[TH] 2021 ANNUAL REPORT OF GOOD NEIGHBORS (THAILAND) FOUNDATION Flipbook PDF

[TH] 2021 ANNUAL REPORT OF GOOD NEIGHBORS (THAILAND) FOUNDATION

8 downloads 126 Views 9MB Size

Recommend Stories


City of Berkeley Annual Report
C i t y o f B e r k e l ey A n n u a l R e p o rt Letter from Phil Kamlarz, City Manager contaminantes. Salud: Nuestro Informe de Salud del 2007 demue

ANNUAL REPORT 1999
MEMORIA ANUAL / ANNUAL REPORT 1999 Brought to you by Global Reports Brought to you by Global Reports 136,7 84,3 0,6 103,5 Total pasivos circulante

Story Transcript

รายงานประจำปี 2564

มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย)

เป้าหมายของเรา เพื่อนบ้านของเราไร้ซึ่งความยากจนและได้รับการเคารพในสิทธิ สามารถอาศัยอยู่ร่วมกับทุกคนในชุมชนได้โดยสามารถพึ่งพาตนเองได้

หลักการพัฒนา 4 ประการ

เราช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่กำลัง ประสบปัญหาความยากจน

เราสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิ มนุษยชนและบทบาทของผู้ คุ้มครองสิทธิ

เราสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ และความสามัคคี

เราเสริมสร้างขีดความสามารถให้ แก่ผู้คน

วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประการ

2

ผู้คนปราศจาก ความหิวโหย

เด็กทุกคนได้รับ การปกป้องคุ้มครอง

ผู้คนพึงพอใจในสิทธิ ในการได้รับการศึกษา

ผู้คนใช้สิทธิในการรักษา พยาบาล

ผู้คนอาศัยอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่มีความยั่งยืน

ผู้คนสร้างชุมชนองค์รวม และชุมชนประชาธิปไตย

ผู้คนสัมฤทธิ์ผล ทางด้านเศรษฐกิจที่เกิด จากความร่วมแรงร่วมใจ

ผู้คนได้รับการคุ้มครอง จากภัยพิบัติ

สารบัญ

5

สาส์นจากผู้อำนวยการประเทศ

6

เราคือใคร

8

เราทำงานที่ไหน

11

การว่าจ้างผู้ช่วยครูสองภาษา

13

การฝึกอบรมจิตวิทยาเด็ก

15

ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1

21

กิจกรรมส่งเสริมความสามารถทาง ด้านการอ่านและเขียน

23

ห้องสมุดสำหรับเด็ก

25

การแบ่งปันคือการดูแลซึ่งกันและกัน

26

ค่าใช้จ่ายสำหรับแต่ละกิจกรรม

3

ภาพลักษณ์แบรนด์

ภาพลักษณ์แบรนด์ของเราแสดงถึงเอกลักษณ์ของกู้ดเนเบอร์ซที่มีต่อสาธารณชนในการดำรงชีวิตประจำวัน

ความเป็นผู้นำ

ความเป็นมืออาชีพ

ความน่าเชื่อถือ

ความโปร่งใส

ความเป็นมิตร

ความเป็นสากล

วิสัยทัศน์ พ.ศ. 2573 (Vision 2030) กู้ดเนเบอร์ซ: เสริมพลังผู้คน เปลี่ยนแปลงชุมชน

EMPOWERING PEOPLE, TRANSFORMING COMMUNITIES เราช่วยให้ผู้คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในฐานะตัวแทนหลักของการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเราเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพที่ไม่ สิ้นสุด เราทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของชุมชนโดยการเปลี่ยนวิธีการมองชุมชน ประเทศ และชุมชนโลก

การต่อยอดการพัฒนาของ GN

พันธมิตรทั่วโลก • แหล่งทรัพยากรทั่วโลก • เครือข่ายทั่วโลก

4

การปฏิบัติตาม SDGs

สาส์นจากผู้อำนวยการประเทศ มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) ได้ดำเนินโครงการการศึกษาในจังหวัดเชียงราย ภาค เหนือของประเทศไทยมาเป็นเวลาถึงห้าปี ผมอยากที่จะแบ่งปันความสำเร็จและกิจกรรมที่ สำคัญของเราในปี 2564 ให้ท่านได้รับทราบ รายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและ ความพยายามของเราได้เป็นอย่างดี มูลนิธิฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย (สพป.เชียงราย)

