Natural balm Flipbook PDF


43 downloads 115 Views 19MB Size

Recommend Stories


MEDICINA NATURAL PDF
Get Instant Access to eBook Medicina Natural PDF at Our Huge Library MEDICINA NATURAL PDF ==> Download: MEDICINA NATURAL PDF MEDICINA NATURAL PDF - A

BALM AFTER SHAVE RR 400
barber m ode 1.I 5. V I T0 T / 11 7 8 . 0 1 BALM AFTER SHAVE FLUIDO CREMOSO DOPO BARBA, IDRATA E RINFRESCA LASCIANDO LA PELLE MORBIDA. BASSO

Read Sana Tu Vista De Forma Natural all books free download in pdf format
Read Sana Tu Vista De Forma Natural all books free download in pdf format >-- Click Here to Download Sana Tu Vista De Forma Natural Now --< >-- Cli

Story Transcript

โครงงาน ลิปบาล์มธรรมชาติ จัดทำโดย นายทัศไท ประทุมมา เลขที่ 4 นางสาวศิริภัสสร รชตธนกิจ เลขที่ 20 นางสาวณิชารีย์ ปุยเจริญ เลขที่ 25 นางสาวศิริอาภา โรจน์รัตน์ เลขที่ 26 นางสาวอริศรา แยกโคกสูง เลขที่ 27 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 เสนอ คุณครูอารยา บัววัฒน์ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ รหัสวิชา I30202 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒


ก บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง ลิปบาล์มธรรมชาติมีจุดประสงค์เพื่อ (1)เพื่อนำวัสดุธรรมชาติมาก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด (2)เพื่อทดลองผลิตสินค้าที่ปลอดภัยสำหรับบุคคลที่เกิดอาการแพ้จากการใช้ลิปบาล์ม ตามท้องตลาด (3)เพื่อนำมาสร้างรายได้ ในการทำผลิตภัณฑ์ลิปบาล์มธรรมชาติคณะผู้จัดทำได้ใช้วัตถุดิบในการทำโดยประกอบด้วย (1)ไขผึ้ง (2)น้ำมันธรรมชาติ(3)Jojoba oil (4)Candelilla wax (5)Shea butter (6)Microcrystalline (7)เก๊กฮวย (8)กระเจี๊ยบ (9)ตะไคร้ (10)ใบเตย (11)หล่อฮังก๊วย โดยมีวิธีการทำดังนี้(1)เตรียมส่วนผสม Microcrystalline 1 หยิบมือ ขี้ผึ้ง ½ ช้อนชา Candelilla wax ½ ช้อนชา Shea butter ½ ช้อนชา ลง ในชามผสม (2)เติม Jojoba oil 1 ช้อนชา น้ำมันรวม 2 ช้อนชา ลงในชามผสม (3)เติมผงกระเจี๊ยบลงใน ชามผสม (4)ละลายส่วนผสมทั้งหมดแล้วคนให้เข้ากัน (5)นำเทใส่บรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้(6)ตั้งทิ้งไว้ให้ตัว ลิปบาล์มแข็งตัว แล้วจึงนำไปทดสอบ (7)ทำตามข้อที่1-6 เปลี่ยนจากผงเก๊กฮวยเป็นผงสมุนไพรอื่น ๆ ตามที่เตรียมไว้ จากการศึกษารวบรวมข้อมูล ส่วนผสมต่างๆและวิธีการทำ รวมถึงความเป็นมาของวัตถุดิบที่ใช้ พบว่า ลิปบาล์มธรรมชาติสามารถนำมาใช้ทาและบำรุงริมฝีปากได้จริง และผลลัพธ์หลังจากทาริมฝีปาก ทำให้เกิดความชุ่มชื้นได้เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ลิปบาล์มตามตลาด


ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานวิจัยฉบับนี้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างยิ่งจาก คุณครูอารยา บัววัฒน์คุณครูที่ปรึกษา ที่ได้ให้คำแนะนำปรึกษาและให้ข้อมูลต่าง ๆ ขอกราบ ขอบพระคุณอย่างสูง ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณคุณครู โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ที่ได้ให้คำแนะนำตลอดจน ตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย อนึ่ง ผู้วิจัยหวังว่า งานวิจัยฉบับนี้จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย จึงขอมอบส่วนดีทั้งหมดนี้ให้แก่เหล่า อาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาจนทำให้ผลงานวิจัยเป็นประโยชน์ต์อผู้เกี่ยวข้องและขอมอบความ กตัญญูกตเวทิตาคุณแด่บิดา มารดา และผู้มีพระคุณทุกท่านตลอดจนเพื่อนๆ ที่คอยให้ความช่วยเหลือ และกำลังใจ สำหรับ คณะผู้จัดทำ


ค สารบัญ หน้า บทคัดย่อ...................................................................................................................…..................……. ก กิตติกรรมประกาศ.........................................................................................................................……. ข สารบัญสาร..........................................................................................................……........................... ค สารบัญตาราง...................................................................................................................................…. ง สารบัญภาพ.......................................................................................................................................… จ บทที่ 1 บทนำ..................................................................................................................…................ 1-2 ที่มาและความสำคัญ............................................................................................................… 1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา.................................................................................................… 1 ขอบเขตของการศึกษา............................................................................................................ 1 สมมติฐานของการศึกษา..................................................................................................……. 2 ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า........................................................................................................….. 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง............................................................................................................… 3-33 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ.............................................................................................................… 34-40 บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................................................. 41-45 บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ.......................................................................….. 46 บรรณานุกรม................................................................................................................................... 47-48 ภาคผนวก


ง สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของลิปบาล์ม..................................................................................... 40 ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพจากลิปบาล์มธรรมชาติเเเละลิปบาล์มจากท้องตลาด…….…. 40 ตารางที่ 3 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบเเบบสอบถาม…................................................................................ 42 ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อลิปบาล์มธรรมชาติ....................................................….. 44


จ สารบัญรูปภาพ หน้า ภาพที่ 1 เเสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 1.................................................................................................. 38 ภาพที่ 2 เเสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 2…............................................................................................... 38 ภาพที่ 3 เเสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 3.................................................................................................. 38 ภาพที่ 4 เเสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 4…............................................................................................... 39 ภาพที่ 5 เเสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 5......................................................................................………… 39


1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าตามท้องตลาดมีลิปบาล์มมากมายที่ผู้ใช้หลายคนใช้แล้วเกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองริมฝีปาก จากส่วนผสมในลิปบาล์มที่ไม่ปลอดภัยต่อริมฝีปากของผู้ใช้งาน ทำให้เราเกิด ความคิดที่จะผลิตลิปบาล์มจากวัสดุธรรมชาติโดยมีส่วนผสมของสมุนไพรต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติช่วยให้ บำรุงริมฝีปาก อย่างเช่นใบเตยที่สามารถช่วยบำรุงริมฝีปากและมีสรรพคุณทางยาที่สามารถช่วยรักษา โรคผิวหนังได้ชาเขียวที่ช่วยสร้างชั้นป้องกันมลพิษและแสงแดดที่เข้ามาทำร้ายริมฝีปากที่ช่วยทำให้ปาก ดูกระจ่างใสมากขึ้น เก๊กฮวยที่มีคุณสมบัติช่วยให้ริมฝีปากสดชื่น ลดความดันโลหิต ส่วนเหตุผลที่นำสมุนไพรมาใช้ผสมในผลิตภัณฑ์ลิปบาล์ม เนื่องจากจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีผู้คน บางส่วนที่ไม่นิยมบริโภคสมุนไพรจึงทำให้เกิดปัญหาสมุนไพรล้นตลาดและกลายเป็นขยะไปในท้ายทา สุด ทำให้เราเกิดสนใจที่จะนำสมุนไพรเหล่านั้นมาแปรรูปให้มีประโยชน์ในรูปแบบอื่นนอกจากการ บริโภคเพื่อให้สมุนไพรเกิดความน่าสนใจมากที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงทำให้พืชสมุนไพรไทย และพืชที่หาได้จากท้องถิ่นไทย เป็นที่รู้จักมากขึ้นในระดับประเทศ อีกทั้งยังช่วยอุดหนุนเกษตรกรไทยให้ มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.2.1 เพื่อนำวัสดุธรรมชาติมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 1.2.2 เพื่อทดลองผลิตสินค้าที่ปลอดภัยสำหรับบุคคลที่เกิดอาการแพ้จากการใช้ลิปบาล์ม ตามท้องตลาด 1.2.3 เพื่อนำมาสร้างรายได้ 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 1.3.1 นำสมุนไพรมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุด 1.3.2 ความปลอดภัยในการใช้ลิปบาล์ม 1.3.3 ความชุ่มชื้นของลิปบาล์ม


2 1.3.4 สรรพคุณและประโยชน์ของสมุนไพรที่นำมาใช้ในลิปบาล์ม 1.3.5 คุณภาพของลิปบาล์ม 1.4 สมมติฐานของการศึกษา 1.4.1 สมุนไพรเกิดประโยชน์สูงสุด และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้จริง 1.4.2 ได้ลิปบาล์มที่มีคุณภาพ ใช้ได้ดับทุกเพศทุกวัย 1.4.3 ได้ลิปบาล์มที่ปลอดภัยกว่าลิปบาล์มที่จำหน่ายตามแหล่งการค้า 1.5 ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า 1.5.1 ตัวแปรต้น -สมุนไพร ( เก๊กฮวย กระเจี๊ยบ ตะไคร้ ใบเตย หล่อฮังก๊วย ) 15.2 ตัวแปรตาม -ประสิทธิภาพในการใช้งานของลิปบาล์ม 1.5.3 ตัวแปรควบคุม -ชนิดและปริมาณของสมุนไพร -ปริมาณของผงสมุนไพร -ปริมาณของไขผึ้ง -ชนิดและปริมาณของน้ำมันธรรมชาติ -อุณหภูมิความร้อนที่นำมาละลาย -รูปร่างและปริมาตรของบรรจุภัณฑ์


3 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันลิปบาล์มได้ใช้ในหลาย ๆ โอกาส เช่น ใช้เวลาออกงาน ใช้เวลาออกจากบ้าน หรือ กระทั่งเวลาอยู่บ้าน เรียกได้ว่าลิปบาล์มนั้นใช้ได้ในทุกโอกาส จึงทำให้เกิดบริษัทที่ผลิตเกี่ยวกับลิปบาล์ม มีมากขึ้น รวมไปถึงได้พัฒนาคุณภาพของลิปบาล์มให้ดียิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้บริโภค แต่กลับละเลยเรื่องผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โดยส่วนผสมส่วนมากมา จากผลิตภัณฑ์ทางเคมี ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรืออาจจะกระทบต่อผู้บริโภคโดยตรงจาก การสัมผัสหรือบริโภค คณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับลิปบาล์มที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติและปลอดภัยต่อ ผู้ใช้งาน คือ สมุนไพรธรรมชาติ อาทิเช่น เก๊กฮวย กระเจี๊ยบ ตะไคร้ ใบเตย และหล่อฮังก๊วย โดยผู้จัดทำ ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นพื้นฐานและสนับสนุนแนวคิดในการทำโครงงาน ดังนี้ หัวข้อที่ศึกษามีดังนี้ 1. ไขผึ้ง 2. Shea butter 3. อัญชัน 4. กระเจี๊ยบ 5. หล่อฮังก๊วย 6. เก๊กฮวย 7. ตะไคร้ 8. Microcrystalline


4 ไขผึ้ง suphabeefarm.com/contents/ไขผึ้งบริสุทธิ์-ใช้ทำอะ/ (2565) ไขผึ้ง (Beewax) เป็นสารที่ผึ้งงานผลิตจากต่อมไขผึ้ง เพื่อใช้สร้างรวงผึ้ง ซ่อมแซม และปิดฝา หลอดรวง ซึ่งไขผึ้งที่ผลิตออกมาจากต่อมไขผึ้งนั้น จะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็ก ๆ มีสีขาวใสบริสุทธิ์เหมือน สีน้ำนม และมีน้ำหนักเบา 1) คุณสมบัติของไขผึ้ง 1.1) ไขผึ้งบริสุทธิ์จะเห็นเป็นสีใสๆ โปร่งแสง หรือไม่มีสี ซึ่งไขผึ้งจะสามารถละลายได้ดีในน้ำมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำมันสน แต่จะไม่ละลายในน้ำ และถ้านำไขผึ้งที่แข็งไปต้มในน้ำ ไขผึ้งก็จะหลอม ละลายลอยตัวอยู่บนผิวน้ำนั่นเอง 1.2) ไขผึ้งมีจุดหลอมเหลวเฉลี่ยที่ประมาณ 63 – 65 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าไขผึ้งได้รับความร้อน ที่สูงกว่าจุดหลอมเหลว จะทำให้เกิดเปลวไฟ หรือติดไฟลุกไหม้เหมือนก๊าซ อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น การหลอมไขผึ้ง ควรใช้ความร้อนจากไอน้ำ หรือนึ่งในน้ำร้อนจะดีที่สุด 1.3) ไขผึ้งจะหดตัว และเปราะแตกง่ายที่อุณหภูมิต่ำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเก็บไขผึ้งไว้ที่ อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส จะทำให้ปริมาตรของไขผึ้งนั้นลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ไขผึ้งที่บริสุทธิ์จากธรรมชาติ จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากไขผึ้งที่มีคุณภาพสูง ทั้งทางกายภาพและ ทางเคมี ซึ่งไขผึ้งสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบได้หลากหลาย ไขผึ้งส่วนใหญ่จะถูกใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ใช้เป็นส่วนผสมของครีมต่าง ๆ โลชั่น น้ำมันแต่งผม มาสคาร่า และลิปสติก รองลงมาคืออุตสาหกรรมเทียนไข ซึ่งเทียนไขจากผึ้งนั้น นำมาใช้ ในกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ทางศาสนา และไขผึ้งยังนำไปใช้ในงานเภสัชกรรม งานหล่อแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ที่สำคัญคือ ไขผึ้งแท้ยังใช้ในอุตสหกรรมการเลี้ยงผึ้ง โดยใช้ในการผลิตแผ่นรังเทียม เพื่อ ประหยัดเวลาในการสร้างรวงรังให้แก่ผึ้ง ซึ่งทำให้สามารถเก็บน้ำผึ้งได้มากขึ้นนั่นเอง 2) วิธีการเก็บไขผึ้ง 2.1) ควรเก็บไขผึ้งที่หลอมแล้ว ห่อหุ้มด้วยพลาสติกอย่างมิดชิด ระบุขนาด น้ำหนัก และวัน เดือนปีที่ผลิต 2.2) ควรเก็บไขผึ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งห้องจะต้องสะอาด มีพื้นผิวแห้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และควรเก็บไขผึ้งให้พ้นจากแสงแดด จะเห็นได้ว่า ไขผึ้งธรรมชาตินั้น สามารถนำไปทำประโยชน์ได้มากมายเลยล่ะค่ะ สำหรับผู้ที่สนใจ หรือ กำลังหาซื้อไขผึ้งบริสุทธิ์


