเริ่มโครงการเพื่อหาความต้องการจำเป็น (Needs) สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ของโครงการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ ของโครงการ (2) การประเมินปัจจัยนำเข้ า (Input Evaluation) เป็นการประเมินความเป็นไปได้ ด ้ า น ทรัพยากร การพิจารณาเลือกวิธีดำเนินโครงการที่เหมาะสม การออกแบบกระบวนการดำเนิ นการ โครงการให้มีศักยภาพสูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการจำเป็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการประเมิน ก่อนเริ่มโครงการเช่นเดียวกับการประเมินบริบท การประเมินปัจจัยนำเข้าจะช่วยผู้บริหารในการ ตัดสินใจเลือกกลยุทธ์วิธีดำเนินการและวางแผนวิธีดำเนินงานของโครงการ

20

(3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินการดำเนินงานเมื่อนำ โครงการที่วางแผนไว้ไปสู่การปฏิบัติ เป็นการประเมินขณะดำเนินโครงการ เพื่อศึกษาว่าอะไรเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการ อะไรที่เป็นปัญหาคุกคามความสำเร็จของโครงการ ส่วนใดของโครงการต้องการปรับปรุงแก้ไข คำตอบของคำถาม จุดอ่อนของโครงการเพื่อการกำกับดูแล การตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับปรุงวิธีดำเนินโครงการและเร่งรัดการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ ภายใต้ทรัพยากรและเวลาที่กำหนดไว้ (4) การประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) เป็นการประเมินหลังสิ้นสุด โครงการ การประเมินผลผลิต จะตอบคำถามว่า ผลผลิตที ่ไ ด้ จ ากโครงการมีอะไรบ้าง เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ความต้องการจำเป็นลดลงหรือไม่อย่า งไร ผลการดำเนินงานโครงการคุ้มค่า เพียงใด ควรจะจัดการอย่างไรกับโครงการที่จะติดตามมา ซึ่งคำถามเหล่านี้มีความสำคัญต่อการตัดสิน ความสำเร็จของโครงการ สารสนเทศที่ไ ด้จากการประเมินผลผลิตจะมีประโยชน์ต่อผู้บริหารในการ ตัดสินใจปรับขยายโครงการ ยุติโครงการ หรือยกฐานะเป็นงานประจำ สตัฟเฟิลบีมและคณะ (2003) ได้ให้ความหมายของการประเมินไว้ว่า หมายถึง กระบวนการ วิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจต่อทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ คำว่า CIPP นั้นย่อมาจากคำย่อส่วนประกอบต่าง ๆ ของโครงการที่จะทำการประเมินดังนี้ 1) การประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evalution: C) เป็นการประเมินก่อนที่จะ ลงมือดำเนินการโครงการใด ๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักการและเหตุผลรวมทั้งเพื่อพิจารณาความ จำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการดังกล่าว การชี้ประเด็นปัญหาตลอดจนการพิจารณาความเหมาะสมของ เป้าหมายของโครงการ 2) การประเมิ น ตั ว ป้ อนเข้ า (Input Evalution: I) เป็ น การประเมิ นเพื ่อ พิ จ ารณาถึ ง ความ เหมาะสม ความเพียงพอของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ ตลอดจนเทคโนโลยีและแผนที่ ดำเนินงาน 3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P) เป็นการประเมินเพื่อหาข้อ บกพร่อง ของการดำเนินโครงการ เพื่อทำการแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อบกพร่องนั้น ๆ ประเมินเพื่อหาข้อมูล ประกอบการตัดสินใจที่จะสั่งการเพื่อพัฒนางานต่าง ๆ และประเมินเพื่อบันทึกภาวะของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไว้เป็นหลักฐาน 4) การประเมินผลผลิตที่เกิดขึ้น (Product Evalution: P) เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผล ที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการกับเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้แต่ต้นรวมทั้งการ พิจารณาในประเด็นของการยุบ เลิก ขยาย หรือปรับเปลี่ยนโครงการ การประเมินตามโมเดลซิ ป ของสตัฟเฟิล บี ม สามารถสรุปการประเมิน เป็ น 3 ขั้นตอน คือ 1) กำหนด หรือระบุบ่ งชี้ข้อมูลที่ถูกต้อง 2) จัดเก็บรวบรวมข้อมูล และ 3) วิเคราะห์ข้อมูลและจั ด สารสนเทศ เพื่อนำเสนอฝ่ายบริหาร

21

ประเด็ น การประเมิ นตามรูป แบบซิ ป (CIPP Model) สตั ฟ เฟิ ล บี ม ได้ ก ำหนดการประเมิน ออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. การประเมิ น สภาวะแวดล้ อ ม (Context Evaluation: C) เป็ น การประเมิ น ก่ อ นการ ดำเนินการโครงการ เพื่อพิจารณาหลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ ประเด็น ปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ เช่น โครงการอาหารเสริมแก่เด็กวัยก่อนเรียน จะต้อง มีการวัดส่วนสูง และ ชั่งน้ำหนักของเด็กก่อน 2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I ) เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึงความเป็น ไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์เวลา ฯลฯ รวมทั้งเทคโนโลยีและแผนการดำเนินงาน 3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P) เป็นการประเมินเพื่อหาข้อบกพร่อง ของการดำเนินโครงการที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ให้การดำเนินการช่วงต่อไปมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลา ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ ภาวะผู้นำ การมี ส่วนร่วมของประชาชนในโครงการโดยมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกขั้นตอน การประเมินกระบวนการ นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหาจุดเด่น หรือจุดแข็ง (Strengths) และจุดด้อย (Weakness) ของนโยบาย/ แผนงาน/ โครงการซึ่งมักจะไม่สามารถศึกษาได้ภายหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว 4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P) เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่ เกิดขี้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการ ยุบ เลิก ขยาย หรือปรับเปลี่ยนโครงการ แต่การประเมินผลแบบนี้มิได้ให้ความสนใจต่อเรื่องผลกระทบ (Impact) และผลลัพธ์ (Outcome) ของนโยบาย/ แผนงาน/ โครงการเท่าที่ควร สตัฟเฟิลบีม ได้นำเสนอประเภทของการตัดสินใจที่สอดคล้องกับประเด็นที่ประเมิน ดังนี้ 1. การตัดสินใจเพื่อการวางแผน (Planning Decisions) เป็นการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลจากการ ประเมินสภาพแวดล้อมที่ได้ นำไปใช้ในการกำหนดจุดประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับแผนการ ดำเนินงาน 2. การตัดสินใจเพื่อกำหนดโครงสร้างของโครงการ (Structuring Decisions) เป็นการตัดสินใจ ที่ใช้ข้อมูลจากปัจจัยนำเข้าที่ได้นำไปใช้ในการกำหนดโครงสร้า งของแผนงาน และขั้นตอนของการ ดำเนินการของโครงการ 3. การตัดสินใจเพื่อนำโครงการไปปฏิบัติ (Implementation Decisions) เป็นการตัดสินใจที่ใช้ ข้อมูลจากการประเมินกระบวนการ เพื่อพิจารณาควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และปรับปรุง แก้ไขการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด 4. การตัดสินใจเพื่อทบทวนโครงการ (Recycling Decisions) เช่น การตัดสินใจเพื่อใช้ข้อมูล จากการประเมินผลผลิต (Output) ที่เกิดขึ้น เพื่อพิจารณาการยุติ / ล้มเลิก หรือขยายโครงการที ่จะ นำไปใช้ในโอกาสต่อไป

22

เกณฑ์และตัวชี้วัดความสำเร็จ การประเมินผลโครงการนั้นต้องมีเกณฑ์และตัวชี้วัด (Indicator) ระดับความสำเร็จของโครงการ ให้ทราบ วรเดช จันทรศร และไพโรจน์ ภัทรนรากุล (2541) นำเสนอเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิ น ผล โครงการ ไว้ดังนี้ 1. เกณฑ์ประสิทธิภาพ (Efficiency) มีตัวชี้วัด เช่น สัดส่วนของผลผลิตต่อค่าใช้จ่าย ผลผลิต ต่อหน่วยเวลา ผลผลิตต่อกำลังคน ระยะเวลาในการให้บริการ 2. เกณฑ์ประสิทธิผล (Effectiveness) มีตัวชี้วัด เช่น ระดับการบรรลุเป้าหมาย ระดับการบรรลุ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ระดับการมีส่วนร่วม ระดับความเสี่ยงของโครงการ 3. เกณฑ์ความพอเพียง (Adequacy) มีตัวชี้วัด เช่น ระดับความพอเพียงของทรัพยากร 4. เกณฑ์ความพึงพอใจ (Satisfaction) มีตัวชี้วัด เช่น ระดับความพึงพอใจ 5. เกณฑ์ความเป็นธรรม (Equity) มีตัวชี้วัดคือ การให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาส ความเป็นธรรม ระหว่างเพศ ระหว่างกลุ่มอาชีพ ฯลฯ 6. เกณฑ์ความก้ า วหน้ า (Progress) มีตัวชี้วั ด เช่ น ผลผลิ ตเปรีย บเที ยบกั บ เป้ าหมายรวม กิจกรรมที่ทำแล้วเสร็จ ทรัพยากร และเวลาที่ใช้ไป 7. เกณฑ์ความยั่งยืน (Sustainability) ตัวชี้วัด เช่น ความอยู่รอดของโครงการด้านเศรษฐกิจ สมรรถนะด้านสถาบัน ความเป็นไปได้ในด้านการขยายผลของโครงการ 8. เกณฑ์ความเสียหายของโครงการ (Externalities) มีตัวชี้วัด เช่น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น หลักการสร้างตัวชี้วัดที่ดี ในการสร้างตัวชี้วัดที่ดี จำเป็นจะต้องมีหลักการที่ใช้เป็นเป้าหมายใน การดำเนินการ ดังนี้ 1. เลือกใช้ / สร้างตัวชี้วัดที่เป็นตัวแทนที่สำคัญเท่านั้น 2. คำอธิบาย หรือการกำหนดตัวชี้วัดควรเป็นวลีที่มีความชัดเจน 3. ตัวชี้วัดอาจจะกำหนดได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพก็ได้ 4. ควรนำจุดประสงค์ของโครงการหรือประเด็นการประเมินมากำหนดตัวชี้วัด 5. การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดควรรวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ การจำแนกประเภทของตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่จะประเมินในแต่ละด้าน มีดังนี้ ตัวชี้วัดด้านบริบท (Context) สามารถพิจารณาตัวชี้วัดได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. สภาวะแวดล้อมก่อนมีโครงการ (ปัญหาวิกฤต) 2. ความจำเป็นหรือความต้องการขณะนั้น และอนาคต 3. ความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ตัวชี้วัดด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของโครงการ

23

2. ความพร้อมของทรัพยากร เช่น งบประมาณ คน วัสดุอุปกรณ์ เวลา กฎระเบียบ 3. ความเหมาะสมของขั้นตอนระหว่างปัญหา สาเหตุของปัญหา และกิจกรรม ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ (Process) สามารถพิจารณาตัวชี้วัดได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. การตรวจสอบกิจกรรม เวลา และทรัพยากรของโครงการ 2. ความยอมรับของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการในพื้นที่ 3. การมีส่วนร่วมของประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 4. ภาวะผู้นำในโครงการ ตัวชี้วัดด้านผลผลิต (Product) สามารถพิจารณาตัวชี้วัดได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. อัตราการมีงานทำของประชาชนที่ยากจน 2. รายได้ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ 3. ความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์ (Outcomes) สามารถพิจารณาตัวชี้วัดได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตของตนเอง และครอบครัวตามเกณฑ์มาตรฐาน 2. การไม่อพยพย้ายถิ่น 3. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ตัวชี้วัดด้านผลกระทบ (Impact) สามารถพิจารณาตัวชี้วัดได้ ดังนี้ 1. ผลกระทบทางบวก / เป็นผลที่คาดหวังจากการมีโครงการ 2. ผลกระทบทางลบ / เป็นผลที่ไม่คาดหวังจากโครงการ การประเมินโดยใช้รูปแบบซิปเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด โดยเฉพาะการประเมินโครงการ ต่าง ๆ เพราะเป็นการประเมินที่ ใ ห้ สารสนเทศครอบคลุม มีการพิ จารณาถึง สภาพแวดล้ อมต่าง ๆ ประกอบแต่บางครั้งมีการนำรูปแบบการประเมินแบบนี้ไปใช้โดยไม่ครบตามขั้นตอน ด้วยการตัดการ ประเมินด้านบริบทออก ทำให้สารสนเทศที่ได้ลดคุณค่าลง และมีผลต่อการตัดสินใจได้ (พิสณุ ฟองศรี , 2551) จากแนวคิดการประเมินโครงการตามทัศนะของสตัสเฟิลบีมที่กล่าวมานั้น เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี (2553) สรุปได้ดังนี้ (1) การประเมินเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องกันในการ ดำเนินงานอย่างครบวงจร และย้อนกลับมาสู่รอบใหม่ของวงจรด้วย (2) กระบวนการประเมินต้องระบุหรือบ่งชี้ข้อมูลที่ต้องการ (3) กระบวนการประเมินต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ระบุหรือบ่งชี้ไว้ (4) กระบวนการประเมินต้องนำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจัดทำให้เป็นสารสนเทศ (5) สารสนเทศต้องมีความหมายและมีประโยชน์

24

(6) สารสนเทศต้องได้รับการนำไปเสนอเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดทางเลือก หรือแนวทางดำเนินการต่อไป 2) รูปแบบการประเมินของอัลคิน แนวคิดของอัลคิน เน้นการประเมินเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ โดยผู้ประเมินทำหน้าที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญในการรวบรวม จัดหา และการเตรียมข้อมูล รวมทั้งสรุปและรายงานให้ผู้มีอำนาจในการ ตัดสินใจได้ทราบเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสม ถือเป็นแนวคิดพื้นฐานของการประเมินโครงการ (เข็มทอง ศิริแสงเลิศ, 2552) 3) รูปแบบการประเมินของมาร์วิน รูปแบบการประเมิน ของมาร์ว ิน (Marvin A. Alkin อ้างถึง ใน สุภมาส อัง ศุโชติ , 2545) เรียกว่ารูปแบบ UCLA ประกอบด้วย 5 ประเภท ดังนี้ (1) การประเมินระบบ (System Assessment) เป็นการประเมินที่ให้สารสนเทศเพื่อการ ตัดสินใจเกี่ยวกับสภาวะของระบบ ตั้ง แต่การกำหนดปัญ หา การหาทางเลือกในการแก้ปัญหา การ ตัดสินใจในการเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาเอานำมาเป็นขอบเขต จุดมุ่งหมายและกระบวนการใน การดำเนินโครงการ การประเมินระบบของอัลคินคล้ายคลึงกับการประเมินบริบทหรือการประเมิน สภาพแวดล้อมของรูปแบบการประเมินซิป (2) การประเมินการวางแผนโครงการ (Program Planning) เป็นการประเมินเพื่อช่วยใน การเลือกโครงการเฉพาะ เพื่อให้สนองความต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมาย เป็นการประเมินก่อนที่จะ นำโครงการไปดำเนินการเพื่อดูว่าโครงการนั้นมีการวางแผนเหมาะสมหรือไม่เพียงใด ซึ่งคล้ายกับการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของรูปแบบการประเมินซิป (3) การประเมินการดำเนินการ (Program Implementation) เป็นการประเมิ น เพื่ อ จัดหาสารสนเทศว่าการจัดโครงการนั้นเหมาะสมกับกลุ่มหรือไม่ ซึ่งคล้ายกับการประเมินกระบวนการ ของรูปแบบการประเมินซิป แต่อัลคินให้ความสำคัญกับการเริ่มต้นการดำเนินการ จึงแยกขั้นนี้ออกมา ต่างหาก (4) การประเมิ น เพื ่ อ ปรั บ ปรุ ง โครงการ (Program Improvement) เป็ น การจั ด หา สารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการว่าโครงการบรรลุวัตถุประสงค์นำทางหรือไม่ มีผลลัพธ์ที่ ไม่คาดหวังเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งคล้ายกับการประเมินกระบวนการของรูปแบบการประเมินซิป (5) การประเมินเพื่อรับรองโครงการ (Program Certification) เป็นการประเมินเพื่อจัดหา สารสนเทศเกี่ยวกับคุณค่าของโครงการ และศักยภาพของโครงการในการขยายขอบข่ายการใช้โครงการ อย่างกว้างขวาง ซึ่งคล้ายกับการประเมินผลผลิตของรูปแบบการประเมินซิป

25

4) รูปแบบการประเมินของครอนบาค (1) แนวคิดของรูปแบบการประเมินของครอนบาค ลักษณะการประเมินผลโครงการตาม แนวคิดของครอนบาค คือต้องทำการวัดในหลาย ๆ ด้านประกอบกัน ไม่เพียงแต่การวัดตามจุดมุ่งหมาย ที่กำหนดไว้เท่านั้น จะต้องพยายามวัดผลที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ด้วย เช่น ผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเป็นผลที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา ตลอดจนผลที่ คาดหวังและไม่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น เพื่อ ประโยชน์ในการปรับปรุงโครงการและนำผลการประเมินไปขยายผลในโครงการต่อไป ซึ่งส่วนนี้ถือเป็น การประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ การประเมินตามแนวคิดของครอนบาค (Cronbach อ้างถึงใน สุภมาส อังศุโชติ, 2545) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการทางการศึ กษา การประเมิน จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลหลาย ๆ ด้าน ดังนั้น การ ประเมินจึงประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ หลายขั้นตอนและเทคนิควิธีต่างกัน ครอนบาค ได้กำหนด จุดมุ่งหมายของการประเมินไว้ 3 ประการ คือ เพื่อปรับปรุงรายวิชา เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับตัวบุคคล และ เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับระบบการบริหาร (2) กระบวนการประเมินของครอนบาค ขั้นตอนวิธีการประเมินตามแนวคิดของครอนบาคมี 4 วิธี ดังนี้ 1. การศึกษากระบวนการ (Process Studies) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่าง การเรียนการสอน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาการเรียนการสอน 2. การจัดความสามารถทั่วไป (Proficiency Measures) เป็นการเก็บข้อมูลโดยการ สัง เกตการเปลี่ย นแปลงของนัก เรี ยน การวัดความสามารถทั่ วไปของนัก เรี ยนควรใช้แ บบทดสอบ มาตรฐาน ครอนบาคให้ความสำคัญกับคะแนนรายข้อมากกว่าคะแนนรวม เพราะคะแนนรวมจะบอกถึง ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตร แต่ไม่ให้สารสนเทศที่จะนำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร การวัดความสามารถควรวัดทุก ๆ ด้าน 3. การวัดเจตคติ (Attitude Measures) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสั งเกตการ เปลี่ยนแปลงความรู้สึกของผู้เรียน เจตคตินอกจากจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความพอใจหรือไม่พอใจแล้วยังให้ ข้อมูลเกี่ยวกับความตั้งใจ ความเชื่อและพร้อมที่จะปฏิบัติด้วย 4. การศึกษาติดตามผล (Follow–Up Studies) เป็นการรวบรวมข้อมูลความสำเร็จใน อาชีพหรือความก้าวหน้าในการศึกษาระยะยาวของผู้เรียน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการวางหลักสูตรใหม่ จากการศึกษาเรื่องการประเมินโครงการข้างต้นนี้ ผู้ประเมินสรุปได้ว่า การใช้รูปแบบการ ประเมินซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) หมายถึงแนวทางในการประเมิน เพื่อให้ ทราบผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย

26

1) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) หมายถึง การประเมินความ ต้องการ ความสอดคล้องด้านสภาวะแวดล้อม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน 2) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นเบื้องต้น (Input Evaluation) หมายถึง การประเมินความ เหมาะสมความเพียงพอของปัจจัยเบื้องต้นเบื้องต้นที่นำมาใช้ในการดำเนินโครงการ 4 ด้าน ได้แก่ด้าน บุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ ด้านการบริหารจัดการ 3) การประเมิน ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) หมายถึง การประเมินการปฏิบัติ กิจกรรมของโครงการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการตรวจสอบและ ติดตาม ด้านการปรับปรุง 4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) หมายถึง การประเมินผลที่เกิดขึ้นหรือผล ที่ได้รับภายหลังการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้เพื่อนำปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตอนที่ 2 แนวคิดที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 2.1 ความหมายของภูมิทัศน์ อัจฉรี เหมสันต์ (2552) โดยทั่วไปคำว่า “ภูมิทัศน์” หมายถึง ภาพรวมของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่ มนุษย์รับรู้ทางสายตาในระยะห่าง อาจเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่ประกอบด้วยรูปทรงของแผ่นดิน น้ำ ต้นไม้ สัตว์และสรรพสิ่งมนุษย์สร้างในสภาพอากาศหนึ่งและช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่าภูมิทัศน์ธรรมชาติ หรือ ภาพรวมของเมืองหรือส่วนของเมือง เรียกว่าภูมิทัศน์เมืองนอกจากนี้ยังมีการใช้คำ “ภูมิทัศน์”กับพื้นที่ที่ มีลักณะเฉพาะเด่นชัด เช่นภูมิทัศน์ทะเล ภูมิทัศน์ภูเขา ภูมิทัศน์ทะเลทราย หรือภูมิทัศน์พระจันทร์ ซึ่ง หมายถึงภาพรวมของพื้นที่บนผิวดวงจันทร์ที่มนุษย์อวกาศไปเยือน ภู ม ิ ท ั ศ น์ ตรงกั บ คำภาษาอั ง กฤษว่ า Landscape มี ผ ู ้ บ ั ญ ญั ต ิ ค ำนี ้ ใ ช้ แ ทนการทั บ ศั พ ท์ ภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2520 ในรายงานทางเทคนิคด้านภูมิสถาปัตยกรรม โครงการอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับภูมิทัศน์ ได้แก่ “ทิวทัศน์” (Vicw) ซึ่งมีความหมาย แคบเฉพาะภาพส่วนของธรรมชาติที่มีความสาวยงาม คำว่าภูมิทัศน์ยังหมายรวมถึง จิตรกรรมภูมิทัศน์ (Iandscape art) ได้แก่ งานจิตรกรรมภาพวิวทิวทัศน์ หรือสื่ออื่นที่แสดง ภูมิทัศน์ ภาพถ่ายภูมิทัศน์ (Nature photography) ได้แก่ งานถ่ายภาพ ภาพวิวทิวทัศน์

27

ภูมิทัศน์สถาปัตยกรรม หรือภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape architecture) ได้แก่ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการวางแผน การออกแบบ และการจัดการงานภูมิทัศน์สาธารณะ งานภูมทิ ัศน์ และสวนส่วนบุคคลซึ่งสามารถแบ่งเป็นสาขาย่อยได้ดังนี้ การออกแบบภูมิทัศน์ (Landscape design) ได้แก่ การออกแบบที่ว่างทั้งในเมืองและชนบท ภูมิทัศน์วิศวกรรม (Landscape engineering) ได้แก่ งานด้านเทคนิคในงานภูมิสถาปัตยกรรม การวางแผนภูมิทัศน์ (Landscape planning) ได้แก่ การวางแผนพื้นที่ขนาดใหญ่และ/หรือ งานพัฒนาโครงการภูมิทัศน์ระยะยาว การจัดการงานภูมิทัศน์ (Landscape management) ได้แก่ การดูแลและจัดการภูมิทัศน์ มนุษย์สร้างและภูมิทัศน์ธรรมชาติ งานภูมิทัศน์สวน (Landscape gardening) ได้แก่ งานออกแบบสวนในคฤหาสน์ขนาดใหญ่ ซึ่งนิยมทำและมีความสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19 ในยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ นับเป็นต้น ตอของภูมิสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์ชุมชน (Urban landscape) ได้แก่ การออกแบบหรือปรับปรุงคุณภาพทางทัศนียภาพ ในสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนของเมือง โดยเฉพาะที่เป็นชุมชนให้มีความร่มรื่นสวยงามมีเอกลักษณ์และร่ม รื่น ภูมิทัศน์นิเวศวิทยา (Landscape ecology) ได้แก่ สาขาย่อยในวิชานิเวศวิทยา ที่ว่าด้ วย การศึกษาสาเหตุ ผลกระทบและกระบวนการของรูปลักษณ์ภูมิทัศน์ของพื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนแปลง ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural landscapes) ได้แก่ “การรวมเข้าด้วยกันในงานของธรรมชาติ และงานของมนุษย์”เป็นการแสดงให้เห็นภาพของวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์และการตั้งถิ่นฐานตาม กาลเวลาที่ ล่ วงเลยมา ซึ่งได้รับอิทธิพ ลจากข้อ จำกั ด ทางกายภาพและ/หรือ โอกาสในสิ ่ง แวดล้ อ ม ธรรมชาติและจากการสืบทอดทางสังคม เศรษฐกิจและพลังอิทธิพลทางวัฒนธรรมทั้งที่เกิดภายในและที่ ได้รับจากภายนอก จากข้อมูลข้างต้น ภูมิทัศน์ หมายถึง พื้นที่ภายนอกอาคารของพื้นที่ใดพื้นที่ หนึ่ง ที่มนุษย์รับรู้ ทางสายตาในระยะห่าง ที่มีการปรับแต่งพื้นที่ให้มีประโยชน์ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพ มีความร่มรื่น สวยงามและมีเอกลักษณ์ เช่น ม้านั่ง ถังขยะ น้ำพุ น้ำตก สวนหย่อม เป็นต้น 2.2 ความหมายของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน วิชาญ สุวรรณวงษ์ (2549:12) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สภาพแวดล้อมในโรงเรียน หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ภายในโรงเรียน ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน ได้แก่สภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่สวยงาม ร่มรื่นเป็นระเบียบและมีบรรยากาศดี มีความปลอดภัย มีวัสดุอุปกรณ์เสริมสร้างพัฒนาการและเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย มีสิ่งยั่วยุให้เกิดการเรียนรู้ และ ไม่มีมลภาวะ

28

นงลลักษณ์ มีจรูญสม (2546: 1) ได้กล่าวไว้ว่าสภาพสิ่งแวดล้อม หมายถึงสิ่งที่มีอยู่โดยรอบ หรือปะปนกันของสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน ที่มีผลกระทบต่ อสิ่งมีชีวิต สิ่งที่อยู่โดยรอบนี้จะมี ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตนั้น มิใช่เป็นเพียงรูปธรรมเท่านั้น วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ ก็มีผลผูกพัน ความรู้สึกนึกคิดและกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่ง เรียกว่า เป็นสภาพสิ่ง แวดล้อมที่เป็น นามธรรมด้วย ดังนั้นสภาพสิ่ง แวดล้อมของมนุษย์จึงต้องรวมทั้ งสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและ สิ่งแวดล้อมทางสังคมเข้าไว้ด้วยกัน สุพล อนามัย (2549: 29) ได้ให้ความหมายของสภาพแวดล้อมในโรงเรียนไว้ว่าองค์ประกอบ ต่าง ๆภายในโรงเรียน ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้านได้แก่สภาวะ แวดล้อมในโรงเรียนที่สวยงาม ร่มรื่นเป็นระเบียบและมีบรรยากาศดี มีความปลอดภัย มีวัสดุอุปกรณ์ เสริมสร้างพัฒนาการและเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย มีสิ่งยั่วยุให้เกิดการเรียนรู้และไม่มีมลภาวะ ปฏิ ค ม พงษ์ ป ระเสริ ฐ (2550: 19) ได้ ก ล่ า วไว้ ว ่ า สภาพแวดล้ อ มในโรงเรี ย น หมายถึ ง องค์ ป ระกอบต่า ง ๆ ภายในโรงเรี ยนที่ จ ะส่ง เสริ ม ให้ นัก เรี ยนเกิ ด การเรี ย นรู ้แ ละพั ฒนาตนเองใน ทุก ๆ ด้าน ได้แก่สภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่สวยงาม ร่มรื่นเป็นระเบียบและมีบรรยากาศดี มีความ ปลอดภัย มีวัสดุอุปกรณ์เสริมสร้างการพัฒนาการและเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อรพันธุ ประสิ ทธิรัตน์ (2545, น.54-55) ได้ให้ความหมาย สภาพแวดล้อมไว้ว่า หมายถึง สภาพสภาวะหรือสิ่งต่างที่อยู่รอบ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรืออาจเป็นสิ่งที่ถูกจัดทำสร้างขึ้น อาจเป็น สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้หรือเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นได้อยู่ในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพประสิทธิผลในการเรียนของผู้เรียนและได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมของผู้เรียนจะเป็นอ่างไรนั้นเกี่ยวข้องหรือได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ การ จัดสภาพแวดล้อมที่ดี ที่เหมาะสมกับวั ยและระดับของผู้เรียนเป็นสิ่ง ที่พึงพอใจในการเรียนทำให้เกิ ด สมาธิและปัญญา ทรรศนีย์ วราห์คำ (2554: 13) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สภาพแวดล้อมในโรงเรียน หมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ภายในโรงเรียน ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่สวยงาม ร่ม รื่นเป็นระเบียบและมีบรรยากาศดี มีความปลอดภัย มี วัสดุอุปกรณ์เสริมสร้างการพัฒนาการและเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลายมีสิ่งยั่วยุให้เกิดการเรียนรู้ และไม่มีมลภาวะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นส่งเสริม สนับสนุน ให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองให้ไ ปสู่ จุดมุ่งหมายตามที่โรงเรียนหรือสถานศึกษานั้น ๆ กำหนด จากความหมายที่กล่าวมาสรุปได้ว่าสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน หมายถึง องค์ประกอบและสิ่ง ต่างๆที่อยู่ภายในโรงเรียนที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมของผู้เรียนในด้านต่างๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตและ ไม่มีชีวิต ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ ต้นไม้ อาคารเรียน อาคารประกอบ