เขต 1 และ 3 สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการปรับปรุงสภาพ แวดล้อมในการเรียนรู้ของเด็กในโรงเรียน 14 แห่ง ณ จังหวัดเชียงราย และสนับสนุนผู้ช่วย ครูสองภาษาเพื่อให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์สามารถปรับตัวเข้ากับระบบการศึกษาของไทยได้

เป็นอย่างดี เรามีส่วนช่วยในการพัฒนาการรู้หนังสือของเด็กด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมกับเด็ก โดยที่เด็กๆ สามารถสนุกสนานกับการอ่านหนังสือที่ห้องสมุดโรงเรียนที่ได้ รับการปรับปรุงใหม่ของเรา แม้จะมีการระบาดของ COVID-19 ในปี 2564 แต่เรายังคงร่วมมือกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและภารกิจที่เราวางไว้ ด้วยการสนับสนุน จาก Good Neighbors Global Partnership Center เราให้การสนับสนุนชุดอุปกรณ์การเรียน กระเป๋า และรองเท้าแก่เด็กราว 3,000 คน ในอนาคต มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเด็ก เราจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อเสริมสร้างสภาพ แวดล้อมที่เอื้ออำนวยและปลอดภัย ตลอดจนแก้ไขปัญหาของเด็กในชุมชน โดยจะให้การปกป้องและคุ้มครองเด็กชาติพันธุ์ที่มีความ เสี่ยงด้วยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่เชียงราย ด้วยวิสัยทัศน์ของเราที่ว่า 'เสริมพลังผู้คน เปลี่ยนแปลง ชุมชน (EMPOWERING PEOPLE, TRANSFORMING COMMUNITIES)' เรามุ่งมั่นที่จะทำงานเคียงข้างเด็กและชุมชนเสมอ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณจากใจจริงต่อ สพฐ. สพป.เชียงราย เขต 1 และ 3 ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ช่วยครูสองภาษา สมาชิกใน ชุมชนและเครือข่ายต่างๆ ที่สนับสนุนมูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) ด้วยความร่วมมือนี้ เราเชื่อว่า จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิง บวกขึ้นในชุมชน ขอขอบพระคุณครับ

ซอกจุน ฮง ผู้อำนวยการประเทศ

5

เราคือใคร กู้ดเนเบอร์ซ คือ ... องค์กรไม่แสวงหาผลกําไรที่ทํางานเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาระหว่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นในประเทศเกาหลี เมื่อปี 2534 เพื่อทำให้โลกใบนี้ปราศจากความหิวโหยและเป็นโลกที่ผู้คนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว

48

ประเทศเครือข่าย

184

โครงการชุมชน

กู้ดเนเบอร์ซ ดํารงอยู่เพื่อทำให้ โลกใบนี้ปราศจากความหิวโหยและเป็นโลกที่ผู้คนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว

กู้ดเนเบอร์ซ เคารพสิทธิมนุษยชนของเพื่อนบ้านที่กำลังเผชิญกับความยากจน ภัยพิบัติ และการกดขี่ พวกเราช่วยเหลือให้ พวกเขาสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองและสามารถกลับมามีความหวังได้อีกครั้ง

เสริมพลังผู้คน เปลี่ยนแปลงชุมชน

6

มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) คือ ... องค์กรไม่แสวงหาผลกําไรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโครงการการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่ไม่มีโอกาสใน ชุมชน (หนึ่งในวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งมูลนิธิ)

"ประเทศไทยเป็นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ถึง 70 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีภาษาเฉพาะของตัวเอง สถิติเผยว่าเด็กจำนวน มากจากชุมชนเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลบริเวณชายแดน ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบความ สำเร็จในโรงเรียนรัฐบาลน้อยมาก เนื่องจากมีความบกพร่อง ในการใช้ภาษาไทย"

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ มูลนิธิ ฯ ตระหนักว่า มีกลุ่ม

ในปี 2556 กระทรวงศึกษาธิการพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 64,000 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32,000 คน (8% และ 4% ตามลำดับ ของการลง ทะเบียนเรียนในระดับชั้นเหล่านั้น) ไม่รู้หนังสือ"

กลุ่มชาติพันธุ์ในโรงเรียน 14 แห่ง ณ จังหวัดเชียงราย

Gerald W. Fry Education in Thailand An Old Elephant is Search of a New Mahout (หน้า 393 – 394)

การศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมไปสู่การมี

ชาติพันธุ์หลายกลุ่มในจังหวัดเชียงรายที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง และเด็กที่ใช้ภาษาถิ่นตั้งแต่ เกิดต้องเข้าเรียนในโรงเรียนที่ใช้แต่ภาษาไทยเท่านั้น มูลนิธิ ฯ จึงได้สนับสนุนโครงการการศึกษาแก่นักเรียน ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการเรียน รู้และช่วยให้พวกเขาบูรณาการเข้ากับการศึกษาขั้นพื้น ฐานของไทยได้ดีขึ้น

เนื่องจากเด็กทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึง

ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

เราทำงานที่ไหน

มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) ทำงานในโรงเรียนบนพื้นที่สูงจำนวน 14 แห่งในจังหวัดเชียงราย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 อำเภอเมืองเชียงราย โรงเรียนบ้านกกน้อยวิทยา โรงเรียนผาขวางวิทยา โรงเรียนบ้านห้วยแม่เลี่ยม โรงเรียนแม่มอญวิทยา โรงเรียนบ้านรวมมิตร โรงเรียนบ้านจะคือ โรงเรียนผาขวางวิทยา สาขาห้องเรียนบ้านลอบือ

8

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3 อำเภอแม่ฟ้าหลวง โรงเรียนบ้านแม่หม้อ โรงเรียนบ้านจะตี โรงเรียนบ้านผาจี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 87 โรงเรียนบ้านห้วยอื้น โรงเรียนบ้านพญาไพร โรงเรียนโรงเรียนตชด.บ้านนาโต่ (วปรอ.344 อุปถัมภ์)

โรงเรียนในพื้นที่เขต 1 อาจดูเหมือน จะเป็นโรงเรียนที่ อยู่ในเมืองและไม่ได้ประสบปัญหาใด ๆ เช่น มีถนน สัญจรไปโรงเรียน ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษา ที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่มี คุณภาพ ฯลฯ

แล้ว... คนในชุมชนเหล่านี้จะ

แต่ข้อเท็จจริงคือ โรงเรียนเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ สูง ซึ่งเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับคนเมืองในการ มาเยี่ยมโรงเรียนเหล่านี้ ในขณะที่คนในชุมชนที่อยู่ ใกล้เคียงโรงเรียนยากที่จะเข้าถึงสิ่งอำนวยความ สะดวกซึ่งมีเฉพาะในเขตเมืองเท่านั้น

อย่างไร

นอกเหนือจากพื้นที่เขต 1 แล้ว โรงเรียนจากพื้นที่เขต 3 ยังตั้งอยู่ใกล้ชายแดนประเทศพม่าด้วย

จึงเป็นนัย

สำคัญของความจำเป็นที่ต้องให้ความช่วยเหลือด้าน ภาษาเป็นอย่างมาก

อยากให้ทุกคนลองจินตนาการดูว่า เรากำลังศึกษาอยู่ใน โรงเรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่

ใช้ชีวิตอย่างไร นักเรียนจะได้ รับการศึกษาที่เหมาะสมและ มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมได้

แล้ว... เราจะเข้าใจสิ่งที่ครูพูด ได้อย่างไร เมื่อมีข้อสงสัยเรา จะคุยกับครูได้อย่างไร และเรา จะเล่นกับเพื่อนได้อย่างไร ใน เมื่อไม่สามารถสื่อสารกับพวก เขาได้

หมายความว่า เด็กเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะออก จากโรงเรียนกลางคัน

9

ในปี 2564 มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) ได้ให้การ

สนับสนุน นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ในโรงเรียน 14 แห่ง อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และ เราหวังว่านักเรียนในโครงการของเราจะมีความสุขกับชีวิต ในโรงเรียนเพื่อเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้

ในขณะที่คนใน

ท้องถิ่นที่เป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์จะได้มีงานทำใกล้บ้านของ ตนเองโดยการทำงานเป็น โครงการที่เราสนับสนุน

10

ผู้ช่วยครูสองภาษา

ผ่าน

การว่าจ้างผู้ช่วยครูสองภาษา เพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคทางภาษาที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) ได้ว่าจ้างผู้ช่วยครู สองภาษาจำนวน 14 คนที่สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาชาติพันธุ์และภาษาไทยและคุ้นเคยกับวัฒนธรรมท้องถิ่น