5 hmong.in.th/wiki/Wax (2555) แว็กซ์เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่างๆที่เป็นไลโปฟิลิกของแข็งที่อ่อนตัวได้ใกล้อุณหภูมิ แวดล้อม ประกอบด้วยอัลเคนและลิพิดที่สูงกว่าโดยทั่วไปจะมีจุดหลอมเหลวสูงกว่า 40 ° C (104 ° F) การหลอมเพื่อให้ของเหลวที่มีความหนืดต่ำ แว็กซ์ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ที่ ไม่มีขั้ว ไขธรรมชาติที่แตกต่างกันมีการผลิตโดยพืชและสัตว์และเกิดขึ้นในปิโตรเลียม 1) แว็กซ์จากพืช พืชจะหลั่งแว็กซ์เข้าและบนผิวของล่อนเพื่อควบคุมการระเหยความสามารถในการเปียกและ การให้น้ำ [3]ไข epicuticularของพืชผสมแทนโซ่ยาวไฮโดรคาร์บอน aliphatic ที่มีแอลเคน, เอสเทอคิล , กรดไขมัน, แอลกอฮอล์ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาdiolsคีโตนและลดีไฮด์ จากมุมมองในเชิงพาณิชย์ ที่สำคัญที่สุดขี้ผึ้งพืชcarnauba ขี้ผึ้ง , ขี้ผึ้งยากที่ได้รับจากปาล์มบราซิลCopernicia prunifera มี cerotate เอสเตอร์ myricyl ก็มีการใช้งานเป็นจำนวนมากเช่นขนมและเคลือบอาหารอื่น ๆ , รถยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ขัดเคลือบไหมขัดฟันและขี้ผึ้งกระดานโต้คลื่น ไขผักอื่น ๆ ความเชี่ยวชาญมากขึ้นรวมถึง น้ำมันโจโจบา , ขี้ผึ้ง candelillaและขี้ผึ้ง ouricury 3) ไขพืชและไขสัตว์ดัดแปลง แว็กซ์หรือน้ำมันจากพืชและสัตว์สามารถผ่านการปรับเปลี่ยนทางเคมีเพื่อผลิตแว็กซ์ที่มี คุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าที่มีอยู่ในวัสดุเริ่มต้นที่ไม่มีการปรับเปลี่ยน [4]วิธีนี้อาศัยแนวทางเคมีสีเขียว ซึ่งรวมถึงการแพร่กระจายของโอเลฟินและปฏิกิริยาของเอนไซม์และสามารถใช้ในการผลิตแว็กซ์จาก วัสดุเริ่มต้นราคาไม่แพงเช่นน้ำมันพืช [5] [6] 4) แว็กซ์ที่ได้จากปิโตรเลียม แม้ว่าแว็กซ์ธรรมชาติหลายชนิดจะมีเอสเทอร์ แต่แว็กซ์พาราฟินเป็นสารไฮโดรคาร์บอน แต่การ ผสมของอัลเคนมักจะอยู่ในชุดความยาวของโซ่ที่คล้ายคลึงกัน วัสดุเหล่านี้แสดงถึงส่วนสำคัญของ ปิโตรเลียม พวกเขาจะกลั่นโดยการกลั่นสูญญากาศ แว็กซ์พาราฟินเป็นส่วนผสมของ n- และไอโซอัลเคน อิ่มตัวแนฟธีนและสารประกอบอะโรมาติกที่ใช้แทนอัลคิลและแนฟธีน ทั่วไปเคนพาราฟินองค์ประกอบ ทางเคมีประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีสูตรทั่วไป C n H 2 n 2เช่นhentriacontane , C 31 H 64 ระดับของการแตกแขนงมีอิทธิพลสำคัญต่อคุณสมบัติ Microcrystalline waxเป็นขี้ผึ้งจากปิโตรเลียมที่ ผลิตได้น้อยกว่าซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ของไฮโดรคาร์บอน isoparaffinic (แบบแยกส่วน) และไฮโดรคาร์บอน แนฟเทนิกที่สูงกว่า 5) การใช้งาน ขี้ผึ้งปิดผนึกได้ถูกใช้ในเอกสารสำคัญใกล้ในยุคกลาง เม็ดแว็กซ์ถูกใช้เป็นพื้นผิวการเขียน มี หลายประเภทที่แตกต่างกันของขี้ผึ้งในยุคกลางคือสี่ชนิดของขี้ผึ้ง (มีRagusan , มอนเตเนโก , ไบเซน ไทน์และบัลแกเรีย ), "ธรรมดา" แว็กซ์จากสเปน , โปแลนด์และริกาไขสากและแว็กซ์สี (สีแดง, สีขาวและ สีเขียว). [9] [10]แว็กซ์ใช้ทำกระดาษแว็กซ์ชุบและเคลือบกระดาษและการ์ดเพื่อกันน้ำหรือทำให้ทนต่อ


6 การย้อมสีหรือเพื่อปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของพื้นผิว แว็กซ์นอกจากนี้ยังใช้ในการขัดรองเท้า , ขัดไม้และ ขัดยานยนต์เป็นตัวแทนปล่อยแม่พิมพ์ในการทำแม่พิมพ์ , เป็นสารเคลือบผิวสำหรับหลายชีสและน้ำหนัง และผ้า หุ่นขี้ผึ้งที่มีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นชั่วคราวถอดออกได้ในรูปแบบขี้ผึ้งหายหล่อของทอง , เงินและวัสดุอื่น ๆ หุ่นขี้ผึ้งที่มีเม็ดสีที่มีสีสันเพิ่มได้ถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการวาดภาพ encausticและจะใช้ วันนี้ในการผลิตดินสอสี , เครื่องหมายจีนและสีดินสอ กระดาษคาร์บอนที่ใช้สำหรับการทำซ้ำพิมพ์ เอกสารที่ถูกเคลือบด้วยคาร์บอนสีดำลอยอยู่ในขี้ผึ้งมักจะขี้ผึ้ง Montanแต่ส่วนใหญ่ได้รับการแทนที่โดย เครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ ในบริบทอื่นลิปสติกและมาสคาร่าที่มีการผสมของไขมัน ต่างๆและแว็กซ์สีที่มีสีและทั้งสองขี้ผึ้งและลาโนลินที่ใช้ในการอื่น ๆเครื่องสำอาง ขี้ผึ้งสกีจะใช้ในการเล่น สกีและสโนว์บอร์ด นอกจากนี้กีฬาโต้คลื่นและสเก็ตบอร์ดมักใช้แว็กซ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ agriman.doae.go.th/homebee62/Honeybee/9.5.1_honey%20bee.pdf (2562) เป็นสารที่ผึ้งงานผลิตจากต่อมไขผึ้ง เพื่อใช้สร้าง ซ่อมแซมและปิดฝาหลอดรวงมีลักษณะเป็น เกล็ดขนาดเล็ก สีขาวใสมีน้ำหนักเบา ถ้านำไขผึ้ง 800,000เกล็ด มาชั่งจะพบว่าน้ำหนักไม่ถึงกิโลกรัม และผึ้งต้องกินน้ำหวาน มากถึง 8.4 กิโลกรัม เพื่อใช้ผลิตไขผึ้ง 1 กิโลกรัม 1) คุณสมบัติของไขผึ้ง 1.1) ไขผึ้งจะละลายได้ดีในน้ำมัน โดยเฉพาะน้ำมันสน มีจุดหลอมเหลว 63 – 65 องศา เซลเซียส ถ้าได้รับความร้อนสูงกว่าจุดหลอมเหลว จะเกิดเปลวไฟลุกไหม้ ดังนั้น การหลอมไขผึ้ง ควรใช้ ความร้อนจากไอน้ำ หรือนึ้งในน้ร้อน 1.2) ถ้าเก็บที่อัณหภูมิต่ำไขผึ้งจะหดตัว และทำให้เปราะแตกง่าย 2) ประโยชน์ของไขผึ้ง ไขผึ้งจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง วงการแพทย์ และ เภสัชกรรม ทำเทียนไขเป็นต้นนอกจากนี้ ในนอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง ไขผึ้งจะถูกนำมาใช้ทาแผ่น รังเทียม เพราะผึ้งจะไม่ยอมรับแผ่นรังเทียมที่ทาจากไขเทียม Shea butter pobpad.com/shea-butter-ต้านโรค-รักษาปัญหาผิว (2565) Shea Butter เป็นไขมันธรรมชาติที่สกัดจากเชียนัทหรือเมล็ดของต้นเชีย มีเนื้อสัมผัสเหนียวข้น คล้ายเนย ส่วนใหญ่ใช้ในประเทศที่มีอากาศหนาวและแห้ง เพราะเป็นมอยส์เจอร์ไรเซอร์คุณภาพสูงที่ ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่ม เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว ฟื้นฟูเซลล์ผิวที่ถูกทำลาย ลดริ้วรอย และอาจแก้ปัญหา ด้านผิวพรรณบางประการได้ เพราะอุดมด้วยสารในกลุ่มไขมันจากธรรมชาติ วิตามินอีบริสุทธิ์ วิตามินซี


7 สารโพลีฟีนอล (Polyphenols) สารไตรเทอร์พีน (Triterpene) และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอีกหลาย ชนิด นอกจากนี้ Shea Butter ยังมีคุณสมบัติต้านการอับเสบ จึงมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในยา รักษาโรคผิวหนัง เช่น ผิวหนังอักเสบ แผลเป็น ผิวไหม้แดด สิว หรือโรคสะเก็ดเงิน บางคนอาจใช้ Shea Butter บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ขจัดรังแค ตลอดจนบรรเทาอาการจากโรคข้ออักเสบ โดยมี การศึกษาสรรพคุณที่กล่าวมาบางส่วนในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ บรรเทาอาการผื่นผิวหนังอักเสบ ตามที่ทราบกันดีว่า Shea Butter เป็นมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ธรรม ชาติที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และอุดมด้วยวิตามินบำรุงผิวหลายชนิด โดยเฉพาะ วิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน และวิตามินอีที่ช่วยป้องกันผิวไม่ให้แห้งกร้าน จึงเชื่อว่า Shea Butter น่าจะใช้เป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคผิวหนังอักเสบได้ ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งได้ทดสอบ ประสิทธิภาพของน้ำมัน Shea Butter กับผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยให้ผู้ร่วมทดลองทาผิวหนังด้วยยาที่ประกอบด้วยน้ำมัน Shea Butter สารไดเมธิโคน วิตามินบี และ สารอื่น ๆ วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ จากนั้นเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลอง ผลปรากฏ ว่าสุขภาพผิวโดยรวมและอาการทางผิวหนังของผู้ป่วยดีขึ้นในหลายด้าน เช่น การอักเสบและความแห้ง กร้านของผิวหนัง ผิวหนังแตกเป็นแผล การนูนและแข็งของผิวหนัง อาการคัน และอาการอื่น ๆ จึงอาจ ใช้ Shea Butter เป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดไม่รุนแรงได้ แต่ก็มีงานวิจัยอีก ชิ้นหนึ่งที่นำ Shea Butter เพียงอย่างเดียวมาทดสอบประสิทธิภาพในด้านนี้ แต่กลับไม่พบความ แตกต่างอย่างชัดเจน ดังนั้น ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไปจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน เพราะการทดลอง ดังกล่าวยังคงมีข้อจำกัด ลดรอยแผลเป็น Shea Butter มีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อ บริเวณแผลเป็นนุ่มลง และฟื้นฟูผิวจากรอยแผลเป็นได้ ด้วยเหตุนี้ Shea Butter จึงมักถูกใช้เป็น ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและลดรอยแผล ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในห้องทดลองงานหนึ่งที่ศึกษา ประสิทธิภาพของ Shea Butter ร่วมกับน้ำมันชนิดอื่น และเปรียบเทียบกับยาไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone) ที่เป็นยาใช้รักษาแผลเป็นคีลอยด์ เพื่อดูคุณสมบัติด้านการยับยั้งการเจริญเติบโตของ เซลล์บริเวณแผลคีลอยด์ที่มักมีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนขึ้นมามากผิดปกติ ผลพบว่าทั้ง Shea Butter และยาไตรแอมซิโนโลนช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์บริเวณคีลอยด์ได้เหมือนกัน แต่ Shea Butter ให้ประสิทธิผลในการลดจำนวนเซลล์ลงมากกว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงอาจแสดงถึงความเป็นไปได้ ในการนำ Shea Butter ไปพัฒนาเป็นยารักษาแผลเป็นได้ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลที่ปรากฏไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่าง Shea Butter กับยารักษาแผลเป็น และเป็นเพียงการทดลองในห้องปฏิบัติการเท่านั้น จึงอาจต้องศึกษาวิจัยถึง ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Shea Butter เพิ่มเติมโดยทดลองในมนุษย์ต่อไป


8 ป้องกันยุงกัด บางประเทศใช้ Shea Butter เป็นสมุนไพรไล่ยุงตามธรรมชาติ เพราะเชื่อกันว่ามี ประสิทธิภาพป้องกันยุง ไม่ก่ออาการแพ้เหมือนสารเคมีไล่ยุงทั่วไป และอุดมไปด้วยอาหารบำรุงผิวหลาย ชนิดที่อาจลดอาการระคายเคืองจากยุงกัดได้ โดยการศึกษางานหนึ่งได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงชนิดน้ำมันสูตรที่มี Shea Butter เป็นส่วนประกอบกับสารละลายปิโตรเลียมเจลลี่ ภาย พบว่าอัตราการถูกยุงกัดของสารทั้ง 2 ชนิดค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่ระยะเวลาในการป้องกันยุงโดย เฉลี่ยของสูตรที่มี Shea Butter เป็นส่วนประกอบ สูงกว่ากลุ่มที่ใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ จึงอาจนำ Shea Butter มาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงได้ ทว่ายังไม่มีการทดลองกับมนุษย์เพื่อยืนยัน คุณสมบัติข้อนี้ และงานค้นคว้าดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยกับยุงเพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้น จึงไม่อาจยืนยัน ประสิทธิผลและความปลอดภัยได้อย่างแน่ชัดจนกว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมในอนาคต โรคข้อเสื่อม สารสกัดจากต้นเชียและ Shea Butter มีส่วนประกอบของสารไตรเทอร์พีนที่มี ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งอาจชะลออาการของโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการอักเสบไม่ให้รุนแรงขึ้น และบรรเทา อาการเจ็บปวดจากการเคลื่อนไหวได้ โดยยารักษาโรคข้อเสื่อมในปัจจุบันมักก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลัง การใช้ ทำให้มีการศึกษาทดลองใช้สารสกัดจากน้ำมันเมล็ดเชียกับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมและข้อสะโพกเสื่อม จำนวน 89 คน เป็นเวลา 15 สัปดาห์ พบว่าการอักเสบ การเสื่อมของกระดูกอ่อน และแนวโน้มการสร้าง กระดูกใหม่ของผู้ป่วยลดลง ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวยังสอดคล้องกับงานวิจัยอีกงานที่ให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่า เสื่อมจำนวน 33 คน ใช้สารสกัดจากน้ำมันเมล็ดเชียติดต่อกัน 16 สัปดาห์ ผลลัพธ์พบว่าผู้ป่วยเคลื่อนไหว เข่าได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และมีอาการปวดที่ลดลง จากข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ที่มี ส่วนประกอบของ Shea Butter อาจนำไปพัฒนาเป็นยารักษาโรคข้อเสื่อมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มทดลองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์สูงสุดก่อน นำไปใช้รักษาผู้ป่วยจริงต่อไป Shea Butter กับสุขภาพผิวและเส้นผม นอกจากความเป็นไปได้ในด้านต่าง ๆ ข้างต้น Shea Butter อาจมีคุณสมบัติดูแลสุขภาพผิวและเส้นผม ได้อีกด้วย แต่ผลการวิจัยในด้านนี้ค่อนข้างมีจำกัด และไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ที่เพียงพอยืนยัน ประสิทธิภาพดังกล่าว จึงควรระมัดระวังในการใช้ Shea Butter และคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นสำคัญ ตัวอย่างการใช้ Shea Butter ในชีวิตประจำวัน และคำแนะนำบางส่วน ได้แก่ บรรเทาอาการ ผิวหนังอักเสบหลังการโกนขน หลังจากโกนขน เช็ดบริเวณนั้นให้แห้งด้วยผ้าขนหนูอย่างเบามือ และทา ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Shea Butter แต่ควรเลือกใช้สูตรที่ปราศจากแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการ ระคายเคืองของผิวบำรุงผิวและลดริ้วรอยตามวัย คนนิยมนำ Shea Butter มาใช้เป็นครีมลดริ้วรอยและ บำรุงผิวฉบับโฮมเมด โดยผสมน้ำมันอโวคาโด ¼ ถ้วยตวง น้ำมันมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ ไขผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันวิตามินอี ½ ช้อนชา และ Shea Butter 1 ช้อนชา จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดไปอุ่นให้ละลายจน