29

2.3 ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มยุรีสิงห์ โทราช (2540: 20) กล่าวถึง ความสำคัญของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่มีผล ทางการศึกษาว่า สถานศึกษาเป็นสถานที่ที่เด็กได้พบสิ่ งแวดล้อมหลายอย่าง เช่นได้มีการสมาคมติดต่อ กับครูและเพื่อนนักเรียนในวัยต่าง ๆ ได้อ่านหนังสือในห้องสมุด ได้ดูภาพยนตร์และโทรทัศน์ และได้ฟัง วิทยุที่ครูจัดขึ้นเพื่อประกอบการสอน ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาทั้งสิ้น นอกจากนี้ยัง ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์มีความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ อรุณชัย กัณฑภา (2548: 21) ได้สรุปแนวคิดและหลักความสำคัญที่ได้กล่าวถึงในด้านการจัด สภาพแวดล้อมในองค์กรโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่จะต้องเสริมสร้างผู้เรียนได้รับโอกาสอันพึง ที่จะควรได้รับในการพัฒนาศักยภาพตามวัย การพัฒนาองค์กร หรือโรงเรียน สิ่งหนึ่งที่มีการกล่าวถึงและ ให้ความสำคั ญอย่ างมากคือ การจัด สภาพแวดล้อ มในทุ ก ๆ ด้านที่ส่ง ผลต่ อการเรียนรู้ ของผู ้เ รี ย น สภาพแวดล้อมที่ดี หมายถึงส่วนประกอบสำคัญ ส่วนหนึ่ง ที่จะส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการ มีความ ปลอดภัย มีแรงจูงใจและเกิดความสุข ความเต็มใจในการแสวงหาความรู้ตรงกันข้าม โรงเรียนที่ขาดการ เอาใจใส่ในด้านสภาพแวดล้อมหรือไม่เห็นความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมจะทำให้บุคลากรทั้ง ใน และนอกสถานศึกษาขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีบรรยากาศที่น่าเบื่อขาดความอบอุ่นและบรรยากาศที่เป็นมิตร และขาดศรัทธาต่อโรงเรียน ทำให้ส่วนประกอบของ คำว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ขาดความสมบูรณ์ ตามมาในที่สุด ในขณะเดียวกัน ประเวศ วะสี (2542: 9) ได้กล่าวถึง ระบบการจัดการศึกษาทั่วโลกว่า จะใช้วิชาเป็นตัวตั้ง จึงสร้างปัญหามากมาย ฉะนั้นจำเป็นต้องศึกษาโดยใช้ความจริงเป็นตัวตั้ง ซึ่งกา ศึกษาถึงความจริงมีอยู่ 3 เรื่องคือ 1. ศึกษาให้รู้รักตนเอง เข้าใจพื้นฐานความเป็นมนุษย์ ต้องเข้าใจว่าเรา มีวิญญาณรับรู้ได้จากตนเองและภายนอกแล้วนำมาสังเคราะห์ให้สูงขึ้น ปัจจุบันการศึกษาของเราสร้าง คนให้ พ ิ ก ารทางกายภาพมากมายนั ก 2. ศึ ก ษาให้ เ ข้ า ใจสภาพแวดล้ อ ม ซึ ่ ง มี ก ารเชื ่ อ มโยงและ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามนุษย์ควรศึกษาร่วมไปกับความจริง ไม่ แยกจากสิ่งแวดล้อมและสามารถ สังเคราะห์ได้ นอกจากจะเข้าใจสิ่งแวดล้อมแล้วการเรียนก็ไม่น่าเบื่อ เกิดความสนุก 3. ศึกษาให้เข้าใจ ปฏิ ส ั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งมนุษ ย์ ก ั บ สิ ่ งแวดล้ อ ม และจั ด การศึ ก ษา ให้ เ กิ ด ความสั ม พั น ธ์ เ กื ้ อ กู ล ต่อกัน สภาพแวดล้ อ มนั ้ น มี ป ฏิ ส ั ม พั น ธ์ พ ัน ธ์ก ั บ มนุษ ย์ ม าตลอดเวลา ถ้ า ศึ ก ษาให้ เ ข้ า ใจจิ ต คนจะเกิ ด ใน สภาพแวดล้อมนั้น เชิดชู กาฬวงศ์ (2545: 14) กล่าวถึงแนวความคิดและความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม ในโรงเรียนว่า โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จัดประมวลประสบการณ์แก่นักเรียน ทั้งทางตรงและทางอ้ อม เพื่อนำประสบการณ์เหล่านั้นไปพัฒนาตนเองในอนาคตแต่จะทำอย่างไรให้เด็กชอบมาโรงเรียนเป็นคน ใฝ่รู้ มีความรู้สึกสนุกสนาน มีเจตคติที่ดีต่อโรงเรียน การที่โรงเรียนจะได้รับการตอบสนองจากนักเรียน โรงเรียนต้องดำเนินการสร้างแรงจูงใจต่อนักเรียน ให้เกิดความคิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษา ดัง กล่าว แนวทางในการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอน โรงเรียนต้องดำเนินการพัฒนา

30

สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้มีผลต่อการเรียนรู้ สามารถปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงเพศและวัยของผู้เรียน ทรรศนีย์ วราห์คำ (2554: 17) ได้กล่าวไว้ว่า สภาพแวดล้อมในโรงเรียนความมีปฏิส ัมพันธ์ ร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลาเพราะนักเรียน ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามธรรมชาติ ได้ฝึกปฏิบัติจริง ดังนั้น สภาพแวดล้อมในโรงเรียนจึงเป็น องค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้เรียนและช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ความคิด บุคลิกภาพ มีความรับผิดชอบและประสบผลสำเร็จในการศึกษา จากแนวคิดนักวิชาการหลายท่าน สรุปได้ว่าสิ่ง แวดล้อมในโรงเรียนมีความสำคัญ ต่อการ พัฒนาศักภาพตามวัยของนักเรียน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญ และมี อิทธิพลต่อพฤติกรรม การแสดงออก ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม (A) 2.4 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการเรียนรู้ของผู้ เรียน เพราะสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จะช่วยพัฒนาเด็กให้เป็นผู้เรียนที่มีคุณภาพได้ ดังนั้น ครูจึงมี ความจำเป็นที่จะต้องจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองเต็มศักยภาพ เพื่อจะได้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ 2.4.1 สภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ ราตรี ลภะวงศ์ (2549: 16-17) ได้กล่าวถึงสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ คือ การสร้างอาคารสถานที่ตลอดจนห้องเรียน ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าดู อยู่ในตำแหน่ง หรือ บริเวณที่เหมาะสมและเอื้ อประโยชน์ต่อการใช้สอย โดยการจัดขึ้น อยู่กับสภาพความเป็นไปได้และ เหมาะสมของห้องเรียน วัสดุที่ใช้และความสามารถของการจัดของผู้สอนและผู้เรียนรวมทั้งการจัดสภาพ นอกห้องเรียน เช่น สนามกีฬา สภาพอาคารเรียน อาคารประกอบ สวนหย่อม สนามเด็กเล่น สถานที่ พักผ่อน ควรจัดให้เป็นระเบียบ สะอาด มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเพิ่มความร่มรื่นสวยงาม จำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีการร่วมมือร่วมใจกันของสมาชิกในโรงเรียน ทั้ง ด้านความคิดและแรงงานในการ ตกแต่งและดูแลรักษา ซึ่งสอดคล้องกับ พจน์ พจน์พัฒนพล (2548: 40) กล่าวว่า สิ่งที่โรงเรียนควรจัดให้ มี หรือดูแลเอาใจใส่เป็นอันดับแรกๆและเห็นด้วยตาเปล่า คือ 1. โรงอาหาร หรื อ สถานที ่ ส ำหรั บ รั บ ประทานอาหาร อั น จะก่ อ ให้ เ กิ ด ความสำเร็จแก่นักเรียน คือมีอาหารที่ดีรับประทาน เป็นการเสริมสุภาพอนามัย และมีการฝึกสุขนิสัยใน การกิน ตลอดจนการรักษาความสะอาดที่เกี่ยวกับการเงิน 2. สถานที่เล่นกีฬา หรือสถานที่พักผ่อนในยามว่างเรียน สามารถช่วยนักเรียนให้ ได้พักผ่อน หรือเล่นระหว่างพักเรียนเป็นการคลายเครียด ได้ฝึกสุขนิสัยทางกีฬา และส่งเสริมสุขภาพ

31

ห้องสมุด อาจจะอยู่ในรูปมาตรฐาน หรือในรูป Book Comer หรือรูปใดๆก็ไ ด้ตามความเหมาะสม ห้องสมุดจะเอื้ออำนวยให้แก่นักเรียน คือเสริมสร้ างความรู้ สร้างนิสัยรักการอ่านและได้พักผ่อนคลาย เครียด 3. ห้องเรียน จากคู่มือการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2533) ได้เสนอการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ได้แก่การจัดที่นั่ง โต๊ะครู การจัดมุม เสริมความรู้ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ สมาน ปรีชา (2548: 14-17) กล่าวเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านอาคารสถานที่ที่ ดี ผู้บริหารต้องใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารจึงจะทำให้การดำเนินงานจั ดสภาพแวดล้อมด้าน อาคารสถานที่ในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ซึ่งจะต้องครอบคลุมทั้ง ด้านการจัดหา การดูแลรักษาความปลอดภัยและวางแผนการใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณค่าสูงสุด และควร เอาใจใส่อย่างต่อเนื่องเพราะสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่เป็นเสมื อนหน้าตาของสถานศึกษา บ่ง บอกถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและความเอาใจใส่ของบุคลากรในโรงเรียนอันจะส่งผลต่อการจัดการเรียน การสอนและสภาวะจิตใจของผู้ใช้อาคารสถานที่ ซึ่งหมายถึง นักเรียนครูรวมถึงบุคคลภายนอกที่มาเยี่ยม เยือนสถานศึกษาในโอกาสต่าง ๆ และได้กล่าวถึงแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ ดังนี้ 1. ดำเนิ น การวางแผนการใช้อ าคารสถานที่ ให้ เ กิ ดประโยชน์ค ุ ้ม ค่ า โดยให้ บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วม 2. จัดให้มีแผนผังอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียนและห้องพิเศษ 3. จัดให้มีการทำตารางและแสดงการใช้อาคารสถานที่ รวมถึงห้องพิเศษต่างๆ 4. ตรวจสภาพและซ่อมบำรุงอาคารสถานที่อย่างสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพพร้อม ใช้งานได้ 5. จัดให้มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอาคารสถานที่ของบุคลากร 6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ 7. จัดสภาพบริเวณสถานศึกษาให้ร่มรื่น สะอาด สวยงาม น่ าดู น่าเรียนและ ปลอดภัย 8. จัดบริเวณอาคารเรียน อาคารประกอบ และบริเวณอื่น ๆ ให้มีความแข็ง แรง สะอาดและแสงสว่างเพียงพอ จากที่กล่าวมา โรงเรียนนอกจากจะอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานทาง การศึกษาแล้ว ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความเจริญงอกงามด้านร่างกาย จิตใจ ด้านสังคมและสติปญ ั ญา ของนักเรียนเป็นอย่างมากการกำหนดแผนผังอาคารการจัดบริเวณและการจัดสภาพแวดล้อมเพื ่อให้ ตอบสนองการเรียนรู้ และการพัฒนาของเด็กโดยหลักการแล้วจะไม่นิยม การวางรูปแบบตายตัวมีการ เปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่าง ขนาดทรวดทรง เพื่อประโยชน์ด้านการเรียนการสอน และการปรับให้สอดคล้อง

32

กับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม หากนักเรียนได้พบเห็นสภาพบรรยากาศอันดีงาม จะเป็นการ กระตุ้นทางสติปัญญา เสริมพัฒนาการทางสุนทรีและความซาบซึ้งในความงามเมื่อเติบโตก็จะสามารถ สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางสังคมได้โดยอาศัยประสบกาณ์ในอดีตส่วนใหญ่ซึ่งมาจากโรงเรียนในช่ วง พัฒนาบุคลิกภาพ การจัดสภาพห้องเรียนในลักษณะนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่ง เร้า เพื่อกระตุ้น ให้เกิด การเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ นั่นเอง พรพจน์ พจน์พัฒนพล (2548: 41) ได้กล่าววถึงการจัก สภาพ ห้องเรียนไว้ดังนี้ 1. การจัดที่นั่งของผู้เรียน จะต้องใช้เดินไปมาหากัน และความคล่องตัวของการ เคลื่อนย้ายในการปฏิบัติกิจกรรม การจัดที่นั่งของผู้เรียนอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1.1 การจัดที่นั่งเป็นรายบุคคล อาจจัดได้หลายแบบ เช่น เรียงเป็นแถวตอน ลึก หันหน้าไปทางกระดานดำทั้งหมด ซึ่งเป็นแบบที่ใช้มานาน ปัจจุบันเรียกว่าการจัดการแบบเก่าเพราะ เห็นว่าหลักสูตรแบบเก่าใช้วิธีให้ครูบอก อธิบาย โดยตลอด ผู้เรียนเป็ นผู้ฟังอย่างเดียวไม่ต้องปฏิ บั ติ กิจกรรมอื่นใด การจัดที่นั่งแบบนี้ยังใช้ไ ด้อยู่ เมื่อปฏิบัติกิจกรรมอื่น ๆ ควรปรับปรุงการจัดที่นั่ง ใหม่ สำหรับการจัดเป็นรูปตัวยู ครึ่งวงกลม บางครั้งก็เกิ ดปัญหามาก ผู้เรียนต้องนั่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ตลอด เพราะต้องหันหน้าไปดูผู้สอนหน้าชั้นจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ 1.2 การจัดที่นั่ง เป็นกลุ่ม หลักสูตรฉบับปรับปรุง กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ กิจกรรมร่วมกัน หรือผู้สอนโดยใช้แบบบทเรียนสำเร็จรูป สำหรับโต๊ะเก้าอี้ของผู้เรียนที่ใช้ในห้องเรียน ควรมีขนาดพอเหมาะกับผู้เรียน มิฉะนั้นจะทำให้อ่านเขียน และทำกิจกรรมไม่สะดวก อาจมีผลทำให้เสีย บุคลิกภาพได้ จำนวนโต๊ะเก้าอี้ก็ควรมีอย่างเพียงพอ กับจำนวนผู้เรียน ส่วนการจัดโต๊ะของผู้สอน ควรจัด ให้อยู่ในที่ที่เหมาะสมอาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง กลางห้อง หรือหลังห้องก็ได้ จากงานวิจัยบางเรื่อง เสนอแนะให้จัดโต๊ะผู้สอนไว้ด้านหลังห้อง เพื่อให้มองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึงอย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะ ผู้สอนนั้นขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่งของผู้เรียนด้วย 2. การจัดห้องเรียน และวัสดุอุปกรณ์ ห้องเรียนที่ดีเปรียบเสมือนบ้านที่ดีผู้อยู่ อาศัยจะได้อยู่อย่างมีความสุข การจัดห้องเรียนได้อย่างเหมาะสมจะเป็นการปลูกฝังนิสัยบางอย่างให้แก่ ผู้เรียน เช่น ถ้าห้องเรียนสกปรกรกรุงรัง ผู้เรียนจะมีนิสัยเคยชินกับความสกปรก ในที่สุ ดก็จะเป็นคนรัก ความสะอาดได้ยาก ซึ่งองค์ประกอบสำคัญในการจัดห้องเรียนที่ควรคำนึงมี ดังนี้ 2.1 สภาพห้องเรียน ต้องอยู่ในสภาพที่ดีและใช้ การได้เป็นสัดส่วนมีความ เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.2 ขนาดห้องเรียน ต้องกว้างขวางพอเหมาะกับจำนวนผู้เรียนและเนื้ อที่ พอเพียงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3. สุขลักษณะในห้องเรียน ห้องเรียนควรให้ถูกสุขลักษณะ ดังนี้ 3.1 อากาศถ่ายเทได้ดีมีหน้าต่ างอย่างเพียงพอ และมีประตู เข้าออกได้อย่าง สะดวก

33

3.2 แสงสว่างพอเหมาะเพื่อช่วยผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจนเป็นการถนอม สายตา ห้องเรียนมีแสงสว่างไม่เพียงพออาจแก้ปัญหาได้ เช่น ทำหน้าต่างหรือบานเลื่อนเพิ่ม ใช้ไฟหรือ โคมไฟช่วย ดัดแปลงหลังคาให้แสงสว่างส่องผ่านได้ ทาสีภายในห้อง ฯลฯ 3.3 ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง ควัน ฝุ่น ฯลฯ 3.4 ความสะอาด ผู้เรียนต้องช่วยกันเก็บกวาดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความ สะอาดและทำให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม 4. การจัดตกแต่งห้องเรียน ซึ่งมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 4.1 มุมหนังสือ ในห้องเรียนควรมีมุมหนังสือไว้ให้ผู้เรียนอ่านหนังสือจะช่วยให้ ผู้เรียนอ่านคล่องมีความรู้กว้างขวาง และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือหลายๆประเภท ที่มีความยากง่ายพอเหมาะกับวัยของผู้เรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยนบ่อย ๆ การ จัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระบบ และสะดวกในการหยิบอ่าน 4.2 สื่อการเรียนการสอนและวัสดุต่างๆ สื่อการเรียนการสอนประเภทหนังสือ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบีย บ อาจอยู่ร่วมกับมุมหนังสือ หรือแยกไว้ต่างหาก อุปกรณ์การสอนที่ผู้ส อนใช้ ประจำ เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก ฯลฯ ให้จัดไว้เป็นระเบียบเช่นเดียวกัน อุปกรณ์ที่ใช้แล้วไม่ควร ติดหรือแขวนนวมจนลืมอุปกรณ์เหล่านี้อาจทำให้ความสนใจของผู้เรียนเปลี่ยนไปขณะเรียน บทเรียน ใหม่ แต่อุปกรณ์บางชนิด เช่น เกม อุปกรณ์การสะสมคำ อุปกรณ์การคิดคำนวณ ฯลฯ อาจจัดไว้ที่หนึ่ง เพื่อให้ผู้เรียนเล่นยามว่าง ซึ่งอาจเรียกว่ามุมฝึกสมอง หรือเรียกชื่ออื่น ๆ ก็ได้ สำหรับวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ผู้สอนควรฝึกนิสัย การจัดของ ให้เป็นระเบียบ เมื่อใช้แล้วต้องเก็บให้เข้าที่ให้เรียบร้อย ห้องเรียนจะได้ดูเป็นระเบียบ 4.3 เครื่องมือเครื่อ งใช้ ที่ จำเป็น ในห้องเรียนทุกห้องเรียนจะมีเครื ่ อ งมื อ เครื่องใช้ที่จำเป็น เช่นอุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้อง แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และแก้วน้ำของผู้เรียน กล่องอาหาร หรือปิ่นโต ฯลฯ สิ่งของเหล่านี้ ถ้าไม่จัดที่สำหรับวางให้ดีจะดูเกะกะ ส่วนมากจะจัดไว้ตาม มุมหรือฝาผนังห้องเรียน 4.4 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ตามความจำเป็นได้แก่ มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม การงานและพื้นฐานอาชีพและ ภาษาอังกฤษ 4.5 การแสดงผังงานของผู้เรียน ครูควรจัดให้มีการแสดงผลงานของผู้เรียนใน ห้องเรียน เพื่ อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลัง ใจในการเรียนต่อไป ทั้ง ยัง สามารถแก้ไข และพัฒนาผลงานของตนให้ดีขึ้นโดยลำดับ ผลงานเหล่านี้อาจติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือ วางบนโต๊ะ 4.6 การจัดที่นอนเอนกประสงค์ในยามว่าง ผู้เรียนใช้ห้องเรียนเป็นสถานที่ พักผ่อน ที่ทำงานที่ผู้สอนมอบหมาย อ่านหนังสือจากมุมหนังสือ หรือนั่งสนทนากัน ห้องเรียนที่ดีควรจัด

34

สถานที่ไว้ให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวเท่าที่จะทำได้การประดับตกแต่งห้องเรียน ผู้สอนส่วนใหญ่มี ห้องเรียนมาตรฐานหรือผู้สอนที่รักความสวยงามจะนิยมประดับตกแต่งห้องเรียน ผู้สอนส่วนใหญ่มี ห้องเรียนมาตรฐานหรือผู้สอนที่รักความสวยงามจะนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ สุภาษิต ฯลฯ 4.7 การตกแต่งห้องเรียนควรทำอย่างพอเหมาะไม่มากจนเกินไป เช่น ติดภาพ สวย ๆ ไม่ควรฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้อนแสง อาจทำให้ผู้เรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด และสวยงาม กรมวิชาการ (2545: 112 - 114) กล่าวถึง รูปร่างลักษณะของห้องเรียนและ สร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่มีผลต่อการเรียนไว้ว่า ครูประถมส่วนมากสอนอยู่ในห้องเรียนเดียว ครู 1 คน รับผิดชอบนักเรียน 1 ห้อง ในด้านการเรียนรู้ สวัสดิภาพ และความสุขของนักเรียน ความพอใจใน งานของครู ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการ “ปั้นศิษย์” ของตน ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ส่งเสริมให้บรรลุ เป้าหมายนี้ก็คือ สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ครูสร้างขึ้นเพื่อให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้นั่นเอง ตัวบ่งชี้ความ เอาใจใส่ของครูต่อเด็กประการหนึ่งก็คือ สภาพของห้องเรียน (บางครั้งเรียกรวม ๆ ว่ า “บรรยากาศ” ของห้องเรียน) ทั้ง ๆ ที่มีการเรียกร้องให้ครูปรับปรุงการสอนภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ให้มีมาตรฐาน สูงขึ้น แต่ครูประถมศึกษาก็ยังสละเวลาที่มีจำกัดมาพัฒนาสภาพแวดล้อมด้วย ทั้งผู้ใหญ่และต่างก็ต้องใช้ เวลาอยู่ที่โรงเรียนวันละหลาย ๆ ชั่วโมงจึงจำเป็นจะต้องสร้างบรรยากาศที่สบายน่าอยู่ไปในห้องเรียน ครั้งแรก ห้องเรียนจะมีสภาพน่าเรียนเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือไม่นั้น สิ่งสำคัญอันดับ แรกคือการตรวจสอบห้องเรี ยนโดยถามความคิดเห็นของนักเรียน เช่น เมื่อเข้าไปในห้องเรียนครั้งแรก ห้องเรียนมีสภาพน่าเรียนหรือไม่ หรือขาดการตกแต่ง ยุ่ง เหยิ ง และไม่น่าสนใจ โต๊ะ เก้าอี้มีขนาด เหมาะสมหรือไม่ สื่อหรืออุปกรณ์วางไว้หยิบง่ายและเห็นได้ชัดเจนหรือไม่ วิธีทดสอบก็คือคุกเข่าลงบน พื้นห้องหลายจุดรวมทั้งตรงประตูและกวาดสายตาไปทั่วห้องสักครู่ ว่ามีอะไรที่จะต้อง ปรับปรุงได้อีกโดย ไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก ในทำนองเดียวกัน ควรสอบถามความคิดเห็นของผู้ใหญ่ว่าต้องการให้ ห้องเรียนเป็นอย่างไร การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ความเรียบร้อย และแผนผังห้องแสดงประสิท ธิภาพของผู้ จัดหรือไม่ เหมาะกับการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยหรือไม่ และอุปกรณ์ทันสมัยน่าใช้ หรือไม่ ห้องเรียนที่มีความพร้อมจะสามารถนำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนและทำให้ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ สนใจโรงเรียนด้วย สุนันท์ สุขสวัสดิ์ (2552: 26) ได้กล่าวถึง หลักการจัดการอาคารสถานที่และการ จัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมเอาไว้ 4 ประการดังต่อไปนี้ 1. การแบ่งสัดส่วนพื้นที่ของกิจกรรมต่าง ๆ ๆในสถาบันการศึกษาอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่อาคารสำหรับการเรียนการสอน พื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมกีฬาสีและนันทนาการ พื้นที่ สำหรับการฝึกงานพื้นที่สำหรับกำจัดสิ่งปฏิกูล

35

2. การวางผังบริเวณปลูกสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบ เช่น ถูกต้องตาม ทิศทางลมเอื้อต่อการรับแสงสว่างและป้องกันเสียงรบกวนได้ 3. การจัดให้มีทางเดินเท้าระหว่างอาคาร เช่น ทำทางเดินเท้าที่มี หรือไม่มี หลังคาเชื่อมระหว่างอาคารต่าง ๆ โดยจัดทำจากวัสดุในท้องถิ่นหรือใช้พันธ์ไม้ให้ร่มเงา พันธ์ไม้เลื้อยหรือ พันธ์ไม้พุ่มดอก 4. การอนุรักษ์สภาพแวดล้อ มที่ จะใความสดชื ่นและร่ มเงาแก่นัก เรีย นหรื อ นักศึกษา เช่น ต้นไม้ สนามหญ้า สระน้ำ ทางน้ำธรรมชาติ ไม้ดอกไม้ประดั บ รวมทั้งจัดให้มีระบบการ กำจัดขยะเปียกขยะแห้งให้หมดไป หรือปรับปรุงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปอื่น เช่นทำปุ๋ยหมัก ทรรศนีย์ วราห์คำ (2554: 22) สรุปไว้ว่า สภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ หมายถึง การจัดห้องเรียนเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าดู อยู่ในตำแหน่งหรือบริเวณที่เหมาะสมและเอื้อต่อ ประโยชน์ใช้สอยโดยการจัดขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นไปได้และความเหมาะสมของห้องเรียน วัสดุที่ใช้ และความสามารถการจัดห้องของผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งการ จัดสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ ภายนอกและภายในห้องเรียนและสิ่งปลูกสร้างให้มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภั ย ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ความสะอาด เช่นอาคารเรียนอาคารประกอบ สวนหย่อม ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ โรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ห้องน้ำห้องส้วมที่มีการดูแลความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ อุปกรณ์ในห้องเรียน สนามกีฬา เครื่องเล่นสนาม ที่พักผ่อนควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมีความเหมาะสมกับที่ตั้ง ของ โรงเรียน ความปลอดภัยในสนามเด็กเล็ก และบริเวณโรงเรียน ตลอดถึงการปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อ เป็นการเพิ่มความร่มรื่น สวยงาม เพื่อให้เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของสมาชิกในโรงเรียนตลอดไป จากข้อมูลทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า สภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ หมายถึง การออกแบบ และจัดตกแต่งสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียนให้มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย มีความ เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสะอาด โดยอยู่ในตำแหน่งหรือบริเวณที่เหมาะสม และเอื้อประโยชน์ต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น อาคารเรียน อาคารประกอบ สวนหย่อม ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ โรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ห้องน้ำห้องส้วม สนามกีฬา เป็นต้น 2.4.2 สภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมทางด้านการเรียน ตลอดจนการจัดบริการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการต่าง ๆ ที่จะทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ประสบการณ์ให้มากที่สุด ภายใต้บรรยากาศทีมีชีวิตชีวา แจ่มใส น่าเรียน ไม่มีสภาพแห่งความกลัวหวาด ผวา วิตกกังวล สิ่งชี้วัดลักษณะของสภาพแวดล้อมทางด้านวิชาการ ได้แก่ ครู- อาจารย์ มีความ กระตือรือร้นในการเร่งเร้าให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเองและ สังคม รู้จักหาเทคนิค หรือกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมนักเรียนมาช่วยเสริมเปลี่ยนแปลงวิธีสอนเพื่อ ลดความเบื่อหน่าย ซ้ำซากจำเจ

36

ชาญชัย อาจินสมาจาร (2544: 45) กล่าวถึง การจัดสภาพแวดล้อมด้านการ จัดการเรียนรู้และบทบาทของครูไว้ ดังนี้ 1) เป็นแบบอย่างในเจตคติ และพฤติกรรมทางบวกแลสร้างสรรค์ต่อเพื่อน ร่วมงาน นักเรียนและผู้ปกครอง 2) ใช้อำนาจอย่างยุติธรรม 3) ให้ความอบอุ่นในการสนับสนุน 4) ส่งเสริมความคิด หรือความร่วมมืออิสระต่อความเหมาะสม 5) กระตุ ้ น นั ก เรี ย นให้ เ รี ย นรู ้ และให้ ม าตรการในการเลื อ กแก่น ั กเรี ยนใน กระบวนการเรียนรู้ 6) ประกันความสมดุลที่มีเหตุผลระหว่างผลสะท้อนกลับในทางบวกและทางลบ 7) หาโอกาสเพื่อทำให้นักเรียนมีความรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุน การยอมรับว่า ตนเองมีคุณค่าประสบความสำเร็จ มีความมั่นคงทางอารมณ์ เนาวรัตน์ ลิขิตวัฒนเศรษฐ์ (2544: 29) ให้แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของครูต่อ การจัดสภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ในโรงเรียนไว้ ดังนี้ 1) เตรียมกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้แหล่งเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน 2) จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในแหล่งเรียนรู้ ที่จูงใจและเสริมสร้างให้ เกิดการเรียนรู้ 3) ปรับสภาพของสถานศึกษาที่เรียนให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองให้มากที่สุด 4) ร่วมมือกับโรงเรียนและชุมชนดูสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งในและ นอกโรงเรียน นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (2545: 9) กล่าวถึงบทบาทของครู ในการจัดการเรียน การสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาว่า กระบวนเรียนรู้ต้ องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับ ความสนใจ ความถนัด ความแตกต่างของผู้เรียน ครูสามารถจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมสื่อการ เรียนอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ปรี ช า สุ ค นธมาน (2545: 7 - 8) กล่ า วถึ ง การสร้ า งบรรยากาศและ สภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนมั่นใจโดยครูว่า ครูเปรียบสสมือนพ่อแม่อีกคนหนึ่งของนักเรียน จากข้อความ ดังกล่าว ทำให้นึกถึงคำพูดที่ว่า แล้วแต่ครูเถอะครับ/ค่ะ ฉันยกให้ครูก็แล้วกัน ฉันฝากลูกด้วยนะครู ฯลฯ และยังมีอีกหลายประโยคที่ได้ยิน ย่อมแสดงว่า ผู้ปกครองให้ความไว้วางใจและให้ความเชื่อมั่นในตัวครู ซึ่งทำให้ครูมีภาระเพิ่มขึ้นมาอีกก็คือ การสร้างความมั่นใจ ความเชื่อมั่นในตนเองให้กับผู้เรียนและเพื่อทำ ให้ผู้เรียนรู้สึกได้ว่า เมื่อมาเรียนแล้วได้รับความรู้ ประสบการณ์ มีแนวคิด มีเหตุผล พร้อมที่จะนำสิ่งที่ ได้รับไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป ครุต้องเสริมสร้างความมั่นใจโดยอาศัยเทคนิค วิธีการต่าง ๆ

37

อรุณชัย กัณฑภา (2548: 28) กล่าวถึง ความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีความหายรวมถึงบรรยากาศ และบรรยากาศโดยส่วนใหญ่ในระดับโรงเรียน ประถมศึกษานั้น ถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการบริหารที่จะเป็นกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่ความปรารถนาของ สัง คม การสร้าง การวางแผนการขับเคลื่อนบุคลากรให้ไปในทิศทางที่เป็นสังคมเรียนรู้ เป็นภาระที่ ผู้บริหารต้องดำเนินการ ครูเป็นทั้งสภาพแวดล้อมและเป็นผู้สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งผลโดยตรงให้ นักเรียนโดยใกล้ชิด การนำพาบรรยากาศที่ดี มีความอบอุ่น รอยยิ้มที่สดชื่น จริงใจมีเมตตา สรรหาและ สร้างสิ่งที่สร้างสรรค์ให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ นับได้ว่าเป็นบุคคลที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้นักเรียนได้เกิด การพัฒนาด้านต่างๆ จัดสภาพแวดล้อมทางด้านการเรียนรู้ที่ ช่วยส่งเสริมให้เกิดสภาพดังกล่าว ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตรงตามจุดประสงค์ ส่งเสริมความสามารถของแต่ละบุคคลให้นักเรียน เป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนแล้วดำเนินกิจกรรมด้วยความเป็นกันเอง ส่งเสริมการเรียนเป็นกลุ่ม มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ระหว่างผู้สอนและผู้ เรียน ดัง ที่ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537: 199) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนมีลักษณะที่ช่วยส่งเสริมหรือ ขัดขวางการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาในการจัดกระบวนการเรียนการสอน คือ 1. การร่วมมือ และการแข่งขันของผู้เรียนในชั้นเรียน ประกอบด้วย บรรยากาศ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนร่วมมือกันแก้ปัญหา การให้แรงเสริมหรือรางวัล 2. ลักษณะพฤติกรรมและบุคลิกภาพของผู้สอน จะมีอิทธิพลต่อการเรียนของ ผู้เรียน 3. ความร่วมมือระหว่างผู้สอนกั บผู้เรียน คำนึง ถึงวัตถุประสงค์การเรียนเป็น สำคัญ 4. ความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อกลุ่มเพื่อน ผู้สอน และโรงเรียนจะมี ผลกระทบต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ความสอดคล้องกับผลการวิจัยของ พันธณี วิหคโต (2537 อ้างอิงจาก อรพรรณ รัตนวงศ์. 2551: 32) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนของครูดีเด่น วิชาภาษาไทยและวิชา คณิตศาสตร์ พบว่า การสร้างปฏิสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน อยู่ในระดับที่ดี คือ สร้างบรรยากาศใน ห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดห้องเรียนให้น่าอยู่ น่าเรียน การสร้างบรรยากาศการ เรียนให้ สนุกสนาน มีการแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดทันทีที่พบ โดยการแนะนำและอธิบาย ข้อผิดพลาด มีการกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดหาเหตุผลให้เกิดความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีเป็นกันเอง กับนักเรียนใกล้ชิดเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด และมีความสนใจนักเรียนที่มีปัญหาเป็นรายกรณี และซ่อม แก้ไขเป็นรายบุคคลสภาพแวดล้อมที่ดีจะทำใหทุกคนมีความสุข มีความมั่นใจ และตระหนักในคุณค่าของ