14

โรงเรียนในโครงการ

449

นักเรียนชาติพันธุ์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 บูรณาการเข้ากับการศึกษาไทย

เราเชื่อว่าผู้ช่วยครูสองภาษาไม่เพียงแต่ช่วยนักเรียนชาติพันธุ์ ในการลดอุปสรรคทางภาษาที่ขัดขวางไม่ให้พวกเขาสื่อสารกับ ครูคนไทยที่ไม่สามารถพูดภาษาของพวกเขาได้ เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถแสดงออกถึงความต้องการได้

14

สมาชิกจากชุมชน ได้รับการว่าจ้าง

อย่างชัดเจน

ผู้ช่วยครูสองภาษาจะทำให้พวกเขารู้สึกเหมือน

อยู่บ้านเนื่องจากพวกเขาพูดภาษาเดียวกันและเพื่อให้นักเรียน กลุ่มชาติพันธุ์รู้สึกสนุกสนานในขณะที่พวกเขาอยู่ที่โรงเรียนที่ ใช้ภาษาไทย

11

การเข้าใจความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนจะช่วย ทั้งครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผู้ช่วยครูสองภาษาใน การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

12

การฝึกอบรมจิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาเด็กจะช่วยให้ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผู้ช่วยครูสองภาษาเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะของ นักเรียน ช่วยให้พวกเขาทราบว่าควรเริ่มต้นกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ควรทำการจูงใจอย่างไร และควรให้ท่องจำ หรือเรียนรู้อย่างไร

เนื่องจากผู้ช่วยครูสองภาษาส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ใน ด้านการศึกษาและขาดความรู้ในการจัดการนักเรียน ดังนั้น จึงอาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับพวกเขาในขณะที่ช่วยเหลือ นักเรียนที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน

ผู้ช่วยครูสองภาษา

เพื่อช่วยให้นักเรียนชาติพันธุ์ระดับชั้นป.1 ได้เข้าถึงการ ศึกษาไทย เราตระหนักว่าไม่เพียงแต่พัฒนาขีดความ สามารถของผู้ช่วยครูสองภาษาเท่านั้น แต่ครูระดับชั้น ป.1 ยังเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีส่วนสำคัญในกระบวนการ เรียนรู้ของนักเรียนอีกด้วย ดังนั้นเราจึงเชิญชวนให้ครู ระดับชั้นป.1 เข้ารับการอบรมด้วย

ครูประจำชั้นป.1

ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมส่วนใหญ่เป็นผู้ช่วยครูสองภาษาที่ไม่มีประสบการณ์ในด้านการศึกษาและไม่รู้ว่าจะ ช่วยเหลือเด็กอย่างไร ในการฝึกอบรม ผู้ช่วยครูสองภาษาของเราจะได้รับทักษะการจัดการเด็กเพื่อช่วย เหลือนักเรียนในห้องเรียนและช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานอย่างได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจาก นักเรียนในโรงเรียนที่เราให้การสนับสนุนนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาจต้องการการสนับสนุนมากขึ้นเมื่อ พวกเขาเผชิญกับอุปสรรคทางภาษาในโรงเรียนไทย เพื่อช่วยให้นักเรียนเหล่านี้สามารถปรับตัวเข้ากับ การศึกษาของไทยได้ โดยมูลนิธิได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภาส ณ พิกุล อดีตอาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มาเป็นวิทยากรให้กับการอบรมในครั้งนี้ "จากการฝึกอบรมนี้ ฉันได้เพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก ได้เข้าใจลักษณะเฉพาะของนักเรียนทุกคน และเรียนรู้สิ่งที่เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็ก"

นลินทิพย์ ธรรมบัณฑิต ผู้ช่วยครูสองภาษาจากโรงเรียนบ้านจะคือ

13

252

ลาหู่

147

อาข่า

20

ฮ่อ

12

ไทใหญ่ เมี่ยน

5

ลีซอ

4

กะเหรี่ยง

4

ปะหล่อง

2

จีน

2

ม้ง

1 0

100

200

เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ ลาหู่ และ อาข่า

300

มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ

(ประเทศไทย) จึงได้จัดหาผู้ช่วยครูสองภาษาที่สามารถสื่อสารลาหู่หรืออาข่าเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและ ประเมินผลสัมฤทธิ์ต่าง ๆ เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่มนี้เท่านั้น