9 เข้ากัน เทลงในขวดโหลที่มีฝาปิด และตั้งทิ้งไว้ให้เย็นจนส่วนผสมแข็งตัว ก็จะได้ครีมลดริ้วรอยจาก ธรรมชาติที่ปราศจากสารเคมี ฟื้นฟูผิวไหม้แดด ผลิตภัณฑ์ประเภทมาส์กที่มีส่วนผสมจาก Shea Butter จะช่วยฟื้นฟูผิวจากการโดน แดดเผาได้ง่าย โดยใช้แผ่นมาส์กที่มีส่วนผสมจาก Shea Butter vogue.co.th/beauty/skin-care-shea-butter (2565) 1) เชียบัตเตอร์คืออะไร? เชียบัตเตอร์ (Shea Butter) เป็นไขมันธรรมชาติจากต้นเชียนัท (Shea Nut) เมล็ดที่ได้จากต้น African Shea Tree พืชพื้นเมืองของชาวแอฟริกา โดยเชียบัตเตอร์เปรียบเป็นสมุนไพรที่ให้คุณค่าทาง โภชนาการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน A, D, E, F, โปรตีนและใยอาหาร นอกจากช่วยบำรุงผิวพรรณ แล้วยังช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรงอีกด้วย 2) ประโยชน์ 2.1) ส่วนผสมสำคัญสำหรับผิวแห้งกร้าน เชียบัตเตอร์มีส่วนประกอบที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวปริมาณมาก จึงทำให้เป็นมอยส์เจอไรเซอร์ ที่มอบความชุ่มชื่นให้ผิวอย่างดีเยี่ยม นิยมถูกนำไปเป็นส่วนประกอบหลักในสกินแคร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ครีมบำรุงผิว แฮนด์ครีม ลิปสติก และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีผิวแห้ง ผิวบอบบางแพ้ง่าย 2.2) บรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ ด้วยคุณสมบัติที่เป็นมอยส์เจอไรเซอร์ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว จึงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ อีก ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินบำรุงผิวหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน C ที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน และ วิตามิน E ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผิวหนังแห้งกร้าน 2.3) รักษาโรคข้อเสื่อม เนื่องจากในเชียบัตเตอร์มีส่วนประกอบของสารไตรเทอร์พีน ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สามารถ ช่วยชะลอการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงช่วยลดอาการอักเสบที่เกิดจากการเคลื่อนไหวได้ 2.4) สร้างคอลลาเจน บำรุงผิว และลดริ้วรอย ด้วยคุณสมบัติเด่นของเชียบัตเตอร์ที่มอบความชุ่มชื่นให้ผิว อุดมไปด้วยวิตามินที่เป็นอาหารผิว หลายชนิด โดยเฉพาะวิตามิน A ที่มีคุณสมบัติช่วยลดเลือนริ้วรอยและป้องกันการเกิดริ้วรอย ก่อนวัยอันควร 2.5) บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ นอกจากบำรุงผิวพรรณแล้ว เชียบัตเตอร์ยังมีคุณสมบัติช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะให้ แข็งแรง โดยทั้งปกป้องผมจากแสงแดด บำรุงรากผม ลดการเปราะขาด ช่วยเติมความชุ่มชื่นและป้องกัน ผมเสียจากการทำเคมี 2.6) ช่วยลดสิว


10 ในเชียร์บัตเตอร์อุดมไปด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ที่ดีต่อผิวเป็นสิว จึงไม่เข้าไปอุดตันรูขุมขน มี คุณสมบัติต่อต้านเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของการเกิดสิว และยังมีคุณสมบัติช่วยลดรอยดำรอยแดงที่เกิด จากสิวอีกด้วย 2.7) ลดรอยแผลเป็น คุณสมบัติอันโดดเด่นเรื่องเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง ช่วยทำให้เนื้อเยื่อบริเวณแผลนุ่มลง จึงทำให้เชียบัต เตอร์กลายมาเป็นส่วนผสมสำคัญในครีมบำรุงผิวและครีมรักษาแผลเป็น obooncare.com/2017/01/14/shea-butter- (2560) Shea Butter ได้จากการสกัดผลของต้น Kariteในทวีปอัฟริกาตะวันตก ซึ่่งแปลตรงตัวว่า ต้นไม้ แห่งชีวิต (Tree of Life) ต้น Karite ขึ้นตามธรรมชาติในแถบอัฟริกาตะวันตกและเป็นพืชที่ปลูกไม่ขึ้น ออกดอกระหว่างเดือน มิถุนายน – เดือนกรกฎาคมให้ผลสีเขียวแก่คล้ายอโวคาโดซึ่งจะ ร่วงลงมาเองเมื่องอมเต็มที่ ภายในผลจะ มีเมล็ด ซึ่งส่วนในของเปลือกเมล็ด (kernel) จะเป็นส่วนที่แข็ง สีขาวและเป็นส่วนที่ให้ Shea Butter มี เนื้อเหนียวนุ่ม คล้ายเนย ซึมซาบสู่ผิวได้ดี แม้ว่าไม้หลายชนิดจะให้น้ำมันและบัตเตอร์แต่ Shea Butter จะต่างตรงที่จะมี 2 ส่วน คือส่วน ที่ให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว (moisturizing fraction) และส่วนที่ให้ผลทางการรักษา (healing fraction) ซึ่ง จะกระตุ้นเซลล์ผิวหนังให้เพิ่มประสิทธิภาพกักเก็บความชื้น ส่วนให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว : Shea Butter จะซึมผ่านผิวหนังได้อย่างรวดเร็วทำให้ผิวนุ่มและเนียนขึ้นโดยไม่รู้สึกเหนอะหนะ เพื่อให้ ได้ผลสูงสุดจากวัตถุดิบธรรมชาติชนิดนี้ ควรจะทาผิวบางๆทุกวัน ใช้เวลาสักเล็กน้อยเพื่อให้ Shea Butter ซึมซาบเข้าผิวหนังโดยการคลึงเป็นรูปวงกลมไปทั่วๆ ส่วนที่มีผลทางการรักษา : เมื่อเราอายุมากขึ้นเซลล์ผิวหนังจะเป็นรูมากขึ้นและยืดหยุ่นน้อยลง เมื่อใช้ Shea Butterซึ่งจะเพิ่มความ ชุ่มชื้นให้ผิวและทำให้เซลผิวหนังกลับมายืดหยุ่นดังเดิม และเมื่อใช้อย่างสม่ำเสมอเซลล์ผิวจะปล่อยให้ ความชื้นซึมผ่านเซลล์เข้ามาใน ขณะเดียวกันก็จะรักษาความชื้นให้คงอยู่ได้ดีขึ้น คุณค่าทางโภชนาการ : กล่าวได้ว่า Shea Butter คือ ครีมวิตามินเอจากธรรมชาติแท้ๆ 100% ซึ่งเป็น moisturizer ที่สุดยอด น้ำมันเชียร์เสมือนสมุนไพรชนิดพิเศษที่ให้วิตามิน A, D, E, F, โปรตีนและใยอาหาร ใครบ้างควรจะใช้ Shea Butter : คำตอบคือ ทุกคน ทุกๆบ้านควรจะมี Shea Butter ครีมสารพัดประโยชน์ติดบ้านไว้สัก 1 กระปุก ไม่ว่า จะเอาไว้ใช้เป็นครีมบำรุงผิวเป็น moisturize หรือครีมหน้าใส ลดรอยเหี่ยวย่นหรือจะใช้สำหรับรักษา อาการทางผิวเล็กๆน้อยๆ แมลงสัตว์กัดต่อยโดยไม่มีอันตราย Shea Butter คือเพื่อนที่ดีที่สุดของผิวหนัง


11 แต่ควรเป็น shea butter ที่เกิดจากธรรมชาติ 100% ถึงจะให้ประสิทธิภาพดีที่สุดและไม่เป็นอันตราย และก่อให่เกิดการระคายเคือง Shea Butter จะทำให้อาการต่างๆ ตามที่แจ้งข้างล่างดีขึ้นได้ ผิวแห้ง (Dry skin), ผดหรือผื่นแดง (Skin rash), ผิวหนังลอกหลังโดนแดด (Skin peeling, after tanning), รอยช้ำและรอยย่น (Blemishes and wrinkles), อาการคัน (Itching skin), แดดเผา (Sunburn), ใช้เป็นครีมโกนหนวด (Shaving cream), ผิวหนังแตก (Skin cracks), แผลเล็กๆบนผิวหนัง (Small skin wounds), ผิวเท้าหยาบหนา (Tough and rough skin on feet) ใช้เมื่ออากาศเย็น (Cold weather), หิมะกัด (Frost bites), ป้องกันหน้าท้องลาย (Stretch mark prevention during pregnancy) วิธีการใช้ : ทาส่วนใดก็ได้ตามต้องการ ทาบางๆ – บำรุงรอบดวงตา : ทาใต้ดวงตา ไม่จำเป็นจะต้องหนามาก หลังสกินแคร์ที่ใช้ประจำ (shea butter ไม่ได้เป็น eye cream โดยเฉพาะนะคะ แต่ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นและเป็นส่วนผสมหนึ่งของ eye cream หลายๆตัว) – บำรุงส่วนแห้งกร้าน : นวดวนๆ ได้ทุกเวลาตามต้องการ ที่ข้อศอก เข่า ข้อเท้า วิธีเก็บรักษา : shea butter ก็ง่ายๆ คือเก็บไว้ในอุณหภุมิห้อง ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ถ้าในห้องร้อนๆ มากๆ ก็ไม่ต้อง กังวล เอาไปแช่ตู้เย็นให้แข็งก็ได้แล้ว ยังไง shea butter ก็ไม่เสื่อมค่ะ เชียบัตเตอร์ทานได้หรือไม่ : เนื้อครีมละลายเหมือนเนย หอม มัน แต่ไม่หวาน ส่วนกลิ่นเป็น กลิ่นครีมธรรมชาติ ถ้าเอาไปปรุงแต่งอีกเล็กน้อย เหมือนช๊อกโกแลตขาว อัญชัน หนังสือพืชผักรักษาโลก หน้า 101 (2547) 1) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถาเลื้อยพันตามต้นไม้ด้นอื่น เถากลมเด็ก เรียวยาว ลำต้น มีขนนุ่มปกคลุมอยู่ เป็นใบประกอบแบบปลายที่ มีใบบ่อย 3 - 5 คู่ใบย่อยรูปไข่ ปลายมน 1.1) ใบ ผิวและขอบเรียบ ใบบาง สีเขียว มี 2 ชนิด มีทั้งคอกชั้นเคียวและคอกซ้อน คอกสีน้ำ เงินแก่ ม่วงแดง ม่วงอ่อน และขาว ออกดอกเดี่ยวตามซอกก้านใบ รูปทรงคล้ายฝา หอยเชลล์ กลีบคลุม รูปกลมปลายเว้าเป็นแอ่งตรงกลางมีสีเหลือง 1.2) ผล เป็นฝักโค้งงอเล็กน้อย ฝักยาวเหมือนฝักถั่วเขียวเมื่อแก่แตกได้ 2) วิธีการปลูก :


12 ปลูกได้ในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่งหรือนำต้นที่งอกขึ้นมาใหม่ไปลูก การบำรุงรักษา ควรหาเสาหรือทำค้างให้ต้นได้เลื้อยหรือพัน 3) คุณประโยชน์ของอัญชัน คุณค่าของสมุนไพร : นอกจากจะใช้ประโยชน์จากดอกอัญชันได้แล้ว รากของดอกอัญชัน สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะหรือเป็นยาระบายได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้อัญชันชนิดดอกขาว จะมีรสออกขม นอกจากนี้อัญชันยังเป็นพืชสมุนไพรใช้ทำยาสีฟันให้ฟันทนทาน แก้ปวดฟัน รวมทั้งยังนำมาฝนหยอดตา แก้ตาเจ็บ ตาฟาง ทำให้ตาสว่าง medthai.com/อัญชัน/ (2565) ชื่อสามัญ Butterfly pea, Blue pea อัญชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L. จัดอยู่ใน วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) สมุนไพรอัญชัน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แดงชัน (เชียงใหม่), เอื้องชัน (ภาคเหนือ) เป็นต้น อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะ มีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เ ป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้น การไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำ ให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลาย นิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลาย ๆ คนยังไม่ ทราบ นั่นก็คือช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ และการ "กินดอกอัญชันทุกวัน...วันละ หนึ่งดอก" จะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้อีกด้วย เนื่องจากดอกอัญชันนั้นมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอก อัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ 1) สรรพคุณของอัญชัน -น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย -เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย มีส่วนช่วยในการ ชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย -มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด -ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด -ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ -ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก) -อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)


13 -ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน -ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน -ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ -ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน -อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย -ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด) -ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก) -ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น -นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก) -นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง (ราก) -ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด) -ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ) -แก้อาการปัสสาวะพิการ -ใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก) -ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า -นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย -ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน -ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผัก เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้ -น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก) -ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก) -ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น -นิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/226/ (2557) อัญชัน (butterfly pea หรือ blue pea) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Clitoria ternatea Linn. จัดอยู่ในวงศ์ Fabaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของถั่วในกลุ่มถั่วฝักเมล็ดกลม (pea) เช่น ถั่วลันเตา (green pea) ถั่วแระต้น (congo pea) ถั่วพู (manila pea) มีชื่อเรียกอื่นๆ คือ แดงชัน (เชียงใหม่) เอื้องชัน (เหนือ) เป็นต้น ลักษณะลำต้นเป็นไม้เลื้อยล้มลุก สามารถพบได้ทั่วไปในป่าโล่งแจ้ง หรือในที่กึ่งร่ม ทั้งป่าเบญจ พรรณในพื้นล่างจนไปถึงป่าดิบเขาสูง ในต่างประเทศพบในทุกประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิก เมื่อกล่าวถึงอัญชัน โดยทั่วไปมักนึกถึงดอกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทาง เครื่องสำอาง หรือใช้เป็นสีผสมอาหารและเครื่องดื่ม แท้จริงแล้วสรรพคุณของอัญชัน สามารถใช้