38

ตนเองการจัดบรรยากาศของการเรียนการสอนให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ความคิดและสติปัญญาของแด็ก จะพัฒนาได้ เนื่องจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องช่วยกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงตัวเอง ให้ เกิดความสมดุลกับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา ซึ่ง สุนันท์ สุขสวัสดิ์ (2552: 27) ได้เสนอแนวทางการสร้าง บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจและแรงจูงใจในการเรียน คือ 1. การสร้างความเป็นกันเองระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนั กเรียนกับ นักเรียน เช่น การจัดที่นั่งเป็นกลุ่ม แผนที่นั่งของนักเรียน 2. การยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงอารมณ์ดี 3. ใช้คำพูดที่แสดงความเมตตาและไม่ใช้วาจาเยาะเย้ยถากถางนักเรียนหรือใช้ อำนาจข่มขู่ให้นักเรียนกลัว ครูควรสนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ให้คำชม มากกว่า ติ 4. ให้ความรักความอบอุ่น นักเรียนทุกคนควรมีความรู้สึกว่า ตนเป็นส่วนหนึ่ง ของหมู่คณะ เป็นที่รักและยอมรับของครูและเพื่อน ๆ ครูจะต้องเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์อันดีโดยต้อง พยายามรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 5. ให้ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจโดยครูต้องเอาใจใส่ และสอนนักเรียนให้อยู่ ด้วยกันอย่างราบรื่น ไม่ข่มเหงซึ่งกันและกัน 6. ให้ความยุติธรรม การปฏิบัติต่อนักเรียนทุกคนด้วยใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ ต้อง พยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 7. ให้ความไว้วางใจและยกย่องให้นักเรียนทำงานหรือกิจกรรมตามที่มอบหมาย โดยครูเป็นที่ปรึกษาให้นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระในการทำงานเข้าใจตนเอง รับผิดชอบตนเอง และ เรียนรู้ด้วยตนเอง 8. มีความไวในการรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ของนักเรียน เช่น คณะที่ครูกำลังสอนเมื่อ สังเกตเห็นว่านักเรียนไม่สนใจ ครูก็อาจจะเปลี่ ยนกิจกรรมหรือเปลี่ยนเทคนิคการสอน เพื่อให้ทุกคนหัน มาสนใจบทเรียนตามเดิม 9. มีการบอมรับนับถือ ครูเห็นคุณค่าในตัวนักเรียน ยอมรับว่านักเรียนเป็น บุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ ให้โอกาสแสดงความรู้ สึกโดยวิธี สอนแบต่าง ๆ อย่าง หลากหลาย 10. ให้นักเรียนมีบทบาทในการสร้างความดี ให้นักเรียนที่เก่งช่วยสอนนักเรียนที่ เรียนอ่อน 11. ไม่แสดงพฤติกรรมที่ซ้ำ ครูต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนไม่ให้ ซ้ำ ๆ กันเป็นประจำเพราะจะทำให้เกิดบรรยากาศที่น่าเบื่อหน่าย 12. ให้แรงเสริมหรือรางวัล ควรมีกำลังใจแก่นักเรียนที่มีจุดเด่นด้านต่าง ๆ อย่าง ทั่วถึงและตามความเหมาะสม เช่น ชมเชยนักเรียนที่แสดงพฤติกรรมเป็นกลุ่มเพราะจะทำให้ผู้ไ ด้รับการ ชมเชยมีความภูมิใจนักเรียนคนอื่น ๆ ก็จะได้เห็นแบบอย่างที่ดี เป็นต้น

39

ทรรศนีย์ วราห์คำ (2554: 25 - 26) ได้สรุป การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ส่งผลต่อการการเรียนรู้ของผู้เรียน พัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะค่านิยมของผู้เรียน ให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ การเรียนการสอนนั้นมี องค์ ป ระกอบทางด้ า นสภาพแวดล้ อมในการเรี ยนที ่ ล ะเอี ย ดอ่ อน และมี ค วามสำคั ญ เท่า เที ยมกับ เนื้อหาวิชา และจุดประสงค์การเรียน ผู้สอนจะต้องพิจารณรเลือกใช้สภาพแวดล้อมในการเรียนให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนนั้นคือบรรยากาศที่ยกย่องหรือ ส่งเสริมความสำคัญของผู้เรียนให้มีความรู้สึกร่วมสมัย ขจัดช่องว่างระหว่างกันและกัน ให้ความเป็นอิสระ และใช้ความสามารถของผู้เรียนมาเป็นประโยชน์ในการฝึกอบรม ท่าทีและพฤติกรรมของผู้สอนจะต้อง แสดงออกว่าผู้สอนมีความปรารถนาดี ยกย่อง และนับถือสนใจปัญหาของผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา จึงเป็น การสร้างบรรยากาศแห่งความไว้ใจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าความต้องการของผู้สอน จากข้อมูลดังกล่าว สภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ หมายถึง สภาวะใด ๆ ที่มีผล ต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เป็นการดำเนินการ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และการจัด บรรยากาศเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ พัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะค่านิยมของผู้เรียน ให้ เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ เช่น การจัดบอร์ดความรู้ในห้องเรียน การใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอน การเสริมพลังบวก เป็นต้น 2.4.3 สภาพแวดล้อมด้านการบริหาร เลิศศักดิ์ คำปลิว (2551: 20) ได้ให้ความหมายของ สภาพแวดล้อม ด้านการ บริหาร หมายถึง การดำเนินการโดยใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อให้ครูได้มีโอกาสใช้ความสามารถของตนเอง เต็มที่และสามารถอุทิศเวลาปฏิบัติหน้าที่ได้มากพอในการพัฒนาสิ่ งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกฝ่าย ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงรับทราบบทบาทหน้ า ที่ข องตนเอง ตลอดจนแนวทางปฏิบัติ ที่ ช่วยส่ง เสริ มสนั บสนุนการใช้ หลักสูตรสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน พรพจน์ พจน์พัฒนพล (2548: 44) กล่าวว่า การจัดสภาพแวดล้ อมด้านการ บริหาร ได้แก่ การดำเนินการใด ๆ ภายในโรงเรียนให้การปฏิบัติงานสำเร็จลงด้วยความร่วมมือร่วมใจ ของบุคลากร ซึ่งสังเกตได้จากการดำเนินการงานอย่างมีระบบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือเกื้อกูล กันของบุคลากร บุคลากรในโรงเรียนยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรต่อกันรักใคร่กลมเกลียวกัน สิ่งชี้วัดลักษณะ สภาพแวดล้อม ด้านการบริหาร ได้แก่ การจัดระบบการทำงานของครู อาจารย์ สายงานการบังคับบัญชา ที่มีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความเป็นประชาธิปไตย ทุกคนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รวมถึงการจัด

40

สวัสดิการและการจัดการด้านต่าง ๆ ด้วยลักษณะของการบริหารที่ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีนั้น เริ่ม ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย ควรให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วม มีการนำเสนอข้อมูลจากการสำรว จ สภาพปัจจุบัน และปัญหามากำหนดเป็นนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนางานของโรงเรียน ซึ่งการมี ส่วนร่วมในการบริหารไม่ว่าเป็นไปในลักษณะของการมีส่วนร่วมตัดสินใจ หรือร่วมงานโดยการให้มีส่วน ร่วมในงานเป็นการส่งเสริมให้มีการร่วมมือจากกลุ่มสามารถเรียนรู้พฤติกรรมและความรู้สึก ทางด้าน จิตวิทยาของผู้มีส่วนร่วมได้มาก ทำให้รู้ท่าทีว่าแต่ละคนมีคว่ามสามารถ มีความคิดเห็นอย่างไร เป็นการ เปิดโอกาสให้ได้ใช้ความรู้ความสามารถของแต่ละคนอย่างเต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับ ปฏิคม พงษ์ประเสริฐ (2550: 40) กล่าวว่า ถ้าผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีความเข้าใจ ในเรื่องระบบการดำเนินงานของหน่วยงาน แล้ว ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีความเข้าใจในเรื่องระบบและเรื่องการดำเนินงาน ผู้ปฏิบัติย่อมอุทิ ศตนเพื่อ งาน และมีขวัญในการปฏิบัติงานดี การมอบหมายงาน และการสั่งการ ก็เป็นไปตามสายการบังคับบัญชา อย่างแจ่มชัดเหมาะสมกับความสามารถ ไม่เกิ นกำลังมอบหมายงาน และติดตามดูแลช่วยเหลือถามไถ่ ดูแลความเหน็ดเหนื่อยยกย่องชมเชย มีการสร้างขวัญกำลังใจ จัดสวัสดิการให้หลาย ๆ รูปแบบ เป็นต้น การบริหารทางด้านการวางแผนอาคารสถานที่สิ่ง แวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นหลั ก ทาง การศึกษา เน้นหลักการ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือสังคมในอนาคต นักวางแผน และนักบริหาร ที่มีอุดมการณ์ ต้องยึดหลักทางการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และพยายาม ค้นหาแหล่งสนับสนุนทั้งทางด้านการเงิน และวัสดุอุปกรณ์จากแหล่งต่าง ๆ มาช่วยสร้าง บรรยากาศทางการศึกษาที่ส่งผลทั้งโดยทางตรง และส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในสัง คมในอนาคต ณัฐญาพร ดุษฎี (2545: 19 - 20) ทรรศนีย์ วราห์คำ (2554: 27) ได้สรุปว่า การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนด้าน การบริหาร คือ การดำเนินการในโรงเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุค ลากร และจัดระบบทำงานการบังคับบัญชาที่มีความเป็นกันเอง มีความเป็นประชาธิปไตย บุคลากรในโรงเรียน มีส่วนร่วมในการบริหารและตัดสินใจ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้โรงเรียนพัฒนางานด้านต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญและต้องสำนึกตลอดเวลาว่า บรรยากาศ ของการบริหารงานที่ดีนั้น ควรให้ครูได้มีส่วนร่วมในการคิด การตัดสินใจและร่วมปฏิบัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะ เป็นไปอย่างราบรื่น ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งแวดล้อมด้านการบริหารที่ เหมาะสมจึ ง เป็ น องค์ ป ระกอบสำคั ญ ในการจั ด การเรี ย นรู ้ แ ละจะช่ ว ยให้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนด้านการบริหาร หมายถึง การวางแผนหรือการวางนโยบายในการดำเนินการใด ๆ ภายในโรงเรียนให้การปฏิบั ติง าน สำเร็จลงด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร มีความเป็นประชาธิปไตย บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วม ในการบริหารและตัดสินใจ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้โรงเรียนพัฒนางานด้านต่าง ๆ เพื่อ ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

41

จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ หมายถึงการจัด สภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ การจัดสภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมด้าน การบริหารเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ตอนที่ 3 บริบทโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 3.1 ประวัติโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหศึก ษา สัง กัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุง เทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 512/1 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงศิริราช เขตบางกอก น้อย กรุงเทพมหานคร 10700 9 ตั้งอยู่บนพื้นที่ของวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร รวมเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน 7 ไร่ 3 งาน เปิด ทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2564 มี นักเรียนจำนวน 1,440 คน ครู จำนวน 74 คน มีอาคารเรียน 5 หลัง อาคารประกอบ 5 หลัง บริเวณ รอบโรงเรียน ประกอบด้วยชุมชนต่าง ๆ ได้แก่ ชุมชนวัดสุวรรณาราม ชุมชนบ้านบุ ชุมชนบ้านช่างหล่อ วิถีชีวิตของประชาชนเป็นสังคมเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง มีความเป็นอยู่ที่ เรียบง่าย และส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางค่อนไปทางมีรายได้น้อย วิสัยทัศน์ (Vision) โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม มุ่งพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนตาม มาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง พันธกิจ (Mission) 1) จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) บริหารจัดการสถานศึกษา 4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคม ธำรงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป้าประสงค์ (Goal) 1) ผู้เรียนมีคุณสมบัติตามมาตรฐานนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 10 ข้อ ได้แก่ 1.1) ทดแทนคุณบิดามารดา

42

1.2) มาโรงเรียนเช้า 1.3) เข้าห้องเรียนเสมอ 1.4) พบเจอครูเคารพ 1.5) คบหาเพื่อนดี 1.6) สามัคคีหมู่คณะ 1.7) ละเลิกสิ่งชั่ว 1.8) ประพฤติตัวดี 1.9) มีน้ำใจ 1.10) ให้เกียรติกัน 2) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสืบสานอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมไทย 3) ผู้เรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต 4) ผู้เรียนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง จิตใจร่าเริงแจ่มใส มีสุขขภาพจิตที่ดีปลอดจากสิ่งเสพ ติด อบายมุขและโรคเอดส์ 5) ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตผลงานสร้างสรรค์และร่วมกันรับผิดชอบสังคม 6) ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทาง สติปัญญาตามศักยภาพ 7) ครูและบุคลากรมีความรู้และจริยธรรม มีศักยภาพในหน้าที่ของตน 8) สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมและการบริการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 9) สถานศึกษามีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ 10) มีการประสานงานกับคณะกรรมการสถานศึกษา สมคมศิษย์เก่า เครือข่ายผู้ปกครอง และ หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการพัฒนาโรงเรียน 3.2 โครงการพัฒนาพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 1. หลักการและเหตุผล การพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนทั้งภายในอาคารเรียน ภายนอกอาคารเรียนล้วน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ท ั้ง สิ้น สภาพแวดล้อมที่สวยงาม ร่มรื่น เป็นระเบียบบรรยากาศดี มีความปลอดภัย ล้วนเป็นเหตุที่ส่ง ผลให้การ เรียนรู้ของนักเรียนมีก ารพัฒนาที ่ สูง ขึ้น จึง จำเป็นอย่ างยิ ่ง ที่ จะต้องพัฒนาปรั บ ปรุง ภูมิ ท ัศน์ แ ละ

43

สิ่ง แวดล้อมต่าง ๆ ให้มีความสวยงาม ร่มรื่น สะอาดปลอดภัย เพื่อเป็นการสร้างแรงจูง ใจและเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ได้ตระหนักที่จะพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่ง แวดล้อมเพื่อ สร้ า ง บรรยากาศให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการ เรียนรู้ของนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนั บสนุนกรเรียนรู้ของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.1 เพื่อดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุง และพัฒนาอาคารสถานที่ให้มีความเหมาะสม ปลอดภัย มีความพร้อมในการใช้งาน และมีความสวยงาม 2.2 เพื่อดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย เอื้อต่อจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน 2.3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู และบุคลากรตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้ พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า สร้างจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 3.

เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ นักเรียนครูและบุคลากรโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,518 คน ได้ใช้บริการอาคารสถานที่ ที่สะอาด ร่มรื่น สวยงาม มีความปลอดภัย มีบรรยากาศที่สนับสนุนการ เรียนรู้ 3.2 เชิงคุณภาพ ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมได้รับการพัฒนาให้มีความสะอาด ร่ม รื่น สวยงาม มีความปลอดภัย มีบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ 4. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2564 (พฤษภาคม 2564 ถึง มีนาคม 2565 )

44

5. รายละเอียดกิจกรรมการดำเนินโครงการ ขั้นตอน งบประมาณ ระยะเวลา 1. ขั้นเตรียมการ 2,000 บาท พ.ค 64 1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 1.2 จั ด ประชุ ม เพื ่ อ วางแผน ก าร ดำเนินงาน 1.3สำรวจสภาพปั ญ หาด้ า นอาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม 1.4 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ขั้นดำเนินการ 400,000 บาท พ.ค 64 - ก.พ 65 2.1 ประชุ ม ชี ้ แ จงโครงการให้ ค รูและ บุคลากรในโรงเรียนทราบ 2.2 ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาภูมิ ทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนรู้ 3. ขั้นตรวจสอบและประเมินผล พ.ค 64 - ก.พ 65 นิเทศกำกับติดตาม ตรวจสอบให้ผล การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ 4.ขั้นสรุปผล รายงาน และปรับปรุง ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานตาม โครงการเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน

มี.ค 65

ผู้รับผิดชอบ -รองผู้อำนวยการกลุ่ม บริหารทั่วไป -คณะกรรมการ ดำเนินงาน

-รองผู้อำนวยการกลุ่ม บริหารทั่วไป -หัวหน้างานอาคาร สถานที่แลสิ่งแวดล้อม -คณะกรรมการ ดำเนินงาน -รองผู้อำนวยการกลุ่ม บริหารทั่วไป -หัวหน้างานอาคาร สถานที่แลสิ่งแวดล้อม -รองผู้อำนวยการกลุ่ม บริหารทั่วไป -หั ว หน้ า งานอาคาร สถานที่แลสิ่งแวดล้อม -คณะกรรมการ ดำเนินงาน

45

6. การประเมินผล ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน ผลผลิต (Output) โรงเรียนมีกระบวนการพั ฒนา - การตอบแบบสอบถาม ภู ม ิ ท ั ศ น์ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ มเพื่ อ สน ั บ สน ุ น การ เร ี ย นร ู ้ ข อง นักเรียน โดยความร่วมมือของ ครู นั ก เรี ย น และบุ ค ลากรใน โรงเรียนอย่างมีคุณภาพ ผลลัพธ์(Outcome) ภู ม ิ ท ั ศ น์ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ มใน -การตอบแบบสอบถาม โรงเรียนได้รับการปรับปรุงและ พัฒนาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ของนักเรียนมีประสิทธิภาพ

เครื่องมือ -แบบสอบถาม

-แบบสอบถาม

7. พื้นที่ดำเนินโครงการ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 8. ผู้รับผิดชอบโครงการ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป 9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 9.1 โรงเรียนมีภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เช่น อาคารเรียนและสถานที่ต่างภายในบริเวณ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม มีความสะอาด ปลอดภัย มีบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน 9.2 ครู นักเรียน บุคลากร ตลอดจนชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ภายในโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ลงชื่อ ……………………………… ผู้เสนอโครงการ ( นายสุรจักริ์ แก้วม่วง)

ลงชื่อ …………………………….ผู้เห็นชอบโครงการ (นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป

ลงชื่อ ……………………………… ผู้อนุมัติโครงการ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม

46

ตอนที่ 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4.1 งานวิจัยในประเทศ ชาญณรงค์ ปานเลิศ (2554) ประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนลาดยาววิทยาคม จังหวัดนครสวรรค์ การดำเนินการมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการ เรียนรู้ฯ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP MODEL ของสตัฟเฟิลบีม ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) ประเมิ น การ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ฯ 3) ประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ ผู้บริหาร จำนวน 13 คน ครูผู้สอน 30 คน นักเรียน 58 คน และผู้ปกครอง 58 คน รวม 159 คน ซึ่งได้มาโดยการ สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ แบบสอบถามทุกฉบับมีค่าความเที่ยง 0.88 ขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน กำหนดเกณฑ์การผ่านการประเมินไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ผลการประเมิน พบว่า 1) ด้านสภาพแวดล้อม ในภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความสอดคล้องอันดับสูงสุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีความ สอดคล้องอันดับต่ำสุด คือ โครงการเปิดโอกาสให้ชุ มชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ มี ความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความเหมาะสมอันดับสูงสุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษาเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ครูมีศักยภาพมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีความต้องการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน และข้อที่มีความเหมาะสมอันดับต่ำสุด คือ การได้รับงบประมาณ สนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างเพียงพอ มี ความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการ ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 3) ด้านกระบวนการ ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อ ที่มีการปฏิบัติอันดับสูงสุด คือ การออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการที่ชัดเจน มีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ การจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินโครงการเมื่ อสิ้นสุด โครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีการปฏิบัติอันดับต่ำสุด คือ การประชาสัมพันธ์ โครงการให้กับครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนรับทราบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการ ประเมินด้านกระบวนการผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

47

4) ด้านผลผลิต ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อ ที่มีความเหมาะสมอันดับสูงสุด คือโรงเรียนมีภูมิทัศน์สวยงาม สะอาด ร่มรื่น เหมาะสมเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือนักเรียนมีความสุขกับการเรียน ในห้องเรียนและมีความสุขในการดำเนินชีวิตในโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และข้อที่มี ความเหมาะสมอันดับต่ำสุด คือ การส่งเสริมให้โรงเรียนจัดการศึกษาได้เท่าเทียมกันระหว่างโรงเรียนใน เมืองและโรงเรียนในชนบท มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านผลผลิตผ่านเกณฑ์ที่ กำหนด 5) ด้านการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินงานโครงการ ใน ภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีการปฏิบัติอันดับสูง สุด คือ ความมีเหตุผลในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ตามความต้องการจำเป็นของครู และ นักเรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ความมีเหตุผลในการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนิน โครงการอย่างเหมาะสมตรงความรู้ ความสามารถ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีการปฏิบัติ อันดับต่ำสุด คือ ความมีภูมิคุ้มกันในการจัดระบบนิเทศกำกับติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีการ ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านเกณฑ์ ที่ กำหนด 6) ด้านความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการ ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความพึง พอใจอันดับสูงสุด คือ การส่ง เสริมให้ครูและนักเรียนมี กิจกรรมร่วมกันและรักห้องเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ การมอบหมายหน้าที่ให้ ครูรับผิดชอบอาคารสถานที่อย่างทั่วถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีความพึงพอใจอันดับ ต่ำสุด คือ การจัดให้มีป้ายส่งเสริมการประหยัดพลังงานในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง ผลการประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ทรรศนีย์ วราห์คำ (2554) ศึกษาเรื่องการศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของ โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของครู ด้านอาคารสถานที่ การจัดตกแต่งอาคารสถานที่ สิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย ความ เป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด อาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียนห้อ งสมุด อุปกรณ์ใน ห้องเรียน สนามกีฬา อุปกรณ์กีฬามีเพียงพอ เหมาะสมและปลอดภัย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ที่เป็น เช่นนี้อาจจะเป็นเพราะโรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาตาม ธรรมชาติอย่างเต็มศักยภาพ โรงเรียนมีอาคารสถานที่เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้ มีกิจกรรม 5 ส มีการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และมีความปลอดภัย มีการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีห้องเรียน ห้องสมุด สนามเด็กเล่น สิ่งอำนวยความสะดวก เพียงพอ อยู่ในสภาพใช้การได้ดีและมีความปลอดภัย มีการจัดการและให้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอก สถานศึกษา

48

สายธาร แสนแก้ ว ทอง (2554) รายงานการประเมินโครงการพั ฒนาอาคารสถานที ่และ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนสุเหร่าทางควาย สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2554 การ ประเมินโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน สุเหร่าทางควาย สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2554 ใช้รูปแบบการประเมิน โครงการแบบ CIPP Model เป็นการประเมิน 4 ด้าน คือ การประเมินด้านสภาพแวดล้อม การประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้าการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน และการประเมินด้านผลที่ได้รับ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2554 รวมจำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็ น แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียนสุเหร่าทางควาย สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2554 พบว่า 1) การประเมินด้านสภาพแวดล้อม พบว่า โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อ มใน โรงเรียนสุเหร่าทางควายมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการ จุดมุ่งหมายของโครงการ การชี้แจงนโยบายให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ การให้ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบาย การจัดทำพื้นที่อาคารสถานที่ให้เพียงพอและเหมาะสม การจัดบรรยากาศเอื้อต่อการดำเนิน โครงการ การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีด้านอาคารสถานที่ ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการ พัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่และเพียงพอต่อจำนวนบุคลากรและผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างมี ความคิดเห็นว่ ามีค วามเหมาะสมอยู ่ ใ นระดับ มาก ข้อที่มีค่ า เฉลี ่ย สูง สุด คือ ผู้บริหารตระหนั ก ถึ ง ความสำคัญของการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ให้น่าอยู่และเพียงพอต่อจำนวนบุคลากรและ ผู้เรียนมีความเหมาะสมมากที่สุด 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ ความพร้อมของ บุคลากรที่เข้ าร่ว มโครงการ ความพร้อมของคณะกรรมการบริห ารโครงการ ความพร้อมของวั ส ดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำเนินงาน ความพร้อมในด้านงบประมาณสนับสนุนโครงการจาก กรุง เทพมหานคร ความพร้อมในด้านงบประมาณสนับสนุนจากผู้บริจาค ผู้ปกครองและชุมชน กลุ่ม ตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพร้อมของคณะ กรรมการบริหารโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า กระบวนการดำเนินงานตั้งแต่การวางแผน การดำเนินการ การติดตามประเมินผล และการนำผลการประเมิ นมาปรับปรุง/พัฒนา โครงการพัฒนา อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนสุเหร่าทางควาย กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีการปฏิบัติอยู่ ในระดั บ มาก โดยข้ อ ที ่ ม ี ค ่ า เฉลี ่ย สู ง สุ ด มี 2 ข้ อ คื อ การจั ด ระบบการพั ฒนาอาคารสถานที่ และ สิ่ง แวดล้อม สอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา และกำหนดกิจกรรมในโครงการได้ เหมาะสมและ สอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา

49

4) การประเมินด้านผลที่ได้รับ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการปรับปรุงงานอาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนสุเหร่าทางควาย ปีการศึกษา 2554 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 8 กิจกรรม โดยเรียงลำดับดังนี้ กิจกรรม 5 ส กิจกรรมปรับเปลี่ยนห้องสมุด กิจกรรมกำจัดปลวก กิจกรรมทาสี ซ่อมฝ้า และส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ชำรุด กิจกรรมปรับสภาพสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ ของโรงเรียน กิจกรรมการจัดระเบียบและหมวดหมู่ห้องพัสดุ กิจกรรมการสร้างห้องสุขาของครูและปรับ สภาพพื้นที่โดยรวมรอบห้องสุขา และกิจกรรมสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรของ โรงเรียน พระมหาเดชา อมรเมธี (2556) ศึกษาเรื่องการบริหารสิ่ง แวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื ้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดอ่างทอง พบว่า ด้านการจัดสิ่งแวดล้อ มทาง กายภาพ ปัญหาคือ ปลูกไม้ ร่มเงา ไม้ดอก ไม้ประดับ ร่มรื่น สวยงามน้อย ไม่ส่ง เสริมให้มีก ารจั ด บรรยากาศห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ควรจัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ อากาศถ่ายเท ไม่แออัด ฯลฯ ไม่มีมาตรการและ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด ข้อเสนอแนะ คือ ควรส่งเสริมให้ปลูกไม้ร่ม ไม้ดอก ไม้ประดับ ร่มรื่น สวยงาม จัดบรรยากาศห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ ควรมีมาตรการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด ลาวัลย์ วงศ์แก้ว (2556) ศึกษาปัญ หาการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่ง แวดล้อ มของ โรงเรียนเครือข่ายสิชล 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 พบว่า ปัญหาการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเครือข่ายสิชล 2 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้อาคารสถานที่ ด้านการบำรุงรักษาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านการควบคุมดูแลอาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านการประเมินผลการใช้อาคารสถานที่และสิ่ งแวดล้อม มีปัญหาการบริหาร อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ภูสิทธิ์ ประยูรอนุเทพ (2556) ประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบจำลอง CIPP Model ซึ่งเป็นการ ประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการประเมินโครงการ ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน จำนวน 86 คน ผู้ปกครอง จำนวน 327 คน นักเรียน จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวน 5 ฉบับ เป็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาซึ่งผล การประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม สรุ ป ได้ดังนี้ 1) การประเมิ น โครงการพั ฒ นาอาคารสถานที ่ แ ละสภาพแวดล้ อ ม ผลการประเมิ น ด้ า น สภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีผลการประเมินในระดับมากทุก ด้าน

50

2) การประเมิ น ผลผลิ ต ด้ า นการดำเนิ น กิ จ กรรมตามโครงการพั ฒ นาอาคารสถานที ่ แ ละ สภาพแวดล้อม จำนวน 7 กิจกรรม พบว่าทุกกิจกรรมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก กิจกรรมปรับปรุง อาคารเรียนและอาคารประกอบ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ กิจกรรมพัฒนาห้องเรียนไร้พรมแดน และกิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ 3) การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของบุคลากรในโรงเรียน สรุปได้ว่าบุคลากรมีความ พึงพอใจต่อการพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม การบริหารจัดการ และคุณลักษณะของ นักเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน 4) การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของผู้ปกครอง สรุปได้ว่าผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อ การพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์กับชุมชน และคุณลักษณะของ นักเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน 5) การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของนักเรียน สรุปได้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมเสริมความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อ มและ การใช้ห้องปฏิบัติการอยู่ในระดับมากทุกด้าน มงคล เล็กกระจ่าง (2556) ได้ศึกษาสภาพปัญหา แนวทางพัฒนาการบริหารงานอาคารสถานที่ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 พบว่า 1) สภาพการบริหารงานอาคารสถานที่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำแพงเพชร เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่ าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบำรุงดูแลรักษาและพัฒนาอาคารสถานที่ มีประชุมชี้แจงและมอบหมายงานให้ ครู นักเรียน นักการ ภารโรงรับผิดชอบร่วมกันโดยมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างชัดเจน เพราะบุคคลเหล่านี้มีส่วน เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ ซึ่งอาคารสถานที่ ควรจะได้รับการดูแล ซ่อมแซม บำรุงรักษา ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา ทำให้อาคารสถานที่ดู สวยงามอยู่เสมอ รองลงมาคือ ด้านการ ติดตามตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่ ด้านสรุป ประเมินผลและรายงานการใช้อาคารสถานที่ และด้าน กำหนดแนวทางวางแผนการบริห ารจัด การอาคารสถานที่ ตามลำดั บ ทั้ง นี้อาจเป็น เพราะว่ า การ บริหารงานอาคารสถานที่เป็นการบริหารอาคารเรียน ห้องเรียน อาคารประกอบและห้องพิเศษ บริเวณ โรงเรียน และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ การจัดโรงเรียนให้มี ความสะดวกสบายต่าง ๆ อันจะช่วยส่งเสริมความเจริญและพัฒนาการของผู้เรียน จัดสถานที่ให้สะอาด สวยงาม ร่มรื่น เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต ตลอดจนการคำนึงถึงความปลอดภัยปราศจากอุบัติและอันตราย ต่าง ๆ เพื่อให้ผลดีต่อนักเรียนและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน 2) ปัญหาการบริหารงานอาคารสถานที่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้ นที่การศึกษา กำแพงเพชร เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสรุปผล ประเมินผล และรายงานการใช้อาคารสถานที่ รองลงมา คือ ด้านบำรุงดูแลและพัฒนา อาคารสถานที่ ด้านกำหนดแนวทางวางแผนการบริหารจัดการอาคารสถานที่ และด้านติดตามตรวจสอบ

