วารสารราชทัณฑ์ ฉบับที่ 2-60 Flipbook PDF

วารสารราชทัณฑ์ ฉบับที่ 2-60

41 downloads 108 Views 14MB Size

Recommend Stories


260
Ajustar posición de imagen DocuColor 242/252/260 701P46943 2007 Ajustar posición de imagen Gracias a la característica Ajustar posición de imagen d

Story Transcript

วารสารราชทัณฑ วารสารเพื่ อ ความก า วหน า และรอบรู  ใ นงานราชทั ณ ฑ

สารจากบรรณาธิการ

วัตถุประสงค 1. เพื่อเสริมสร้�งคว�มรู้และทัศนะเกี่ยวกับง�นร�ชทัณฑ์ 2. เพื่อเผยแพร่กิจกรรมเกี่ยวกับง�นร�ชทัณฑ์ 3. เพื่อเปนสื่อกล�งในก�รแสดงคว�มคิดเห็นและแลกเปลี่ยนคว�มรู้ ประสบก�รณ์และปญห�ขัดข้องในก�รบริห�ร

คณะกรรมการอํานวยการวารสารราชทัณฑ • อธิบดีกรมร�ชทัณฑ์ • รองอธิบดีกรมร�ชทัณฑ์ • รองอธิบดีกรมร�ชทัณฑ์ ที่รับผิดชอบ ก�รปฏิบัติร�ชก�รของสถ�บันพัฒน� ข้�ร�ชก�รร�ชทัณฑ์ • หัวหน้�ผู้ตรวจร�ชก�รกรม • ผู้อำ�นวยก�รสำ�นักทัณฑวิทย� • ผู้อำ�นวยก�รสำ�นักทัณฑปฏิบัติ • ผู้อำ�นวยก�รสำ�นักพัฒน�พฤตินิสัย • ผู้อำ�นวยก�รกองคลัง • ผู้อำ�นวยก�รกองบริห�รทรัพย�กรบุคคล • ผู้อำ�นวยก�รกองยุทศ�สตร์และแผนง�น • ผู้อำ�นวยก�รกองกฎหม�ย • ผู้อำ�นวยก�รสถ�บันพัฒน� ข้�ร�ชก�รร�ชทัณฑ์ • หัวหน้�ศูนย์ส่งเสริมและพัฒน�ก�รเรียนรู้

ประธ�นที่ปรึกษ� ที่ปรึกษ� ประธ�นคณะกรรมก�ร อำ�นวยก�ร กรรมก�ร กรรมก�ร กรรมก�ร กรรมก�ร กรรมก�ร กรรมก�ร กรรมก�ร กรรมก�ร บรรณ�ธิก�ร และเลข�นุก�ร ผู้ช่วยบรรณ�ธิก�รและ ผู้ช่วยเลข�นุก�ร

คณะเจาหนาที่ประจํากองบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ • • • • • • • • • • • • • • • •

น�งพรเอื้อง ตรีทอง น�ยปรีช� เครือจันทร์ น�งส�วม�ริส� วิริยะรัมภ์ น�งส�ววีรนุช นิ่มเงิน น�งส�วฑิตฐิต� ธิติธรรมพฤกษ์ น�ยกิตติพงษ์ เกิดน้อย น�งสุวรรณ� ตระกูลพ�นิชย์ น�ยอภิรักษ์ แก้วสวย น�งปรีย� สว่�งเนตร น�ยทิฆัมพร ห่อมกระโทก น�ยธีรศักดิ์ อินทร์ช่วย น�ยสุวิชัย ศรีทองพิมพ์ น�งนฤมล เครือจันทร์ น�งส�วขวัญใจ ไกรสังข์ น�งส�วสุภรภัค พยัคฆ�คม น�งส�วจีระพันธ์ ศรีเสนพิล�

ประจำ�กองบรรณ�ธิก�ร ประจำ�กองบรรณ�ธิก�ร ประจำ�กองบรรณ�ธิก�ร ประจำ�กองบรรณ�ธิก�ร ประจำ�กองบรรณ�ธิก�ร ประจำ�กองบรรณ�ธิก�ร ประจำ�กองบรรณ�ธิก�ร ประจำ�กองบรรณ�ธิก�ร หัวหน้�ก�รเงินและบัญชี เจ้�หน้�ที่ก�รเงินและบัญชี เจ้�หน้�ที่ก�รเงินและบัญชี หัวหน้�พัสดุ เจ้�หน้�ที่พัสดุ พิสูจน์อักษร พิสูจน์อักษร พิสูจน์อักษร