14 ประโยชน์ได้ทั้งต้น ซึ่งการใช้อัญชันเป็นยาพื้นบ้านนั้น ส่วนราก ใช้ฝนเอาน้ำหยอดตา แก้ตาเจ็บ ตาฟาง บำรุงดวงตา หรือผสมทำยาสีฟัน แก้ปวดฟัน และใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายท้อง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะ พิการ ใบและราก ฝนเอาน้ำหยอดตา แก้ตาแฉะ ตาฟาง ดอก ตำเป็นยาพอก หรือคั้นเอาน้ำทาแก้ฟก บวม แก้พิษแมลงกัดต่อย และใช้สระผมเป็นยาแก้ผมร่วง เมล็ด ใช้กินเป็นยาระบายท้อง นอกจากนี้ การ ใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ ตามตำราอายุรเวทศาสตร์ของอินเดีย อัญชันถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่พืชที่มี สรรพคุณบำรุงสมอง โดยได้มีการนำส่วนรากและเมล็ดของอัญชันมาใช้เป็นยาสำหรับบำรุงร่างกาย บำรุง สมอง และบำรุงความจำ รวมถึงใช้เป็นยาระบายและขับปัสสาวะ และในแถบอเมริกามีรายงานการใช้น้ำ ต้มจากส่วนรากเพียงอย่างเดียวหรือน้ำต้มจากรากและดอกร่วมกันเป็นยาบำรุงโลหิต ส่วนเมล็ดใช้เป็นยา ระบาย ขับปัสสาวะ และขับพยาธิ เมื่อกล่าวถึงอัญชัน โดยทั่วไปมักนึกถึงดอกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทาง เครื่องสำอาง จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ทาง เภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของอัญชันเป็นจำนวนมาก มีการทดสอบในสัตว์ทดลอง สารสกัดชนิดต่างๆ ที่ ได้จากส่วนลำต้นเหนือดิน ใบ ดอก และรากของอัญชันมีฤทธิ์กระตุ้นการเรียนรู้และความจำ ช่วยคลาย ความเครียดและวิตกกังวล มีฤทธิ์ช่วยในการนอนหลับ ลดน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้ปวด และต้านการ อักเสบ รวมถึงการใช้ประโยชน์ในด้านเครื่องสำอางก็มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า สารสกัดเอทานอลจาก ดอกอัญชันมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ยับยั้งการเจริญของเส้นขน และมีฤทธิ์ กระตุ้นการงอกของเส้นขนของหนูแรท นอกจากนี้ สารสกัดเมทานอลจากดอกอัญชันยังมีฤทธิ์กระตุ้น การทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดสีเมลานิน และกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ melanocyte เมื่อทำการทดสอบในหลอดทดลอง และในการ ทดสอบฤทธิ์ของอัญชันในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับบำรุงผิวพบว่า มีการนำสารสกัดน้ำและสารสกัด เอทานอลจากดอกอัญชันไปเป็นส่วนประกอบในเจลสำหรับทารอบดวงตา ซึ่งจะได้ประโยชน์จากฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ เมื่อกล่าวถึงอัญชัน โดยทั่วไปมักนึกถึงดอกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทาง เครื่องสำอาง แม้ว่าจะมีงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจำนวนมาก แต่งานวิจัยทั้งหมดยังเป็นข้อมูล ที่ศึกษาในระดับสัตว์ทดลองไม่มีรายงานการวิจัยในคน จึงยังไม่สามารถระบุขนาดและวิธีใช้ที่เหมาะสม ได้ แต่ในประเทศไทยนั้น มักพบการใช้ประโยชน์ของดอกอัญชันเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง บางชนิด และใช้สีจากดอกเป็นส่วนผสมในขนมและอาหาร หรือใช้ดอกแห้งชงเป็นเครื่องดื่ม ซึ่งการใช้ ประโยชน์เพื่อการบริโภคควรระมัดระวังการรับประทานร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ด เลือดหรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน และ warfarin เป็นต้น เนื่องจากมีรายงานว่า สาร ternatin D1 ในดอกอัญชันมีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ซึ่งอาจมีผลเสริมฤทธิ์กันจนเกิด อันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องใช้ยาดังกล่าวเป็นประจำ หากต้องการบริโภคดอกอัญชันในรูปแบบ เครื่องดื่มหรือชาชง ไม่ควรชงในขนาดความเข้มข้นมาก และไม่ควรดื่มแทนน้ำ ส่วนข้อควรระวังสำหรับ


15 การใช้ภายนอกร่างกายคือ ควรระมัดระวังในผู้ที่มีอาการแพ้ดอกไม้ชนิดต่างๆ ให้หมั่นสังเกตตนเอง หาก ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอัญชันแล้วก่อให้เกิดอาการระคายเคืองควรหยุดใช้ทันที กระเจี๊ยบ หนังสือสมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย หน้า 8-9 (2542) ไม้ริมรั้ว :กระเจี๊ยบแดง ชื่อพื้นเมือง :กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเปรี้ยว กระเจี๊ยบ (กลาง) แกงแดง (เชียงใหม่) ส้มปู (ฉานแม่ฮ่องสอน) ส้มตะเลงเครง (ตาก) ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง (เหนือ) ส้มพอดี (อีสาน) ชื่อสามัญ Roselle, Jamaica Sorrel ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus sabdariffa Linn. วงศ์: MALVACEAE 1) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กระเจี๊ยบเป็นพืชล้มลุกปีเดียว สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง ผิวเรียบสีแดงอมม่วง กิ่ง ก้านสีม่วงแดง ใบเดี่ยวรูปรีแหลม ขอบใบเรียบ เป็นมัน บาง ครั้งมีหยักเว้าลึก 2-3 หยัก ดูเป็นแฉก ๆ ใบ กว้างและยาวใกล้เคียงกัน ออก แบบสลับดอกเป็นดอกเดี่ยวสีชมพูหรือเหลือง กลางดอกเป็นสีแดงเลือดนก เมื่อแก่เต็มที่กลีบเลี้ยงจะ ติดกัน ดอกออกบริเวณซอกใบ ผลเป็นผลแห้ง ลูกกลม ปลายยาวเหลมเนื้อหนากรอบหักง่าย ห่อหุ้ม เมล็ดสีดำเป็นจำนวนมาก เมื่อนำมาใช้ต้องเอาผลออกเหลือเพียงกลีบเลี้ยงและกลีบประดับซึ่งมีสีแดงฉ่ำ น้ำ หุ้มไส้ 2) การปลูก: กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชที่ปลูกง่าย นิยมปลูกตามบ้านเรือนทั่ ทุกภาคของประเทศไทย ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด 3) ประโยชน์ทางยา: กลีบเลี้ยง: รสเปรี้ยว ชับปัสสาวะ แก้เสมหะ ชับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ ชับนิ่วแก้กระหายน้ำละลายไขมันใน เลือด กัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำไส้ เมล็ด: รสเมา ชับเหงื่อ ลดไขมันในโลหิต บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ ชับน้ำดีขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดิน ปัสสาวะอักเสบ เป็นยาระบาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ผล: รสจืด แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ลดไขมันในเส้นเลือดรักษาแผลในกระเพาะทั้งแก้พยาธิ ตัวจี๊ด 4) ขนาดและวิธีใช้


16 ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา โดยนำเอากลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดงตากแห้ง และบดเป็นผง ใช้ ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิกรัม) ทิ้งไว้ 5-10 นาทีรินเฉพาะน้ำสี แดงไส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป disthai.com/16915231/กระเจี๊ยบแดง (2560) ชื่อสมุนไพร กระเจี๊ยบแดง ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง) กระเจี๊ยบ ส้มพอเหมาะ ส้มเก็ง (ภาคเหนือ) ส้มพอดี (อีสาน) ส้มปู (แม่ฮ่องสอน) แบบมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยง) ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง) ชื่อสามัญ Rosella , Jamaica Sorrel, Red Sorrel ,Roselle ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn วงศ์ Malvaceae 1) ถิ่นกำเนิดกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบแดง มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน รวมถึงประเทศใกล้เคียงในแถบทวีปแอฟริกาแล้วมี การกระจายพันธุ์ไปยังทั่วโลก เช่น อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยนั้นพบบันทึก การปลูกในไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้นำกระเจี๊ยบแดงพันธุ์ซูดานเข้ามา ปลูกที่นิคมสร้างตัวเอง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี แล้วจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังภาคต่างๆทั่ว ประเทศ ในปัจจุบันมีแหล่งเพาะปลูกกระเจี๊ยบแดงที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา 2) ประโยชน์และสรรพคุณกระเจี๊ยบแดง แก้อาการขัดเบา, แก้เสมหะ, ช่วยขับน้ำดี, ช่วยลดไข้, แก้ร้อนใน, แก้ไอ, ขับนิ่วในไต นิ่วใน กระเพาะปัสสาวะ, แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต, แก้กระหายน้ำ, รักษาไตพิการ, ขับเมือกมันให้ลงสู่คูทวารหนัก ละลาย ไขมันในเลือด เป็นยาระบาย, แก้ไตพิการ, ลดอาการบวม, แก้เลือดออกตามไรฟัน, เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด, รักษาแผล อักเสบ แผลติดเชื้อ แก้โรคเบาหวาน, ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร, ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต, ช่วยฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย, ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง 3) รูปแบบและขนาดวิธีใช้ -ใช้ขับปัสสาวะ ให้ใช้กลีบกระเจี๊ยบแดงแห้ง บดเป็นผง 3 กรัม (หรือ 1 ช้อนชา) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน ถึง 1 ปี หรือจนกว่าอาการจะหาย -รักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อน โต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3-4 ครั้ง


17 -ช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ทั้งต้นใส่ หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็ได้จนหมดน้ำยา -แก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้ว นำมาเฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป 4) ลักษณะทั่วไปกระเจี๊ยบแดง ลำต้นกระเจี๊ยบแดงจัดเป็นไม้พุ่ม มีลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 1-2.5 เมตร (แล้วแต่ สายพันธุ์) ขนาดลำต้นประมาณ 1-2 ซม. แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ ลำต้น และ กิ่งมีสีแดงม่วง เปลือกลำต้นบางเรียบ สามารถลอกเป็นเส้นได้รากกระเจี๊ยบเป็นระบบรากแก้ว และแตก รากแขนง รากอยู่ในระดับความลึกไม่มาก ใบกระเจี๊ยบแดง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามความสูงของกิ่ง มีลักษณะคล้ายปลายหอก ยาว ประมาณ 7-13 ซม. มีขนปกคลุมทั้งด้านบนด้านล่าง ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนปลายเว้าลึกคล้าย นิ้วมือ 3 นิ้ว หรือเป็น 5 แฉก ระยะห่างระหว่างแฉก 0.5-3 ซม. ลึกประมาณ 3-8 ซม. มีเส้นใบ 3-5 เส้น เส้นใบด้านล่างนูนเด่น มีต่อมบริเวณโคนเส้นกลางใบ 1 ต่อม มีหูใบเป็นเส้นเรียวยาว 0.8-1.5 ซม. ใบที่มี อายุน้อย และใบใกล้ดอกจะมีขนาดเล็กรูปไข่ ใบกระเจี๊ยบแดงบางพันธุ์จะไม่มีแฉก มีลักษณะโคนใบมน และเรียวยาวจนถึงปลาย มีก้านใบมีแดงม่วงเหมือนสีของกิ่ง เส้นใบด้านล่างนูนชัด ดอกกระเจี๊ยบแดงออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกแทงออกตามซอกใบตั้งแต่โคนกิ่งถึงปลายกิ่ง ดอกมี ก้านดอกสั้น สีแดงม่วง ดอกมีกลีบเลี้ยง ประมาณ 5 กลีบ หุ้มดอกบนสุด มีขนาดใหญ่ มีลักษณะอวบ หนา มีสีแดงเข้มหุ้มดอก และกลีบรองดอก ที่เป็นกลีบด้านล่างสุด มีขนาดเล็ก 8-12 กลีบ มีสีแดงเข้ม กลีบทั้ง 2 ชนิดนี้ จะติดอยู่กับดอกจนถึงติดผล และผลแก่ ไม่มีร่วง ดอกเมื่อบานจะมีกลีบดอกสีเหลือง หรือสีชมพูอ่อนหรือสีขาวแกมชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร บริเวณกลางดอกมีสีเข้ม ส่วนของดอกมีสีจางลง เมื่อดอกแก่กลีบดอกจะร่วง ทำให้กลีบรองดอก และ กลีบเลี้ยงเจริญขึ้นมาหุ้ม ผล ลักษณะของผลเป็นรูปรีมีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสี เขียว ผลแก่จะแห้งแตกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จำนวนมาก ประมาณ 30-35 เมล็ดต่อผล และผลยังมีกลีบเลี้ยงหนาสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มอยู่ เราจะเรียกส่วนนี้ว่ากลีบกระเจี๊ยบหรือ กลีบรองดอก (Calyx) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นดอกกระเจี๊ยบนั่นเอง plants_data/plantdat/malvacea/hsabda_1.htm (2560) ชื่อพื้นเมือง : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ผักเกงเขง ส้มเก๋งเคง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู๋ (แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)


18 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L. ชื่อวงศ์ : MALVACEAE ชื่อสามัญ : Jamaica Sorrel, Red Sorrel, Roselle, Rozelle ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 1-2 ม. ผิวค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบของต้นที่ยังเล็กและใบที่ อยู่ใกล้ดอกบางใบมีแผ่นใบคล้ายรูปไข่และมีขนาดเล็กกว่าใบโดยทั่วไปซึ่งมีแผ่นใบคล้ายรูปไข่กลับและมี ขอบใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ปลายหยักแหลม โคนมน เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ดอกใหญ่ สี เหลืองอ่อน กลางดอกสีแดง ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ริ้วประดับเรียวแคบ สีแดง มี 8-12 เส้น อยู่เป็น วงรอบกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงโคนติดกันคล้ายถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยมแหลม 5 แฉก แต่ละ แฉกมีเส้นกลีบ 3 เส้น กลีบดอกใหญ่ สีเหลือง มี 5 กลีบ รูปไข่กลับ โคนกลีบสีแดงเข้ม เกสรเพศผู้มี จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 1-3 ซม. หุ้มเกสรเพศเมีย อับเรณูสีนวลขนาดเล็กจำนวน มากอยู่รอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียสีม่วงแดง เป็นตุ่ม เล็กและมีขน ผลสีแดง รูปไข่ป้อม ไม่เป็นฝักยาวอย่างกระเจี๊ยบ มีกลีบเลี้ยงที่ขยายใหญ่รองรับอยู่จนผล แก่ เมล็ดสีน้ำตาล รูปไต ขนาด 4-6 มม. ประโยชน์ : ใบอ่อนและยอดมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ใช้ต้มหรือแกง กลีบเลี้ยงสีแดงและรสเปรี้ยว มี คุณค่าทางอาหาร ใช้ทำเครื่องดื่ม เช่น ชา น้ำผลไม้ ไวน์ ตลอดจนทั้งทำอาหารหวานบางจำพวก เช่น แยม เมล็ดมีน้ำมันมาก เส้นใยจากต้นใช้ทำเชือกและกระสอบ ในไต้หวันใช้เมล็ดเป็นยาแผนโบราณเพื่อ เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ และยาบำรุง หล่อฮังก๊วย pobpad.com/หล่อฮังก๊วย-สมุนไพรหลาก (2565) หล่อฮังก๊วย เป็นสมุนไพรจีนที่นิยมนำผลแห้งมาต้มน้ำแล้วบริโภคเป็นเครื่องดื่ม โดยมีความเชื่อ ว่าสมุนไพรชนิดนี้อาจมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ส่งผลดีต่อผู้ป่วย โรคเบาหวาน และเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการจำกัดปริมาณการบริโภคน้ำตาล นอกจากจะนิยมนำผลหล่อฮังก๊วยไปทำเป็นเครื่องดื่มแล้ว ยังนิยมนำไปสกัดเป็นสารให้ความหวานแทน น้ำตาลจากธรรมชาติที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 150-200 เท่า ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของสารโม โกรไซด์ (Mogroside) อีกทั้งหล่อฮังก๊วยยังปราศจากแคลอรี่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โซเดียม รวมถึงสาร สังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น แอสปาร์แตม (Aspartame) หรือขัณฑสกร สารให้ความหวานจากหล่อฮังก๊วยจึง ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคที่ชื่นชอบอาหารแคลอรี่ต่ำและผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะนำไป ประกอบอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มได้ แต่เนื่องจากสารให้ความหวานจากหล่อฮังก๊วยมีความหวาน มากกว่าน้ำตาล เมื่อนำไปปรุงอาหารควรใส่ทีละน้อยและหมั่นชิมรสเพื่อให้ได้ความหวานในปริมาณที่ พอดี