51

การใช้อาคารสถานที่ ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการบริหารงานอาคารสถานที่นั้ นเป็นเรื่ องที่ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ ต้องจัดโรงเรียนให้มีความสะดวกสบายต่าง ๆ เพื่อช่วยส่ งเสริมความเจริญ และพัฒนาการของนักเรียน จัดสถานที่ให้สะอาด สวยงาม ร่มรื่น เพื่ อส่งเสริมสุขภาพจิต ตลอดจนถึง การคำนึงถึงความปลอดภัย ปราศจากอุบัติเหตุและอันตรายต่าง ๆ จึงทำให้พบปัญหาในการปฏิบัติงาน มาก 3) ด้านกำหนดแนวทางวางแผนการบริหารจัดการอาคารสถานที่ พบแนวทางที่สำคัญ คือ สร้าง จิตสำนึกให้กับชุมชนว่าการวางแผนเกี่ยวกับอาคารสถานที่นั้นเป็นของชุมชน ซึ่งชุมชนควรมีส่วนร่วมใน การจัดการ ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของครูในโรงเรียนนั้นอย่างเดี ยว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการบริหารอาคาร สถานที่ภายในโรงเรียนที่จะประสบความสำเร็จได้ก็คือกระบวนการวางแผนงานอาคารสถานที่ ซึ่งเมื่อรู้ ความต้องการด้านอาคารสถานที่ว่าจะแก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างไรแล้ว ก็จัดให้มีการวางแผนและเขียน โครงการเพื่อแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาหรือบรรลุ ความต้องการด้านอาคารสถานที่นั้น ๆ ในการวางแผนด้าน อาคารสถานที่ ผู้บริหารจะต้องให้บุคลากรในโรงเรียนและบุคคลในชุมชน ผู้ซึ่งมีส่วนในการใช้ประโยชน์ และมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้านอาคารสถานที่ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการวางแผนงานด้านอาคาร สถานที่ 4) ด้ า นบำรุ ง ดู แ ลและพั ฒ นาอาคารสถานที ่ พบแนวทางที ่ ส ำคั ญ คื อ ประชุ ม ชี ้ แ จงและ มอบหมายงานให้ครู นักเรียน นักการภารโรง รับผิดชอบร่วมกัน โดยมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ อย่างชัดเจน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้บริหาร คณะกรรมการต่าง ๆ ครู นักเรียนและนักการภารโรง บุคคล เหล่านี้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ทั้งสิ้น ซึ่งอาคารสถานที่ควรจะได้รับการ ซ่อมแซม บำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา ทำให้อาคารสถานที่ดูสวยงามอยู่เสมอ อันจะ ช่วยส่งเสริมความเจริญและพัฒนาการของนักเรียน 5) ด้านติดตามตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่ พบแนวทางที่สำคัญ คือ แต่งตั้งคณะทำงานการ ตรวจสอบ การประเมินผลการบริหารงานอาคารสถานที่ และให้คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนมี ส่วนร่วมในการประเมิน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการติดตามดำเนินงานเป็นกระบวนการที่สำคัญในการ ควบคุมคุณภาพของการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานตามแผน หรือกำหนดการที่วางไว้อย่าง ดีแล้ว และให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่กำหนดไว้ กระบวนการติดตามตรวจสอบจะทำให้ ผู้ติดตามตรวจสอบ สามารถเข้าไปช่วยเหลือ แนะนำทางออกปรับปรุงวิธีการดำเนินการ หรือแม้กระทั้ง ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ เป้าหมายของงานที่กำลังปฏิบตั ิอยู่ 6) ด้านสรุป ประเมินผล และรายงานการใช้อาคารสถานที่ พบแนวทางที่สำคัญ คือ ประชุม ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนนักเรียน เพื่อวางมาตรการควบคุมและ การรั ก ษาความปลอดภั ย อาคารสถานที ่ ทั ้ ง นี ้ อ าจเป็ น เพราะว่ า การปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ข ก ารทำงาน สถานศึกษานำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานในจุดที่ยังดำเนินการ หาวิธีแก้ไข นำวิธีการ แก้ไขไปปฏิบัติจริงแล้วตรวจสอบผลการดำเนินงานอีกครั้ง

52

กังวาน ไตรสกุล (2557) ศึกษาเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนพะ ตงประธานคีรีวัฒน์ สังกั ดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 จังหวัดสงขลา-สตูล ด้าน อาคารสถานที่ พบว่า มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการปฏิบัติในระดับมาก เป็นผล เนื่องมาจากมีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาธรรมชาติเต็มศักยภาพ โดยโรงเรียนได้ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพตามนโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและได้รับรางวัล เหรียญทองระดับประเทศ เป็นที่ยอมรับในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา อย่างไรก็ตามการ ได้รับการยกย่องในระดับประเทศ ส่งผลให้โรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการพั ฒนา สิง่ แวดล้อมภายในโรงเรียน มีอาคารที่เหมาะสม มั่นคงแข็งแรง โรงเรียนได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณ ประจำปีในการซ่อมแซมอาคารเรียนและมีการตรวจสอบอยู่เสมอ มีการแต่ง ตั้งคณะกรรมการดูแล เกี่ยวกับอาคารสถานที่ โดยมอบหมายหน้าที่ให้บุคลากรรับผิดชอบดูแลตกแต่งอาคารสถานที่ สวนหย่อม พื้นที่รับผิดชอบ มีการจัดกิจกรรม 5 ส ทั้งภายในและนอกอาคาร รวมถึงพื้นที่รับผิดชอบ โดยให้ครู นักเรียนร่วมรับผิดชอบดูและ ทำความสะอาดและมีกิจกรรมการประกวดพื้นที่ 5 ส ทุกภาคเรียนเพื่อ กระตุ้นให้โครงการดังกล่าวมีความต่อเนื่อง มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัย โดยการ ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาภายในและเข้าร่วมแข่งขันกีฬาระดับประเทศ โรงเรียนได้รับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับสองในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รายการอายุไม่เกิน 18 ปี ปีการศึกษา 2557 นอกจากนี้ได้จัดบริการน้ำดื่ม ห้องน้ำห้องส้วมอย่างเพียงพอ ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งจัดให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ซึ่งทางโรงเรียนได้ดำเนินการจัดให้มีคอมพิวเตอร์ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเพียงพอ จัดทำ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย นักเรียนสามารถสืบค้นด้วยตนเอง มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โดยจัด บุคลากรในโรงเรียนที่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้บริการอย่างเป็นกันเอง พร้อม อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีและมีความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน บำรุง อมรอาจหาญ (2558) รายงานประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม โรงเรียนขุนยวมวิทยา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน รูปแบบการประเมินโครงการใช้รูปแบบจำลอง CIPP Model ซึ ่ ง เป็ นการประเมิน 4 ด้ า น ได้ แ ก่ ประเมิ นในด้า นสภาพแวดล้อ ม ด้ า นปั จ จั ย ด้ า น กระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิ นโครงการรวมทั้งหมด จำนวน 636 คน ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน 48 คน ผู้ปกครอง 294 คน นักเรียน 294 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน โครงการมีจำนวน 5 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมสรุปได้ดังนี้ 1) การประเมิ น โครงการพั ฒ นาอาคารสถานที ่ แ ละสภาพแวดล้ อ ม ผลการประเมิ น ด้ า น สภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้าน

53

2) การประเมิ น ผลผลิ ต ด้ า นการดำเนิ น กิ จ กรรมตามโครงการพั ฒ นาอาคารสถานที ่ แ ละ สภาพแวดล้อม จำนวน 6 กิจกรรม พบว่าทุกกิจกรรมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยที่กิจกรรม ปรับปรุงอาคารเรียนและอาคารประกอบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด และ กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ ตามลำดับ 3) การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของบุคลากรในโรงเรียน สรุปได้ว่าบุคลากรมีความ พึงพอใจต่อการพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม การบริหารจัดการและคุณลักษณะของ นักเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน 4) การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของผู้ปกครอง สรุปได้ว่าผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อ การพัฒนาอาคารสถานที่การพัฒนาสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์กับชุมชน และคุณลักษณะของ นักเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน 5) การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของนักเรียน สรุปได้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมเสริ มความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและ การใช้ห้องปฏิบัติการ อยู่ในระดับมากทุกด้าน พิเชษฐ์ ตนะวัฒนา (2559) รายงานการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและ บรรยากาศในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลนครปฐม สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครปฐม โดยใช้ รูปแบบ CIPP Model ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู บุคลากรในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลนครปฐม จำนวน 73 คน ผู้ปกครอง จำนวน 254 คน นักเรียน นักศึกษา จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน โครงการสรุปได้ ดังนี้ 1) ความเหมาะสมด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ของ การประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาล นครปฐม สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครปฐม เห็นด้วยอยู่ในระดับดีมาก 2) ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียน นักศึกษาในวิทยาลัย อาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม ที่มีต่อโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่ง แวดล้อม และบรรยากาศใน วิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลนครปฐม สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครปฐม ในการพัฒนาอาคารเรียน และอาคารประกอบ การปรับปรุงห้องเรียนรู้ที่หลากหลายอยู่ในระดับมาก การพัฒนาสถานที่ การ ปรับปรุงที่นั่ง และบริเวณพักผ่อนอยู่ในระดับมาก การพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในวิทยาลัยให้ปลอดภัย ร่ม รื่น และสวยงาม อยู่ในระดับมาก สรุปได้ว่า โครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่ง แวดล้อม และ บรรยากาศในวิทยาลัยอาชีวศึกษา ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึง สมควรดำเนินเป็นโครงการอย่างต่อเนื่องต่อไป

54

วินัย วะหาโล (2559) การประเมินโครงการการจัดอาคารสถานที่บรรยากาศและสิ่ง แวดล้อมที่ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหนองแคนดอนสนุก อำเภอโพนพิสัย จัง หวัดหนองคาย สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 โดยใช้การสุ่มตัวอย่ างแบบง่ายรวมกลุ่ม ตั ว อย่ า งจำนวน 30 คน ใช้ ร ู ป แบบการประเมิ น โครงการรู ป แบบ CIPP Model เป็ น การประเมิน วัตถุประสงค์และรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการการจัดอาคาร สถานที่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหนองแคนดอนสนุก อำเภอโพน พิสัย จังหวัดหนองคาย โดยแบบประเมินมี 4 ด้าน จำนวน 30 ข้อ การประเมินโครงการการจัดอาคาร สถานที่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหนองแคนดอนสนุก อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย สรุปผลการประเมินดังนี้ 1) ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมในการดำเนินโครงการ มีองค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์ ของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายในระดับต่าง ๆ และความจำเป็นของโครงการ พบว่าโรงเรียน บ้านหนองแคนดอนสนุก จัดทำโครงการสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด วัตถุประสงค์ของ โครงการสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาของครู เป็นการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติและ เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีองค์ประกอบ คือ การวางแผนดำเนินโครงการ การ บริหารบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ พบว่ า การวางแผนดำเนินโครงการมี ความชัดเจน ครูและบุคลากรมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ งบประมาณ อาคารสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ มีความเหมาะสม เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผล การประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ มีองค์ประกอบ คือ การดำเนินงาน ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป พบว่า ผลการ ดำเนินการครูได้รับการอบรมพัฒนาการจัดทำผลงานที่เป็น Best Practices การออกแบบการเรียนรู้ และใช้ ICT งบประมาณพัฒนาด้านวิชาการมีความเหมาะสม เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 4) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีองค์ประกอบ คือ การประเมินผลผลิตที่เกิดขึ้นกับ ครู พบว่า ครูมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการเรียนรู้ มีการนำ ICT มาใช้ในกระบวนการ เรียนรู้และผลงานที่เป็น Best Practices เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีองค์ประกอบเกี่ยวกับการประเมินผลผลิตที่เกิด ขึ้นกับนักเรียน พบว่า พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน นักเรียนทุกคนได้รับการพิทักษ์คุ้มครอง และดูแลอย่างทั่วถึง และนักเรียนมีผลงาน/ชิ้นงานที่สะท้อนมาตรฐาน/คุณภาพการคิด เมื่อพิจารณา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ สรุปได้ว่า ผลการประเมินโครงการการจัดอาคารสถานที่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของ

55

โรงเรียนบ้านหนองแคนดอนสนุก อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ปีการศึกษา 2559 เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ สุนันท์ ฉายาวิก (2559) ได้ศึกษาแนวทางในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่ง แวดล้อมของ โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดเมืองพัทยา ผลการศึกษา พบว่า 1) ความเหมาะสมในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดเมืองพัทยา โดยรวมอยู่ ในระดับมาก ทั้งนี้เป็นเพราะผู้บริหารและบุคลากรใน โรงเรียนให้ความสำคัญต่อการดูแลอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยสอดแทรกแนวคิดเรื่อ ง การรักษาสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมการเรียนการสอนและการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น กิจกรรม ประกวดห้องเรียนสะอาด การประกวดโรงเรี ยนสิ่งแวดล้อมดีเด่นในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ความเหมาะสมในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้ อมของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สามารถอภิปรายผลเป็นรายด้านได้ ดังนี้ 1.1) ด้านการบริหารบริเวณโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจาก มากไปหาน้อยสามอันดับแรก คือ แผนการพัฒนาปรับปรุงการบริหารบริเวณสถานศึกษา การจัดสถานที่ นั่งพักผ่อน และการจัดสถานที่ออกกำลังกาย ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะผู้บริหารโรงเรียนมีการวางแผน การบริหารงานด้ านอาคารสถานที่ แ ละมี การพัฒนาแผนอย่ างต่ อเนื่อง จึง ทำให้โรงเรียนมีก ารจั ด บรรยากาศที่นั่งพักผ่อน มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและสถานที่เล่นกีฬาออกกำลังกายที่เพียงพอสำหรับนั กเรียน บุคลากร ในโรงเรียนและคนในชุมชนได้มาใช้ประโยชน์ 1.2) ด้ า นการบริ ห ารอาคารเรี ย น โดยรวมและรายข้ อ อยู ่ ใ นระดั บ มาก โดยมี ค ่ า เฉลี่ ย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก คือ ความสะดวกในการใช้ประโยชน์จากอาคารอย่า งคุ้มค่า การจัดระบบเวรยามรักษาความปลอดภัย และการจัดทำแผนผังอาคารต่าง ๆ ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะ ผู้บริหารโรงเรียนมีนโยบายในการใช้ประโยชน์จากอาคารเรียน สื่อ ครุภัณฑ์อย่างคุ้มค่า ส่งเสริมในเรื่อง การซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารเรียน สื่อ ครุภัณฑ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีการจัดการเรื่องการ รักษาความปลอดภัยในโรงเรียนอย่างเคร่งครัด อำนวยความสะดวกแก่นักเรียน และผู้มาติดต่อราชการ จัดให้มีแผนผังอาคารเรียนอย่างชัดเจน 1.3) ด้านการบริหารห้องเรียน โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก คือ การใช้ประโยชน์จากห้องอย่างคุ้มค่า การจัดระบบแสงสว่าง ภายในห้อง และการจัดระบบระบายอากาศภายในห้อง ตามลำดับ ทั้ง นี้เพราะผู้บริหารโรงเรียนมี นโยบายในการบริหารห้องเรียน ส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากห้องเรียนอย่างคุ้มค่า ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ในการช่วยกันดูแลเรื่องความสะอาด การจัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนโดยจัด ให้มี กิจกรรม 5 ส และกิจกรรมการประกวดห้องเรียนเป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติทุกเดือนตลอดปีการศึกษา 1.4) การบริ ห ารอาคารโรงอาหาร โดยรวมและรายข้ อ อยู่ ใ นระดั บ มาก โดยมี ค ่ า เฉลี่ ย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก คือ การจัดระบบระบายอากาศในโรงอาหาร การจัดโต๊ะ

56

เก้าอี้ภายใน โรงอาหาร และการจัดระบบแสงสว่างภายในโรงอาหาร ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะผู้บริหาร โรงเรียนมีนโยบายในการบริหารโรงอาหาร โดยจัดให้มีผู้รับผิดชอบดูแลโรงอาหารในแต่ละวัน กำกับดูแล เรื่องความสะอาดภายในโรงอาหาร การจัดโต๊ะ เก้าอี้ ภายในโรงอาหารให้เป็นระเบียบ ความสะดวกเรื่อง ระบบแสงสว่างและระบบระบายอากาศภายในโรงอาหาร จัดให้มีเจ้าหน้าที่ อย.น้อยตรวจสอบดูแลเรื่อง ความสะอาดและปลอดภัยของอาหารอย่างสม่ำเสมอ 1.5) ด้านการบริหารห้องบริการ โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก คือ การใช้ประโยชน์จากห้องบริการอย่างคุ้มค่า มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทสะดวก และมีผู้รับผิดชอบห้องบริการโดยเฉพาะ ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะผู้บริหารมีนโยบาย ในการบริการชุมชน โดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากห้องบริการต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า เช่น การจั ดเป็น สถานที ่ อ บรมด้า นวิ ช าการของพนัก งานครู สั ง กั ด เมื องพั ท ยา การใช้ เ ป็ นสถานที่ ท ำกิจ กรรมการ ประชุมสัมมนาของหน่วยงานราชการอื่น ๆ และเอกชนอย่างสม่ำเสมอ 1.6) การบริ ห ารห้ อ งน้ ำ -ห้ อ งส้ ว ม โดยรวมและรายข้ อ อยู ่ ใ นระดั บ มาก โดยมี ค ่ า เฉลี่ ย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก คือ ฝาผนัง ประตูมั่นคงแข็งแรง มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ มี ระบบระบายน้ำ และแผนการปรับปรุง การบริการห้องน้ำ -ห้องส้วม ตามลำดับ ทั้ง นี้เพราะผู้ บริหาร โรงเรียนมีการกำกับดูแลงานด้านสุขาภิบาลอย่างต่อเนื่องและนำผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุง ห้องน้ำ-ห้องส้วม 2) ความเหมาะสมในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดเมืองพัทยา จำแนกตามเพศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนั ยสำคัญทางสถิติ ที่ ระดับ .05 โดยเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดเมืองพัทยา สูงกว่าเพศชาย พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความเหมาะสมในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดเมืองพัทยา จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่ างไม่ มี นัยสำคัญทางสถิติ ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย พิจารณาโดยรวมผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน 5 ปี ขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดเมืองพัทยา สูงกว่าผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานต่ำ กว่า 5 ปี อาจเป็นเพราะว่า ประสบการณ์การณ์ทำให้บุคคลมีโอกาสได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจมองปัญหาชัดเจน ถูกต้องตามความเป็น จริง ทำให้เกิดทักษะและเจตคติที่ดีในการปฏิบัติง าน ยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าใดยิ่ง ส่ง ผลดีต ่อการ ปฏิบัติงานมากเท่านั้น 4) พนักงานครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดเมืองพัทยา โดยมีค่าเฉลี่ ยเรียงลำดับจากมากไปหา น้อยสามอันดับแรก คือ ผู้ดูแลรับผิดชอบห้องบริการมีน้อย ต้นไม้ใหญ่ภายในโรงเรียนไม่ได้รับการตัด

57

แต่งกิ่ง ทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคลและความเสียหายต่อสิ่งอื่น ๆ เช่น รถยนต์ หลังคา สายไฟฟ้า เป็น ต้น โรงอาหารมีสถานที่แออัด คับแคบ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) มี พื้นที่กว้างขวางและมีต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่อาจดูแลไม่ทั่วถึง 5) พนักงานครูมี ความคิ ด เห็น เกี่ย วกั บ ข้ อเสนอแนะในการบริ หารงานอาคารสถานที ่ แ ละ สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดเมืองพัทยา โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจาก มากไปหาน้อยสามอันดับแรก คือ ตัดตกแต่งกิ่งไม้ให้สวยงามและปลอดภัยต่อบุคคลและสิ่ง ของ ควรมี การสำรวจการชำรุดของประตูหน้าต่างเป็นระยะ ควรมีการซ่อมแซมโต๊ะ เก้าอี้ที่ชำรุดให้สามารถนำ กลับมาใช้ได้อีก และควรเพิ่มจำนวนห้องน้ำ ห้องส้วมให้เพียงพอกับครูและนักเรียน ทั้ง นี้อาจเป็น เพราะว่าโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) เป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่วัสดุ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ ยังมีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นเพราะวัสดุ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ ทาง โรงเรียนไม่สามารถจัดซื้อได้เอง ต้องผ่านขั้นตอนการสั่งซื้อโดยเมืองพัทยา ตามระบบราชการ จึงทำให้ วัสดุ ครุภัณฑ์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ยังเป็นของเก่าจึงเกิดการชำรุดต้องซ่อมแซมบ่อยครั้ง สายรุ่ง พุทธา (2560) ประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านอ้อมโรง หี บ (เล็ ก -นิ ่ ม อนุ ส รณ์ ) เป็ น การวิ จ ั ย เชิ ง ประเมิ น โดยใช้ ร ู ป แบบการประเมิ น ของ สตั ฟ เฟิ ล บี ม (Stufflebeam,D.L) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้ อมใน โรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้าน อ้อมโรงหีบ (เล็ก-นิ่ม อนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ในด้านสภาวะ แวดล้อมโครงการ ด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่ มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ คือ ครู 23 คน ผู้บริหาร 2 คน และนักเรียน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจ ัย เป็น แบบสอบถามสำหรับครูเกี่ยวกับด้านสภาวะแวดล้อมโครงการ ด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านกระบวนการ และ ด้านผลผลิตของโครงการ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่ อโครงการ สถิติที่ใช้ ในการ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูง ที่สุดคือ โครงการส่งเสริมให้มีการวัดประเมินผลตามสภาพจริงและมีความหลากหลาย 2) ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้น อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้มาใช้บูรณาการในกิจกรรมจากแหล่ง เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ความคิดเห็นของครูด้านกระบวนการดำเนินโครงการ 3.1) ผลการประเมินความก้าวหน้าช่วงที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ครูมีการจัดกิจกรรมโดยใช้แหล่งเรียนรู้โดยยึดนักเรียนเป็นสำคัญ

58

3.2) ผลการประเมินตามความคิดเห็นของครูต่อการบริหารโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ มีการส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากร ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน นวัตกรรม ที่เกิดจากการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 3.3) ความคิดเห็นของครูต่อการเลือกใช้แหล่ง เรียนรู้ในการดำเนินงานตามโครงการตาม ประเภทแหล่งเรียนรู้ มีดังนี้ 1) ประเภทบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ครูเคยนำ นักเรียนที่สอนไปแหล่งเรียนรู้กับวิทยากรภายนอกโรงเรียน 2) ประเภทสถานที่ พบว่า ครูเลือกใช้แหล่ง เรียนรู้ประเภทสถานที่โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ครูได้มีส่วนร่วมในการจัด แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 3) ประเภทวัฒนธรรมและประเพณี พบว่า ครูเลือกใช้แหล่งเรียนรู้ประเภทวัฒนธรรมและประเพณีโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มี ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ครูได้จัดสถานการณ์ให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณี นำเสนอผลงานการผลิตสื่อประกอบการเรียนจากเทคโนโลยี อยู่ในระดับมากที่สุด 3.4) ความคิดเห็นของนักเรียนต่อโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ 3.5) ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้แหล่งเรียนรู้ตามรายการที่กำหนด โดยรวมร้อยละ 100 เห็นว่ากลุ่มสาระฯ ที่ครูใช้แหล่งเรียนรู้ตามรายการที่กำหนดได้แก่ กลุ่มสาระฯ ภาษาไทย ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มเติมจากเนื้อหาปกติ ได้เรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลานามัยได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน เช่น มุมหนังสือ ป้ายนิเทศ แบบรายงาน กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ ได้จัดกิจกรรมที่สืบสานวัฒนธรรมและประเพณี ไทย 4) ผลจากประเมินการทบทวนการดำเนินงานโครงการ 4.1) ความคิดเห็นของครูต่อการประเมินการทบทวนการดำเนิ นงานโครงการ ด้านการ ประเมินสภาวะแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการ บริหารแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยเบื้องต้น อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูง ที่สุด คือ แหล่งเรียนรู้มีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับ มากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ แหล่งเรียนรู้ 4.2) ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปรับปรุงการดำเนินการ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าควร มีการปรับปรุงการดำเนินการ อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การให้คำแนะนำของครูในการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริม/กระตุ้น ให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ที่เป็นธรรมชาติ อยู่ในระดับมากที่สุด 5) ผลจากประเมินผลผลิตของโครงการ

59

5.1) ความคิดเห็นของครูต่อการประเมินผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ย สูงที่สุดคือ นักเรียนสามารถประเมินตนเอง และปรับปรุงพัฒนาตนเองด้วยความเต็มใจ อยู่ในระดับมาก ที่สุด 5.2) ความคิ ด เห็ น ของนั ก เรี ย นต่ อ พฤติ ก รรมในการแสวงหาความรู ้ ข องนั ก เรี ย นก่ อ น ดำเนินการอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ นักเรียนแสวงหาความรู้โดยไม่ต้องให้บุคคลใดสั่ง การหรือแนะนำ อยู่ในระดับมากที่สุด หลังดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูง ที่สุดคื อ นักเรียนเลือกวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมาก 5.3) ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูง ที่สุดคือ การประเมินผลหลังจากเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้สามารถนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอยู่ใน ระดับมากที่สุด 5.4) ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความรู้และประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน อยู่ในระดับ มากที่สุด 5.5) ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับผลการใช้ แหล่งเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียน อยู่ในระดับ มาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับมาก ที่สุด อภิปราย โสภายิ่ง (2561) ศึกษาเรื่องการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการ จัดการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านดอนไชย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 กลุ่ม ตั ว อย่ า ง ได้ แ ก่ ครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ กษาคณะกรรมการสถานศึ กษาขั ้น พื้ นฐาน ผู ้ น ำชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน จำนวน 163 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการ คือ แบบประเมินโครงการ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้ 1) ด้าน สภาวะแวดล้อม ในภาพรวมและรายด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกฑณ์การประเมินที่ กำหนด ได้แก่ ด้านความต้องการจำเป็น ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และด้าน ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ได้แก่ ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านการบริหาร จัดการ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ ด้านการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน และด้านงบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร 3) ด้านกระบวนการ ในภาพรวมและรายด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่าน เกณฑ์การประเมินที่กำหนด ได้แก่ ด้านการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม ด้านการดำเนินงาน ด้านการวางแผน และด้านตรวจสอบ ติดตาม 4) ด้านผลผลิต ในภาพรวมมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ การประเมินที่กำหนด ดังนี้ 4.1) โรงเรียนได้พัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม ภายในอาคาร สิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร สนามกีฬาและสนามเด็กเล่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และ

60

การส่งเสริมความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียนให้แก่นักเรียน และ 4.2) ผลการประเมิน ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2 งานวิจัยต่างประเทศ เบรย์ บ อย – ลอคเลี ย ร์ (Brayboy – Locklear, 2003) ได้ ศ ึ ก ษาอิ ท ธิ พ ลแรงจู ง ใจของ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมโรงเรียนที่มีต่อการปรับปรุงผลการเรี ยนของนักเรียนเชื้อสายอเมริกันจาก โรงเรียนในรัฐแคโรไลนา โดยยึ ดกรอบความคิด Resiliency Theory ของ Henderson และ Milstein เนื่องจากนักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีผลการเรียนล้าหลังกว่ากลุ่มนักเรียนอื่น โดยเลือกศึกษากับนักเรียน จำนวน 50 คน จาก 3 โรงเรียน การเก็บข้อมูลใช้ แบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์แ ละ ภาษาอังกฤษและแบบวัดแรงจูงใจสำหรับนักเรียนให้ดีที่สุดและการใช้สัมภาษณ์ผลการศึกษาพบว่ า นักเรียนได้คะแนนผ่านเกณฑ์คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ กับนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ มีคะแนนจูงใจใน การเรียนให้ดีที่สุดแตกต่างกันและจากการสัมภาษณ์ได้ผลอย่างเดียวกัน ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อม ของโรงเรียนให้มีความเอื้ออาทรและมีการสื่อสาร ความคาดหวังที่ดีต่อนักเรียนเชื้อสายอเมริกัน จะทำให้ นักเรียนมีโอกาสกล้ามาเรียนขึ้น ไฮน์ (Hine, 2001) ได้ศึกษาสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเรียน ระดับมัธยมศึกษา ในปี ค.ศ. 2001 พบว่า บรรยากาศในห้องเรียนนั้น มี ผลโดยตรงต่อการยอมรับการ เรียนรู้ของนักเรียน และมีผลต่อการแสดงออกของความรู้ความสามารถของครูที่ถ่ายทอดความรู้ ใน ห้องเรียน และหากโรงเรียนมีบรรยากาศในห้องเรียนที่ดีก็จะทำให้ขนาดของห้องเรียนนั้นเพิ่มตามขึ้นไป ด้วย ราล์ฟ และ ฟิชเชอร์ (Blouse Ralph J. and Darrell Fisher, 2003) ได้ศึกษาผลกระทบของ สภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีต่อครูและการรับรู้ของนักเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ในปี ค.ศ. 2003 พบว่าบรรยากาศในห้องเรียนที่ดีและเหมาะสมมีผลในทางบวกต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตของ นักเรียน นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า ความรับผิดชอบของนักเรียนจะได้รับอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อม ในการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดี ยาท (Yates, 1696) ได้ศึกษาเรื่อง “ความยืดหยุ่นของการพัฒนาอาคารสถานที่และการใช้ ประโยชน์จากอาคารสถานที่ ของโรงเรียนประถมศึกษา” ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนรู้จักการใช้ ประโยชน์จากอาคารสถานที่อย่ างรวดเร็วและการใช้รู้จักจัดห้องให้กว้าง โดยแบ่งห้องด้วยกระดานดำ หรือตู้เคลื่อนที่ได้ง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับปี 1960 แล้วปรากฏว่าโรงเรียนในปี 1968 รู้จักยืดหยุ่นในการ ปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่มากขึ้น บุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษามีแนวโน้มว่าจะรู้จักยืดหยุ่นใช้ ประโยชน์จากอาคารสถานที่มากกว่าบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนจำนวน 9 ใน 12 โรงเรียน ที่ศึกษามีความยืดหยุ่นในการใช้อาคารสถานที่สูงมาก

61

โฮเวและดิ เ ซนเจอร์ (Howe and Disinger, 2002) ได้ ศ ึ ก ษาเกี ่ ย วกั บ สิ ่ ง แวดล้ อ มหรื อ บรรยากาศในโรงเรียน พบว่า สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียนไม่สามารถประเมินได้แค่ลักษณะ ภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพิจารณาส่วนประกอบด้านอื่น ๆ ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น นโยบาย นักเรียน การติดต่อสื่อสารครู ระเบียบข้อบังคับ การสนับสนุนช่วยเหลือจากผู้ปกครอง การให้รางวัลและโครงการพิเศษต่ าง ๆ ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีภายในโรงเรียนสามารถทำได้โดยการสร้าง นโยบายของโรงเรียนที่เน้นให้ความสำคัญของนักเรี ยน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรักความภาคภูมิใจและ การกระตุ้น กิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนนั้นจะต้องมุ่งไปยังสังคมของเด็กและการเจริญเติบโตทางอารมณ์ ที่สามารถช่วยให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นมาได้ โดยที่กิจกรรมนั้นได้รวมไปถึงการการปกครองโดยนักเรียน ความปลอดภัย กิจกรรมพิเศษ และการให้โอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางโรงเรียน สรุปได้ว่าจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า การพัฒนาระบบการดำเนินงานด้านงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมนั้น ได้ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ นักเรียนมีมาตรฐานด้านการเรียนรู้ที่สูงขึ้นด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมและ พัฒนาส่งเสริมบรรยากาศสิ่งแวดล้อม โดยให้สถานศึกษาจัดบริเวณพื้นที่ให้เกิดความร่มรื่นเป็นระเบียบ สะอาดและปลอดภัย และการจัดการศึกษาเพื่อให้ เกิดความตระหนักในความสำคัญเกิดกิจกรรมร่วมใน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะบรรยากาศ สิ ่ ง แวดล้ อ มเป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ ประการหนึ ่ ง ในการช่ ว ยกระตุ ้ น สร้ า งแรงจู ง ใจให้ น ั ก เรี ย นมี ค วาม กระตือรือร้นในการเรียน ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักเรียนโดยมีความสุขความสบาย รู้จักคิด แก้ปัญหาได้เอง รวมทั้งการที่ได้อยู่ในโรงเรียนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีนักเรียนก็จะเกิดความภาคภูมิใจและเกิด ความรักโรงเรียน รักสถาบัน ความรู้สึกเช่นนี้ ย่ อมนำไปสู่ความหวงแหนในชื่อเสียงโรงเรียนและถ้า โรงเรียนสร้างความรู้สึกเช่นนี้ให้เกิดขึ้นได้ก็จะเป็นสิ่งที่ส่ งผลต่อประพฤติกรรมของนักเรียน เพราะ นักเรียนย่อมจะไม่ทำให้โรงเรียนที่ตัวเองรักและภูมิใจต้องเสียชื่อเสียง อาคารสถานที่นั้นเป็นที่ที่นักเรียน ใช้ในการศึกษาแก่นักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือในโรงเรียนนั้นต้องใช้ห้องเรียน ห้อง ประกอบอื ่ น ๆ และห้ อ งที ่ ใ ห้ บ ริ ก ารแก่ น ั กเรี ย นซึ่ ง ถือ ได้ว ่ า เป็ นไปเพื ่ อ ให้ ก ารศึ ก ษาโดยตรง ใน ขณะเดียวกันการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ความเคยชินต่อสิ่งที่ดี งามก็จะค่อย ๆ ซึมเข้าไปในความรู้สึกจนเกิดเป็นนิสัยที่จะรักความเป็นระเบียบเรียบร้อยนั้นต่อไปด้วย โรงเรียนจึงควรให้ความสำคัญต่อการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อประโยชน์ต่อบุค ลากร โดยเฉพาะด้านวิชาการและด้านกายภาพ ซึ่งควรอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และมีการประเมินผล การดำเนินงานตามโครงการ/ กิจกรรมเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ไขต่อไป โดยรูปแบบ การประเมินรูปแบบหนึ่งที่มีผู้นำมาใช้มาก คือ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งจะ ประเมินครอบคลุม 4 ด้าน คือ ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ

62

และด้านผลผลิต ช่วยให้การประเมินผลมีความเป็นระบบ ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมีประโยชน์ต่อผู้มีอำนาจใน การตัดสินใจเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

63

บทที่ 3 วิธีดำเนินการประเมินโครงการ การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรี ย นสุ ว รรณารามวิ ท ยาคม ปี ก ารศึ ก ษา 2564 สำนั ก งานเขตพื ้ น ที ่ ก ารศึ ก ษามั ธ ยมศึ ก ษา กรุง เทพมหานคร เขต1 โดยใช้แบบจำลองซิปป์โมเดล (CIPP Model) เป็นแนวทางในการประเมิน โครงการ ซึงผู้ประเมินได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าและเสนอรายละเอียดตามลำดับ ดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. วิธีการประเมินโครงการ 3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 4. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือประเมิน 5. รูปแบบที่ใช้ในการประเมินโครงการ 6. การเก็บรวบรวมข้อมูล 7. การวิเคราะห์ข้อมูล 8. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร ประชากรในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย 1.1.1 ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา จำนวน 4 คน ประกอบด้ ว ย ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ย น รอง ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารวิ ช าการ รองผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารงานบุค คล รอง ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณ และรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไป โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม 1.1.2 คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 12 คน 1.1.3 ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 74 คน 1.1.4 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 1,440 คน 1.1.5 นั ก เรี ยนระดั บ ชั้ นมั ธยมศึ กษาปี ท ี่ 1 – 6 โรงเรีย นสุว รรณารามวิท ยาคม จำนวน 1,440 คน

64

1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย 1.2.1 ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา จำนวน 4 คน ประกอบด้ ว ย ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ย น รอง ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารวิ ช าการ รองผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารงานบุค คล รอง ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณ และ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไป โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1.2.2 คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 12 คน โดยการสุ่ม แบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1.2.3 ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 74 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1.2.4 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 306 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี ่แ ละมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970: 607-610) จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นชนิดสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ซึ่งใช้ระดับชั้นของผู้ปกครองนักเรียนเป็นชั้นภูมิ จากนั้นกำหนดผู้ให้ ข้อมูล โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 1.2.5 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 306 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970: 607-610) จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นชนิดสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ซึ่งใช้ระดับชั้น ของนักเรียนเป็นชั้นภูมิ จากนั้นกำหนดผู้ให้ข้อมูล โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการของโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กลุ่มประชากร จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษา 4 4 คณะกรรมการสถานศึกษา 12 12 ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 74 74 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 1,440 306 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 1,440 306 รวม 2,970 702

65

ตารางที่ 2 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งตามระดับชั้นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กลุ่มประชากร จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 274 51 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 242 51 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 280 51 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 256 51 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 204 51 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 184 51 รวม 1440 306 ตารางที่ 3 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งตามระดับชั้นของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กลุ่มประชากร จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 274 51 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 242 51 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 280 51 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 256 51 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 204 51 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 184 51 รวม 1440 306

66

2. วิธีการประเมินโครงการ การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่ง แวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนัก เรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ของดาเนียล แอลของสตัฟเฟิลบีม (Danial L.Stuffelbeam) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) คือ การประเมินความจำเป็น ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการและนโยบายของหน่วยงาน โดยการสอบถามจากผู้บริหาร สถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นเบื้องต้น (Input Evaluation) คือ การประเมินเกี่ยวกับ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ รวมทั้งการบริหารจัดการโดยการสอบถามจากผู้บริหาร สถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) คือ การประเมินการวางแผน การ ดำเนินงาน การตรวจสอบและติดตาม รวมทั้งการปรับปรุงโดยการสอบถามจากผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 4. การประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation) คือการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมหลังการพัฒนา ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ โดยการสอบถามจากผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้น โดยได้ประมวล แนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภูมิทัน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน มี 2 ฉบับ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม แต่ละฉบับแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมิน มีลักษณะเป็นแบบ เลือกตอบ (Check list) จำนวน 5 ข้อ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ฉบับที่ 2 สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ฉบั บ ที ่ 1 แบบสอบถามเกี ่ ย วกั บ ความคิด เห็ นที ่ม ีต ่ อการพั ฒนาภูม ิท ั ศ น์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน 4 ด้าน คือ

67

1) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านผลผลิต(Product Evaluation) โดยแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยเรียงจาก มาก ที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ตามแนวคิดของ ลิเคิร์ท (อ้างถึงใน วินัยพร ทองสุข 2546: 30) ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้ 5 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด 4 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มาก 3 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง 2 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อย 1 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อยที่สุด 4. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือประเมิน ผู้ประเมินได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 โดยผู้ประเมินดำเนินการสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 2 ฉบับ โดยการสร้าง เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบลิเคิร์ท (Likert) (วิเชียร เกตุสิงห์. 2525 : 97-100) โดยมีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้ 1. แบบประเมินเกี่ยวกับด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนา ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ซึ่งสอบถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 1.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ โดยกำหนดเป็นข้อมูล ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของโครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน 1.2 กำหนดรูป แบบของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ 1.3 เขียนแบบสอบถามเกี่ยวกับด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ฉบับร่าง

68

1.4 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อหาความตรงเชิง เนื้อหา (Content validity) ว่าสิง่ ที่ประเมินแต่ละข้อมีความสอดคล้องหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้ +1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา -1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินไม่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ คำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องของความ คิดเห็น (IOC) และคัดเลือกข้อที่ประเมินมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 - 1.00 แล้วจัดทำแบบสอบถามฉบับใหม่ 1.5 นำแบบสอบถามที่ได้ไปทดลองใช้ (Try out) กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน เพื่อหาความเชื่อมั่ น (Reliability) ทั้งฉบับ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.8104 1.6 นำแบบสอบถามพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ และนำไปใช้ในการดำเนินการเก็บข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเกี่ยวกับด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของ โครงการพัฒนาพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณา รามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ คะแนนที่กำหนดให้กับข้อคำถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า มีดังนี้ มากที่สุด เท่ากับ 5 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มาก เท่ากับ 4 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปานกลาง เท่ากับ 3 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง น้อย เท่ากับ 2 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย น้อยที่สุด เท่ากับ 1 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูล จากแบบสอบถามด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ซึ่ง เป็น ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์โดยการหาค่า คะแนนเฉลี่ย ( 𝑋̅ ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูล เกี่ยวกับการพัฒนา ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด: และบุญส่งนิลแก้ว. 2535: 23 - 24) คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มาก คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อยที่สุด

69

2. แบบประเมินเกี่ยวกับด้านปัจจัยเบื้ องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ซึ่ง สอบถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 2.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของข้อมูลที่ต้องการโดย กำหนดเป็นข้อมูล ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ ด้านการบริหารจัดการ 2.2 กำหนดรู ปแบบของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ 2.3 เขียนแบบสอบถามเกี่ยวกับด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ฉบับร่าง 2.4 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อหาความตรงเชิ ง เนื้อหา (Content validity) ว่าสิ่งที่ประเมินแต่ละข้อมีความสอดคล้องหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้ +1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา -1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินไม่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ คำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องของความ คิดเห็น (IOC) และคัดเลือกข้อที่ประเมินมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 - 1.00 แล้วจัดทำแบบสอบถามฉบับใหม่ 2.5 นำแบบสอบถามที่ได้ไปทดลองใช้ (Try out) กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน เพื่อหาความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับ โดยวะหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.8187 2.6 นำแบบสอบถามพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ และนำไปใช้ในการดำเนินการเก็บข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเกี่ยวกับด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการ พัฒนาพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรี ยนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เป็ นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ คะแนนที่กำหนดให้กับข้อคำถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า มีดังนี้ มากที่สุด เท่ากับ 5 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มาก เท่ากับ 4 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปานกลาง เท่ากับ 3 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง น้อย เท่ากับ 2 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย น้อยที่สุด เท่ากับ 1 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด

70

การวิเคราะห์ข้อมูล จากแบบสอบถามด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ซึ่งเป็นข้อมูล เกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์โดยการหาค่า คะแนนเฉลี่ย ( 𝑋̅ ) และ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูล เกี่ยวกับการพัฒนาภูมิ ทัศน์และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด: และบุญส่งนิลแก้ว. 2535: 23 - 24) คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มาก คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อยที่สุด 3. แบบประเมินเกี่ยวกับด้านกระบวนการ (Process Evaluation) การของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ซึ่งสอบถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 3.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process Evaluation) กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ โดยกำหนดเป็นข้อมูล ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการตรวจสอบและติดตาม ด้านการปรับปรุง 3.2 กำหนดรูปแบบของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ 3.3 เขียนแบบสอบถามเกี่ยวกับด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ฉบับร่าง 3.4 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อหาความตรงเชิง เนื้อหา (Content validity) ว่าสิง่ ที่ประเมินแต่ละข้อมีความสอดคล้องหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้ +1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา -1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินไม่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ คำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องของความ คิดเห็น (IOC) และคัดเลือกข้อที่ประเมินมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 - 1.00 แล้วจัดทำแบบสอบถามฉบับใหม่ 3.5 นำแบบสอบถามที่ได้ไปทดลองใช้ (Try out) กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน เพื่อหาความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับ โดยวะหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.8371

71

3.6 นำแบบสอบถามพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ และนำไปใช้ในการดำเนินการเก็บข้อมูล ลั ก ษณะของแบบสอบถามเกี ่ ย วกั บ ด้ า นกระบวนการ (Process Evaluation) ของ โครงการพัฒนาพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณา รามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ คะแนนที่กำหนดให้กับข้อคำถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า มีดังนี้ มากที่สุด เท่ากับ 5 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มาก เท่ากับ 4 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปานกลาง เท่ากับ 3 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง น้อย เท่ากับ 2 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย น้อยที่สุด เท่ากับ 1 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูล จากแบบสอบถามด้านด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ซึ่งเป็น ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์โดยการหาค่า คะแนนเฉลี่ย ( 𝑋̅ ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูล เกี่ยวกับการพัฒนา ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด: และบุญส่งนิลแก้ว. 2535: 23 - 24) คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มาก คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อยที่สุด 4. แบบประเมิ นเกี่ ยวกั บ ด้า นผลผลิ ต ( Product Evaluation) ของโครงการพั ฒนาภู ม ิท ั ศ น์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ซึ่ง สอบถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม 4.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการผลผลิต (Product Evaluation) กำหนดวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการประเมิ น เพื ่ อ วิ เ คราะห์ ค วามพึ ง พอใจของผู ้ บ ริ ห าร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนที่มีต่อ โครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 4.2 กำหนดรูปแบบของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ 4.3 เขียนแบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิต (Product Evaluation) ฉบับร่าง

72

4.4 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เสนอผู้เชี่ ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อหาความตรงเชิง เนื้อหา (Content validity) ว่าสิ่งที่ประเมินแต่ละข้อมีความสอดคล้องหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้ +1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา -1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินไม่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ คำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องของความ คิดเห็น (IOC) และคัดเลือกข้อที่ประเมินมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 - 1.00 แล้วจัดทำแบบสอบถามฉบับใหม่ 4.5 นำแบบสอบถามที่ได้ไปทดลองใช้ (Try out) กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน เพื่อหาความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.8745 4.6 นำแบบสอบถามพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ และนำไปใช้ในการดำเนินการเก็บข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนา พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนั กเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปี การศึกษา 2564 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ คะแนนที่ กำหนดให้กับข้อคำถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า มีดังนี้ มากที่สุด เท่ากับ 5 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มาก เท่ากับ 4 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปานกลาง เท่ากับ 3 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง น้อย เท่ากับ 2 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย น้อยที่สุด เท่ากับ 1 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูล จากแบบสอบถามผลผลิต (Product Evaluation) ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์โดยการหาค่า คะแนนเฉลี่ย ( 𝑋̅ ) และความ เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูล เกี่ยวกับการพัฒนาภูมิทศั น์ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด: และบุญส่งนิลแก้ว. 2535: 23 - 24) คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มาก คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อยที่สุด

73

ผู้ประเมินได้รับความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) จำนวน 5 ท่าน ดังนี้ 1 นายประจวบ อินทรโชติ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทวีธาภิเศก จังหวัดกรุงเทพมหานคร 2 นายราเมศ มุสิกานนท์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 3 นางลัดดา เจียมจูไร ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 4 นายเทพพร อาจเวทย์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 5 นางพิมลมาศ พัดสมร ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

74

ตารางที่ 4 ค่าอำนาจจำแนกและความเชื่อมั่นของแบบประเมินโครงการ แบบประเมิน ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต

ค่าอำนาจจำแนก 0.4224 - 0.7303 0.3375 – 0.7303 0.3303 – 0.7500 0.2458 – 0.7303

ค่าความเชื่อมั่น 0.8104 0.8187 0.8371 0.8745

5. รูปแบบที่ใช้ในการประเมินโครงการ ในการประเมินครั้งนี้ผู้ประเมินได้ประยุกต์แบบจำลองซิปป์โมเดล(CIPP Model) ในการประเมิน โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน ข้อมูลที่ต้องการ แหล่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ ใช้ในการประเมิน วิธีวิเคราะห์ข้อมูลและเกณฑ์ในการตัดสินใจ โดยกำหนดกรอบแนวทางในการประเมิน ในภาพรวม ดังแสดงในตารางที่ 3.5

ตารางที่ 5 กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสน 2564 โดยแสดงวัตถุประสงค์ของการประเมิน ข้อมูลที่ต้องการ แหล่งข้อมูล เครื่องมือท วัตถุประสงค์ ของการประเมิน เพื่อประเมินด้านสภาวะ แวดล้อมความต้องการและ จำเป็นของโครงการความ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ โครงการ ความสอดคล้องกับ นโยบายของหน่วยงาน

ข้อมูลที่ต้องการ

แหล่งข้อมูล

เครื่องม

ความต้องการและ -ผู้บริหาร จำเป็น ความ สถานศึกษา สอดคล้องกับ -ครู วัตถุประสงค์ของ โครงการ ความ สอดคล้องกับ นโยบายของ หน่วยงาน

-แบบป ด้านส แวด

76

นับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา ที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล และเกณฑ์ในการประเมิน

มือที่ใช้

การวิเคราะห์ข้อมูล

เกณฑ์การประเมิน

ประเมิน สภาวะ ดล้อม

-วิเคราะห์เชิงเนื้อหา -พิจารณาความเหมาะสม ของความต้องการและ จำเป็นของโครงการความ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของโครงการ ความ สอดคล้องกับนโยบายของ หน่วยงาน

เกณฑ์ค่าเฉลี่ย -ระดับความคิดเห็น -พิจารณาจากระดับความคิดเห็น ต่อไปนี้ 4.51 – 5.00 ระดับปฏิบัติมาก ที่สุด 3.51 – 4.50 ระดับปฏิบัติมาก 2.51 – 3.50 ระดับปฏิบัติปาน กลาง 1.51 – 2.50 ระดับปฏิบัติน้อย 1.00 – 1.50 ระดับปฏิบัติน้อย ที่สุด

ตารางที่ 5 กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสน 2564 โดยแสดงวัตถุประสงค์ของการประเมิน ข้อมูลที่ต้องการ แหล่งข้อมูล เครื่องมือท วัตถุประสงค์ ข้อมูลที่ต้องการ แหล่งข้อมูล เครื่องม ของการประเมิน เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น - ด้านบุคลากร -ผู้บริหาร -แบบป -ด้านงบประมาณ สถานศึกษา ด้านป - ด้านวัสดุอุปกรณ์ -ครู เบื้อ และสถานที่ - ด้านการบริหาร จัดการ

77

นับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา ที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล และเกณฑ์ในการประเมิน (ต่อ)

มือที่ใช้

การวิเคราะห์ข้อมูล

เกณฑ์การประเมิน

ประเมิน ปัจจัย องต้น

-วิเคราะห์เชิงเนื้อหา -พิจารณาความพร้อม ความ เพียงพอความเหมาะสมของ บุคลากร งบประมาณ ระยะเวลา วัสดุอุปกรณ์ ดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามระดับ ความคิดเห็นซึ่งมีข้อคำถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยการหา

เกณฑ์ค่าเฉลี่ย -ระดับความคิดเห็น -พิจารณาจากระดับความคิดเห็น ต่อไปนี้ 4.51 – 5.00 ระดับปฏิบัติมาก ที่สุด 3.51 – 4.50 ระดับปฏิบัติมาก 2.51 – 3.50 ระดับปฏิบัติปาน กลาง 1.51 – 2.50 ระดับปฏิบัติน้อย 1.00 – 1.50 ระดับปฏิบัติน้อย ที่สุด

̅ )และส่วน ค่าเฉลี่ย ( 𝑋 เบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)

ตารางที่ 5 กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสน 2564 โดยแสดงวัตถุประสงค์ของการประเมิน ข้อมูลที่ต้องการ แหล่งข้อมูล เครื่องมือท วัตถุประสงค์ ของการประเมิน ประเมินด้านกระบวนการของ โครงการ

ข้อมูลที่ต้องการ

แหล่งข้อมูล

เครื่องม

-ด้านการวางแผน -ผู้บริหาร -ด้านการดำเนินงาน สถานศึกษา -ด้านตรวจสอบและ -ครู ติดตาม -ด้านการปรับปรุง

-แบบป ด้านกระ

78

นับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึ กษา ที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล และเกณฑ์ในการประเมิน (ต่อ)

มือที่ใช้

การวิเคราะห์ข้อมูล

ประเมิน -วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ะบวนการ -พิจารณาความเหมาะสม ของการบริหารโครงการ การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบติดตาม การ ปรับปรุงตามระดับความ คิดเห็นซึ่งมีข้อคำถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยการหา ค่าเฉลี่ย ( 𝑋̅ )และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)

เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์ค่าเฉลี่ย -ระดับความคิดเห็น -พิจารณาจากระดับความคิดเห็น ต่อไปนี้ 4.51 – 5.00 ระดับปฏิบัติมาก ที่สุด 3.51 – 4.50 ระดับปฏิบัติมาก 2.51 – 3.50 ระดับปฏิบัติปาน กลาง 1.51 – 2.50 ระดับปฏิบัติน้อย 1.00 – 1.50 ระดับปฏิบัติน้อย ที่สุด

ตารางที่ 5 กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสน 2564 โดยแสดงวัตถุประสงค์ของการประเมิน ข้อมูลที่ต้องการ แหล่งข้อมูล เครื่องมือท วัตถุประสงค์ ของการประเมิน เพื่อประเมินด้านผลผลิตของ โครงการ

ข้อมูลที่ต้องการ

แหล่งข้อมูล

เครื่อง

-ผลการดำเนินงาน -ผู้บริหาร -แบบ -ความพึงพอใจต่อ สถานศึกษา ด้านผ โครงการ -คณะกรรม การสถานศึกษา -ครู -ผู้ปกครอง -นักเรียน

79

นับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา ที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล และเกณฑ์ในการประเมิน (ต่อ)

งมือที่ใช้

การวิเคราะห์ข้อมูล

บประเมิน -วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลผลิต -พิจารณาความพึงพอใจ ตามระดับความคิดเห็นซึ่งมี ข้อคำถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) โดยการหาค่าเฉลี่ย

̅ )และส่วนเบี่ยงเบน (𝑋 มาตรฐาน(S.D.)

เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์ค่าเฉลี่ย -ระดับความคิดเห็น -พิจารณาจากระดับความคิดเห็น ต่อไปนี้ 4.51 – 5.00 ระดับปฏิบัติมาก ที่สุด 3.51 – 4.50 ระดับปฏิบัติมาก 2.51 – 3.50 ระดับปฏิบัติปาน กลาง 1.51 – 2.50 ระดับปฏิบัติน้อย 1.00 – 1.50 ระดับปฏิบัติน้อย ที่สุด

80

6. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองนักเรียนและ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยได้กำหนด วัน เวลา ขอรับแบบสอบถามคืน ใช้แบบประเมินที่ผู้ ประเมินสร้างขึ้น ซึ่งผ่านการหาคุณภาพเรียบร้อยแล้ว ดังต่อไปนี้ 1. แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เก็บข้อมูล จากผู้บริหาร และครู ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปจำนวน 78 ฉบับ ได้รับคืน 78 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 2. แบบประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เก็บข้อมูลจากผู้บริหาร และครู ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปจำนวน 78 ฉบับ ได้รับคืน 78 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 3. แบบประเมิ น ด้ า นกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพั ฒ นาภู ม ิ ท ั ศ น์ แ ละ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เก็บข้อมูล จากผู้บริหาร และครู ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปจำนวน 78 ฉบับ ได้รับคืน 78 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 4. แบบประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 1 เก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ดำเนินการแจก แบบสอบถามไปจำนวน 78 ฉบับ ได้รับคืน 78 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ฉบับที่ 2 เก็บข้อมูลจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปจำนวน 624 ฉบับ ได้รับคืน 624 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 7. การวิเคราะห์ข้อมูล ในการประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยแจกแจงความถี่และร้อยละ ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การ เรี ย นรู้ ข องนั ก เรี ย น โรงเรี ย นสุ ว รรณารามวิ ท ยาคม ปี ก ารศึ ก ษา 2564 ด้ า นสภาวะแวดล้ อ ม (Context Evaluation) ประกอบด้วย ความต้องการและจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ ข อง โครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน โดยการหาค่า คะแนนเฉลี่ย ( 𝑋̅ ) และความเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) กำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูล เกี่ยวกับการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด: และบุญส่งนิลแก้ว. 2535: 23 - 24) คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มาก คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อย

81

คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อยที่สุด ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การ เรี ย นรู้ ข องนั ก เรี ย น โรงเรี ย นสุ ว รรณารามวิ ท ยาคม ปี ก ารศึ ก ษา 2564 ด้ า นปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประกอบด้วย ความความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ การบริหาร จัดการ โดยการหาค่า คะแนนเฉลี่ย ( 𝑋̅ ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กำหนดเกณฑ์ในการแปล ความหมายของข้อมูล เกี่ยวกับการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ดังนี้ (บุญ ชม ศรีสะอาด: และบุญส่งนิลแก้ว. 2535: 23 - 24) คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มาก คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อยที่สุด ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรี ย นรู้ ข องนั กเรี ย น โรงเรี ย นสุ ว รรณารามวิ ท ยาคม ปี ก ารศึ ก ษา 2564 ด้ า นกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบและติดตาม การปรับปรุง โดยการหาค่า คะแนนเฉลี่ย ( 𝑋̅ ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายของ ข้อมูล เกี่ยวกับการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด : และบุญส่งนิลแก้ว. 2535: 23 - 24) คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มาก คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อยที่สุด ตอนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรี ย นรู้ ข องนั ก เรี ย น โรงเรี ย นสุ ว รรณารามวิ ท ยาคม ปี ก ารศึ ก ษา 2564 ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการ โดยการหาค่า คะแนนเฉลี่ย ( 𝑋̅ ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กำหนด เกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูล เกี่ยวกับการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด: และบุญส่งนิลแก้ว. 2535: 23 - 24) คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ มาก คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับปฏิบัติ น้อย

82

คะแนนเฉลี่ย

1.00 – 1.50

หมายถึง ระดับปฏิบัติ

น้อยที่สุด

8. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 1.1 ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of ltem Objective Congruence : IOC) ระหว่างข้อ คำถามกับเนื้อหาโดยใช้สูตร ดังนี้ 𝐼𝑂𝐶 = เมือ่

∑𝑅 𝑁

𝐼𝑂𝐶

หมายถึง

ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม

𝑅

หมายถึง

คะแนนของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

∑𝑅

หมายถึง

ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน

𝑁

หมายถึง

จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

1.2 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ การหาค่าอำนาจจำแนกโดยการหาความ สอดคล้องภายใน (Internal consistency method) โดยใช้สูตร Pearson Product Moment Correlation Coeffcient การหาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม โดยการหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธี ของครอนบาค (Cronbach) 2. สถิติพื้นฐาน 2.1 ร้อยละ (Percentage) 2.2 ค่าเฉลี่ย ( 𝑋̅ ) 𝑋̅ =

∑𝑋 𝑁

2.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

83

บทที่ 4 ผลการประเมินโครงการ การนำเสนอผลการประเมิน เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ผู้ประเมินแบ่งการนำเสนอออกเป็น หมวดหมู่ ดังนี้ 1. การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ประเมินได้นำเสนอผลการประเมินตามลำดับ ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้าน ผลผลิต ของโครงการ 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวนผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม

84

ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ข้อมูลทั่วไป จำนวน (คน) ร้อยละ ผู้บริหารโรงเรียน 4 100.00 คณะกรรมการสถานศึกษา 12 100.00 ครู 74 100.00 ผู้ปกครองนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 51 16.66 รวม 306 100.00 นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 51 16.66 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 51 16.66 รวม 306 100.00 จากตารางที่ 6 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.57 คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 1.71 ครู โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 10.54 ผู้ปกครอง จำนวน 306 คน คิดเป็นร้อย ละ 43.59 และนักเรียน จำนวน 306 คน คิดเป็นร้อยละ 43.59

85

ตอนที่ 2 ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) คือ การประเมินด้านความต้องการและ จำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน โดยการสอบถามจากผู้บริหาร และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ผลการประเมินสรุปได้ ดังตารางที่ 4.2 ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ ระดับการประเมิน รายการประเมิน ข้อ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู รวม ด้านสภาวะแวดล้อม ที่ (n=4) (n=74) (n=78) Context Evaluation ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ด้านความต้องการ และจำเป็นของ โครงการ 1 โครงการมีความ 4.00 0.00 มาก 4.00 0.37 มาก 4.00 0.36 มาก เหมาะสมและ สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาของโรงเรียนใน ปัจจุบัน 2 สาธารณูปโภคภายใน 4.00 0.00 มาก 3.99 0.26 มาก 3.98 0.25 มาก โรงเรียน เช่นระบบ ไฟฟ้า ระบบประปา ควรได้รับการปรับปรุง และพัฒนาให้มีความ พร้อมในการใช้งาน

86

ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน รายการประเมิน ข้อ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู รวม ด้านสภาวะแวดล้อม ที่ (n=4) (n=74) (n=78) Context Evaluation ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 3 ภูมิทัศน์และ 4.00 0.00 มาก 4.05 0.23 มาก 4.05 0.22 มาก สิ่งแวดล้อมภายใน โรงเรียน เช่น อาคาร เรียน ห้องเรียน สวนหย่อม ทางเดิน ควรได้รับการปรับปรุง และพัฒนาเพื่อสร้าง บรรยากาศสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียน เฉลี่ย 4.00 0.00 มาก 4.01 0.29 มาก 4.01 0.28 มาก ด้านความสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของ โครงการ 4 ครูและบุคลกรมีความรู้ 4.00 0.00 มาก 4.07 0.25 มาก 4.06 0.24 มาก และเข้าใจในการ ดำเนินกิจกรรมตาม โครงการ 5 วัตถุประสงค์ของ 4.00 0.00 มาก 4.95 0.23 มาก 4.90 0.30 มาก โครงการมีความชัดเจน ที่สุด และนำไปปฏิบัติได้ 6 เป้าหมายของโครงการ 4.00 0.00 มาก 4.95 0.23 มาก 4.90 0.30 มาก ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ ที่สุด นักเรียนและบุคลากร ในโรงเรียน

87

ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน รายการประเมิน ข้อ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู รวม ด้านสภาวะแวดล้อม ที่ (n=4) (n=74) (n=78) Context Evaluation ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 7 นักเรียน ครูและ 4.00 0.00 มาก 4.00 0.00 มาก 4.00 0.00 มาก บุคลากรเห็น ความสำคัญของ โครงการ 8 ผู้ปกครอง ชุมชน 4.00 0.00 มาก 4.05 0.23 มาก 4.05 0.22 มาก หน่วยงานภายนอก รับทราบนโยบายและ ให้การสนับสนุนการ ดำเนินโครงการ เฉลี่ย 4.00 0.00 มาก 4.40 0.49 มาก 4.38 0.49 มาก ด้านความสอดคล้อง กับนโยบายของ หน่วยงาน 9 วัตถุประสงค์ของ 4.00 0.00 มาก 4.81 0.39 มาก 4.77 0.42 มาก โครงการสอดคล้องกับ ที่สุด ที่สุด นโยบายของโรงเรียน 10 วัตถุประสงค์ของ 4.00 0.00 มาก 4.68 0.5 มาก 4.64 0.58 มาก โครงการสอดคล้องกับ ที่สุด ที่สุด นโยบายของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา เฉลี่ย 4.00 0.00 มาก 4.74 0.49 มาก 4.71 0.51 มาก ที่สุด ที่สุด เฉลี่ยรวม 4.00 0.00 มาก 4.35 0.51 มาก 4.34 0.50 มาก

88

จากตารางที่ 7 แสดงว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรี ย นของนั ก เรี ย นโรงเรี ย นสุ ว รรณารามวิ ท ยาคม ปี ก ารศึ ก ษา 2564 ด้ า นสภาวะแวดล้ อ ม (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีระดับ ̅ = 𝟒. 𝟑𝟒) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( 𝑿 ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.00 – 4.90 โดยสามอันดับแรก ได้แก่วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและนำไป ̅ = 𝟒. 𝟗𝟎) ปฏิบัติได้ และ เป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟕𝟕) และ วัตถุประสงค์ รองลงมาคือวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน ( 𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟔𝟒) ตามลำดับ ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (𝑿 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับด้านที่ ̅ = 𝟒. 𝟕𝟏) รองลงมา มีความพร้อมจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ( 𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟑𝟖) และ ด้านความต้องการและจำเป็นของ คือด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟏) ตามลำดับ โครงการ (𝑿

89

การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) คือ การประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความพร้อม ความสามารถ ความเพียงพอและความเหมาะสมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ ด้านการบริหารจัดการโดยการสอบถามจากผู้บริหาร และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ผลการประเมิน สรุปได้ ดังตารางที่ 8 ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ ระดับการประเมิน รายการประเมิน ข้อ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู รวม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ที่ (n=4) (n=74) (n=78) Input Evaluation ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ด้านบุคลากร 1 โรงเรียนมีการแต่งตั้ง 4.00 0.00 มาก 5.00 0.00 มาก 4.95 0.22 มาก บุคลากรที่รับผิดชอบ ที่สุด ที่สุด โครงการ 2 บุคลากรที่รับผิดชอบ 4.00 0.00 มาก 4.08 0.27 มาก 4.0 0.27 มาก โครงการมีความรู้ความ เข้าใจในการดำเนิน โครงการ 3 บุคลากรที่รับผิดชอบ 4.00 0.00 มาก 3.92 0.43 มาก 3.92 0.42 มาก โครงการมีปริมาณ เพียงพอ เฉลี่ย 4.00 0.00 มาก 4.33 0.56 มาก 4.32 0.55 มาก ด้านงบประมาณ 4 โรงเรียนมีงบประมาณ 3.00 0.00 ปาน 3.88 0.33 มาก 3.93 0.37 มาก ในการพัฒนาภูมิทัศน์ กลาง และสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียน เฉลี่ย 3.00 0.0 ปาน 3.88 0.33 มาก 3.93 0.37 มาก กลาง