14

ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบของสพฐ. (แบบทดสอบความสามารถทางวิชาการ) แบบทดสอบของสพฐ. ประกอบด้วยแบบทดสอบ 2 แบบ คือ (1) แบบทดสอบการอ่านและการเขียน ทดสอบ ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ. 2564 และ (2) แบบทดสอบการอ่าน (RT) ทดสอบในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 แบบทดสอบของสพฐ. จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลการเรียนของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่านและ การเขียนซึ่งเป็นรากฐานของกระบวนการเรียนรู้

2563

2564

76%

การอ่าน

75%

จากปี 2563 แม้ว่านักเรียนส่วนใหญ่จะทำแบบทดสอบการ อ่านและการเขียนได้ดี แต่จากผลการทดสอบของ RT ดู

72%

การเขียน

แผนภูมินี้แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ลดลงจาก 1% - 13%

เหมือนว่านักเรียนจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อ

71%

พัฒนาทักษะการอ่าน 58%

RT

45% 0%

20%

40%

(RT ทำการสอบในปี 2565 แต่ถือว่าเป็นการสอบของปีการศึกษา 2564) 60%

80%

ลาหู่

จากผลการทดสอบปรากฎว่า อาข่ามีผลการสอบที่ดี กว่าลาหู่ จากการติดตามและการให้ความช่วยเหลือมา เป็นเวลา 5 ปี พบว่าลาหู่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แยกตัว จากกลุ่มอื่น พวกเขาพูดภาษาลาหู่เมื่ออยู่ที่บ้าน ดังนั้น นักเรียนจึงได้ใช้และฝึกภาษาไทยที่โรงเรียนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นักเรียนลาหู่มีจำนวนมากกว่านักเรียน อาข่ากว่าร้อยคน จึงอาจส่งผลต่อผลการทดสอบได้ เช่นกัน

อาข่า

71% การอ่าน

80%

65%

การเขียน

77%

38%

RT

54% 0%

20%

40%

60%

80%

อย่างไรก็ตาม เราต้องไม่ลืมว่า แบบทดสอบนี้ออกแบบมาเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในด้านทักษะทาง วิชาการและ ผู้ที่ได้รับประโยชน์ของเราในแต่ละปีนั้นแตกต่างกัน ดังนั้น ความสามารถและศักยภาพของนักเรียนแต่ละคนจึง ไม่เหมือนกัน

นักเรียนที่ได้คะแนนน้อยไม่ได้หมายความว่า อ่านหนังสือไม่ออก ในทางกลับกัน ผลการทดสอบการอ่านและการเขียนมีนัยสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าผู้ช่วยครูสองภาษาทั้ง 14 คนของ เรามีความตั้งใจและทำงานหนักเพื่อช่วยให้นักเรียนได้เข้าเรียนในการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย

15

การประสบผลสำเร็จในการทดสอบทางวิชาการแสดงให้เห็นว่า นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ในวัฒนธรรมที่ใช้ ภาษาไทยในการสื่อสารเป็นหลักหรือไม่

16

ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบ GN Customized Test (ทักษะการสื่อสารภาษาไทยขั้นพื้นฐาน) แบบทดสอบนี้จัดทำ เพื่อประเมินทักษะการสื่อสารภาษาไทยขั้นพื้นฐานของนักเรียนด้วยคำศัพท์และสถานการณ์พื้นฐาน ที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นผลการทดสอบนี้จึงไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับผลจากแบบทดสอบของ สพฐ. ได้ โดยจะดำเนินการทดสอบปีละสองครั้งด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน (pre-test) และแบบทดสอบหลังเรียน (post-test) เพื่อดูพัฒนาการของนักเรียนในรอบปีที่ผ่านมา

ทดสอบก่อนเรียน

ทดสอบหลังเรียน

แผนภูมินี้แสดงให้เห็นว่านักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ระดับชั้นป. 1 มีทักษะการฟังดีตั้งแต่แรก ในขณะ เดียวกันพวกเขากลับประสบปัญหาในการสอบข้อ เขียน เนื่องจาก ทักษะการเขียนต้องอาศัยความ เข้าใจในการอ่าน ความสามารถในการออกเสียง คำที่ไม่คุ้นเคย และกลุ่มคำศัพท์ ดังนั้น ผลการ ทดสอบในส่วนนี้จึงต่ำกว่าอีกสองส่วนเพราะต้อง ใช้ทักษะที่จำเป็นหลายอย่าง