19 โดยมีงานค้นคว้าและหลักฐานทางการแพทย์ที่พิสูจน์สรรพคุณของหล่อฮังก๊วยในแง่ของ ประโยชน์ต่อสุขภาพไว้อย่างหลากหลาย ดังนี้ 1) หล่อฮังก๊วยส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน แม้น้ำตาลไม่ใช่สาเหตุหลักของโรคเบาหวาน แต่หากบริโภคน้ำตาลมากเกินไปก็อาจเป็นปัจจัย ทำให้เกิดภาวะอ้วน และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ ดังนั้น คนทั่วไปรวมถึงผู้ป่วย โรคเบาหวานต้องระมัดระวังในการบริโภคน้ำตาล จากการศึกษาหนึ่งสนับสนุนว่าสามารถใช้หล่อฮังก๊วย เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่สกัดจากธรรมชาติ โดยไม่กระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด ช่วย กระตุ้นการผลิตอินซูลินในร่างกาย อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานยังรับประทานสารนี้ได้อย่างปลอดภัยด้วย แม้หล่อฮังก๊วยจะปราศจากคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล แต่เครื่องดื่มหล่อฮังก๊วยบางชนิดอาจมี ส่วนผสมอื่น ๆ ปะปนอยู่ด้วย เช่น น้ำตาล คาร์โบไฮเดรต แคลอรี่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับอินซูลิน ในร่างกาย ดังนั้น ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อเครื่องดื่มหล่อฮังก๊วย และรับประทาน ผลิตภัณฑ์จากหล่อฮังก๊วยในปริมาณที่เหมาะสม 2) หล่อฮังก๊วยกับคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ หากมีสารอนุมูลอิสระในร่างกายมากเกินไป จะรบกวนการทำงานของเซลล์จนเซลล์ต่าง ๆ เกิด ความเสียหายและส่งผลเสียต่อร่างกาย เชื่อกันว่าการรับประทานสมุนไพรอย่างหล่อฮังก๊วยอาจช่วยต้าน อนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ มีการศึกษาเกี่ยวกับสารโมโกรไซด์ซึ่งเป็นเป็นสารให้ความหวานตามธรรมชาติใน หล่อฮังก๊วยเกี่ยวกับคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่อาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การศึกษาดังกล่าว พบว่าหล่อฮังก๊วยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ แต่งานค้นคว้านี้เป็นเพียงการศึกษาในห้องทดลองเท่านั้น ดังนั้น จำเป็นต้องศึกษาทดลองในมนุษย์เพิ่มเติมต่อไป เพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพของหล่อฮังก๊วยให้ ชัดเจน 3) หล่อฮังก๊วยกับคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ทั้งช่วยย่อยอาหาร กำจัดเซลล์มะเร็ง ทำลาย จุลินทรีย์ที่ก่อโรค รวมถึงให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่มีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่เป็นสาเหตุของ โรคด้วย มีการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า ผลหล่อฮังก๊วยมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ไซไรทิฟลาวานได ออล (Siraitiflavandiol) ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก เช่น เชื้อสเตร็ป โตคอคคัส มิวแทนส์ (Streptococcus Mutans) ซึ่งเป็นสาเหตุของฟันผุ เชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส (Porphyromonas Gingivalis) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ และยีสต์แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเป็นสาเหตุของเชื้อราในช่องปาก นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็น ว่าใบหล่อฮังก๊วยมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียของหล่อฮังก๊วยไม่มาก นัก จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของหล่อฮังก๊วยในด้านนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไป 4) หล่อฮังก๊วยกับคุณสมบัติต้านการอักเสบ


20 การอักเสบเป็นปฏิกิริยาที่เซลล์เม็ดเลือดขาวปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งหล่อฮังก๊วยเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าช่วยต้านการอักเสบ บรรเทาอาการไอ เจ็บคอ และช่วย ละลายเสมหะได้ จากการศึกษาพบว่าสารโมโกรไซด์ของหล่อฮังก๊วยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ แต่การศึกษา ดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองในสัตว์เท่านั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมในมนุษย์ต่อไป เพื่อยืนยัน ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของหล่อฮังก๊วยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 5) รับประทานหล่อฮังก๊วยอย่างไรให้ปลอดภัย แม้หล่อฮังก๊วยอาจมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย และยังไม่พบหลักฐานว่าการบริโภคหล่อฮังก๊วย ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ อีกทั้งองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกายังให้การรับรองว่าหล่อ ฮังก๊วยปลอดภัยสำหรับทุกคน รวมถึงเด็กและผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบจากการ บริโภคหล่อฮังก๊วยเป็นเวลานาน และการบริโภคหล่อฮังก๊วยอาจเสี่ยงเกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่แพ้ พืชในวงศ์แตง (Curcurbitaceae) เช่น ฟักทอง แตงกวา เมลอน และน้ำเต้า โดยอาจส่งผลให้เกิดผื่นคัน ตามผิวหนัง วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ลิ้นบวม ปวดท้อง อาเจียน ชีพจรเต้นอ่อน หรือเร็วกว่าปกติ เป็นต้น หล่อฮังก๊วยอาจดูเหมือนเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ต้องการจำกัดปริมาณ น้ำตาลในอาหาร แต่ในปัจจุบันยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะยืนยันประสิทธิผลที่ชัดเจนของหล่อฮังก๊วย ดังนั้น ผู้บริโภคควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานหล่อฮังก๊วย เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง sgethai.com/article/ประโยชน์ดี-ๆ-หล่อฮังก๊ว/ (2564) ภาษาอังกฤษว่า monk fruit เป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะเป็นสารทดแทนความหวานที่ใช้แทนน้ำตาลได้ ทำให้ดีต่อสุขภาพ ซึ่งหล่อฮังก๊วยให้รสหวานที่ มากกว่าน้ำตาลในธรรมชาติ 250 เท่า แต่ความหวานนี้จะไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด จึงดีต่อผู้ป่วย เบาหวาน นอกจากนี้ยังให้พลังงานต่ำ และมีประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ ต้องการจำกัดปริมาณน้ำตาลในการบริโภค หรือช่วยในการลดน้ำหนักได้อีกด้วย เนื่องจาก หล่อฮังก๊วย เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น โดยมีสรรพคุณต่าง ๆ ดังนี้ 1) ต้านอนุมูลอิสระ หล่อฮังก๊วย มีสารโมโกรไซด์ (Mogroside) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานตามธรรมชาติ เป็นน้ำตาล ในกลุ่มฟรุกโตสและกลูโคส มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ ซึ่งหากในร่างกายมีสารอนุมูลอิสระมากเกินไป จะ ทำให้เซลล์ต่าง ๆ เกิดความเสียหายได้ และก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ซึ่งสรรพคุณงาดำก็เป็นธัญพืชที่ มากไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน สามารถหามาทานกันได้ เป็นอีกอาหารที่มากประโยชน์ เช่นเดียวกับหล่อฮังก๊วย 2) ต้านภูมิแพ้ สามารถลดการหลั่งฮิสตามีน หรือสารก่อภูมิแพ้ จากเซลล์แมสต์ได้


21 3) ต้านมะเร็ง สารไมโกรไซด์ (Mogroside) ในผลหล่อฮังก๊วยสามารถยังยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก โดย การทดลองในสัตว์ และพบว่าสัตว์ที่ได้รับไมโกรไซด์ เกิด เนื้อบุเนื้องอก (papilloma) น้อยกว่ากลุ่มที่ ไม่ได้รับสารสกัดนี้ จึงทำให้เห็นคุณสมบัติการป้องกันมะเร็งจากสารเคมีที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ 4) ต้านโรคอ้วน สารไมโกรไซด์ (Mogroside) ในผลหล่อฮังก๊วย สามารถยับยั้งเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อน จึงทำ ให้หยุดการเพิ่มน้ำหนัก ลดการสะสมไขมันและระดับไขมันในเลือดได้ 5) ต้านการอักเสบ หล่อฮังก๊วยเป็นสมุนไพรที่ช่วยต้านการอักเสบได้ ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ และช่วย ละลายเสมหะ เพราะสารโมโกรไซด์ (Mogroside) ในผลหล่อฮังก๊วยนั้นมีรสหวานชุ่มคอ แก้อาการร้อน ในและกระหายน้ำได้ จึงนิยมนำมาต้มทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร เพื่อบำรุงร่างกายและดับกระหาย และ ยังเป็นเครื่องดื่มสำหรับคนรักสุขภาพอีกด้วย เพราะไม่ต้องใส่น้ำตาล อาศัยความหวานจากธรรมชาติได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ดี มีสรรพคุณคล้ายชาดอกกุหลาบ นั่นเอง 6) ลดความเหนื่อยล้า สารในหล่อฮังก๊วยสามารถช่วยเพิ่มการสะสมไกลโครเจนในตับและกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้มีพลังงาน มากขึ้น ซึ่งมักนำไปใช้ในแวดวงการกีฬา เพื่อเพิ่มพลังงาน เป็นต้น 7) สรรพคุณที่ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน การกินน้ำตาลมากเกินไป หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะอ้วน อาจยังส่งผลไม่ดีต่อผู้ป่วย เบาหวานอีกด้วย รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานระมัดระวัง ในการบริโภคน้ำตาลมากขึ้น และมองหาสารให้ ความหวานทดแทนน้ำตาลมาใช้ในการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด หนึ่งใน นั้นก็คือ หล่อฮังก๊วย ที่สามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำตาลได้อย่างปลอดภัย 8) ปรับสมดุลการทำงานของร่างกาย โพลีแซคคาไรด์จากหล่อฮังก๊วย มีคุณสมบัติช่วยในการปรับสมดุลการทำงานและกระตุ้นของภูมิคุ้มกัน 9) ข้อควรระวัง แม้ว่าหล่อฮังก๊วยสรรพคุณจะมากมาย และเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็มีข้อควร ระวังในการกินเช่นกัน แม้ว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา รับรองว่าหล่อฮังก๊วยนั้นเป็น สมุนไพรที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน แต่การบริโภคหล่อฮังก๊วยยังมีข้อยกเว้นในบางคน เช่น ผู้ที่ตับอ่อน ทำงานผิดปกติ เนื่องมาจากทำงานหนักมากเกินไป หากทานหล่อฮังก๊วยปริมาณมากเกินไปนั้น ร่างกาย จะสร้างอินซูลินมากเกินความต้องการ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงได้ ส่งผลให้มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ รวมถึงอาจเสี่ยงให้เกิดอาการแพ้ในบางคนได้ หากแพ้พืชในตระกูลแตงต่าง ๆ ใครที่มีอาการ


22 แพ้ เช่น หายใจติดขัด อาเจียน ปวดท้อง ชีพจรเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ดังนั้นในคนทั่วไปจึงควรทานในปริมาณที่เหมาะสม และสำหรับคนที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ควรปรึกษา แพทย์ก่อนทานเสมอ เพื่อความปลอดภัย th.m.wikipedia.org/wiki/หล่อฮังก๊วย (2565) “หล่อฮังก๊วย" มาจากภาษาจีนซึ่งสำเนียงกลางว่า "หลัวฮั่นกั่ว" (จีน: 羅漢果) คำว่า "หลัว ฮั่น" กร่อนจาก "อาหลัวฮั่น" (จีน: 阿羅漢) ซึ่งทับศัพท์จากสันสกฤตว่า "อรฺหนฺต" และชื่อในภาษา สันสกฤตของหล่อฮั่งก๊วย คือ "อรฺหนฺตผล" แปลว่า ผลไม้ของอรหันต์ ชื่อสามัญของหล่อฮังก๊วยในภาษาอังกฤษ คือ arhat fruit, Buddha fruit, monk fruit หรือ longevity fruit ส่วนในภาษาญี่ปุ่นใช้ว่า "ระกังกะ" (ญี่ปุ่น: ラカンカ; โรมาจิ: rakanka) 1) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ หล่อฮังก๊วยเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Monordica grosvenoril Swingle หล่อฮังก๊วยจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะ กลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและ เข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง 2) สรรพคุณ หล่อฮังก๊วยเมื่อนำมาสกัดจะให้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยสารให้ความแทนน้ำตาลที่ สกัดได้นี้ให้ความหวานถึง 250-300 เท่าของน้ำตาลทราย จึงนิยมนำมาเป็นสารเพิ่มความหวานในอาหาร และเครื่องดื่มที่มีรสหวานในอุตสาหกรรมอาหาร โดยที่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำตาลในกระแสเลือด การแพทย์แผนจีนจะนำผลของหล่อฮังก๊วยไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะหากใช้ได้ แล้วจะมีเสียงกังวาน สามารถนำมาต้มหรือผสมกับจับเลี้ยงเพื่อปรุงเครื่องดื่มแก้ร้อนในได้ ซึ่งสรรพคุณที่ ได้กล่าวมานี้ช่วยผู้ป่วยที่มีอาการไอ เสียงแหบแห้ง บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ และโรคทางเดิน หายใจ ในสมัยโบราณผู้ป่วยที่มีโรคไอกรนแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่มีหล่อฮังก๊วยผสมอยู่ เพราะสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดิน อาหาร หล่อฮังก๊วยยังมีสรรพคุณในการบำรุงระบบทางเดินอาหารช่วงล่าง เช่น ภาวะลำไส้ใหญ่ไม่มีแรง บีบตัว และอาการทวารหย่อน เป็นต้น เก๊กฮวย disthai.com/16963821/เก๊กฮวย (2565) ชื่อสมุนไพร เก๊กฮวย ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น จวี๋ฮัว (จีน) , เบญจมาศสวน, เบญจมาศหนู (ไทย)