90

ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน รายการประเมิน ข้อ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู รวม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ที่ (n=4) (n=74) (n=78) Input Evaluation ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ด้านวัสดุอุปกรณ์และ สถานที่ 5 โรงเรียนมีอาคาร 3.50 0.50 ปาน 3.81 0.39 มาก 3.79 0.40 มาก สถานที่เพียงพอในการ กลาง จัดการเรียนการสอน 6 โรงเรียนมีระบบ 4.00 0.00 มาก 3.81 0.39 มาก 3.82 0.38 มาก สาธารณูปโภคที่ดี 7 วัสดุอุปกรณ์ในการ 5.00 0.00 มาก 3.81 0.39 มาก 3.87 0.46 มาก ปฏิบัติงานมีความ ที่สุด พร้อมและเหมาะสม เฉลี่ย 4.17 0.69 มาก 3.81 0.39 มาก 3.83 0.42 มาก ด้านการบริหาร จัดการ 8 วิธีการดำเนินการมี 5.00 0.00 มาก 3.99 0.26 มาก 4.04 0.34 มาก ความเหมาะสม ที่สุด 9 วิธีการและระยะเวลา 5.00 0.00 มาก 3.96 0.20 มาก 4.01 0.30 มาก ในการดำเนินงาน ที่สุด เป็นไปตามที่กำหนดไว้ 10 การปฏิบัติกิจกรรม 4.50 0.50 มาก 3.95 0.28 มาก 3.97 0.32 มาก ของโครงการมีการ ประสานงานร่วมมือกับ ชุมชนและหน่วยงาน ต่าง ๆ เฉลี่ย 4.83 0.37 มากที่สุด 3.96 0.25 มาก 4.01 0.32 มาก เฉลี่ยรวม 4.20 0.68 มาก 4.02 0.46 มาก 4.03 0.48 มาก

91

จากตารางที่ 8 แสดงว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีระดับความ ̅ = 𝟒. 𝟎𝟑) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑿 ̅= ระหว่าง 3.79 – 4.95 โดยสามอันดับแรก ได้แก่โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟒) และ วิธีการและระยะเวลาในการ 𝟒. 𝟗𝟓) รองลงมาคือวิธีการดำเนินการมีความเหมาะสม (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟏) ตามลำดับ ดำเนินงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ (𝑿 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับด้านที่ ̅ = 𝟒. 𝟑𝟐) รองลงมาคือด้านบริหารจัดการ (𝑿 ̅= มีความพร้อมจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านบุคลากร (𝑿 ̅ = 𝟑. 𝟗𝟑) และ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ (𝑿 ̅ = 𝟑. 𝟖𝟑) ตามลำดับ 𝟒. 𝟎𝟏) ด้านงบประมาณ (𝑿

92

การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) คือ การประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสมของ การบริหารโครงการ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการตรวจสอบและติดตาม ด้านการปรับปรุง โดยการสอบถามจากผู้บริหาร และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ผลการประเมินสรุปได้ ดังตารางที่ 9 ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ ระดับการประเมิน รายการประเมิน ข้อ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู รวม ด้านกระบวนการ ที่ (n=4) (n=74) (n=78) Process Evaluation ̅ ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 S.D. ระดับ 𝑿 ด้านการวางแผน 1 โรงเรียนมีการ 4.25 0.83 มาก 4.02 0.46 มาก 4.04 0.34 มาก วิเคราะห์ปัญหา ความ จำเป็นและทางเลือกใน การดำเนินการพัฒนา ภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อม 2 โรงเรียนมีการกำหนด 4.00 0.00 มาก 5.00 0.00 มาก 4.95 0.22 มาก กิจกรรมพัฒนาภูมิ ที่สุด ที่สุด ทัศน์และสิ่งแวดล้อม 3 โรงเรียนมีการวาง 5.00 0.00 มาก 4.12 0.33 มาก 4.17 0.37 มาก แผนการดำเนินงาน ที่สุด ตามโครงการที่ชัดเจน 4 โรงเรียนมีการกำหนด 5.00 0.00 มาก 4.01 0.51 มาก 4.06 0.54 มาก บทบาท ภารกิจ และ ที่สุด ขั้นตอนการดำเนิน โครงการที่ชัดเจน เฉลี่ย 4.56 0.61 มาก 4.29 0.53 มาก 4.30 0.54 มาก ที่สุด

93

ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน รายการประเมิน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู รวม ข้อที่ ด้านกระบวนการ (n=4) (n=74) (n=78) Process Evaluation ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ด้านการดำเนินงาน 5 มีการประชุมชี้แจง 5.00 0.00 มาก 4.05 0.49 มาก 4.10 0.52 มาก ภาระงานตาม ที่สุด โครงการ 6 มีการมอบหมายงาน 5.00 0.00 มาก 4.05 0.23 มาก 4.10 0.30 มาก ผู้รับผิดชอบการ ที่สุด ดำเนินงานอย่าง ชัดเจน 7 โรงเรียนดำเนิน 4.50 0.50 มาก 3.92 0.43 มาก 3.95 0.45 มาก กิจกรรมตามโครงการ อย่างต่อเนื่องและ ครอบคลุม 8 โรงเรียนจัดให้มีการ 4.50 0.50 มาก 4.07 0.25 มาก 4.09 0.29 มาก ประชุมคณะกรรมการ ฝ่ายบริหารและ คณะกรรมการที่ เกี่ยวข้องกับโครงการ อย่างสม่ำเสมอ เฉลี่ย 4.75 0.43 มาก 4.02 0.37 มาก 4.06 0.41 มาก ที่สุด

94

ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน รายการประเมิน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู รวม ข้อที่ ด้านกระบวนการ (n=4) (n=74) (n=78) Process Evaluation ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ด้านการตรวจสอบ และติดตาม 9 มีการนิเทศ กำกับ 5.00 0.00 มาก 4.00 0.28 มาก 4.05 0.35 มาก ติดตาม ตรวจสอบผล ที่สุด การดำเนินงานและ การปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่องสม่ำเสมอ เฉลี่ย 5.00 0.00 มาก 4.00 0.28 มาก 4.05 0.35 มาก ที่สุด ด้านการปรับปรุง 10 มีการนำผลการ 4.00 0.00 มาก 4.01 0.31 มาก 4.01 0.30 มาก ประเมินมาปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง เฉลี่ย 4.00 0.00 มาก 4.01 0.31 มาก 4.01 0.30 มาก เฉลี่ยรวม 4.63 0.53 มาก 4.13 0.45 มาก 4.15 0.47 มาก ที่สุด จากตารางที่ 9 แสดงว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีระดับความ ̅ = 𝟒. 𝟏𝟓) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑿 ระหว่าง 3.95 – 4.95 โดยสามอันดับแรก ได้แก่โรงเรียนมีการกำหนดกิจกรรมพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ̅ = 𝟒. 𝟗𝟓) รองลงมาคือโรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการที่ชัดเจน( 𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟏𝟕) มีการ (𝑿 มอบหมายงานผู้รับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน และโรงเรียนดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่อง ̅ = 𝟒. 𝟏𝟎) ตามลำดับ และครอบคลุม (𝑿

95

เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับด้านที่ ̅ = 𝟒. 𝟑𝟎) รองลงมาคือด้านการดำเนินงาน (𝑿 ̅= มีความพร้อมจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านการวางแผน (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟓) และ ด้านปรับปรุง (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟏) ตามลำดับ 𝟒. 𝟎𝟔) ด้านการตรวจสอบและติดตาม (𝑿 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) คือ การประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตของ โครงการ โดยการสอบถามจากผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ผลการประเมินสรุปได้ ดังตารางที่ 10

ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยา ข้อ ที่

รายการประเมิน ด้านผลผลิต Product Evaluation

ผู้บริหาร คณะกรรมการ สถานศึกษา สถานศึกษา (n=4) (n=12) ( ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ 𝑿

4.25 0.83 มาก 4.00 0.00 มาก 1 สภาพห้องเรียน วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ สื่อและอุปกรณ์การ สอนภายในห้องเรียนมี ความพร้อมในการใช้งาน 2 ภายในห้องเรียนมีความ 3.00 0.00 ปาน 4.00 0.00 มาก กลาง สะอาด ได้รับการดูแลเอา ใจใส่จากนักเรียน ครู และนักการแม่บ้าน 3 ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ 4.00 0.00 มาก 4.00 0.00 มาก ส่งเสริมต่อการเรียนรู้

3.97

3.81

3.99

96

ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการ าคม โดยรวมและรายข้อ ระดับการประเมิน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน รวม

(n=74) (n=306) (n=306) ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ S.D. ระดับ 𝑿

(n=702) ̅ S.D. ระดับ 𝑿

0.16 มาก

3.67 0.47 มาก

4.98 0.14 มาก ที่สุด

4.28 0.70 มาก

0.54 มาก

3.72 0.45 มาก

4.97 0.21 มาก ที่สุด

4.27 0.72 มาก

0.45 มาก

4.00 0.00 มาก

4.81 0.43 มาก ที่สุด

4.35 0.51 มาก

ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยา ข้อ ที่

รายการประเมิน ด้านผลผลิต Product Evaluation

ผู้บริหาร คณะกรรมการ สถานศึกษา สถานศึกษา (n=4) (n=12) ( ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ 𝑿

3.50 0.50 ปาน 4.00 0.00 มาก 4 บริเวณอาคารเรียนมี กลาง กระถางไม้ประดับทำให้ ร่มรื่น บรรยากาศน่าเรียน 5 อาคารเรียนมีป้ายนิเทศ มี 5.00 0.00 มาก 4.00 0.00 มาก ที่สุด บอร์ดความรู้ตกแต่ง สวยงามเป็นระเบียบ ส่งเสริมบรรยากาศในการ เรียนรู้ 4.00 0.00 มาก 4.00 0.00 มาก 6 ห้องสมุดมีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อม และเหมาะสมในการเป็น แหล่งเรียนรู้ของนักเรียน

3.95

4.08

3.96

97

ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการ าคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน รวม

(n=74) (n=306) (n=306) ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ S.D. ระดับ 𝑿

(n=702) ̅ S.D. ระดับ 𝑿

0.46 มาก

3.98 0.15 มาก

4.63 0.57 มาก ที่สุด

4.26 0.53 มาก

0.27 มาก

4.00 0.00 มาก

4.59 0.71 มาก ที่สุด

4.27 0.56 มาก

0.26 มาก

3.97 0.16 มาก

5.00 0.00 มาก ที่สุด

4.42 0.53 มาก

ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยา ข้อ ที่

รายการประเมิน ด้านผลผลิต Product Evaluation

ผู้บริหาร คณะกรรมการ สถานศึกษา สถานศึกษา (n=4) (n=12) ( ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ 𝑿

5.00 0.00 มาก 7 ห้องพยาบาลมีความ ที่สุด สะอาดและมีความ เหมาะสมในการใช้งาน 5.00 0.00 มาก 8 ห้องประชาสัมพันธ์มี ที่สุด ความสะอาดและมีความ เหมาะสมในการใช้งาน 5.00 0.00 มาก 9 ห้องประชุมมีความ ทีส่ ุด สะอาดและอุปกรณ์มี ความพร้อมในการใช้งาน

4.00 0.00 มาก

4.00

4.00 0.00 มาก

4.00

4.00 0.00 มาก

4.00

98

ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการ าคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน ครู ผูป้ กครอง นักเรียน รวม

(n=74) (n=306) (n=306) ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ S.D. ระดับ 𝑿

(n=702) ̅ S.D. ระดับ 𝑿

0.00 มาก

3.98 0.17 มาก

4.94 0.24 มาก ที่สุด

4.41 0.51 มาก

0.00 มาก

3.95 0.26 มาก

4.77 0.54 มาก ที่สุด

4.32 0.56 มาก

0.23 มาก

4.01 0.14 มาก

4.85 0.44 มาก ที่สุด

4.38 0.52 มาก

ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยา ข้อ ที่

รายการประเมิน ด้านผลผลิต Product Evaluation

10 โรงอาหารได้รับการ ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะและมี ความสะอาด มีโต๊ะ มี เก้าอี้สำหรับนั่งรับ ประทานอาหารเพียงพอ 11 ห้องน้ำนักเรียนและครูมี ความสะอาดและไม่มี กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ 12 โรงเรียนมีบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่ สนับสนุนต่อการจัดการ เรียนการสอน

ผู้บริหาร คณะกรรมการ สถานศึกษา สถานศึกษา (n=4) (n=12) ( ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ 𝑿 4.75 0.43 มาก ที่สุด

4.00 0.00 มาก

4.00

3.50 0.50 ปาน กลาง

3.83 0.37 มาก

4.07

4.25 0.43 มาก

3.83 0.37 มาก

4.00

99

ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการ าคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน รวม

(n=74) (n=306) (n=306) ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ S.D. ระดับ 𝑿

(n=702) ̅ S.D. ระดับ 𝑿

0.00 มาก

3.98 0.15 มาก

4.56 0.55 มาก ที่สุด

4.24 0.47 มาก

0.25 มาก

4.28 0.45 มาก

4.61 0.67 มาก ที่สุด

4.39 0.58 มาก

0.28 มาก

4.02 0.15 มาก

4.68 0.62 มาก ที่สุด

4.30 0.55 มาก

ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยา ข้อ ที่

รายการประเมิน ด้านผลผลิต Product Evaluation

ผู้บริหาร คณะกรรมการ สถานศึกษา สถานศึกษา (n=4) (n=12) ( ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ 𝑿

13 โรงเรียนมีสวนหย่อมเพื่อ 3.25 0.43 ปาน 3.83 0.37 มาก กลาง ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และ เป็นสถานที่พักผ่อนของ นักเรียน 14 โรงเรียนมีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะ 3.75 0.43 มาก 3.83 0.37 มาก หินอ่อน สำหรับเป็นที่ทำ กิจกรรมและนั่งพักผ่อน ของนักเรียน ผู้ปกครอง หรือผู้มาติดต่อธุระกับ โรงเรียนอย่างเพียงพอ และเหมาะสม

3.92

3.95

100

ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการ าคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน รวม

(n=74) (n=306) (n=306) ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ S.D. ระดับ 𝑿

(n=702) ̅ S.D. ระดับ 𝑿

0.27 มาก

4.02 0.14 มาก

4.62 0.58 มาก ที่สุด

4.26 0.52 มาก

0.23 มาก

4.01 0.16 มาก

4.96 0.23 มาก ที่สุด

4.41 0.53 มาก

ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของโครงการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยา ข้อ ที่

รายการประเมิน ด้านผลผลิต Product Evaluation

ผู้บริหาร คณะกรรมการ สถานศึกษา สถานศึกษา (n=4) (n=12) ( ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ 𝑿

15 โรงเรียนเป็นที่ยอมรับ 4.00 0.00 มาก ของชุมชนและ หน่วยงานต่าง ๆ ในการ พัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมภายใน โรงเรียน 4.15 0.75 มาก เฉลี่ย

3.83 0.37 มาก

4.00

3.96 0.19 มาก

3.98

101

ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการ าคม โดยรวมและรายข้อ (ต่อ) ระดับการประเมิน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน รวม

(n=74) (n=306) (n=306) ̅ S.D. ระดับ 𝑿 ̅ S.D. ระดับ S.D. ระดับ 𝑿 0.23 มาก

4.05 0.29 มาก

4.63 0.53 มาก ที่สุด

0.29 มาก

3.97 0.29 มาก

4.77 0.50

มาก ที่สุด

(n=702) ̅ S.D. ระดับ 𝑿 4.32 0.52 มาก

4.33 056

มาก

102

จากตารางที่ 10 แสดงว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ตาม ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณา ̅ = 𝟒. 𝟑𝟑) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า รามวิทยาคม โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑿 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.24 – 4.42 โดยสามอันดับแรก ได้แก่ห้องสมุดมีมาตรฐาน ̅ = 𝟒. 𝟒𝟐) รองลงมาคือห้อง ทันสมัย มีความพร้อมและเหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน(𝑿 พยาบาลมีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน และโรงเรียนมีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะหินอ่อน สำหรับเป็นที่ ทำกิจกรรมและนั่งพักผ่อนของนักเรียน ผู้ปกครองหรือผู้มาติดต่อธุระกับโรงเรียนอย่างเพียงพอและเหมาะสม ̅ = 𝟒. 𝟒𝟏) และห้องน้ำนักเรียนและครูมีความสะอาดและไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟑𝟗) (𝑿 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากความคิดเห็นของกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก โดยเรียงลำดับกลุ่มผู้ประเมินจากมากไปน้อยได้แก่ ความคิดเห็นของนักเรียนมีความเหมาะสมในระดับ ̅ = 𝟒. 𝟕𝟕) รองลงมาคือความคิดเห็นของผู้บริหารมีความเหมาะสมในระดับมาก (𝑿 ̅= มากที่สุด (𝑿 ̅ = 𝟑. 𝟗𝟖) รองลงมาคือความ 𝟒. 𝟏𝟓) รองลงมาคือความคิดเห็นของครูมีความเหมาะสมในระดับมาก (𝑿 ̅ = 𝟑. 𝟗𝟕) และ ความคิดเนของคณะกรรมการ คิดเห็นของผู้ปกครองมีความเหมาะสมในระดับมาก (𝑿 ̅ = 𝟑. 𝟗𝟔) ตามลำดับ สถานศึกษามีความเหมาะสมในระดับมาก (𝑿

103

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ในการนำเสนอผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมทิ ัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต1 มีขั้นตอนในการประเมิน และผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายของการประเมิน 2. ขอบเขตของการประเมิน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สรุปผลวิเคราะห์ข้อมูล 7. อภิปรายผล 8. ข้อเสนอแนะ 1. จุดมุ่งหมายของการประเมิน 1.1 เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 1.2 เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 1.3 เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 1.4 เพื ่ อ ประเมิ น ด้า นผลผลิ ต (Product Evaluation) ของโครงการพั ฒนาภู มิ ท ั ศ น์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2. ขอบเขตของการประเมิน การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ผู้ประเมินได้กำหนด ขอบเขตการประเมินออกเป็น 3 ส่วนคือ 2.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย

104

1) ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา จำนวน 4 คน ประกอบด้ ว ย ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ย น รอง ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารวิ ช าการ รองผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารงานบุค คล รอง ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณ และรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไป โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม 2) คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 12 คน 3) ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 74 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 1,440 คน 5) นักเรียนระดับ ชั ้นมัธ ยมศึ กษาปี ท ี่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิ ทยาคม จำนวน 1,440 คน กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย 1) ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา จำนวน 4 คน ประกอบด้ ว ย ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ย น รอง ผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารวิ ช าการ รองผู ้ อ ำนวยการโรงเรี ยนกลุ ่ม บริ หารงานบุค คล รอง ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณ และ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไป โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 12 คน โดยการสุ่ม แบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3) ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 74 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 4) ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 306 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่ม ตัว อย่ างตามตารางของเครจซี่ แ ละมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970: 607-610) จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นชนิดสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ซึ่งใช้ระดับชั้นของผู้ปกครองนักเรียนเป็นชั้นภูมิ จากนั้นกำหนดผู้ให้ข้อมูล โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 5) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 306 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970: 607-610) จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นชนิดสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ซึ่งใช้ระดับชั้น ของนักเรียนเป็นชั้นภูมิ จากนั้นกำหนดผู้ให้ข้อมูล โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 2.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา สิ่งที่ผู้ประเมินทำการประเมินผลครั้งนี้ คือ โครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามรูปแบบการประเมิน ซิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน ได้แก่

105

1) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ด้านผลผลิต(Product Evaluation) 2.3 ขอบเขตด้านเวลาในการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ใช้เวลาประเมินในระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2565 3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการในครั้ง นี้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้น โดยได้ประมวลแนวคิดที่ได้ จากการวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภูมิทัน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนรู้ของนักเรียน มี 2 ฉบับ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม แต่ละฉบับแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมิน มีลักษณะเป็นแบบ เลือกตอบ (Check list) จำนวน 5 ข้อ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ฉบับที่ 2 สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน 4 ด้าน คือ 5) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 6) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 7) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 8) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านผลผลิต(Product Evaluation) โดยแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยเรียงจาก มาก ที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ตามแนวคิดของ ลิเคิร์ท (อ้างถึงใน วินัยพร ทองสุข 2546: 30) ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้ 5 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด

106

4 3 2 1

หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง

การประเมินอยู่ในระดับ มาก การประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง การประเมินอยู่ในระดับ น้อย การประเมินอยู่ในระดับ น้อยทีส่ ุด

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยได้กำหนด วัน เวลา ขอรับแบบสอบถามคืน ใช้แบบ ประเมินที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น ซึ่งผ่านการหาคุณภาพเรียบร้อยแล้ว ดังต่อไปนี้ 4.1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เก็บข้อมูลจากผู้บริหาร และครู ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปจำนวน 78 ฉบับ ได้รับคืน 78 ฉบับ คิด เป็นร้อยละ 100 4.2 แบบประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เก็บ ข้อมูลจากผู้บริหาร และครู ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปจำนวน 78 ฉบับ ได้รับคืน 78 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 100 4.3 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เก็บ ข้อมูลจากผู้บริหาร และครู ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปจำนวน 78 ฉบับ ได้รับคืน 78 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 100 4.4 แบบประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 1 เก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ดำเนินการ แจกแบบสอบถามไปจำนวน 78 ฉบับ ได้รับคืน 78 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ฉบับที่ 2 เก็บข้อมูลจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนสุวรรณา รามวิทยาคม ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปจำนวน 624 ฉบับ ได้รับคืน 624 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

107

5. การวิเคราะห์ข้อมูล ในการประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยแจกแจงความถี่และร้อยละ ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ประกอบด้วย การประเมินความต้องการและจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input Evaluation) ประกอบด้วยการประเมินความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ การบริหาร จัดการโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ประกอบด้วยการวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบและติดตาม การปรับปรุงโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดย การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6. สรุปผลวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 สรุปได้ ดังนี้ 6.1 ผู้ตอบแบบสอบถามโครงการพัฒนาภูมิ ท ัศน์แ ละสิ ่ง แวดล้อ มเพื่ อสนับ สนุนการเรี ย น ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.57 คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 1.71 ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 10.54 ผู้ปกครอง จำนวน 306 คน คิด เป็นร้อยละ 43.59 และนักเรียน จำนวน 306 คน คิดเป็นร้อยละ 43.59

108

6.2 ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีระดับความ ̅ = 𝟒. 𝟑𝟒) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มี เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑿 ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.00 – 4.90 โดยสามอันดับแรก ได้แก่วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและ นำไปปฏิบัติได้ และ เป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ̅ = 𝟒. 𝟗𝟎) รองลงมาคือวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน (𝑿 ̅= (𝑿 ̅= 𝟒. 𝟕𝟕) และ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (𝑿 𝟒. 𝟔𝟒) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ̅= ด้านที่มีความพร้อมจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟑𝟖) และ ด้านความ 𝟒. 𝟕𝟏) รองลงมาคือด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟏) ตามลำดับ ต้องการและจำเป็นของโครงการ (𝑿 6.3 ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีระดับความ ̅ = 𝟒. 𝟎𝟑) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มี เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑿 ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.79 – 4.95 โดยสามอันดับแรก ได้แก่โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบ ̅ = 𝟒. 𝟗𝟓) รองลงมาคือวิธีการดำเนินการมีความเหมาะสม (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟒) และ วิธีการ โครงการ (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟏) ตามลำดับ และระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ (𝑿 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ̅ = 𝟒. 𝟑𝟐) รองลงมาคือด้านบริหารจัดการ ด้านที่มีความพร้อมจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านบุคลากร (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟏) ด้านงบประมาณ (𝑿 ̅ = 𝟑. 𝟗𝟑) และ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ (𝑿 ̅ = 𝟑. 𝟖𝟑) (𝑿 ตามลำดับ 6.4 ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีระดับความ ̅ = 𝟒. 𝟏𝟓) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มี เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑿 ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.95 – 4.95 โดยสามอันดับแรก ได้แก่โรงเรียนมีการกำหนดกิจกรรมพัฒนาภูมิทัศน์ ̅ = 𝟒. 𝟗𝟓) รองลงมาคือโรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการที่ชัดเจน และสิ่งแวดล้อม(𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟏𝟕) มีการมอบหมายงานผู้รับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน และโรงเรียนดำเนิน (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟏𝟎) ตามลำดับ กิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม (𝑿

109

เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ̅ = 𝟒. 𝟑𝟎) รองลงมาคือด้านการ ด้านที่มีความพร้อมจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านการวางแผน (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟔) ด้านการตรวจสอบและติดตาม (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟓) และ ด้านปรับปรุง (𝑿 ̅= ดำเนินงาน (𝑿 𝟒. 𝟎𝟏) ตามลำดับ 6.5 ผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่ง แวดล้อมเพื่อสนับ สนุนการเรียนของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ตาม ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียน ̅ = 𝟒. 𝟑𝟑) เมื่อพิจารณาเป็น สุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑿 รายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.24 – 4.42 โดยสามอันดับแรก ได้แก่ ห้ อ งสมุ ด มี ม าตรฐาน ทั น สมั ย มี ค วามพร้ อ มและเหมาะสมในการเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ข องนั ก เรียน ̅ = 𝟒. 𝟒𝟐) รองลงมาคื อ ห้ องพยาบาลมีค วามสะอาดและมี ค วามเหมาะสมในการใช้ ง าน และ (𝑿 โรงเรียนมีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะหินอ่อน สำหรับเป็นที่ทำกิจกรรมและนั่งพักผ่อนของนักเรียน ผู้ปกครองหรือผู้ ̅ = 𝟒. 𝟒𝟏) และห้องน้ำนักเรียนและครูมี มาติดต่อธุระกับโรงเรียนอย่างเพียงพอและเหมาะสม (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟑𝟗) ตามลำดับ สามารถจำแนกเป็นประเด็นได้ ความสะอาดและไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ( 𝑿 ดังนี้ 6.5.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีต่อโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ̅ = 𝟒. 𝟏𝟓) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.00 – (𝑿 5.50 โดยสามอันดับแรก ได้แก่ อาคารเรียนมีป้ายนิเทศ มีบอร์ดความรู้ตกแต่งสวยงามเป็นระเบียบ ส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ ห้องพยาบาลมีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน ห้อง ประชาสัมพันธ์มีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งานและห้องประชุมมีความสะอาดและ ̅ = 𝟓. 𝟎𝟎) รองลงมา ได้แก่โรงอาหารได้รับการปรับปรุงให้ได้ อุปกรณ์มีความพร้อมในการใช้งาน (𝑿 มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะและมีความสะอาด มีโต๊ะ มีเก้าอี้สำหรับนั่งรับประทานอาหารเพียงพอ ̅ = 𝟒. 𝟕𝟓) รองลงมา ได้แก่ สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ สื่อและอุปกรณ์การ (𝑿 สอนภายในห้องเรียนมีความพร้อมในการใช้งาน และโรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ ̅ = 𝟒. 𝟐𝟓) ตามลำดับ สนับสนุนต่อการจัดการเรียนการสอน (𝑿 6.5.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ที่มีต่อโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีระดับ ̅ = 𝟑. 𝟗𝟔) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( 𝑿 มาก มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.83 – 4.00 โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์

110

ต่าง ๆ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ สื่อและอุปกรณ์การสอนภายในห้องเรียนมีความพร้อมในการใช้ง าน ภายใน ห้องเรียนมีความสะอาด ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากนักเรียน ครู และนักการแม่บ้าน ห้องเรียนมี บรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ บริเวณอาคารเรียนมีกระถางไม้ประดับทำให้ร่มรื่น บรรยากาศน่า เรียน อาคารเรียนมีป้ายนิเทศ มีบอร์ดความรู้ตกแต่ง สวยงามเป็นระเบียบส่ง เสริมบรรยากาศในการ เรียนรู้ ห้องสมุดมีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อมและเหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน ห้องพยาบาลมีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน ห้องประชาสัมพันธ์มีความสะอาดและมี ความเหมาะสมในการใช้งาน ห้องประชุมมีความสะอาดและอุปกรณ์มีความพร้อมในการใช้ง าน โรง อาหารได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะและมีความสะอาด มีโต๊ะ มีเก้าอี้สำหรับนั่ง ̅ = 𝟒. 𝟎𝟎) รองลงมา ได้แก่ ห้องน้ำนักเรียนและครูมีความสะอาดและ รับประทานอาหารเพียงพอ (𝑿 ไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ โรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการจัดการเรียนการ สอน โรงเรียนมีสวนหย่อมเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียน โรงเรียนมีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะหินอ่อน สำหรับเป็นที่ทำกิจกรรมและนั่งพักผ่อนของนักเรียน ผู้ปกครองหรือผู้มาติดต่อธุระกับ โรงเรียนอย่างเพียงพอและเหมาะสม และโรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในการ ̅ = 𝟑. 𝟖𝟑) ตามลำดับ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน (𝑿 6.5.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็น ของ ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ที่มีต่อโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ใน ̅ = 𝟑. 𝟗𝟖) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยระหว่าง ระดับมาก (𝑿 3.81 – 4.08 โดยสามอันดับแรก ได้แก่อาคารเรียนมีป้ายนิเทศ มีบอร์ดความรู้ตกแต่ง สวยงามเป็น ̅ = 𝟒. 𝟎𝟖) รองลงมา คือห้องน้ำนักเรียนและครูมีความ ระเบียบส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟕) รองลงมาคือห้องพยาบาลมีความสะอาดและมี สะอาดและไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ (𝑿 ความเหมาะสมในการใช้งาน ห้องประชาสัมพันธ์มีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน ห้อง ประชุมมีความสะอาดและอุ ปกรณ์ม ีค วามพร้อ มในการใช้ง าน โรงอาหารได้รับการปรั บ ปรุง ให้ ไ ด้ มาตรฐาน และถูกสุขลัก ษณะและมีความสะอาด มี โต๊ะ มีเก้าอี้สำหรับนั่งรับประทานอาหารเพียงพอ โรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการจัดการเรียนการสอน และโรงเรียนเป็นที่ ยอมรั บ ของชุ ม ชนและหน่ ว ยงานต่ า ง ๆ ในการพั ฒ นาภู ม ิ ท ั ศ น์ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ มภายในโรงเรี ย น ̅ = 𝟒. 𝟎𝟎) ตามลำดับ (𝑿 6.5.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็น ของ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ที่มีต่อโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีระดับ ̅ = 𝟑. 𝟗𝟕) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (𝑿 มาก มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.67 – 4.28 โดยสามอันดับแรก ได้แก่ห้องน้ำนักเรียนและครูมีความสะอาดและ

111

̅ = 𝟒. 𝟐𝟖) รองลงมาคือ โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงาน ไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟎𝟓) รองลงมาคือโรงเรียนมี ต่าง ๆ ในการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ( 𝑿 บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการจัดการเรียนการสอน และโรงเรียนมีสวนหย่อมเพื่อใช้ ̅ = 𝟒. 𝟎𝟐)ตามลำดับ เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียน (𝑿 6.5.5 ผลการประเมินด้านผลผลิ ต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็น ของ นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ที่มีต่อโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีระดับความเหมาะสม ̅ = 𝟒. 𝟕𝟕) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด มี อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑿 ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.59 – 5.00 โดยสามอันดับแรก ได้แก่ห้องสมุดมีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อมและ ̅ = 𝟓. 𝟎𝟎) รองลงมาคือสภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ เหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน (𝑿 ̅ = 𝟒. 𝟗𝟖) ต่าง ๆ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ สื่อและอุปกรณ์การสอนภายในห้องเรียนมีความพร้อมในการใช้งาน(𝑿 และภายในห้องเรี ยนมี ความสะอาด ได้รับการดูแ ลเอาใจใส่ จากนัก เรียน ครู และนักการแม่ บ ้ า น ̅ = 𝟒. 𝟗𝟕) ตามลำดับ (𝑿