55% การอ่าน

82%

19% การเขียน

60%

81% การฟัง

92% 0%

25%

50%

75%

อย่างไรก็ตาม จากผลการทดสอบหลังเรียนพบ ว่าคะแนนเพิ่มขึ้น หมายความว่านักเรียนได้พัฒนา ทักษะการเขียนนับตั้งแต่ตอนเริ่มเปิดการศึกษาที่ หนึ่งจนสิ้นสุดภาคการศึกษาที่สอง

100%

ทดสอบก่อนเรียน

ทดสอบหลังเรียน

80%

79%

76%

60%

26%

ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ในแบบ

ทดสอบ GN Customized Test ไม่มีความแตก

40%

25% 54%

50%

ต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างลาหู่กับอาข่า ซึ่งเป็น สิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสอง กลุ่มสามารถที่จะสื่อสารด้วยภาษาไทยได้และยัง

20%

คงพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง ปีที่ผ่านมา

0%

ลาหู่

อาข่า

17

สิ่งที่เราต้องดำเนินการ คือ การออกแบบกิจกรรมร่วม กับโรงเรียนเพื่อช่วยให้เด็กนักเรียนได้พัฒนาทักษะทาง วิชาการเพื่อให้พวกเขามีผลสัมฤทธิ์ในแบบทดสอบทาง วิชาการที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เราควรตระหนักไว้ว่ากลุ่มเป้าหมายของ เราคือเด็กและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถือ เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาภาคบังคับ

18

1

ความสำคัญของ การรู้หนังสือ

“การขาดทักษะการรู้หนังสือที่สำคัญจะฉุดรั้งให้เกิดภาวะถดถอย ในทุกๆ ขั้นของชีวิต ตอนเป็นเด็กจะไม่สามารถที่จะเล่าเรียนได้จน จบการศึกษา เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะไม่มีโอกาสเลือก งานในตลาดแรงงาน และเมื่อมีครอบครัวก็จะไม่สามารถสนับสนุน ช่วยเหลือการเรียนรู้ของบุตรได้ วัฏจักรจากรุ่นสู่รุ่นนี้ทำให้การ เปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมและความเป็นธรรมในสังคมเป็นไปได้ ยากยิ่งขึ้น” National Literacy Trust 19

ทักษะการรู้หนังสือ สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ทั้งที่ โรงเรียนและที่บ้าน

อย่างไรก็ตาม

ในบริบทของ

นักเรียนกลุ่มชาติพันธ์ุ พวกเขาไม่ได้สื่อสารหรือแทบ จะไม่ได้ใช้ภาษาไทยที่บ้านเลย

นอกจากนี้พวกเขายังมาจากครอบครัวยากจนที่พ่อ

แม่ให้ความสำคัญกับรายได้มากกว่า หมายความว่า นักเรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ เฉพาะที่โรงเรียนเท่านั้น

20

กิจกรรมส่งเสริมความสามารถทางด้านการอ่านและเขียน โครงการนี้ได้ดำเนินงานใน 7 โรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์เอาชนะอุปสรรคทางด้านภาษา พัฒนาทักษะการ อ่านออกเขียนได้ และสร้างความมั่นใจในการสื่อสารเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น

7

โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

1,154

นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

เราเชื่อว่ายิ่งเด็กฝึกฝนมากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะยิ่งเก่งขึ้นมากเท่านั้น โรงเรียนออกแบบกิจกรรมทั้งหมดตามความต้องการของนักเรียน

แม่ฟ้าหลวง

เขต 1 1. โรงเรียนผาขวางวิทยา 2. โรงเรียนบ้านห้วยแม่เลี่ยม 3. โรงเรียนบ้านรวมมิตร 4. โรงเรียนบ้านจะคือ

เมืองเชียงราย

เขต 3 1. โรงเรียนบ้านผาจี 2. โรงเรียนบ้านพญาไพร 3. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บำรุงที่ 87