23 ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysanthemum morifolium Ramat. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีขาว) Chrysanthemum indicum Linn. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีเหลือง) ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีขาว) Dendranthema indicum Linn. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีเหลือง) ชื่อสามัญ Chrysanthemum , Flower tea , Edible Chrysanthemum, Florist Chrysanthemum. วงศ์ ASTERACEAE 1) ถิ่นกำเนิดเก๊กฮวย เก๊กฮวยหรือเบญจมาศ เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน แต่ภายหลังได้แพร่กระจายไป ใน ประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น กัมพูชา ลาว ไทย รวมถึงในยุโรปด้วยพันธุ์เก๊กฮวยที่นิยมปลูก และนำมาต้ม เป็นน้ำเก๊กฮวยมากที่สุด คือ เก๊กฮวยดอกขาว ที่ปลูกมากกว่าร้อยละ 90 ของเก๊กฮวยทั้งหมด โดย เฉพาะที่เมืองหังโจ ประเทศจีนนอกจากเบญจมาศดอก สีขาวแล้ว ดอกเบญจมาศสีเหลืองขนาดเล็กที่ บ้านเราเรียกว่า เบญจมาศหนู (Chrysanthemum indicum Linn.) ที่มีปลูกในเมืองไทย ก็สามารถ นำมาตาก แห้งชงน้ำร้อนเป็นน้ำเก๊กฮวยได้เช่นเดียวกันและยังมีสรรพคุณเหมือนกันอีกด้วย ทั้งนี้นอกจากประเทศจีนแล้วญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่นิยมเบญจมาศมากไม่แพ้ชาวจีน โดยตรา จักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นรูปดอกเบญจมาศ 16 กลีบ กล่าวกันว่า เบญจมาศเข้าสู่ญี่ปุ่นราวปี พ.ศ. 1340 คือ ประมาณ 1200 ปีมาแล้ว โดยเชื่อว่าเบญจมาศมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ คือวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 หากนำดอกเบญจมาศใส่ในถ้วยเหล้าสาเก แล้วดื่มเหล้าสาเกนั้น จะทำให้คงความหนุ่มสาวได้ตลอดกาล ความเชื่อนี้คงสืบเนื่องมาจากจีน เพราะจีนถือว่าเบญจมาศเป็นดอกไม้ประจำเดือน 9 (ตุลาคม) และฤดู ใบไม้ร่วง คนญี่ปุ่นเรียกดอกเบญจมาศว่า คิกุโนะฮานะ แปลว่าดอกไม้ของคิกุ ซึ่งมีตำนานเล่าสืบมาว่า คิ กุเป็นหญิงสาวที่กำลังจะแต่งงาน ได้ทำการบวงสรวงถามเทวดาว่าจะได้ครองคู่กับสามีนานกี่ปี เทวดา บอกว่าจะได้อยู่กับสามีนานเท่ากับจำนวนกลีบดอกไม้ที่นำมาบูชาเทวดา คิกุ รักสามีมากอยากจะอยู่ด้วย นานปีที่สุด จึงพยายามแสวงหาดอกไม้ที่ มีกลีบมากที่สุด แต่ก็หาดอกไม้ได้ เพียง 17 กลีบเท่านั้น ด้วย ความเฉลียวฉลาด คิกุจึงใช้มีดกรีดกลีบดอกไม้ดังกล่าวออกเป็นฝอยเล็ก ๆ นับไม่ถ้วน จึงทำให้ได้ครองคู่ กับสามีได้ชั่วกาลนาน ตำนานดอกเบญจมาศ (คิกุ) ของญี่ปุ่นจึงเป็น ตำนานแห่งความรักโดยแท้เป็นรักที่ คงทนยั่งยืน เหมาะที่จะเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักของชาวตะวันออกเป็นอย่างยิ่ง สำหรับประเทศไทยนั้น เบญจมาศได้มีการนำเข้ามาปลูกนานมาแล้วโดยคนจีน เท่าที่ปรากฏ ใน วรรณคดีเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แสดงว่า คนไทยสมัยนั้นคุ้นเคย กับเบญจมาศดีแล้วและในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล พ.ศ.2416 ก็กล่าวถึงเบญจมาศไว้ว่า "เบญมาศ : เป็นชื่อต้นไม้ดอกเล็กอย่างหนึ่ง" แสดงว่าคนไทยสมัยนั้นรู้จัก เบญจมาศกันแพร่หลายแล้ว ปัจจุบันเบญจมาศถูกนำไปปลูกทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอบอุ่นที่มีสภาพ ภูมิอากาศใกล้เคียง กับประเทศจีนอันเป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของเบญจมาศ ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป มีการปลูกและพัฒนาสายพันธุ์เบญจมาศออกไปอย่างกว้างขวาง ได้รับการนิยมติดอันดับต้นๆ ของ


24 ดอกไม้ยอดนิยมเลยทีเดียว ภาษาอังกฤษ เรียกเบญจมาศว่า Chrysanthemum ในสหรัฐอเมริกาเรียก สั้นๆ ว่า mum ก็เข้าใจกันดีและในอังกฤษถือว่า เบญจมาศ เป็นดอกไม้ประจำเดือนพฤศจิกายน 2) สรรพคุณของเก๊กฮวย แก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น แก้ร้อนใน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้ ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย แก้อาการหวัด ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับลม ระบาย ช่วยบำรุงปอด ช่วยบำรุงตับ ไต ช่วยรักษาผมร่วง ประโยชน์ของดอกเก็กฮวยนั้นโดยส่วนมากแล้วจะนิยมนำมาทำน้ำเก๊กฮวยเพื่อใช้ดื่มแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย และยังสามารถปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งการปลูก ตัดดอกขาย ซึ่ง นิยมปลูกพันธุ์ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่สีต่าง ๆ และปลูกเป็นไม้ดอกในกระถาง ไม้ดอกตามข้างทาง สวนสาธารณะ หรือสวนหลังบ้าน เป็นต้น รักษาโรคทางร่างกายภายนอกหรือนอกอวัยวะ เนื่องมาจาก ลม และความร้อน อย่างเช่น เริ่มมีไข้ใหม่ ๆ ตามฤดูกาล ทำให้เกิดอาการไข้ ปวดศีรษะ และ ไอ มักใช้ ร่วมกับใบหม่อน เมนทอล และ สมุนไพรชื่อเหลี่ยงเคี้ยว ( Fructus forsythiae ) นอกจากนี้ยังใช้กับ อาการหวัดเนื่องจากอาการร้อน ใช้สำหรับอาการตาบวม แดง และปวดตา ตามองไม่ชัด หรือเบลอ และ อาการอ่อนแรง สำหรับอาการตาบวมแดง ปวดตาเนื่องมาจากลม และความร้อนกระ ทบต่อ ตับ หรือ ไฟในตับมาก มักใช้ร่วมกับ ใบหม่อน ชุมเห็ดไทย และหญ้าเล่งต้า ( Radix gentianae ) สำหรับการ พร่องของตับ และไต พร้อมกับอาการตามัว อาจใช้ร่วมกับ เก๋ากี้ เส็กตี่ ( Radix Rehmanniae Praeparata ) ใช้สำหรับการมึนศีรษะ และปวดหัว เนื่องจากการกำเริบของหยางในตับ สามารถใช้ ร่วมกับ โกฐสอ และอื่น ๆ กรณีเป็นฝีเป็นหนอง บวมและเป็นพิษ อาจใช้ดอกสด แล้วนำมาบดผสมน้ำ แล้วดื่ม แล้วนำกากมาพอก อาการอักเสบที่ตา อาจใช้พอกโดยตำดอกสดประคบภายนอกดวงตา ช่วย


25 กระตุ้นระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะดื่มชาเก๊กฮวยร้อน ๆ จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย รักษาผมร่วง โดยเชื่อว่าดอกเก๊กฮวยสามารถรักษา อาการผมร่วง ช่วยให้สีผมดำ เงางาม ไม่เปลี่ยนเป็นสีเทาก่อนวัยอันควร ส่วนในทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยระบุว่าเก๊กฮวยสามารถช่วย ลดความดัน โลหิต เพราะสมุนไพรชนิดนี้ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและต้านกระบวนการอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลดี ต่อการรักษาและป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะจากความดัน โลหิตสูง และมีฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิตลงได้ รักษาโรคเบาหวาน การบริโภคเก๊กฮวยหรือผลิตภัณฑ์ จากเก๊กฮวยอาจช่วยต้านโรคเบาหวานได้ เพราะสารประกอบในเก๊กฮวยอย่างสารฟีนอลและฟลาโว นอยด์อาจช่วยยับยั้งการทำงานเอนไซม์ที่มีผลต่อการดูดซึมน้ำตาลบางชนิด และอาจเป็นผลดีต่อการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อการรักษาโรคเบาหวานได้ ต้านมะเร็งต่อมลูกหมากคาด ว่าการบริโภคเก๊กฮวยอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เนื่องจากเก๊กฮวย ประกอบด้วยสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และยับยั้งการผลิตฮอร์โมนแอน โดรเจนที่มีบทบาทในการควบคุมการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก 3) รูปแบบและขนาดวิธีใช้ ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้อาการร้อนใน แก้กระหาย แก้ไข้ โดยใช้ดอกเก๊กฮวยแห้งประมาณ 5-9 กรัม ต้มกิน หรือทำเป็นชา แล้วดื่มในปริมาณที่เหมาะสม รักษาแผลฝีหนอง และแผลบวม โดยใช้ ดอกเก๊กฮวยสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด บดผสมน้ำแล้วดื่ม จากนั้นนำกากดอกเก๊กฮวยมาพอกตามแผล ใช้เก๊กฮวย แก้หวัด แก้ร้อนใน แก้อาการตาเจ็บ ตาบวม ขนาดการใช้ ใช้ดอกแห้ง ประมาณ 5-9 กรัม ต้ม กิน หรือทำเป็นชา ต้มดื่มในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้ดอกเก๊กฮวยยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับ สมุนไพรอื่น ๆ เพื่อช่วยบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกหลายตำรับอีกด้วย 4) ลักษณะทั่วไปเก๊กฮวย เบญจมาศเป็นต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาไม่ มาก ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม ใบยาวรี ขอบใบจัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อน ทั้งกิ่งก้าน และใบของเบญจมาศมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ดอกออกตรงปลายกิ่ง อาจออกเป็นช่อหรือเป็นดอกเดี่ยว แล้วแต่สายพันธุ์ รูปร่างดอก ทรงกลมคล้ายทานตะวัน หรือบานชื่น มีกลีบเรียวยาวเรียงซ้อนกันโดยรอบ หลายชั้น ลักษณะกลีบ ดอกบางสายพันธุ์ยาวมากและบิดม้วน มีชื่อเรียกเฉพาะว่าดอกประเภทแมงมุม (spider) ดอกเบญจมาศมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดโตมาก ไปจนถึง ดอกขนาดเล็กประมาณ 1เซนติเมตร มีสีหลากหลาย เช่น เหลือง ขาว ชมพู ม่วง แดง เป็นต้น แต่ในกลุ่มของดอกเบญจมาศทั้งหมดมี 2 ชนิด ที่นิยมนำมาทำน้ำเก็กฮวย หรือที่เรียกว่าดอก เก็กฮวย คือ เก๊กฮวยดอกขาว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เก๊กฮวยขาวดอกใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้น ตรง แข็ง เป็นพุ่มใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ก้านใบมีสีม่วงอมเขียว ดอกมีสีขาว ขนาดใหญ่ ขนาด ประมาณ 4.7-5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5-6 ชั้น มีกลีบดอกประมาณ 90 กลีบ เมื่อนำมาตากแดด ดอก


26 จะแห้งเร็ว เก๊กฮวยขาวดอกเล็ก มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้นตรง เป็นพุ่มเล็ก ลำต้นค่อนข้างอ่อน ดอกมี ขนาดประมาณ 4.5 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แรก ส่วนกลีบดอกมีมากกว่าที่ 6-7 ชั้น มีจำนวนกลีบดอก ประมาณ 120 กลีบ ส่วนสีดอกมีสีขาวอมสีเนื้อ ดอกเมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอมกว่าดอกใหญ่ แต่อาจมี รสขมปนเล็กน้อย เก๊กฮวยดอกเหลือง มีลักษณะทั่วไป คือ กลีบดอกมีสีเหลือง และให้รสขมมากกว่าพันธุ์ดอกขาวแต่ก็ สามารถนำมาใช้ได้เหมือกันและมีสรรพคุณคล้ายกัน komchadluek.net/kom-lifestyle/478966 (2564) “เก๊กฮวย" ดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนเป็นดอกไม้ที่ความนิยมเป็นอย่างม ากใน ประเทศไทยในการนำมาต้มและดื่มเพื่อเพิ่มกำลังวังชาให้กับร่างกาย ดอกไม้สวย ๆ อย่างดอกเก๊กฮวย นอกจะนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ซึ่งพันธุ์ที่นิยมปลูกกันคือดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ต่างสีสัน เพื่อนำมา ตกแต่งบ้าน ตกแต่งสวนสาธารณะ หรือ เพื่อนำไปขาย ดอกเก๊กฮวยยังสามารถนำมาทำเครื่องดื่ม ทำน้ำ ชา ผ่านการต้มส่วนตัวดอกที่เป็นสีขาว และ สีเหลืองเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย แก้กระหาย จาก สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ซึ่งเป็นสารที่ลดการอักเสบได้ ดอกเก๊กฮวยเป็นสมุนไพรชนิดยาเย็นและสามารถช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ดับพิษร้อนของ ร่างกายได้ คุณประโยชน์ของ "เก๊กฮวย" หากดื่มก็จะรู้สึกถึงความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า หากนำไปบดก็จะ ช่วยสมานแผลบนร่างกายได้เหตุผลที่เป็นที่นิยมอันดับแรกคือความสามารถในแก้กระหาย เพิ่มความสด ชื่น ของน้ำเก๊กฮวย -ช่วยบรรเทาอาการหวัด -ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้ -ช่วยชะลอวัย ทำให้ผิวเต็งตึงสดใส -ช่วยบำรุงโลหิต โดยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น -ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ -ใบเก๊กฮวยรักษาแผลฝีหนอง ลดอาการบวมจากลมพิษ -ช่วยแก้ร้อนใน เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น -ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และ ภาวะหัวใจล้มเหลว -ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด แก้อาการอยากอาเจียน -ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนที่มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก -เก๊กฮวยช่วยบำรุงรักษาสายตา ลดอาการสายตาพร่ามัว บรรเทาอาการปวดตา ตาบวมแดง -ในเก็กฮวยยังมีสารโคลีน ที่ช่วยให้ร่างกายสร้างเลซิติน ที่ช่วยลดไขมัน ลดคอเลสเตอรอลได้ -กากของดอกเก๊กฮวยนำมาบดแล้วผสมน้ำพอกทิ้งไว้ที่แผลจะช่วยลดอาการบวมอักเสบ ลดหนองได้


27 -ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร โดยยิ่งหากดื่มชาเก๊กฮวยร้อนจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และช่วยบรรเทอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย medthai.com/เก๊กฮวย/ (2556) เก๊กฮวย ภาษาอังกฤษ Chrysanthemum มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ดอกเก๊กฮวยสีขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel.) หรือ Chrysanthemum morifolium Ramat. และดอกเก๊กฮวยสีเหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthema indicum L.) หรือ Chrysanthemum indicum L. สำหรับสายพันธุ์อื่นก็เช่น ดอกเก๊กฮวยป่า (ชื่อ วิทยาศาสตร์ Dendranthema boreale (Makino) Ling) โดยคุณสมบัติเด่นของเก๊กฮวยก็คือ มีกลิ่นฉุน มีรสขมและรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น เก๊กฮวย เป็นพืชดั้งเดิมของประเทศจีนและญี่ปุ่น แต่ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่วในประเทศ กัมพูชา ลาว รวมถึงบ้านเราด้วย ซึ่งจะเพาะปลูกได้ดีในพื้นที่สูงของประเทศ โดยมีการจำหน่ายเป็นดอก สด สำหรับดอกเก๊กฮวยที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง และไม่ใช่สายพันธุ์ที่เก็บมาจากใน ป่าเพราะอาจเป็นคนละชนิดกัน ดอกเก๊กฮวย มีสารพวกฟลาโวนอยด์ (Flavonoid), สารไครแซนทีมิน (Chrysanthemin), สารอะดีนีน (Adenine), สตาไคดวีน (Stachydrine), โคลีน (Choline) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหยที่ช่วย รักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ! 1) ประโยชน์ของเก๊กฮวย เก๊กฮวยน้ำเก๊กฮวยใช้ดื่มแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ จากงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากดอกเก๊กฮวยมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้ ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (เก๊กฮวยดอกเหลือง) ช่วยแก้อาการตาบวมแดง ปวดตา มองเห็นไม่ชัด ตาเบลอ ตามัว แก้อาการตาอักเสบ ด้วยการใช้ดอกสดตำแล้วนำมาประคบภายนอกดวงตา