สวั ส ดี ท ่ � นผู ้ อ ่ � นที่ เ ค�รพรั ก ทุ ก ท่ � น ว�รส�รร�ชทั ณ ฑ์ ฉ บั บ นี้ เป น ว�รส�รร�ชทั ณ ฑ์ ข องป ที่ 65 พ.ศ. 2560 ฉบับที่ 2 สำ�หรับเนือ้ ห�ภ�ยใน ของว�รส�รฉบับนีย้ งั คงเปย มไปด้วยส�ระดีๆ ทีเ่ ร�ได้คดั สรร ม�เพื่ อ มอบให้ ท ่ � นผู ้ อ ่ � นเช่ น เดิ ม จะขอเริ่ ม ต้ น ด้ ว ย ก�รแสดงคว�มยินดี และขอต้อนรับท่�นรองอธิบดีคนใหม่ พันตำ�รวจโทประวุธ วงศ์สีนิล โดยก�รนำ�ประวัติก�ร รับร�ชก�รของท่�นม�เสนอแก่ผู้อ่�น รวมถึงบทคว�ม ที่เกี่ยวข้องกับก�รจัดตั้งศูนย์ประส�นง�นและส่งเสริม ก�รมี ง �นทำ � CARE Center ทั้ ง คว�มรู ้ ท �งวิ ช �ก�ร เพื่อก�รพัฒน�และเพิ่มประสิทธิภ�พในก�รปฏิบัติง�น เช่น โครงก�รโรงง�นในเรือนจำ�เพือ่ ก�รพัฒน�สร้�งอ�ชีพ ให้ผู้ต้องขัง และบทคว�มอื่นๆ ที่น่�สนใจอีกม�กม�ย กองบรรณ�ธิก�รหวังเปนอย่�งยิ่งว่�ท่�นผู้อ่�น จะได้รับประโยชน์จ�กก�รเผยแพร่บทคว�มต่�งๆ ที่ได้นำ� เสนอ และท่�นผู้อ่�นหรือผู้สนใจท่�นใดประสงค์จะลง บทคว�มในว�รส�รร�ชทัณฑ์ ส�ม�รถส่งบทคว�มทีเ่ กีย่ วกับ ง�นร�ชทัณฑ์หรือเกี่ยวกับง�นในกระบวนก�รยุติธรรม หรือบทคว�มอื่นๆ ที่เปนประโยชน์ โดยส�ม�รถติดต่อ กองบรรณ�ธิก�รได้ที่ อ�ค�รสถ�บันพัฒน�ข้�ร�ชก�ร ร�ชทัณฑ์ กรมร�ชทัณฑ์ สุดท้�ยนี้ กองบรรณ�ธิก�รต้องขอขอบคุณท่�น สม�ชิกทุกท่�นที่ได้ร่วมกันสนับสนุนก�รสมัครสม�ชิก ว�รส�รร�ชทัณฑ์โดยมียอดจำ�นวนสม�ชิกเพิม่ ขึน้ ม�อย่�ง ต่ อ เนื่ อ ง อี ก ทั้ ง ยั ง เป น กำ � ลั ง ใจให้ กั บ ท�งคณะทำ � ง�น ว�รส�รร�ชทัณฑ์ม�โดยตลอด จึงขอขอบคุณทุกท่�นม� ณ โอก�สนี้ ไพรัตน ขมินทกูล บรรณาธิการวารสารราชทัณฑ

สารบัญ 3 4 10 14

16 24 29 34 41 47 53 57 61 65 70 75 80 86

ประวัติอธิบดีกรมราชทัณฑ์ คณะกรรมการราชทัณฑ์ ข่าวกรมราชทัณฑ์ ข่าวพัฒนาบุคลากร

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�า พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผู้ต้องขัง การจัดท�าสื่อการเรียนรู้ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ดนตรีสามารถพัฒนาผู้ต้องขังเรือนจ�าพิเศษมีนบุรีได้อย่างไร การส่งผู้ต้องขังคืนสู่สังคมของราชทัณฑ์สิงคโปร์ เรื่องเล่า…ประสบการณ์จากการเรียนรู้ ณ สาธารณรัฐเกาหลี สรุปสาระส�าคัญของการสัมมนาเรื่องระบบราชการ 4.0 และ PMQA 4.0 ท้อแท้ ได้ แต่อย่าท้อถอย สรุปย่อค�าวินิจฉัย พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บทความวิชาการ มุมมองต้นกล้าราชทัณฑ์ ยูยิตสูในเรือนจ�า มีด้วยหรือ ? ตอนที่ 1 ตามไปเยือน ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก เรือนจ�าอ�าเภอธัญบุรี เรือนจ�าไทยในอดีต