21

ในการส่งเสริมทักษะการรู้หนังสือของเด็ก สถานที่ที่เราไม่ควรลืมคือ ห้องสมุด

ห้องสมุดที่เป็นมิตรกับเด็ก ในขณะที่โลกของเรากลายเป็นหมู่บ้านโลก (Global Village) ที่ สามารถโต้ตอบกับคนอื่น ๆ ทั่วโลกได้ และเราสามารถเข้าถึง ข้อมูลได้แบบไม่จำกัดจากทุก ๆ ที่ ดังนั้นเราจึงได้รับความรู้ อย่างไม่มีขีดจำกัด

ปัจจุบัน เด็กสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ไม่เพียงแต่ในโรงเรียน เท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป และอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เด็กในชนบทโดยเฉพาะในพื้นที่ราบสูงซึ่งมาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อีก ทั้งยังมีอุปสรรคด้านภาษาอีกด้วย

2

โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

462

นักเรียนชาติพันธุ์

เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้แห่งใหม่

ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ปี 2563 มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) จึงช่วยสนับสนุนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของห้องสมุด ให้ดึงดูดความสนใจและเหมาะสม เพื่อให้เด็กๆ มีแหล่งเรียนรู้และมีบรรยากาศในการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ ในปี 2564 มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) ได้ปรับปรุงห้องสมุดจำนวน 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านห้วยแม่เลี่ยม และ โรงเรียนบ้านผาจี





23

การแบ่งปันคือการดูแลซึ่งกันและกัน เราเชื่อว่า ความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้คนให้มีชีวิตที่ดี ขึ้นนั้นไม่ควรให้การสนับสนุนเฉพาะเพียงแค่การพัฒนา ด้านทักษะเท่านั้น แต่ควรจัดหาอุปกรณ์พื้นฐานเพื่อที่จะ ทำให้เกิดการพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพ

24

การแบ่งปันคือการดูแลซึ่งกันและกัน ในปี 2564 ผู้บริจาคใจดีได้มอบสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในโรงเรียน 14 แห่ง ณ จังหวัดเชียงรายได้รับการ ศึกษาอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่กระจายทั่วภูมิภาค

3,827

450

Good Neighbors USA มอบชุดอุปกรณ์การเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความสุขกับการมาเรียนมากยิ่งขึ้น

40,000

บริษัท ท็อปเท็น บิวตี้ เทรดดิ้ง จำกัด แบ่งปันความสุข และโอกาสโดยการมอบเจลแอลกอฮอล์

บริษัท เซ็นทราน อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) บริจาคหน้ากากอนามัยท่ามกลางสถานการณ์ การระบาดของ COVID-19

25

ค่าใช้จ่ายสำหรับแต่ละกิจกรรม (บาท) การแบ่งปันคือการดูแลซึ่งกันและกัน

2,595,181

การว่าจ้างผู้ช่วยครูสองภาษา

1,782,500

ห้องสมุดสำหรับเด็ก

1,757,151

การส่งเสริมความสามารถทางด้านการอ่านและเขียน

53,872

การฝึกอบรมจิตวิทยาเด็ก

14,000

รวม

การว่าจ้างผู้ช่วยครูสองภาษา 28.74%

6,202,704

ห้องสมุดสำหรับเด็ก 28.33%

การส่งเสริมความสามารถทาง ด้านการอ่านและเขียน 0.87% การฝึกอบรมจิตวิทยาเด็ก 0.22%

การแบ่งปันคือการดูแลซึ่งกันและกัน 41.84%

26

ที่ซึ่งเด็ก ๆ สามารถเติบโตได้อย่างมีความสุข ที่ซึ่งทุกคนสามารถวาดฝันถึงความหวัง

โลกที่ดีที่เราฝันใฝ่คือ โลกที่ทุกคนแบ่งปันและสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้ มืออันอบอุ่นที่กู้ดเนเบอร์ซหยิบยื่นให้ แก่ผู้ด้อยโอกาส เป็นการทำสิ่งเล็กๆ แต่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ทั่วโลก แม้กระทั่งในตอนนี้

เราจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี แก่โลกไปพร้อม ๆ กับกู้ดเนเบอร์ซทั้งหมดทั่วโลก ด้วยความรัก ความมุ่งมั่นตั้งใจ และหัวใจอันหาญกล้า เพื่อเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ

มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) 29 อาคาร Bangkok Business Center ชั้น18 ห้อง 1805 ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110

อีเมล : [email protected] โทรศัพท์ : (+66)2 714 1718

รู้จักเราให้มากขึ้น

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.