28 ช่วยแก้อาการปวดศีรษะเนื่องจากการกำเริบของหยางในตับ ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย (เก๊กฮวยดอกเหลือง) ช่วยแก้ไข้ (เก๊กฮวยดอกเหลือง) ช่วยแก้อาการหวัด เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยแก้อาการไอได้ เก๊กฮวยแก้ร้อนใน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยบำรุงปอด ช่วยบำรุงตับ ไต (เก๊กฮวยดอกเหลือง) ช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมไม่เปลี่ยนเป็นสีเทา ตะไคร้ หนังสือผักพื้นบ้านภาคอีสาน หน้า 75 (2547) ตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus Rendle.) ชื่ออื่น: หัวจังไคร้ไทย ไคล หัวขิงไคร จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (เหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น: เป็นกอ คล้ายตะไคร้บ้าน ลำต้นเป็นข้อๆ มีก้านใบหุ้มล็ออกแดง บริเวณโคนต้น ใบ: ใบยาวกว่าตะไคร้บ้าน ลักษณะของใบกว้าง 5-20 มม. และยาวประมาณ 50-100 ชม. มีสีเขียว ผิว เกลี้ยง และมีกลิ่นหอม ดอก: ออกเป็นช่อฝอย โดยชูก้านช่อดอกยาวออกมาจากส่วนยอด มีช่อดอกใหญ่ยาวประมาณ 2 เมตร จะคล้ายกับดอกช่อ ช่อดอกจะแยกออกเป็นแขนง ซึ่งในแต่ละแขนงมีช่ออยู่ 4-5 ช่อ การขยายพันธุ์: ใช้หน่อ หรือเหง้า ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์: ทุกฤดู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต: ทนแล้ง 1) การใช้ประโยชน์ ทางอาหาร: ใส่ต้ม อบเนื้อ แจ่วบอง(ไม่นิยมใส่อาหาร) ทางยา: ใช้เหง้าเป็นอาบีบมดลูก ชับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูชาว ใส่ไล่ไรในรังไก่ สกัดทำยาไล่ เมลง ทำยาตั้งประคบ การใช้สอยอื่น: เป็บส่วนผสมในสบู่ สกัดเอาน้ำมันหอมระเทย เหง้าใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมี ขายใน


29 Citronella oil ใช้เป็นยาขับไล่ยุง โดยละลายน้ำมันดะไคร้หอม 7 ส่วนในแฮลกอฮอล์อัตรา 1:1 ทาตรง ขอบประตูที่ปิด-เปิดเสมอ ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์: ทุกฤดู pobpad.com/ตะไคร้-สรรพคุณ-ประโยชน์(2565) เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียเขตร้อน มีลักษณะคล้ายหญ้าและมีใบสูงยาวส่ง กลิ่นเฉพาะตัว นอกจากนำมาใช้ประกอบอาหาร ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร และทำเครื่องดื่มแล้ว ตะไคร้ยัง ถูกนำไปใช้ในหลากสาขา เช่น อุตสาหกรรมสบู่ เครื่องสำอาง การบำบัดด้วยกลิ่น หรือการสกัดเป็นยา รักษา โดยมีความเชื่อว่าสารเคมีในตะไคร้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อาจสามารถช่วยป้องกันการเติบโต ของแบคทีเรียกับยีสต์ได้ ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดและลดไข้ ช่วยกระตุ้น การไหลเวียนของเลือดในระหว่างมีประจำเดือน และเป็นส่วนผสมในสารที่ช่วยไล่ยุงได้ เป็นต้น แม้จะเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการบริโภคและประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์เกี่ยวกับประสิทธิผลของตะไคร้แท้จริงแล้วยังคงมีอย่างจำกัด และไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเชิงการแพทย์ โดยบางงานวิจัยก็ได้ตรวจสอบสมมติฐานถึง ผลของตะไคร้ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ระงับกลิ่นปากที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย กลิ่นปากเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากการรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ การไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก การติดเชื้อภายในช่องปาก ตลอดจนการใช้ยารักษา บางชนิด ผู้ที่มีกลิ่นปากอาจสูญเสียความมั่นใจและเกิดความวิตกกังวลจนอาจต้องไปปรึกษาแพทย์ เพื่อ หาวิธีรักษาและระงับกลิ่นปาก ตะไคร้เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงมีการค้นคว้าที่นำตะไคร้มา เป็นส่วนหนึ่งในการทดลองใช้สารสกัดจากตะไคร้ผลิตน้ำยาบ้วนปาก โดยมีผู้อาสาเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 ราย ผลการทดลองพบว่า น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของตะไคร้มีประสิทธิผลต่อการยับยั้ง แบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดกลิ่นปากบางชนิดได้ คือ แบคทีเรียกลุ่มแอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์ (Aggregatibacter Actinomycetemcomitans) และ พอร์ฟิโรโมแนส จินจิวาลิส (Porphyromonas Gingivalis) แต่มีประสิทธิผลต่ำต่อการต้านเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus Mutans) โดยรวมแล้ว น้ำยาบ้วนปากจากตะไคร้สามารถช่วยลดกลิ่นปากลงได้และพบว่ามีความปลอดภัยจากการ ใช้งานในกลุ่มผู้ถูกทดลอง แม้ยังคงต้องมีการปรับปรุงกลิ่นฉุนและรสชาติจากตะไคร้เพิ่มเติมต่อไป อย่างไรก็ตาม งานทดลองนี้เป็นงานทดลองขนาดเล็ก จึงควรมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในด้านนี้ต่อไป เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์จากตะไคร้ในการระงับกลิ่นปากได้ในอนาคต 2) ยับยั้งเชื้อราในช่องปาก โดยปกติ ในช่องปากของคนเรามีแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดอาศัยอยู่ หากมีเชื้อจุลชีพเหล่านี้ ในจำนวนที่ไม่เป็นอันตราย จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพช่องปากแต่อย่างใด แต่ปัญหาเชื้อราในช่อง


30 ปาก เกิดจากการมีเชื้อราแคนดิดาอัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ในช่องปากเป็นจำนวนมาก และเชื้อ เหล่านี้มีการเจริญเติบโตจนเกินกว่าภูมิคุ้มกันของร่างกายจะควบคุมได้ จึงเป็นที่มาของอาการต่าง ๆ เช่น มีคราบหรือปื้นสีขาวตามลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ต่อมทอนซิล สร้างความเจ็บปวด หรือกลืนอาหาร ลำบาก เป็นต้น แม้ตะไคร้อาจมีผลต่อการยับยั้งควบคุมแบคทีเรียในช่งปากบางชนิด แต่สำหรับจุลชีพที่เป็นเชื้อ รานั้น มีงานทดลองหนึ่งที่ทำการทดลองในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีเชื้อราในช่องปากจำนวน 90 ราย โดยแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มรับการรักษาด้วยยาม่วงหรือเจนเชียนไวโอเล็ต น้ำมะนาว และตะไคร้เป็นระยะเวลา 11 วัน ผลการทดลอง พบว่าน้ำมะนาวมีประสิทธิผลทางการรักษาเชื้อราในช่องปากที่ดีกว่ายาม่วง ส่วนยาม่วงและน้ำตะไคร้ ต่างก็มีผลช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้เช่นกันเมื่อเทียบกับก่อนรับการทดลอง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของตะไคร้ในการรักษาเชื้อราในช่องปากยังไม่ปรากฏเป็นที่ชัดเจน และการวิจัยนี้ทำการ ทดลองในกลุ่มผู้ป่วยเอชไอวีจำนวนหนึ่งเท่านั้น จึงควรมีการค้นคว้าในด้านนี้ต่อไป 3) ป้องกันยุงและตัวริ้น ยุง เป็นสัตว์ดูดเลือดและพาหะนำโรคติดต่อจากคนสู่คน หรือจากสัตว์เลือดอุ่นมาสู่คนได้ เช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้เหลือง ไข้สมองอักเสบ ไวรัสซิกา เป็นต้น ส่วนตัวริ้นนั้น เป็นแมลงดูดเลือด ขนาดเล็กเช่นเดียวกับยุง ซึ่งสร้างความรำคาญและนำโรคมาสู่คนได้เช่นเดียวกัน มีการทดลองประสิทธิภาพของตะไคร้ด้วยการทาโลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้ลงบนแขนของผู้ อาสาสมัครทดลอง แล้วให้ผู้ทดลองอยู่ในบริเวณที่มีตัวริ้นชนิด Culicoides Pachymerus อยู่อย่างชุก ชุม โดยทดลองซ้ำ ๆ 10 ครั้ง เพื่อทดสอบประสิทธิผลทางการป้องกันภายใน 3-6 ชั่วโมง ผลการทดลอง พบว่า โลชั่นที่มีส่วนผสมของตะไคร้มีประสิทธิผลทางการป้องกันตัวริ้นชนิดนี้ได้สูงสุดถึงประมาณ 5 ชั่วโมง ส่วนการทดลองถึงประสิทธิภาพของตะไคร้ในการป้องกันยุงก้นปล่องสายพันธุ์ Anopheles Arabiensis ในอาสาสมัครทดลองเพศชาย 3 คน พบว่ายากันยุงที่มีส่วนผสมของตะไคร้มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันยุงได้ยาวนานที่ประมาณ 3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม งานทดลองเหล่านี้เป็นการทดลองขนาดเล็ก แม้ในปัจจุบันจะมีการนำตะไคร้มาเป็นส่วน หนึ่งในผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง แต่ก็ควรมีการศึกษาค้นคว้าถึงประสิทธิผลในด้านนี้ต่อไป เพื่อนำผลลัพธ์ที่ ได้มาปรับประยุกต์ใช้เสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน 4) กำจัดรังแค รังแค เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดกับหนังศีรษะ มีอาการ คือ หนังศีรษะลอกแตกออกเป็นแผ่น ผิวหนังแห้ง และก่อให้เกิดอาการคัน แม้ไม่ได้นำไปสู่อาการป่วยที่เป็นอันตราย แต่รังแคก็เป็นปัญหารัง ควานใจ สร้างความวิตกกังวล และสูญเสียความมั่นใจได้ไม่น้อย


31 ในปัจจุบัน มีแชมพูยาและวิธีการรักษารังแคอย่างหลากหลาย แต่มีงานทดลองหนึ่งในไทยที่ นำเอาน้ำมันสกัดจากตะไคร้มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์น้ำมันบำรุงเส้นผมแต่งกลิ่น 5, 10 และ 15% โดยมีอาสาสมัครทดลองเป็นคนไทยในวัย 20-60 ปี จำนวน 30 คน ผลการทดลองพบว่า ผลิตภัณฑ์ น้ำมันบำรุงเส้นผมแต่งกลิ่นตะไคร้มีประสิทธิผลต่อการลดปริมาณรังแคลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะใน ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของตะไคร้ 10% อย่างไรก็ดี งานทดลองนี้เป็นการทดลองขนาดเล็กในกลุ่มประชากรจำนวนหนึ่งเท่านั้น จึงควรมี การศึกษาค้นคว้าถึงคุณประโยชน์ของตะไคร้ต่อการรักษากำจัดรังแคเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ ผู้บริโภคควร ระมัดระวังในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษารังแคทั้งที่เป็นตัวยาหรือที่มีส่วนผสมของสมุนไพรใด ๆ โดย ปรึกษาแพทย์และเภสัชกร รวมทั้งศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อนการใช้งานเสมอ 5) รักษาโรคเกลื้อน เกลื้อน เป็นการติดเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) บริเวณผิวหนัง โดยปกติ บริเวณผิวหนังของคนเรา จะมีเชื้อราชนิดนี้อาศัยอยู่อยู่แล้ว แต่การติดเชื้ออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้เชื้อราเกิดการ ลุกลาม เช่น อากาศร้อนและชื้น ผิวมัน มีเหงื่อออกมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นต้น ทำให้ปรากฏอาการเป็นผิวหนังเป็นจุดดวงที่มีสี อ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังปกติ มักเกิดขึ้นบริเวณแผ่นหลังหรือหน้าอก เนื่องจากมีสมมติฐานที่ว่าตะไคร้อาจมีประสิทธิภาพในทางการรักษาป้องกันการติดเชื้อจุลชีพได้ จึงมีงาน ทดลองหนึ่งเกิดขึ้นเพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลในเรื่องนี้ โดยให้ผู้ป่วยโรคเกลื้อนรักษาด้วยการทาน้ำมันหอม ระเหยที่สกัดจากตะไคร้เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะคีโตโคนาโซล โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ระยะ ระยะแรกมีผู้ป่วยเข้ารับการทดลอง 20 ราย และมีผู้ป่วยเข้ารับการทดลอง 47 รายในระยะที่ 2 โดยใช้เวลาในการรักษาเป็นเวลาทั้งสิ้น 40 วัน ผลการทดลองพบว่า น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากตะไคร้มีอัตราการรักษาผู้ป่วยโรคเกลื้อนอยู่ที่ ประมาณ 60% ในขณะที่ตัวยาคีโตโคนาโซลมีประสิทธิผลทางการรักษาสูงกว่า คือ อยู่ที่ 80% อย่างไรก็ตาม ข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์เกี่ยวกับ ประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อจุลชีพและความปลอดภัยในการใช้ตะไคร้ในด้านต่าง ๆ ยังคงมีจำกัด และ ยังคงต้องการการศึกษาค้นคว้าต่อไป เพื่อประโยชน์สูงสุดทางการแพทย์และสุขภาพของคนทั่วไปใน อนาคต medthai.com/ตะไคร้/ (2565) ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทย ชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย


32 ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ 1) สรรพคุณของตะไคร้ มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้) มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น) สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด) ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก) น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้ ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด) ใช้เป็นยาแก้อาเจียนหากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้) ช่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้) รักษาโรคหอบหืดด้วยการใช้ต้นตะไคร้ ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก) ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก) ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง Microcrystalline th.helpleft.com/science/what-is-microcrystalline-wax (2565) Microcrystalline wax เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นปิโตรเลียมที่ได้มาเมื่อ petrolatum หรือ ปิโตรเลียมเจลลี่ปราศจากน้ำมัน ผลิตภัณฑ์นี้แตกต่างจากผลิตภัณฑ์แว็กซ์ปิโตรเลียมอื่น ๆ เนื่องจากมี ส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอนที่แตกแขนงหรือไอโซพาราฟินในระดับสูง สิ่งนี้จะทำให้โครงสร้างผลึกของ แว็กซ์นั้นดีกว่าแว็กซ์พาราฟินตัวอย่างเช่นนอกจากจะมีความเหนียวแน่นเข้มขึ้นและละลายที่อุณหภูมิ สูงขึ้น ขี้ผึ้ง Microcrystalline ยังมีคุณสมบัติความยืดหยุ่นและการยึดเกาะที่ดีเนื่องจากโครงสร้างผลึกที่ บางกว่า ขี้ผึ้งถูกนำมาใช้ในการใช้งานที่หลากหลายซึ่งรวมถึงเครื่องสำอางสารประกอบยางเทียนและการ หล่อโลหะ ในระหว่างการปรับแต่งของน้ำมันหล่อลื่นจะมีการผลิตน้ำมันหนักเช่น petrolatum ซึ่งจะถูก กลั่นเพิ่มเติมเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เช่นขี้ผึ้ง microcrystalline ในกรณีของการผลิตขี้ผึ้ง petrolatum หรือ