89 90 100 2 วารสารราชทั ณ ฑ

แบบส�ารวจความคิดเห็นในการจัดท�าวารสารราชทัณฑ์

Good Products Good People ใบสมัครสมาชิกวารสารราชทัณฑ์ ป‚ที่ 66-67 ประจ�าป‚ พ.ศ. 2561-2562

พันต�ารวจโทประวุธ วงศสีนิล รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายปฏิบัติการ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ประวัติการศึกษา มัธยม

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมทหาร (นตท. รุ่นที่ 25) ปริญญาตรี 1. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยต�ารวจ (นรต. รุ่นที่ 41) 2. นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามค�าแหง ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศึกษาอบรม/หลักสูตร -

Computer Crime Investigation Course ประเทศสิงคโปร์ Major Case Management สถาบัน FBI ACADEMY ประเทศสหรัฐอเมริกา การบริหารงานยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 2 ส�านักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม หลักสูตรนักบริหารระดับสูง : ผู้น�าที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส. 1) รุ่นที่ 80 ส�านักงาน ก.พ. โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้บริหารส่วนราชการ (นบส. 2) รุ่นที่ 10 ส�านักงาน ก.พ.

ประวัติการท�างาน ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ - สารวัตรแผนก 4 กองก�ากับการ 2 กองปราบปราม - รองผู้ก�ากับการ 4 กองต�ารวจรถไฟ - รองผู้ก�ากับการ 5 กองปราบปราม กรมสอบสวนคดีพิเศษ โอนย้ายไปกรมสอบสวนคดีพิเศษในปี 2547 - ผู้อ�านวยการส่วนตรวจ 2 ส�านักคดีเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ - ผู้อ�านวยการส่วนคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม 2 - ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ (ระดับ 9) - ผู้บัญชาการส�านักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม - รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ - รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน)

งานด้านวิชาการ - เป็นอาจารย์พิเศษ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท - เป็นที่ปรึกษากรมการทหารช่าง ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินที่ราชพัสดุ - เป็นอาจารย์ประจ�าโรงเรียนส่งก�าลังบ�ารุง กองทัพบก ในการให้ความรู้กับทหารที่ดูแลที่ดินที่ราชพัสดุ - เป็นวิทยากรบรรยายในหลักสูตรต่างๆ ทัง้ ในหน่วยงานกรมสอบสวนคดีพเิ ศษ และหน่วยงานภายนอกหลาย หน่วยงานตามทีไ่ ด้รบั เชิญ ในหัวข้อการสืบสวนสอบสวนในคดีบกุ รุกทีด่ นิ ของรัฐ, เทคนิคการรวบรวมพยาน หลักฐาน วารสารราชทั ณ ฑ 3

คณะกรรมการราชทัณฑ์ ดร.พิมพ์พร เนตรพุกกณะ และณธารา ฐิติธราดล “คณะกรรมการราชทัณฑ์” ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์ฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งหมวด 1 ได้ก�ำหนดให้มีคณะกรรมการ ราชทัณฑ์เพือ่ ก�ำหนดนโยบายทิศทางในการบริหารงานราชทัณฑ์ และปรับปรุงกฎหมาย ให้สามารถแก้ไขบ�ำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง กับทั้งเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอื่น ในการบริหาร จัดการกระบวนงานของกรมราชทัณฑ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคณะกรรมการราชทัณฑ์ชุดแรก หรือ ชุดที่หนึ่ง (ปี พ.ศ. 2561) ประกอบไปด้วยบุคคลส�ำคัญระดับหัวหน้าส่วนราชการและผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งหมด 19 ท่าน ดังนี้

ประธานกรรมการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง)

4 วารสารราชทั ณ ฑ์

รองประธานกรรมการ

ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)