7. อภิปรายผล จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต(Product Evaluation) มีประเด็นที่ควรนำมาอภิปราย ดังนี้ 7.1 ด้ า นสภาวะแวดล้ อ ม (Context Evaluation) พบว่ า ด้ า นสภาวะแวดล้ อ ม (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้ง นี้อาจเพราะโรงเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ ของโครงก าร สอดคล้ อ งกั บ นโยบายของโรงเรี ย นและสอดคล้ อ งกับ นโยบายของสำนั ก งานเขตพื ้ นที ่ การศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภายนอกรับทราบนโยบายและให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ นักเรียน ครูและบุคลากรเห็นความสำคัญของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น อาคาร เรียน ห้องเรียน สวนหย่อม ทางเดิน ควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อสร้างบรรยากาศสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียน สาธารณูปโภคภายในโรงเรียน เช่นระบบไฟฟ้า ระบบประปา ควรได้รับการ ปรับปรุงและพัฒนาให้มีความพร้อมในการใช้งาน การกำหนดเป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและนำไปปฏิบัติ ได้ ส่งผลให้โครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนในปัจจุบัน ครูและบุคล กรมีความรู้และเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ สอดคล้องกับ วินัย วะหาโล (2559) ศึ กษา เรื่องการประเมินโครงการการจัดอาคารสถานที่บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

112

ของโรงเรียนบ้านหนองแคนดอนสนุก อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย สำนักงาน เขตพื้ นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมในการดำเนินโครงการมีองค์ ประกอบ คือ วัตถุประสงค์ของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายในระดับต่าง ๆ และความจำเป็นของโครงการ ผลการประเมินพบว่า โรงเรียนบ้านหนองแคนดอนสนุก จัดทำโครงการสอดคล้องกับนโยบายของ หน่วยงานต้นสังกัด วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา เป็นการ ถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติและเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน มี ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับ อภิปราย โสภายิ่ง (2563) ศึกษาเรื่องการประเมิน โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านดอนไชย สำนักงา นเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมใน ภาพรวมและรายด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเพราะว่า ในการดำเนินการได้สำรวจข้อมูล ความต้องการจำเป็นของทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ให้มีส่วน ร่วมในการคิดและตัดสินใจให้การสนับสนุน ร่วมดำเนินการ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของ โรงเรียน และได้กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายและหน่วยงานต้ นสังกัด การ เข้ามามีส่วนร่วมโดยบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและโดยความสมัครใจ ช่วยให้การดำเนินโครงการมี ประสิทธิภาพและบรรลุสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้และ 7.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) พบว่า ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีระดับความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเพราะโรงเรียนมีความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ และการบริหารจัดการที่ดี โรงเรียนมีงบประมาณในการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียนการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีการประสานงานร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ วิธีการ ดำเนินงานมีความเหมาะสม ระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ โรงเรียนมีอาคาร สถานที่เพียงพอในการจัดการเรียนการสอน มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานมี ความพร้อมและเหมาะสมโดยโรงเรียนแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจมารับผิดชอบโครงการและมี ปริมาณเพียงพอในการดำเนินโครงการสอดคล้องกับผลการประเมินโครงการของ วินัย วะหาโล (2559) ศึกษาการประเมินโครงการการจัดอาคารสถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรีย นรู้ ของโรงเรียนบ้านหนองแคนดอนสนุก อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึ กษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีองค์ประกอบ คือ การวางแผน ดำเนินโครงการ การบริหารบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ พบว่า การวางแผน ดำเนินโครงการมีความชัดเจน ครูและบุคลากรมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ งบประมาณ อาคาร สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ มีความเหมาะสม เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน โดยมีผลการประเมิ นสูงกว่ าเกณฑ์ ท ี่ ตั ้ง ไว้ และสอดคล้ องกั บ อภิปราย โสภายิ่ง (2561) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรี ยนบ้านดอนไชย

113

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 พบว่า ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าใน 4 ด้าน และมีผลการประเมินในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเรี ยงตามลำดับจากมากไป หาน้อย ได้แก่ ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ ด้านการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน และด้านงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะ โรงเรียนมีการสำรวจความพร้อมในทุกด้านเพื่อจะให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย 7.3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยรวมมีระดับความ เหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้งนี้อาจเพราะโรงเรียนมีการวางแผนในการดำเนินงาน เช่นโรงเรียนมีการ วิเคราะห์ปัญหา ความจำเป็นและทางเลือกในการดำเนินการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม มีการ กำหนดกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ มีการกำหนดบทบาทภารกิจ การทำงานเป็ นทีมโดย โรงเรียนจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหารและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอย่าง สม่ำเสมอเพื่อชี้แจงภาระงานตามโครงการ มีการมอบหมายงานผู้รับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน โรงเรียนดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม อีกทั้งโรงเรียนยัง มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานและการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการนำผลการประเมิน มาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับผลการประเมินของ วันเผด็จ มี ชัย (2559) ที่ ศึกษาผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเปรมติณสู ลานนท์ สังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดขอนแก่น พบว่า ผลการประเมินด้านกระบวนการของ โครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการ วางแผนการดำเนินงานโครงการอย่างชัดเจนสามารถ ปฏิบัติได้ มีการประชุมปรึกษาหารือและชี้แจงรายละเอียดของระบบการดำเนินงานโครงการ และมีการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ทุกประเภท 7.4 ด้านผลผลิต(Product Evaluation) พบว่า ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ตามความ คิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคมโดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้งนี้อาจเพราะโรงเรียนมีส ภาพ ห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ สื่อและอุปกรณ์การสอนภายในห้องเรียนมีความพร้อมใน การใช้ งานภายในห้องเรียนมีความสะอาด ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากนักเรียน ครู และนักการแม่บ้ าน ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้บริเวณอาคารเรียนมีกระถางไม้ประดับทำให้ร ่ ม รื่ น บรรยากาศน่า เรี ย นอาคารเรี ยนมี ป้ า ยนิเ ทศ มี บ อร์ ด ความรู ้ต กแต่ ง สวยงามเป็ นระเบีย บส่ง เสริม บรรยากาศในการเรียนรู้ห้องสมุดมีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อมและเหมาะสมในการเป็นแหล่ ง เรียนรู้ของนักเรียน ห้องพยาบาลมีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน ห้องประชาสัมพันธ์มี ความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน ห้องประชุมมีความสะอาดและอุปกรณ์มีความพร้อมใน การใช้งานโรงอาหารได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะและมีความสะอาด มีโต๊ะ มี

114

เก้าอี้สำหรับนั่งรับประทานอาหารเพียงพอห้องน้ำนักเรียนและครูมีความสะอาดและไม่มีกลิ่นที่ไม่พึง ประสงค์โรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการจัดการเรียนการสอน มีสวนหย่อม เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียน มีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะหิ นอ่อน สำหรับเป็นที่ทำ กิจกรรมและนั่งพักผ่อนของนักเรียน ผู้ปกครองหรือผู้มาติดต่อธุระกับโรงเรียนอย่างเพียงพอและ เหมาะสม และโรงเรียนเป็ นที่ ยอมรับ ของชุม ชนและหน่ วยงานต่ าง ๆ ในการพัฒนาภู ม ิ ทั ศน์ แ ละ สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนซึ่งสอดคล้องกับ ชาญณรงค์ ปานเลิศ (2554) ประเมินโครงการพัฒนาอาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนลาดยาว วิทยาคม จังหวัดนครสวรรค์ ด้านผลผลิต พบว่า ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความเหมาะสมอันดับสูงสุด คือโรงเรียนมีภูมิทัศน์สวยงาม สะอาด ร่ม รื่น เหมาะสมเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ นักเรียนมีความสุข กับ การเรียนในห้ องเรียนและมี ความสุ ขในการดำเนิน ชี วิ ตในโรงเรียน มีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านผลผลิตผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และสอดคล้องกับ สอดคล้อง กับ ภูสิทธิ์ ประยูรอนุเทพ (2556) รายงานการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบ CIPP Model ประเมิน 4 ด้าน ซึ่ง การประเมินผลด้านความพึงพอใจของครู สรุปได้ว่าครูมีความพึงพอใจต่อการบริหารอาคาร สถานที่ การ พัฒนาสภาพแวดล้อมการบริหารจัดการและคุณลักษณะของนักเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ สอดคล้อ งกับ พิเชษฐ์ ตนะวัฒนา (2559) รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลนครปฐม สำนักการศึกษาเทศบาลนครปฐม โดยใช้รูปแบบ CIPP Model ประเมิน 4 ด้าน ซึ่ง ผลการประเมินโครงการด้านความ พึง พอใจของ ผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครองและนักเรียน นักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม ที่มีต่อ โครงการพัฒนาอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลนครปฐม ใน การพัฒนาอาคารเรียนและอาคารประกอบการปรับปรุงห้องเรียนรู้หลากหลายอยู่ในระดับ มาก การ พัฒนาสถานที่ การปรับปรุงที่นั่งและบริเวณพักผ่อน อยู่ในระดับมาก การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในวิทยาลัย ให้ปลอดภัย ร่มรื่นและสวยงามอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับ อภิปราย โสภายิ่ง (2563) ประเมิน ผลผลิตของโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านดอนไชย สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนไชย มีความพึง พอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะการดำเนินโครงการใช้หลักการบริหารแบบมี ส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งการเข้าร่วมประชุม เสนอความคิดเห็น ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ ผลการมีส่วนร่วมดำเนินโครงการทำให้เกิดประโยชน์ แก่ทุก ฝ่าย นอกจากนี้ในการดำเนินโครงการได้จัดกิจกรรมการพัฒนาที่หลากหลาย มีการใช้แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ส่งผลให้นักเรียนมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการระดับมากที่สุด

115

8. ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป 8.1 การสร้างเครื่องมือในการประเมินโครงการควรเปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและ หน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือ เพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนา ปรับปรุงการ ดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่าย 8.2 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ควรประเมินความคุ้มค่าของโครงการ ประกอบด้วย ทั้งนี้เพื่อนำผล ไปใช้พัฒนาปรับปรุงโครงการอื่น ๆ ต่อไป

116

บรรณานุกรม กังวาน ไตรสกุล. (2557). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนพะตงประธาน คีรีวัฒน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 จังหวัดสตูลขยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2552). หลักการและแนวคิดในการประเมินโครงการในการประมวลสาระชุดวิชา ส า ร ส น เ ท ศ แ ล ะ ก า ร ว ิ จ ั ย ก า ร บ ร ิ ห า ร ก าร ศ ึ ก ษ า ห น ่ ว ย ท ี ่ 11 – 15. น น ท บ ุ รี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ชาญณรงค์ ปานเลิศ. (2554). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ ต่ อ การเรี ย นรู ้ ตามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งของโรงเรี ย นลาดยาววิ ท ยาคม . นครสวรรค์. ทรรศนีย์ วราห์คำ. (2554). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดจันทร์ ประดิษฐาราม สำนักงานเขตภาษ๊เจริญ กรุง เทพมหานคร. ปริญ ญาการศึกษามหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2544, เมษายน). บรรยากาศในชั้นเรียนและการจูงใจนักเรียน. วารสารวิชาการ , หน้า 45. นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2545). การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา. วานสารวิชาการ, 10(3): 9. ถ่ายเอกสาร. นัฐญาพร ดุษฎี. (2545). การศึกษาสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สำนักงาน ประถมศึกษาจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ถ่ายเอกสาร. นิศา ชูโต. (2538). การประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ็น. การพิมพ์. เนาวรัตน์ ลิขิตวัฒนเศรษฐ์. (2544). แหล่ง เรียนรู้ภายในโรงเรียนสร้างเพื่อเด็ก มิไ ด้สร้าง เพื่อใคร. วารสารวิชาการ, 29-33. ถ่ายเอกสาร. บุญชม ศรีสะอาดและบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วน ประมาณค่ า กั บ กลุ ่ ม ตั วอย่ า ง. วารสารวั ด ผลการศึก ษา. มหาวิ ท ยาลั ยศรีน คริ นทรวิโรฒ มหาสารคาม, 3(1), 22-25 บำรุง อมรอาจหาญ. (2558). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้ อม โรงเรียนขุนยวมวิทยา. แม่ฮ่องสอน. ปรีชา สุคนธมาน. (2545). พัฒนาคนด้วยการศึกษา. วารสารวิชาการ, 3(1):8.

117

ปฏิคม พงษประเสริฐ. (2550). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการในโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองนครนายก. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบรหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัญฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร พงพจน์ พจน์พัฒนพล. (2548). การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรีซ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.ถ่ายเอกสาร. พระมหาเดชา อมรเมธี. (2556). การบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พิ เ ชษฐ์ ตนะวั ฒ นา. (2559). รายงานการประเมิ นโครงการพัฒ นาอาคารสถานที ่ส ิ ่ ง แวดล้ อ มและ บรรยากาศในวิทยาลัยอาชีวศึกษา. สำนักการศึกษา เทศบาลนครปฐม. นครปฐม. พิสณุ ฟองศรี. (2551). เทคนิควิธีประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุ ท ธาการพิมพ์. เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2553). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์. ภูสิทธิ์ ประยูรอนุเทพ. (2556). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. มงคล เล็กกระจ่าง. (2554). การศึกษาสภาพ ปัญหา แนวทางพัฒนาการบริหารงานอาคารสถานที่ของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศา สตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ราตรี ลภะวงศ์. (2549). การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักรียนโรงเรียนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ม. (การบริหารการศึกษา).ชลบุรีซ บัณฑิตวิท ยาลั ย มหาวิทยาลัยบูรพา.ถ่ายเอกสาร. ลาวัลย์ วงศ์แก้ว. (2556) ปัญหาการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเครือข่ายสิชล 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. เลิศสัก คำปลิว. (2551). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.ถ่ายเอกสาร วสันต์ ปัญญา. (2544). ความพึงพอใจต่อนักเรียนต่อสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญ ศึกษา จังหวัดกระบี.่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช). วิชิต เทพประสิทธิ์. (2549). กายศาสตร์กับการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องเรียนคอมพิวเตอร์ (บทความงานวิจัย). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

118

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมฯ: โรง พิมพ์สุรีวิทยาสาร์น.ถ่ายเอกสาร วิชาญ สุวรรณวงษ์. (2549). กรจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 ตามการรับรู้ของครู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย วินัย วะหาโล. (2559). รายงานการประเมินโครงการการจัดอาคารสถานที่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนหนองแดนดอนสนุก. หนองคาย. วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2544). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนส สมคิด พรมจุ้ย. (2545). แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการในประมวลสาระ ชุ ด ว ิ ช าก าร ปร ะ เมิ น น โยบายแผน ง าน และ โ คร ง ก าร หน ่ ว ยที ่ 1 – 5. น น ทบุ รี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สมหวั ง พิ ธ ิ ย านุ ว ั ฒ น์ . (2541). วิ ธ ี ก ารประเมิ น ทางการศึ ก ษา. กรุ ง เทพมหานคร: จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สมาน ปรีชา. (2548). การพัฒนาการปฏิบัติงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนเมยวดีพิทยาคม อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สายธาร แสนแก้วทอง. (2554). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียนสุเหล่าทางควาย. กรุงเทพมหานคร. สายรุ่ง พุทธา. (2560). โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่ง เรียนรู้พัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และส่ง เสริม ความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านอ้อมโรงหีบ. สืบค้น 20 มีนาคม 2565 http://www.kroobannok.com สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2541). จริยธรรมทางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง. สุพล อนามัย. (2549). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรี ยนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัด สำนั ก งานเขตพื ้นที ่ การศึ กษาเพชรบุ รี เขต1. สารนิ พ นธ์ กศ.ม. (การบริ ห ารการศึ กษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถ่ายเอกสาร. สุนันท์ สุขสวัสดิ์. (2552). สภาพแวดล้อมที่เกี่ ยวข้องกับการจัดการศึกษาของคณธแพทย์ศาสตร์ศิริราช พยาบาลในทั ศ นะของนั ก ศึ ก ษาแพทย์ . ปริ ญ ญานิ พ นธ์ กศ.ม. (การบรหารการศึ ก ษา). กรุงเทพมหานครฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถ่ายเอกสาร. สุนันท์ ฉายาวิก. (2559). แนวทางในการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมือง พัทยา 7 (บ้านหนองแค) สังกัดเมืองพัทยา. : มหาวิทยาลัยพิษณุโลก. สืบค้น 20 มีนาคม 2565 จาก https://azslide.com/downlond-7-5969a831723dda5a0381084.html.

119

สุรพร เสี้ยนสลาย. (2547). การประเมินผลโครงการในประมวลสาระชุดวิชานโยบายสาธารณะและการ บริหารโครงการ หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุภามาส อังศุโชติ. (2545). รูปแบบการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการในเอกสารการสอนุด ว ิ ช าก าร ปร ะ เมิ น น โยบาย แผน ง าน และ โ ค ร ง ก าร หน ่ ว ยที ่ 6 - 10. น น ทบุ รี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค. อภิปราย โสภายิ่ง . (2561). การประเมินโครงการพัฒนาสิ่ง แวดล้อมที่เอื้ อต่อการจัดการการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านดอนไชย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7. อรพันธุ ประสิทธิรัตน์ . (2545). การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน. อรพรร รัตนวงศ์. (2551). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กร บริหารพัฒนาส่วนตำบล จังหวัดนครนายก. กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุง เทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถ่ายเอกสาร. อรุณชัย กัณฑภา. (2548). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนฃ ประถมศึกษา อำเภอชะอำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.ถ่ายเอการ Blouse Ralph j. and Darrell Fisher. (2003). “Effects of Teachers School-Level Environment Perceptions on Changing Elementary ” Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association. April, 2003.http://espace.library. curtin.edu.au.R/M/?func=dbin-jumpfull&object id=14538&local_base=GEN01ERA02>2009. Cronbach. L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5thed). New York : Harper Collins Publishers Hine Paul. (2001). “Classroom Environment and the Transition to Secondary Schooling,”Curtin Unibersity Library, 2001. 2009 Howe and Disinger John F. (2002). Environment Education ‘s Definitional Problem. From http://www.cnr.uidaho.edu/css487/EE_Definitional_Problem.pdf Retrieved july 5, 2020.

120

Savage, T.V., & Savage, M. K. (2010). Successful classroom management and discipline: Teaching self- control and responsibility (3rd Ed.).Los Angeles : SAGE Publication,Inc Stufflebeam, et al (1997). Education evaluation and decision making. Itasca, IL : P.E โตร์. Stufflebeam.D.l. and Coryn (2003). “The CIPP model For evaluation.” In The international handbook of educational evaluation, Chapter 2. Edited by D.L.Stufflebeam T.Kellaghan.Boston: Kluwer Academic Publishers. Worthen, B.R, and Sanders, J.R. (1973). Education Evaluation : Theory and Practice. Ohio:Wadworth. อ้างถึงใน สุวิมล ติรกานันท์. (2544). การประเมินโครงการ :แนวทางสู่การ ปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Yates , D.P. (1696). “Flexibility in School Plant Development and Utilization.” Dbstracts International 29 january 1969 : 2084 -A.

121

ภาคผนวก

122

ภาคผนวก ก - รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือแบบสอบถามประเมินโครงการ - หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือแบบสอบถามประเมินโครงการ

123

รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือแบบสอบถาม 1. นายประจวบ อินทรโชติ

2. นายราเมศ มุสิกานนท์

3. นางลัดดา เจียมจูไร

4. นายเทพพร อาจเวทย์

5. นางพิมลมาศ พัดสมร

ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทวีธาภิเศก จังหวัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

124

129

125

126

127

128

129

ภาคผนวก ข - แบบตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาเครื่องมือวิจัย (IOC) เรื่อง การประเมินโครงการ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 - แบบตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาเครื่องมือวิจัย (IOC) เรื่อง การประเมินโครงการ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 สำหรับผู้เชี่ยวชาญประเมิน 5 ท่าน - แบบสรุปความเที่ยงตรงของเนื้อหาเครื่องมือวิจัย (IOC) เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนา ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 - แบบสอบถามเพื่อประเมิน เรื่องการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564

130

แบบตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาเครื่องมือวิจัย (IOC) เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของ นักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ............................................................. คำชี้แจง 1. แบบประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2. แบบประเมินแบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ 1.2 ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 1.3 ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ตอนที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นเบื้องต้น (Input Evaluation) แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 2.1 ด้านบุคลากร 2.2 ด้านงบประมาณ 2.3 ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ 2.4 ด้านการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 3.1 ด้านการวางแผน 3.2 ด้านการดำเนินงาน 3.3 ด้านการตรวจสอบและติดตาม 3.4 ด้านการปรับปรุง ตอนที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation) 3. ขอความกรุณาผู้ทรงคุณวุฒิหรือท่านผู้เชี่ยวชาญ ช่วยพิจารณาแบบสอบถามว่ามี ความ สอดคล้องกับตัวแปรของการวิจัยเรื่องนี้หรือไม่ ด้วยการให้คะแนนในแต่ละข้อคำถามในระบบ IOC โดย การทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่องว่าง

131

เกณฑ์การให้คะแนนระบบ IOC ให้ +1 คะแนน

แน่ใจว่าข้อนั้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับตัวแปร และวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา ให้ 0 คะแนน ไม่แน่ใจว่าข้อนั้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับตัวแปร และวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา ให้ -1 คะแนน แน่ใจว่าข้อนั้นมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับตัวแปร และวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา 4. ผู้วิจัยขอความกรุณาท่านผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ให้ข้อเสนอแนะหรือความ คิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยการเขียนข้อเสนอแนะไว้ท้ายข้อความนั้นๆ ผู้ประเมินโครงการขอขอบพระคุณในความกรุณาของท่านมา ณ โอกาสนี้

นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม

132

ตอนที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ ข้อ รายการประเมิน ข้อเสนอแนะ +1 0 -1 ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ 1 โครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาของโรงเรียนในปัจจุบัน 2 สาธารณูปโภคภายในโรงเรียน เช่นระบบไฟฟ้า ระบบ ประปา ควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความ พร้อมในการใช้งาน 3 ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น อาคาร เรียน ห้องเรียน สวนหย่อม ทางเดิน ควรได้รับการ ปรับปรุงและพัฒนาเพื่อสร้างบรรยากาศสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียน ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 4 ครูและบุคลกรมีความรู้และเข้าใจในการดำเนิน กิจกรรมตามโครงการ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและนำไป ปฏิบัติได้ 6 เป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน 7 นักเรียน ครูและบุคลากรเห็นความสำคัญของ โครงการ 8 ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภายนอกรับทราบ นโยบายและให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน 9 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของ โรงเรียน 10 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

133

ตอนที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภู มิ ทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ ของนักเรี ยน โรงเรียนสุว รรณารามวิท ยาคม ปี การศึกษา 2564 ข้อ

รายการประเมิน

ด้านบุคลากร 1 โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ 2 บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจใน การดำเนินโครงการ 3 บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการมีปริมาณเพียงพอ ด้านงบประมาณ 4 โรงเรียนมีงบประมาณในการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ 5 โรงเรียนมีอาคารสถานที่เพียงพอในการจัดการเรียน การสอน 6 โรงเรียนมีระบบสาธารณูปโภคที่ดี 7 วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานมีความพร้อมและ เหมาะสม ด้านการบริหารจัดการ 8 วิธีการดำเนินการมีความเหมาะสม 9 วิธีการและระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นไปตามที่ กำหนดไว้ 10 การปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีการประสานงาน ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ

ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ +1 0 -1

ข้อเสนอแนะ

134

ตอนที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ข้อ

รายการประเมิน

ด้านการวางแผน 1 โรงเรียนมีการวิเคราะห์ปัญหา ความจำเป็นและ ทางเลือกในการดำเนินการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อม 2 โรงเรียนมีการกำหนดกิจกรรมพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อม 3 โรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการที่ ชัดเจน 4 โรงเรียนมีการกำหนดบทบาท ภารกิจ และขั้นตอน การดำเนินโครงการที่ชัดเจน ด้านการดำเนินงาน 5 โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงภาระงานตามโครงการ 6 มีการมอบหมายงานผู้รับผิดชอบการดำเนินงานอย่าง ชัดเจน 7 โรงเรียนดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุม 8 โรงเรียนจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอย่าง สม่ำเสมอ ด้านการตรวจสอบและติดตาม 9 มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบผลการ ดำเนินงานและการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ด้านการปรับปรุง 10 มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา อย่างต่อเนื่อง

ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ +1 0 -1

ข้อเสนอแนะ

135

ตอนที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ข้อ 1

รายการประเมิน

สภาพหองเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ สื่อ และอุปกรณ์การสอนภายในห้องเรียนมีความพร้อมใน การใช้งาน 2 ภายในห้องเรียนมีความสะอาด ได้รับการดูแลเอาใจ ใส่จากนักเรียน ครู และนักการแม่บ้าน 3 ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ 4 บริเวณอาคารเรียนมีกระถางไม้ประดับทำให้ร่มรื่น บรรยากาศน่าเรียน 5 อาคารเรียนมีป้ายนิเทศ มีบอร์ดความรู้ตกแต่ง สวยงามเป็นระเบียบส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ 6 ห้องสมุดมีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อมและ เหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน 7 ห้องพยาบาลมีความสะอาดและมีความเหมาะสมใน การใช้งาน 8 ห้องประชาสัมพันธ์มีความสะอาดและมีความ เหมาะสมในการใช้งาน 9 ห้องประชุมมีความสะอาดและอุปกรณ์มีความพร้อม ในการใช้งาน 10 โรงอาหารได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน และถูก สุขลักษณะและมีความสะอาด มีโต๊ะ มีเก้าอี้สำหรับนั่ง รับประทานอาหารเพียงพอ 11 ห้องน้ำนักเรียนและครูมีความสะอาดและไม่มีกลิ่นที่ ไม่พึงประสงค์ 12 โรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน ต่อการจัดการเรียนการสอน

ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ +1 0 -1

ข้อเสนอแนะ

136

ด้านผลผลิต(Product Evaluation) (ต่อ) ข้อ

รายการประเมิน

ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ +1 0 -1

ข้อเสนอแนะ

13 โรงเรียนมีสวนหย่อมเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็น สถานที่พักผ่อนของนักเรียน 14 โรงเรียนมีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะหินอ่อน สำหรับเป็นที่ทำ กิจกรรมและนั่งพักผ่อนของนักเรียน ผู้ปกครองหรือ ผู้มาติดต่อธุระกับโรงเรียนอย่างเพียงพอและ เหมาะสม 15 โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายใน โรงเรียน

ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................

ลงชื่อ.........................................ผู้เชี่ยวชาญ ( )

137

สำหรับ ผู้เชี่ยวชาญประเมิน

แบบตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาเครื่องมือวิจัย (IOC) เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของ นักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 .............................................................

คำชี้แจง 1. แบบประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2. แบบประเมินแบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ 1.2 ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 1.3 ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ตอนที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นเบื้องต้น (Input Evaluation) แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 2.1 ด้านบุคลากร 2.2 ด้านงบประมาณ 2.3 ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ 2.4 ด้านการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 3.1 ด้านการวางแผน 3.2 ด้านการดำเนินงาน 3.3 ด้านการตรวจสอบและติดตาม 3.4 ด้านการปรับปรุง ตอนที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation) 3. ขอความกรุณาผู้ทรงคุณวุฒิหรือท่านผู้เชี่ยวชาญ ช่วยพิจารณาแบบสอบถามว่ามี ความ สอดคล้องกับตัวแปรของการวิจัยเรื่องนี้หรือไม่ ด้วยการให้คะแนนในแต่ละข้อคำถามในระบบ IOC โดย การทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่องว่าง

138

เกณฑ์การให้คะแนนระบบ IOC ให้ +1 คะแนน

แน่ใจว่าข้อนั้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับตัวแปร และวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา ให้ 0 คะแนน ไม่แน่ใจว่าข้อนั้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับตัวแปร และวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา ให้ -1 คะแนน แน่ใจว่าข้อนั้นมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับตัวแปร และวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา 4. ผู้วิจัยขอความกรุณาท่านผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ให้ข้อเสนอแนะหรือความ คิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยการเขียนข้อเสนอแนะไว้ท้ายข้อความนั้นๆ ผู้ประเมินโครงการขอขอบพระคุณในความกรุณาของท่านมา ณ โอกาสนี้

นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

ตารางที่ 10 แบบสรุปความเที่ยงตรงของเนื้อหาเครื่องมือวิจัย (IOC) เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนา ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ตอนที่ 1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ข้อ

รายการประเมิน

ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ 1 โครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาของโรงเรียนในปัจจุบัน 2 สาธารณูปโภคภายในโรงเรียน เช่นระบบไฟฟ้า ระบบประปา ควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ มีความพร้อมในการใช้งาน 3 ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น อาคารเรียน ห้องเรียน สวนหย่อม ทางเดิน ควร ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อสร้างบรรยากาศ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 4 ครูและบุคลกรมีความรู้และเข้าใจในการดำเนิน กิจกรรมตามโครงการ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและนำไป ปฏิบัติได้ 6 เป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน 7 นักเรียน ครูและบุคลากรเห็นความสำคัญของ โครงการ 8 ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภายนอกรับทราบ นโยบายและให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ

ระดับคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

1

2

3

4

5

IOC แปลความ

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

165

ตอนที่ 1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) (ต่อ) ข้อ

รายการประเมิน

ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ 9 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบาย ของโรงเรียน 10 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบาย ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ระดับคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

1

2

3

4

5

IOC แปลความ

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

166

ตอนที่ 2 ด้านปัจจัยเบื้องต้นเบื้องต้น (Input Evaluation) ข้อ

รายการประเมิน

ด้านบุคลากร 1 โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ 2 บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ในการดำเนินโครงการ 3 บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการมีปริมาณเพียงพอ ด้านงบประมาณ 4 โรงเรียนมีงบประมาณในการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ 5 โรงเรียนมีอาคารสถานที่เพียงพอในการจัดการ เรียนการสอน 6 โรงเรียนมีระบบสาธารณูปโภคที่ดี 7 วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานมีความพร้อมและ เหมาะสม ด้านการบริหารจัดการ 8 วิธีการดำเนินการมีความเหมาะสม 9 วิธีการและระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นไป ตามที่กำหนดไว้ 10 การปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีการประสานงาน ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ

ระดับคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

1

2

3

4

5

IOC แปลความ

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง 0

+1 +1 +1 +1 0.80 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง 0 +1 +1 +1 +1 0.80 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง 0 +1 +1 +1 +1 0.80 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

167

ตอนที่ 3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ข้อ

รายการประเมิน

ด้านการวางแผน 1 โรงเรียนมีการวิเคราะห์ปัญหา ความจำเป็นและ ทางเลือกในการดำเนินการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อม 2 โรงเรียนมีการกำหนดกิจกรรมพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อม 3 โรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ ที่ชัดเจน 4 โรงเรียนมีการกำหนดบทบาท ภารกิจ และขั้นตอน การดำเนินโครงการที่ชัดเจน ด้านการดำเนินงาน 5 โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงภาระงานตามโครงการ 6 มีการมอบหมายงานผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน อย่างชัดเจน 7 โรงเรียนดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุม 8 โรงเรียนจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่าย บริหารและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ อย่างสม่ำเสมอ ด้านการตรวจสอบและติดตาม 9 มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบผลการ ดำเนินงานและการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ด้านการปรับปรุง 10 มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขและ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ระดับคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