33 ปิโตรเลียมเจลลี่ตามที่รู้จักกันมากกว่าปกติจะถูกส่งออกนอกสถานที่ไปยังโรงกลั่นขี้ผึ้งเฉพาะสำหรับการ ประมวลผลเพิ่มเติม petrolatum ผ่านกระบวนการขจัดน้ำมันออกเพื่อทำขี้ผึ้ง microcrystalline ณ จุดนี้การไฮโดรโปรเซสต่อไปอาจถูกพิจารณาเพื่อลบกลิ่นตามธรรมชาติและสีออกจากขี้ผึ้ง ผลิตภัณฑ์ สุดท้ายเป็นแว็กซ์ของโครงสร้างผลึกที่มีความยืดหยุ่นที่โดดเด่นความหนืดทนต่ออุณหภูมิและคุณภาพ ของกาว ขี้ผึ้งทั่วไปมีสองเกรด: การเคลือบและการชุบแข็ง แว็กซ์ microcrystalline เกรดลามิเนตนั้น นุ่มกว่าทั้งสองด้วยจุดหลอมเหลว 140 ° -175 ° F (60 ° -80 ° C) ขี้ผึ้งแว็กซ์เกรดที่แข็งตัวจะละลายที่ 175 ° - 200 ° F (80 ° -93 ° C) โดยมีอัตราการเจาะเข็ม 25 หรือต่ำกว่าตรงกันข้ามกับ 25 และสูงกว่า เกรดเคลือบ ความชัดเจนและสีของแว็กซ์อาจมีตั้งแต่สีน้ำตาลเข้มหรือสีฟางจนถึงสีขาวขึ้นอยู่กับ ขอบเขตของกระบวนการปรับแต่ง จุดหลอมเหลวที่สูงขึ้นของขี้ผึ้งแข็งทำให้เหมาะสำหรับกระบวนการ หล่อโลหะโดยเฉพาะในการผลิตเครื่องประดับ ขี้ผึ้งถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในกีฬาเช่นสโนว์บอร์ดและฮ็อกกี้น้ำแข็งที่ใช้เป็นบอร์ดหรือ ขี้ผึ้งเด็กซนและเป็นสารกันบูดเทปแรงเสียดทาน คุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นที่ยอดเยี่ยมทำให้มันเป็น สารเติมแต่งที่ดีเยี่ยมสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมการพิมพ์ที่ใช้เป็นสารกันลื่นในหมึกพิมพ์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอางยังเป็นผู้บริโภคขี้ผึ้ง microcrystalline ปกติซึ่งมีผลิตภัณฑ์มากมายที่เป็น สารเติมแต่งสูตร นอกจากนี้ยังใช้เป็นประจำในอุตสาหกรรมแม่เป็นครีมนวดผมสำหรับผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมอื่น ๆ อีกมากมายแดกดันหนึ่งในนั้นคือปิโตรเลียมเจลลี่ที่มันได้จากการกลั่น; ในแอปพลิเคชั่น นี้จะใช้เพื่อปรับความสอดคล้องและลักษณะการรวมของ petrolatum ขี้ผึ้งยังใช้อย่างกว้างขวางในการ ผลิตเทียนและสารประกอบยางโดยเฉพาะที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ ขี้ผึ้งจาก Microcrystalline ยังเป็นผลพลอยได้ที่เป็นไปได้ของการกลั่นปิโตรเลียมแบบไฮบริดซึ่งควรมั่นใจได้ถึง โอกาสระยะยาวสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์นี้


34 บทที่ 3 วิธีดำเนินการทดลอง การศึกษาค้นคว้าเรื่อง ลิปบาล์มธรรมชาติเป็นการศึกษาค้นคว้าที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการศึกษา ประสิทธิภาพของ ลิปบาล์มธรรมชาติ 5 ด้านดังนี้1) ด้านความปลอยภัยของลิปบาล์มธรรมชาติ2) ด้าน ความชุ่มชื้นของลิปบาล์มธรรมชาติหลังใช้ผลิตภัณฑ์3) ด้านความสวยงามของผลิตภัณฑ์4) ด้านผลลัพธ์ ของลิปบาล์มธรรมชรติหลังใช้ผลิตภัณฑ์5) ด้านภาพรวมของผลิตภัณฑ์ศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ และความพึงพอใจในการใช้ลิปบาล์มธรรมชาติโดยการเก็บรวบรวมข้อมูล การประเมินความพึงพอใจ จากความคิดเห็นของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา ๒ สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต2 ทางแก้ไขปรับปรุง พัฒนาในจุดบกพร่องของลิปบาล์ม ธรรมชาติเพื่อให้ลิปบาล์มธรรมชาติที่จัดทํามีคุณภาพมากที่สุดทำการศึกษาค้าคว้าโดยมีวิธีการและ ขั้นตอนตามลําดับดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เคร่ืองมือท่ีใช้ในการศึกษาค้นคว้า 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 6. วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน นวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา ๒ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต2 กรุงเทพมหานคร จํานวน 55 คน


35 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิธีการสร้างเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้นเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งผู้ศึกษาได้สร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์องค์การ ศึกษา และขอบเขตของการศึกษาซึ่งประกอบด้วยคำถาม 2 ส่วนดังนี้ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับข้อมูลปัจจัย ด้านบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะคำถามเป็นแบบสอบถามปลายปิด (Close Ended Response question) ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพของลิปบาล์ม ธรรมชาติตามความเห็นของ นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร มีลักษณะคำถามเป็นคำถาม มาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับตามวิธีของเคิร์ท (Likert) คือ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนและเกณฑ์การให้คะแนนและเกณฑ์การจัดระดับ ดังนี้ ระดับความคิดเห็น ค่าน้ำหนักคะแนนของตัวเลือกตอบ น้อยที่สุด กำหนดค่าเท่ากับ 1 คะแนน น้อย กำหนดค่าเท่ากับ 2 คะแนน ปานกลาง กำหนดค่าเท่ากับ 3 คะแนน มาก กำหนดค่าเท่ากับ 4 คะแนน มากที่สุด กำหนดค่าเท่ากับ 5 คะแนน เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าร้อยละของคะแนนระดับความเห็นเพื่อจัดระดับคะแนน การศึกษา สภาพการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ กําหนดเป็นช่วงคะแนนดังต่อไปนี้ ช่วงคะแนนร้อยละ 80 คะแนนขึ้นไป = ดีมาก ช่วงคะแนนร้อยละ 70-79 คะแนน = ดี ช่วงคะแนนร้อยละ 60-69 คะแนน = ปานกลาง ช่วงคะแนนร้อยละ 50-59 คะแนน = พอใช้ ช่วงคะแนนร้อยละ 40-49 คะแนน = ปรับปรุง


36 3. เก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ขอความร่วมมือจากนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ในการทำแบบสอบถามเพื่อการ จัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัด ผู้ศึกษานำแบบสอบถามไปแจกด้วยตนเองผ่าน Google form ในระหว่างวันที่ 12-19 กันยายน 2565 ทั้งหมดจํานวน 55 ชุด เมื่อถึงกำหนดวันนัดหมายผู้ศึกษาได้ปิดรับการตอบกลับทาง Google form พร้อมตรวจสอบ ความถูกต้อง ความเรียบร้อย สมบูรณ์ของข้อมูลในการตอบแบบสอบถามในแต่ละชุดและจำนวนข้อมูลที่ ได้รับจํานวน 55 ชุด ผู้ศึกษานำแบบสอบถามหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมในแต่ละสถานศึกษาเพื่อนําไปวิเคราะห์และ แปลผลข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับและ ผู้ศึกษา ค้นคว้านำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้สถิติ วิเคราะห์ดังนี้การวิเคราะห์ที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้ความถี่ร้อยละ ตอนที่ 2 ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับครีมขัดรองเท้าจากเปลือกมังคุดและเปลือกส้ม จำแนกตามสถานภาพ ได้แก่ นักเรียน ครู/อาจารย์บุคคลทั่วไป และเพศ ได้แก่ขาย หญิง 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาค้นคว้าได้วิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปด้วย ระบบคอมพิวเตอร์สถิติที่ใช้คือ สถิติพรรณนาการหาค่าความถี่ร้อยละเฉลี่ยและเบี่ยงเบนมาตรฐานการหาค่าความถี่โดยวิธีนับ คำนวณ สูตรการหาค่าร้อยละ = ∗100


37 6. วัสดุและเครื่องมือ 6.1.1 อุปกรณ์และเครื่องมือหลักที่ต้องใช้ ชนิดอุปกรณ์ จำนวน หม้อ 1 ใบ เตา 1 เตา ช้อนตวงสาร 1 คัน หลอดลิปสติกใส่บรรจุ 12 แท่ง บิกเกอร์ซิลิโคน 1 บิกเกอร์ ถ้วยกระเบื้องขนาดเล็ก 2 ถ้วย ช้อนคนสาร 2 คัน 6.2.2 วัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องจัดหา ชนิดอุปกรณ์ จำนวน น้ำมันโจโจ้บา 1 ช้อนชา ไขผึ้ง ½ ช้อนชา เชียบัตเตอร์ ½ ช้อนชา แคนเดลิลล่า แว็กซ์ ½ ช้อนชา ไมโครคริสตัลไลน์ แว็กซ์ 1 หยิบมือ สมุนไพรแบบผง ½ ช้อนชา


38 วิธีการทดลอง 1. เตรียมส่วนผสม Microcrystalline 1 หยิบมือ ขี้ผึ้ง ½ ช้อนชา Candelilla wax ½ ช้อนชา Shea butter ½ ช้อนชา ลงในชามผสม 2. เติม Jojoba oil 1 ช้อนชา น้ำมันรวม 2 ช้อนชา ลงในชามผสม 3. เติมผงกระเจี๊ยบลงในชามผสม


39 4. ละลายส่วนผสมทั้งหมดแล้วคนให้เข้ากัน 5. นำเทใส่บรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ 6. ตั้งทิ้งไว้ให้ตัวลิปบาล์มแข็งตัว แล้วจึงนำไปทดสอบ 7. ทำตามข้อที่ 1-6 เปลี่ยนจากผงเก๊กฮวยเป็นผงสมุนไพรอื่น ๆ ตามที่เตรียมไว้


40 ผลการทดลอง 1. ผลการศึกษาลิปบาล์มที่ผลิตจากธรรมชาติและผสมสมุนไพร ได้แก่ เก๊กฮวย กระเจี๊ยบ ตะไคร้ หล่อฮังก๊วย ตารางที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของลิปบาล์ม ลิปบาล์ม ลักษณะผิวเนื้อ สี กลิ่น ความมันวาว เก๊กฮวย ผิวเรียบ เนื้อ ละเอียด น้ำตาล อ่อน หอม มันวาว กระเจี๊ยบ ผิวเรียบ เนื้อ ละเอียด ขาว ไม่มี มันวาว ตะไคร้ ผิวเรียบ เนื้อ ละเอียด ขาว หอม มันวาว หล่อฮังก๊วย ผิวเรียบ เนื้อ ละเอียด น้ำตาล อ่อน ไม่มี มันวาว ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพจากผลิตภัณฑ์ลิปบาล์มจากธรรมชาติและลิปบาล์ม จากท้องตลาด ชนิดของลิปบาล์ม ประสิทธิภาพ ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ หลังใช้ผลิตภัณฑ์ สมุนไพร เก๊กฮวย ริมฝีปากแห้งไม่ชุ่ม ชื้น ริมฝีปากชุ่มชื้น กระเจี๊ยบ ริมฝีปากแห้งไม่ชุ่ม ชื้น ริมฝีปากชุ่มชื้น ตะไคร้ ริมฝีปากแห้งไม่ชุ่ม ชื้น ริมฝีปากชุ่มชื้น หล่อฮังก๊วย ริมฝีปากแห้งไม่ชุ่ม ชื้น ริมฝีปากชุ่มชื้น ลิปบาล์มจากท้องตลาด ริมฝีปากแห้งไม่ชุ่ม ชื้น ริมฝีปากชุ่มชื้น


41 บทที่4 ผลการทดลอง การศึกษาค้นคว้าการทำลิปบาล์มจากสมุนไพรในธรรมชาติ ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ทุกคนไม่คิดจะ นำมาใช้ในการทำลิปบาล์ม คณะผู้จัดทำจึงนำสมุนไพรเหล่านี้มาแปรรูปเพื่อให้คนในชุมชนเห็นคุณค่า เห็นคุณค่าของสมุนไพรที่นำมาใช้การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นโครงงา น ประเภทสิ่งประดิษฐ์โดยหลังจากทำผลิตภัณฑ์เสร็จสมบูรณ์แล้วจึงให้บุคคลากรและนักเรียนภายใน โรงเรียนได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์นี้และทำแบบประเมินความพึงพอใจและร่วมกันเสนอข้อเสนอแนะ จำนวนทั้งหมด 55 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ในการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีหัวข้อดังต่อไปนี้ 4.1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ 4.2 วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจต่อลิปบาล์มธรรมชาติของนักเรียนและบุคลากรใน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒


4 7.27 รวมทั้งสิ้น 55 100 อายุ ต่ำกว่า 10 ปี 2 3.63 10-14 ปี 1 1.81 15-19 ปี 51 92.73 20-24 ปี 0 0 25-29 ปี 0 0 มากกว่า 29 ปี 1 1.81 รวมทั้งสิ้น 55 100


ร้อยละ 2. อายุ ผู้ทำแบบสอบถามส่วนมากมีอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 92.73 รองลงมาคือ อายุต่ำกว่า 10 ปี ร้อยละ 3.63 ลำดับสุดท้ายคือ มีอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 1.81 และ มากกว่า 29 ปี ร้อยละ 1.81


44 4.2 วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจต่อลิปบาล์มธรรมชาติของนักเรียนและบุคลากรใน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ตารางที่ 4.2 การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อลิปบาล์มธรรมชาติ ลำดับ รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ ร้อยละ แปลผล ดีมาก (5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1) 1 ความปลอดภัยของ NATURAL BALM 35 16 4 0 0 86.90 ดีมาก 2 NATURAL BALM ใช้ได้จริง 36 14 5 0 0 99.27 ดีมาก 3 ประสิทธิภาพของ NATURAL BALM 30 18 7 0 0 88.36 ดีมาก 4 อาการแพ้จาก NATURAL BALM 0 0 0 13 42 95.27 ดีมาก 5 NATURAL BALM มีการนำวัสดุ ธรรมชาติมาใช้ในการผลิต 34 19 2 0 0 91.63 ดีมาก 6 NATURAL BALM มีการนำวัสดุ ธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 35 15 5 0 0 90.90 ดีมาก 7 NATURAL BALM มีการนำ สมุนไพรจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ 39 14 2 0 0 93.45 ดีมาก 8 สมุนไพรที่ใช้ใน NATURAL BALM สามารถบำรุงปาก 32 17 6 0 0 89.45 ดีมาก 9 ความชุ่มชื้นของ NATURAL BALM 31 18 4 2 0 88.36 ดีมาก 10 ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ บรรจุ NATURAL BALM 37 14 4 0 0 92 ดีมาก รวม 90.76 ดีมาก


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.