1

2

3

4

5

IOC แปลความ

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง 0

+1 +1 +1 +1 0.80 สอดคล้อง

0 +1 +1 +1 +1 0.80 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

168

ตอนที่ 4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ข้อ

รายการประเมิน

1 สภาพหองเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ สื่อและอุปกรณ์การสอนภายในห้องเรียนมีความ พร้อมในการใช้งาน 2 ภายในห้องเรียนมีความสะอาด ได้รับการดูแลเอา ใจใส่จากนักเรียน ครู และนักการแม่บ้าน 3 ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ 4 บริเวณอาคารเรียนมีกระถางไม้ประดับทำให้ร่มรื่น บรรยากาศน่าเรียน 5 อาคารเรียนมีป้ายนิเทศ มีบอร์ดความรู้ตกแต่ง สวยงามเป็นระเบียบส่งเสริมบรรยากาศในการ เรียนรู้ 6 ห้องสมุดมีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อมและ เหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน 7 ห้องพยาบาลมีความสะอาดและมีความเหมาะสม ในการใช้งาน 8 ห้องประชาสัมพันธ์มีความสะอาดและมีความ เหมาะสมในการใช้งาน 9 ห้องประชุมมีความสะอาดและอุปกรณ์มีความ พร้อมในการใช้งาน 10 โรงอาหารได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน และ ถูกสุขลักษณะและมีความสะอาด มีโต๊ะ มีเก้าอี้ สำหรับนั่งรับประทานอาหารเพียงพอ 11 ห้องน้ำนักเรียนและครูมีความสะอาดและไม่มีกลิ่น ที่ไม่พึงประสงค์ 12 โรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ สนับสนุนต่อการจัดการเรียนการสอน

ระดับคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

IOC แปลความ 1 2 3 4 5 +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

0

+1 +1 +1 +1 0.80 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง +1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง 0

+1 +1 +1 +1 0.80 สอดคล้อง

169

ตอนที่ 4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation) (ต่อ) ข้อ

รายการประเมิน

13 โรงเรียนมีสวนหย่อมเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และ เป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียน 14 โรงเรียนมีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะหินอ่อน สำหรับเป็นที่ทำ กิจกรรมและนั่งพักผ่อนของนักเรียน ผู้ปกครอง หรือผู้มาติดต่อธุระกับโรงเรียนอย่างเพียงพอและ เหมาะสม 15 โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงาน ต่าง ๆ ในการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ภายในโรงเรียน

ระดับคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

1 0

IOC แปลความ 2 3 4 5 +1 +1 +1 +1 0.80 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

+1 +1 +1 +1 +1 1.00 สอดคล้อง

170

ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพือ่ การประเมิน สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครู เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ............................................................. คำชี้แจง 1. แบบประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้นเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2. แบบประเมินแบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมิน ตอนที่ 2 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 2.1 ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ 2.2 ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 2.3 ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ตอนที่ 3 แบบประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 3.1 ด้านบุคลากร 3.2 ด้านงบประมาณ 3.3 ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ 3.4 ด้านการบริหารจัดการ ตอนที่ 4 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 4.1 ด้านการวางแผน 4.2 ด้านการดำเนินงาน 4.3 ด้านการตรวจสอบและติดตาม 4.4 ด้านการปรับปรุง ตอนที่ 5 แบบประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) 3. แบบประเมินชุดนี้สำหรับผู้บริหารและครู ขอขอบคุณที่ท่านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง

นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร

171

ตอนที่ 1 ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงใน  ตามความเป็นจริง ผู้ตอบแบบสอบถามมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ในฐานะใด  1) ผู้บริหารสถานศึกษา  2) ครู

172

ตอนที่ 2 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่อง ระดับการประเมินตามความคิดเห็นของท่าน ความหมายของระดับการประเมิน 5 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด 4 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มาก 3 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง 2 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อย 1 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ระดับการประเมิน ที่ รายการประเมิน 5 4 3 2 1 ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ 1 โครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนใน ปัจจุบัน 2 สาธารณูปโภคภายในโรงเรียน เช่นระบบไฟฟ้า ระบบประปา ควรได้รับการ ปรับปรุงและพัฒนาให้มีความพร้อมในการใช้งาน 3 ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น อาคารเรียน ห้องเรียน สวนหย่อม ทางเดิน ควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อสร้างบรรยากาศ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 4 ครูและบุคลกรมีความรู้และเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและนำไปปฏิบัติได้ 6 เป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน 7 นักเรียน ครูและบุคลากรเห็นความสำคัญของโครงการ 8 ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภายนอกรับทราบนโยบายและให้การสนับสนุน การดำเนินโครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน 9 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน 10 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา

173

ตอนที่ 3 แบบประเมินด้านปัจจัยเบือ้ งต้นเบือ้ งต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิ ทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปี การศึกษา 2564 คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่อง ระดับการประเมินตามความคิดเห็นของท่าน ความหมายของระดับการประเมิน 5 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด 4 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มาก 3 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง 2 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อย 1 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ระดับการประเมิน ที่ รายการประเมิน 5 4 3 2 1 ด้านบุคลากร 1 โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ 2 บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนิน โครงการ 3 บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการมีปริมาณเพียงพอ ด้านงบประมาณ 4 โรงเรียนมีงบประมาณในการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียน ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ 5 โรงเรียนมีอาคารสถานที่เพียงพอในการจัดการเรียนการสอน 6 โรงเรียนมีระบบสาธารณูปโภคที่ดี 7 วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานมีความพร้อมและเหมาะสม ด้านการบริหารจัดการ 8 วิธีการดำเนินการมีความเหมาะสม 9 วิธีการและระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ 10 การปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีการประสานงานร่วมมือกับ ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ

174

ตอนที่ 4 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่อง ระดับการประเมินตามความคิดเห็นของท่าน ความหมายของระดับการประเมิน 5 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด 4 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มาก 3 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง 2 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อย 1 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ระดับการประเมิน ที่ รายการประเมิน 5 4 3 2 1 ด้านการวางแผน 1 โรงเรียนมีการวิเคราะห์ปัญหา ความจำเป็นและทางเลือกในการ ดำเนินการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม 2 โรงเรียนมีการกำหนดกิจกรรมพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม 3 โรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการที่ชัดเจน 4 โรงเรียนมีการกำหนดบทบาท ภารกิจ และขั้นตอนการดำเนิน โครงการที่ชัดเจน ด้านการดำเนินงาน 5 โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงภาระงานตามโครงการ 6 มีการมอบหมายงานผู้รับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน 7 โรงเรียนดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องและ ครอบคลุม 8 โรงเรียนจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหารและ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอย่างสม่ำเสมอ ด้านการตรวจสอบและติดตาม 9 มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานและการ ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ด้านการปรับปรุง 10 มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง

175

ตอนที่ 5 แบบประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่อง ระดับการประเมินตามความคิดเห็นของท่าน ความหมายของระดับการประเมิน 5 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด 4 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มาก 3 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง 2 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อย 1 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ระดับการประเมิน ที่ รายการประเมิน 5 4 3 2 1 1 สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สื่อและ อุปกรณ์การสอนภายในห้องเรียนมีความพร้อมในการใช้งาน 2 ภายในห้องเรียนมีความสะอาด ได้รับการดูแลเอาใจใส่จาก นักเรียน ครู และนักการแม่บ้าน 3 ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ 4 บริเวณอาคารเรียนมีกระถางไม้ประดับทำให้ร่มรื่น บรรยากาศ น่าเรียน 5 อาคารเรียนมีป้ายนิเทศ มีบอร์ดความรู้ตกแต่งสวยงามเป็น ระเบียบส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ 6 ห้องสมุดมีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อมและเหมาะสมใน การเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน 7 ห้องพยาบาลมีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน 8 ห้องประชาสัมพันธ์มีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการ ใช้งาน 9 ห้องประชุมมีความสะอาดและอุปกรณ์มีความพร้อมในการใช้ งาน 10 โรงอาหารได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะ และมีความสะอาด มีโต๊ะ มีเก้าอี้สำหรับนั่งรับประทานอาหาร เพียงพอ

176

ที่

รายการประเมิน

ระดับการประเมิน 5 4 3 2 1

11 ห้องน้ำนักเรียนและครูมีความสะอาดและไม่มีกลิ่นที่ไม่พึง ประสงค์ 12 โรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการ จัดการเรียนการสอน 13 โรงเรียนมีสวนหย่อมเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่ พักผ่อนของนักเรียน 14 โรงเรียนมีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะหินอ่อน สำหรับเป็นที่ทำกิจกรรมและ นั่งพักผ่อนของนักเรียน ผู้ปกครองหรือผู้มาติดต่อธุระกับ โรงเรียนอย่างเพียงพอและเหมาะสม 15 โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในการ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ข้อเสนอแนะ .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................

177

ฉบับที่ 2 สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียน

แบบสอบถามเพือ่ การประเมิน เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ............................................................. คำชี้แจง 1. แบบประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2. แบบประเมินแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมิน ตอนที่ 2 แบบประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation) 3. แบบประเมินชุดนี้สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ขอขอบคุณที่ท่านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง

นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร .......................................................................................................................................................... ตอนที่ 1 ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบประเมิน คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงใน  ตามความเป็นจริง ผู้ตอบแบบสอบถามมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ในฐานะใด  1) คณะกรรมการสถานศึกษา 2) ผู้ปกครอง  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) นักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

178

ตอนที่ 2 แบบประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่อง ระดับการประเมินตามความคิดเห็นของท่าน ความหมายของระดับการประเมิน 5 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด 4 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ มาก 3 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง 2 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อย 1 หมายถึง การประเมินอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ระดับการประเมิน ที่ รายการประเมิน 5 4 3 2 1 1 สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ สื่อและ อุปกรณ์การสอนภายในห้องเรียนมีความพร้อมในการใช้งาน 2 ภายในห้องเรียนมีความสะอาด ได้รับการดูแลเอาใจใส่จาก นักเรียน ครู และนักการแม่บ้าน 3 ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ 4 บริเวณอาคารเรียนมีกระถางไม้ประดับทำให้ร่มรื่น บรรยากาศ น่าเรียน 5 อาคารเรียนมีป้ายนิเทศ มีบอร์ดความรู้ตกแต่งสวยงามเป็น ระเบียบส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ 6 ห้องสมุดมีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อมและเหมาะสมใน การเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน 7 ห้องพยาบาลมีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน 8 ห้องประชาสัมพันธ์มีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการ ใช้งาน 9 ห้องประชุมมีความสะอาดและอุปกรณ์มีความพร้อมในการใช้ งาน 10 โรงอาหารได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะ และมีความสะอาด มีโต๊ะ มีเก้าอี้สำหรับนั่งรับประทานอาหาร เพียงพอ

179

ที่

รายการประเมิน

ระดับการประเมิน 5 4 3 2 1

11 ห้องน้ำนักเรียนและครูมีความสะอาดและไม่มีกลิ่นที่ไม่พึง ประสงค์ 12 โรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการ จัดการเรียนการสอน 13 โรงเรียนมีสวนหย่อมเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่ พักผ่อนของนักเรียน 14 โรงเรียนมีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะหินอ่อน สำหรับเป็นที่ทำกิจกรรมและ นั่งพักผ่อนของนักเรียน ผู้ปกครองหรือผู้มาติดต่อธุระกับ โรงเรียนอย่างเพียงพอและเหมาะสม 15 โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในการ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ข้อเสนอแนะ .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................

180

-

-

-

-

ภาคผนวก ค คุณภาพเครื่องมือ แบบสรุปค่าอำนาจจำแนก (r) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมิ น แบบสอบถามด้ า นสภาวะ แวดล้ อ ม (Context Evaluation) ของโครงการพั ฒ นาภู ม ิ ท ั ศ น์ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ มเพื่ อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครู โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมิ น แบบสอบถามด้ า นปั จ จั ย เบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียน ชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถามด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรส วิทยาลัย จำนวน 30 คน ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมิ น แบบสอบถามด้ า นผลผลิ ต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่ง แวดล้อมเพื่อสนับสนุนการ เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรส วิทยาลัย จำนวน 30 คน

181

ตารางที่ 11 แบบสรุปค่าอำนาจจำแนก (r) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ตอนที่ 1 รายการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) ค่าอำนาจจำแนก ข้อ รายการประเมิน (r) แปลผล ที่ ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป ด้านความต้องการและจำเป็นของโครงการ 1 โครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหา 0.7303 ใช้ได้ ของโรงเรียนในปัจจุบัน 2 สาธารณูปโภคภายในโรงเรียน เช่นระบบไฟฟ้า ระบบ 0.4224 ใช้ได้ ประปา ควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความพร้อม ในการใช้งาน 3 ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น อาคารเรียน 0.6217 ใช้ได้ ห้องเรียน สวนหย่อม ทางเดิน ควรได้รับการปรับปรุง และพัฒนาเพื่อสร้างบรรยากาศสนับสนุนการเรียนรู้ของ นักเรียน ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 4 ครูและบุคลกรมีความรู้และเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม 0.7303 ใช้ได้ ตามโครงการ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและนำไปปฏิบัติ 0.4425 ใช้ได้ ได้ 6 เป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและ 0.5153 ใช้ได้ บุคลากรในโรงเรียน 7 นักเรียน ครูและบุคลากรเห็นความสำคัญของโครงการ 0.7303 ใช้ได้ 8 ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภายนอกรับทราบนโยบาย 0.7303 ใช้ได้ และให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน 9 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของ 0.5153 ใช้ได้ โรงเรียน 10 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของ 0.4425 ใช้ได้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.8104

182

ตอนที่ 2 รายการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นเบือ้ งต้น (Input Evaluation) ข้อ ที่

รายการประเมิน

ด้านบุคลากร 1 โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ 2 บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการ ดำเนินโครงการ 3 บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการมีปริมาณเพียงพอ ด้านงบประมาณ 4 โรงเรียนมีงบประมาณในการพัฒนาภูมิทัศน์และ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ 5 โรงเรียนมีอาคารสถานที่เพียงพอในการจัดการเรียนการ สอน 6 โรงเรียนมีระบบสาธารณูปโภคที่ดี 7 วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานมีความพร้อมและเหมาะสม ด้านการบริหารจัดการ 8 วิธีการดำเนินการมีความเหมาะสม 9 วิธีการและระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นไปตามที่ กำหนดไว้ 10 การปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีการประสานงานร่วมมือ กับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.8187

ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป

แปลผล

0.7303 0.6547

ใช้ได้ ใช้ได้

0.7303

ใช้ได้

0.7303

ใช้ได้

0.3375

ใช้ได้

0.5153 0.4425

ใช้ได้ ใช้ได้

0.7303 0.7303

ใช้ได้ ใช้ได้

0.3375

ใช้ได้

183

ตอนที่ 3 รายการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ข้อที่

รายการประเมิน

ด้านการวางแผน 1 โรงเรียนมีการวิเคราะห์ปัญหา ความจำเป็นและทางเลือกใน การดำเนินการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม 2 โรงเรียนมีการกำหนดกิจกรรมพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม 3 โรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการที่ชัดเจน 4 โรงเรียนมีการกำหนดบทบาท ภารกิจ และขั้นตอนการดำเนิน โครงการที่ชัดเจน ด้านการดำเนินงาน 5 โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงภาระงานตามโครงการ 6 มีการมอบหมายงานผู้รับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน 7 โรงเรียนดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องและ ครอบคลุม 8 โรงเรียนจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหารและ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอย่างสม่ำเสมอ ด้านการตรวจสอบและติดตาม 9 มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานและ การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ด้านการปรับปรุง 10 มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.8371

ค่าอำนาจจำแนก (r) แปลผล ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป 0.6217

ใช้ได้

0.3303 0.6217 0.7500

ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้

0.7500 0.4224 0.5153

ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้

0.7303

ใช้ได้

0.7303

ใช้ได้

0.7303

ใช้ได้

184

ตอนที่ 4 รายการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ข้อ ค่าอำนาจจำแนก (r) รายการประเมิน แปลผล ตัง้ แต่ 0.20 ขึ้นไป ที่ 1 สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ สื่อและอุปกรณ์ 0.5153 ใช้ได้ การสอนภายในห้องเรียนมีความพร้อมในการใช้งาน 2 ภายในห้องเรียนมีความสะอาด ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากนักเรียน 0.4224 ใช้ได้ ครู และนักการแม่บ้าน 3 ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ 0.7303 ใช้ได้ 4 บริเวณอาคารเรียนมีกระถางไม้ประดับทำให้ร่มรื่น บรรยากาศน่า 0.5276 ใช้ได้ เรียน 5 อาคารเรียนมีป้ายนิเทศ มีบอร์ดความรู้ตกแต่งสวยงามเป็นระเบียบ 0.7303 ใช้ได้ ส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ 6 ห้องสมุดมีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อมและเหมาะสมในการ 0.5153 ใช้ได้ เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน 7 ห้องพยาบาลมีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน 0.4425 ใช้ได้ 8 ห้องประชาสัมพันธ์มีความสะอาดและมีความเหมาะสมในการใช้งาน 0.4425 ใช้ได้ 9 ห้องประชุมมีความสะอาดและอุปกรณ์มีความพร้อมในการใช้งาน 0.6547 ใช้ได้ 10 โรงอาหารได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะ 0.3375 ใช้ได้ และมีความสะอาด มีโต๊ะ มีเก้าอี้สำหรับนั่งรับประทานอาหาร เพียงพอ 11 ห้องน้ำนักเรียนและครูมีความสะอาดและไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ 0.2458 ใช้ได้ 12 โรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการจัดการ 0.3375 ใช้ได้ เรียนการสอน 13 โรงเรียนมีสวนหย่อมเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่ 0.5276 ใช้ได้ พักผ่อนของนักเรียน 14 โรงเรียนมีโต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะหินอ่อน สำหรับเป็นที่ทำกิจกรรมและนั่ง 0.4224 ใช้ได้ พักผ่อนของนักเรียน ผู้ปกครองหรือผู้มาติดต่อธุระกับโรงเรียน อย่างเพียงพอและเหมาะสม 15 โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในการ 0.5704 ใช้ได้ พัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.8745

185

ตารางที่ 12 ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถามด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์แ ละสิ ่ง แวดล้อ มเพื ่อสนับ สนุนการเรียนรู ้ ข อง นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ข้อที่ รวม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 x2 (x) คนที่ 1 5 5 5 5 5 4 5 5 5 5 49 2401 2 5 4 4 5 4 5 4 5 4 5 45 2025 3 4 4 5 4 5 4 4 4 5 5 44 1936 4 4 5 4 4 4 5 4 4 4 4 42 1764 5 5 5 5 4 5 4 5 4 5 5 47 2209 6 4 5 4 4 5 4 5 4 4 5 44 1936 7 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 50 2500 8 5 5 4 4 5 4 5 4 5 5 46 2116 9 5 4 4 5 4 4 4 5 4 4 43 1849 10 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 50 2500 11 5 5 5 5 4 5 5 5 5 4 48 2304 12 5 5 5 5 4 5 5 5 4 4 47 2209 13 4 4 4 4 5 5 4 4 5 5 44 1936 14 5 5 4 5 4 4 5 5 5 5 47 2209 15 5 4 5 5 5 5 4 5 5 5 48 2304 16 5 4 4 5 4 5 5 5 4 4 45 2025 17 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 40 1600 18 4 5 5 4 5 4 5 4 4 5 45 2025 19 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 40 1600 20 5 4 4 5 5 5 5 5 5 5 48 2304 21 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 50 2500 22 5 5 5 5 5 5 5 5 4 5 49 2401 23 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 40 1600 24 4 5 5 4 5 5 5 4 5 5 47 2209 25 4 5 4 4 4 4 4 4 4 4 41 1681

186

ตารางที่ 12 ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถามด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์แ ละสิ ่ง แวดล้อ มเพื ่อสนับ สนุนการเรียนรู ้ ข อง นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน (ต่อ) ข้อที่ รวม 2 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 x (x) คนที่ 26 202 5 4 4 5 5 4 4 5 4 5 45 5 27 220 5 5 5 4 5 5 4 4 5 5 47 9 28 220 5 5 5 5 5 4 4 5 4 5 47 9 29 184 4 4 5 4 5 4 4 4 4 5 43 9 30 230 5 5 5 5 5 4 5 5 4 5 48 4 ความ 0.240 0.248 0.257 0.257 0.240 0.257 0.257 0.257 0.257 0.217 2.490 แปรปว 2 3 5 5 2 5 5 5 5 2 8 น การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม จำนวน 10 ข้อ จากสูตร 𝑠𝑡2

แทนค่า

=

N ∑ x2−(∑ x)2 N(N−1)

N

=

30

∑𝑥

=

1,369

∑ x2

=

62,739

𝑠𝑡2

=

30(62,739)−(1,369)2 30(30−1)

187

จากสูตร α

แทนค่า

=

1,882,170−1,874,161 30(29)

=

8,009

=

9.2057

870

k

∑ s2t

=

(k−1) (1 −

∑ st2

=

2.4908

k

=

10

st2

=

9.2057

α

=

(10−1) (1 − 9.2057)

=

( 9 ) (1 − 0.2706)

=

(1.1111)(0.7294)

=

0.8104

s2t

10

)

2.4908

10

188

ตารางที่ 13 ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถามด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ข้อที่ รวม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 x2 (x) คนที่ 1 5 4 4 5 4 4 4 5 4 4 43 1849 2 5 4 4 5 4 4 5 5 4 5 45 2025 3 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 50 2500 4 5 5 4 5 4 5 5 5 4 4 46 2116 5 4 4 4 4 4 5 5 4 4 4 42 1764 6 5 5 5 5 4 5 5 5 5 4 48 2304 7 4 4 4 4 5 4 4 4 4 5 42 1764 8 5 4 4 5 5 5 4 5 4 4 45 2025 9 5 5 5 5 5 4 5 5 4 5 48 2304 10 5 5 4 5 4 4 5 5 5 4 46 2116 11 5 5 5 5 5 5 5 5 4 5 49 2401 12 5 5 4 5 4 5 5 5 4 4 46 2116 13 4 5 4 4 5 4 5 4 4 5 44 1936 14 4 4 4 4 4 4 4 4 5 4 41 1681 15 5 5 4 5 4 5 5 5 4 4 46 2116 16 5 5 5 5 5 4 5 5 5 5 49 2401 17 4 5 4 4 5 4 5 4 4 5 44 1936 18 5 4 4 5 5 4 4 5 4 5 45 2025 19 4 4 5 4 4 4 4 4 4 5 42 1764 20 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 50 2500 21 4 5 4 4 5 5 5 4 4 4 44 1936 22 5 5 5 4 5 5 4 5 5 5 48 2304 23 4 5 4 5 5 5 5 5 5 5 48 2304 24 5 5 5 5 4 5 5 5 5 4 48 2304 25 5 5 5 5 5 5 4 5 5 5 49 2401

189

ตารางที่ 13 ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถามด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน (ต่อ) ข้อที่ รวม 2 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 x (x) คนที่ 26 5 5 5 5 5 4 5 5 4 5 48 230 4 27 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 50 250 0 28 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 40 160 0 29 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 40 160 0 30 4 5 5 4 5 4 5 5 5 5 47 220 9 ความ 0.240 0.229 0.254 0.240 0.254 0.258 0.229 0.217 0.248 0.254 2.426 2 9 0 2 0 6 9 2 3 0 4 แปรปว น การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม จำนวน 10 ข้อ จากสูตร 𝑠𝑡2

=

N ∑ x2−(∑ x)2 N(N−1)

N

=

30

∑𝑥

=

1,373

∑ x2

=

63,105

190

แทนค่า

=

30(63,105)−(1,373)2 30(30−1)

=

1,893,150−1,885,129 30(29)

=

8,021

=

9.2195 (k−1) (1 −

∑ st2

= =

k

=

10

st2

=

9.2195

α

=

(10−1) (1 − 9.2195)

=

( 9 ) (1 − 0.2632)

=

(1.1111)(0.7368)

=

0.8187

𝑠𝑡2

จากสูตร α

แทนค่า

870

k

2.4264

10

∑ s2t s2t

)

2.4264

10

191

ตารางที่ 14 ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมิน แบบสอบถามด้ านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิ ท ัศน์แ ละสิ่ง แวดล้อ มเพื่อ สนั บ สนุนการเรี ยนรู ้ ข อง นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ข้อที่ รวม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 x2 (x) คนที่ 1 5 4 5 5 5 5 4 5 5 5 48 2304 2 4 5 5 4 5 5 5 4 5 5 47 2209 3 5 4 4 4 4 5 4 4 4 4 42 1764 4 5 4 4 5 4 4 4 5 5 4 44 1936 5 5 4 4 5 4 4 4 5 5 4 44 1936 6 5 5 5 5 4 5 5 5 5 4 48 2304 7 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 40 1600 8 4 5 5 5 5 4 5 5 5 5 48 2304 9 5 4 4 5 5 5 5 5 5 5 48 2304 10 4 4 5 5 5 4 5 5 5 5 47 2209 11 5 4 4 5 4 4 4 5 4 4 43 1849 12 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 40 1600 13 5 5 5 5 5 5 4 5 5 5 49 2401 14 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 40 1600 15 4 4 5 4 5 4 4 4 5 5 44 1936 16 5 4 4 4 4 5 5 4 4 4 43 1849 17 5 5 5 5 5 4 5 5 4 5 48 2304 18 4 5 4 4 5 4 5 4 5 5 45 2025 19 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 40 1600 20 4 5 4 4 4 4 4 5 4 5 43 1849 21 4 5 5 4 5 5 4 4 5 5 46 2116 22 5 5 4 5 5 5 5 5 5 5 49 2401 23 4 5 4 4 4 5 5 4 4 4 43 1849 24 4 5 5 4 5 4 5 4 5 5 46 2116 25 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 50 2500

192

ตารางที่ 14 ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมิน แบบสอบถามด้ านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิ ท ัศน์แ ละสิ่ง แวดล้อ มเพื่อ สนั บ สนุนการเรี ยนรู ้ ข อง นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน (ต่อ) ข้อที่ รวม 2 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 x (x) คนที่ 26 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 50 250 0 27 4 5 4 4 4 4 4 4 5 4 42 176 4 28 4 4 5 4 4 4 4 4 4 4 41 168 1 29 4 4 4 4 5 5 4 4 5 5 44 193 6 30 5 4 5 4 5 5 5 5 5 5 48 230 4 ความ 0.257 0.257 0.257 0.254 0.257 0.257 0.257 0.258 0.240 0.254 2.551 5 5 5 0 5 5 5 6 2 0 7 แปรปว น การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม จำนวน 10 ข้อ จากสูตร 𝑠𝑡2

=

N ∑ x2−(∑ x)2 N(N−1)

N

=

30

∑𝑥

=

1,350

∑ x2

=

61,050

193

แทนค่า

จากสูตร α

แทนค่า

𝑠𝑡2

=

30(61,050)−(1,350)2 30(30−1)

=

1,831,500−1,822,500 30(29)

=

9,000

=

10.3488

870

k

∑ s2t

=

(k−1) (1 −

∑ st2

=

2.5517

k

=

10

st2

=

10.3488

α

=

(10−1) (1 − 10.3488)

=

( 9 ) (1 − 0.2466)

=

(1.1111)(0.7534)

=

0.8371

s2t

10

)

2.5517

10

194

ตารางที่ 15 ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถามด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน ข้อที่ รวม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 x2 (x) คนที่ 1 4 4 4 4 4 4 4 4 5 5 4 5 4 4 4 63 3969 2 5 5 4 5 5 4 5 5 4 5 5 4 5 4 4 69 4761 3 4 4 4 4 4 5 5 5 4 4 4 4 4 5 4 64 4096 4 5 4 4 5 4 4 4 5 5 4 5 4 4 4 4 65 4225 5 5 4 4 5 4 4 4 5 4 4 5 5 4 5 4 66 4356 6 4 4 4 4 4 4 4 4 4 5 5 4 5 4 4 63 3969 7 4 5 4 4 4 4 4 5 4 4 5 5 4 5 4 65 4225 8 4 4 4 4 4 4 4 4 4 5 4 5 4 4 4 62 3844 9 5 5 5 4 5 5 5 5 5 5 5 5 4 4 4 71 5041 10 5 5 4 5 5 5 5 5 5 4 4 5 5 5 4 71 5041 11 4 4 4 4 5 5 4 4 5 4 5 4 4 5 5 66 4356 12 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 75 5625 13 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 4 4 5 5 5 73 5329 14 4 5 4 5 4 5 5 4 4 4 5 5 5 4 4 67 4489 15 5 4 4 5 4 4 4 5 5 5 5 5 5 4 4 68 4624 16 4 4 5 5 4 4 4 4 5 5 5 4 4 5 5 67 4489 17 5 4 5 4 5 5 5 5 5 5 5 5 5 4 5 72 5184 18 4 4 5 5 5 4 5 5 5 4 4 4 5 5 5 69 4761 19 4 5 5 5 5 4 5 5 5 5 5 5 5 5 5 73 5329 20 4 5 5 4 5 4 5 4 5 4 4 4 5 5 4 67 4489 21 4 5 4 4 5 4 5 4 5 5 5 5 4 5 4 68 4624 22 5 4 4 4 4 5 5 4 4 5 5 5 5 5 5 69 4761 23 4 5 5 4 5 5 5 4 5 4 5 4 4 4 5 68 4624 24 4 4 5 4 4 5 5 4 5 4 4 4 4 4 4 64 4096 25 5 5 5 4 4 5 5 5 5 5 5 5 4 5 4 71 5041

195

ตารางที่ 15 ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach โดยการประเมินแบบสอบถามด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 30 คน (ต่อ) ข้อที่ รว 1 1 1 1 1 1 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ม x2 0 1 2 3 4 5 (x) 26 4 4 4 4 4 4 5 4 4 4 4 5 4 4 4 62 384 4 27 5 5 4 4 5 4 5 4 4 4 4 4 4 4 4 64 409 6 28 5 4 5 5 5 5 4 4 5 5 5 5 5 5 5 72 518 4 29 4 4 4 4 4 4 4 5 4 5 4 4 4 4 4 62 384 4 30 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 4 5 4 4 4 71 504 1 ความ 0.26 0.26 0.25 0.25 0.26 0.26 0.24 0.26 0.24 0.25 0.25 0.25 0.25 0.26 0.23 2.53 แปรปว น การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม จำนวน 15 ข้อ จากสูตร 𝑠𝑡2

=

N ∑ x2−(∑ x)2 N(N−1)

N

=

30

∑𝑥

=

2,027

∑ x2

=

137,357

196

แทนค่า

จากสูตร α

แทนค่า

𝑠𝑡2

=

30(137,357)−(2,027)2 30(30−1)

=

4,120,710−4,108,729 30(29)

=

11,981 870

=

13.7712

k

∑ s2t

=

(k−1) (1 −

∑ st2

=

2.5310

k

=

15

st2

=

13.7712

α

=

(15−1) (1 − 13.7712)

=

(14) (1 − 0.1837)

=

(1.0714)(0.8163)

=

0.8745

s2t

15

)

2.5310

15

197

ภาคผนวก ง - โครงการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564

198

199

200

201

ภาคผนวก จ - หนังสือขอบคุณผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือแบบสอบถามประเมินโครงการ

202

203

204

205

206

-

207

ภาคผนวก ฉ - หนังสือเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

ภาคผนวก ช - ประวัติผู้ประเมินโครงการ

220

ชื่อ วัน เดือน ปีเกิด ประวัติการศึกษา

ประวัติการทำงาน

สถานที่ทำงาน

ประวัติผู้ประเมินโครงการ นางสาวเบญจรัตน์ สิงหาโคตร 7 เมษายน 2526 โทรศัพท์ 086-3724306 พ.ศ. 2548 ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2556 ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2554 ครูผู้ช่วยโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย พ.ศ. 2556 ครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย ครู คศ. 1 วิทยฐานะ พ.ศ. 2562 ครูโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย ครู คศ. 2 วิทยฐานะชำนาญการ พ.ศ.2563 รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม วิทยฐานะชำนาญการ ปัจจุบัน รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เลขที่ 512/1 ถนนจรัญสนิทวงศ์ 32 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหนานคร 10700 โทรศัพท์ 02-4246873 ต่อ 104 โทรสาร 02-4350262

โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.