กรรมการโดยต�าแหน่ง (9 ท่าน)

ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ปลัดกระทรวงแรงงาน

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้บัญชาการต�ารวจแห่งชาติ

(นายฉัตรชัย พรหมเลิศ)

(นายจรินทร์ จักกะพาก)

(นายปรเมธี วิมลศิริ)

(นายการุณ สกุลประดิษฐ์)

(นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย)

(พลต�ารวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา)

เลขาธิการส�านักงานศาลยุติธรรม

อัยการสูงสุด

เลขาธิการคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

(นายสราวุธ เบญจกุล)

(นายเข็มชัย ชุติวงศ์)

(นางภิรมย์ ศรีประเสริฐ)

วารสารราชทั ณ ฑ 5

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (7 ท่าน)

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์

(พลต�ารวจเอกวันชัย ศรีนวลนัด)

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาชญาวิทยา ศิลปะ หรือวัฒนธรรม (รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชดั ) (นายเผ่าทอง ทองเจือ)

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัณฑวิทยา (ดร.นัทธี จิตสว่าง)

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน (นายไพฑูรย์ สว่างกมล)

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตวิทยา (นางวัลลี ธรรมโกสิทธิ์)

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการราชทัณฑ์ (รองศาสตราจารย์อภิญญา เวชยชัย)

6 วารสารราชทั ณ ฑ

กรรมการและเลขานุการ

กรรมการและเลขานุการ

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ (พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์)

ผู้ช่วยเลขานุการ

รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายบริหาร (นายอายุตม์ สินธพพันธุ์)

ผู้ช่วยเลขานุการ

รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายปฏิบัติการ (นายธวัชชัย ชัยวัฒน์)

วารสารราชทั ณ ฑ 7

อ�ำนาจหน้าที่ส�ำคัญของคณะกรรมการฯ มีหลายประการ กล่าวคือ ก�ำหนดนโยบายและ ทิ ศ ทางในการบริ ห ารงานราชทั ณ ฑ์ เพื่ อ ให้ สอดคล้ อ งกั บ ภารกิจด้านการราชทัณ ฑ์อย่างมี ประสิทธิภาพ รวมทัง้ พิจารณาให้ความเห็นเกีย่ วกับ การบริหารงานราชทัณฑ์ตามทีค่ ณะรัฐมนตรีขอให้ พิจารณา ให้ค�ำแนะน�ำหรือค�ำปรึกษาแก่รัฐมนตรี ในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ ตามพระราชบัญญัตริ าชทัณฑ์ รวมทัง้ ให้คำ� แนะน�ำ แก่อธิบดี ในการวางระเบียบกรมราชทัณฑ์ ให้ความเห็นชอบกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศต่างๆ ตามที่ก�ำหนด ไว้ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ ก�ำหนดหรือเสนอแนะแนวทาง กลยุทธ์ และมาตรการในการปรับปรุงและพัฒนา การบริหารงานราชทัณฑ์ หรือการด�ำเนินการตามแผนการบริหารงานราชทัณฑ์ให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผ์ ล รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขัง และ การดูแลช่วยเหลือผู้ต้องขังหลังปล่อยเพื่อมิให้กลับไปกระท�ำความผิดซ�้ำอีก และเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี หน่วยงาน ของรัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังและการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องขังหลังปล่อย เพื่อพิจารณา ก�ำหนดมาตรฐานการด�ำเนินการด้านต่างๆ ของเรือนจ�ำให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ และปฏิบัติการอื่น ตามที่ก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์หรือกฎหมายอื่น

8 วารสารราชทั ณ ฑ์

ดังนั้น หากจะสรุปโดยย่อ คือ ต่อไปนี้ นโยบายและการด�ำเนินงานใดๆ ที่ส�ำคัญ ของกรมราชทัณฑ์ ตลอดจนกฎหมายหลัก และระเบี ย บที่ จ ะบั ง คั บ ใช้ จะต้ อ งผ่ า น การพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนนั่นเอง ทั้งนี้ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ยังก�ำหนดให้คณะกรรมการฯ แต่ ง ตั้ ง คณะอนุ ก รรมการเพื่ อ พิ จ ารณา วิ นิ จ ฉั ย หรื อ ปฏิ บั ติ ก ารอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ก็ได้ คณะกรรมการฯ จะสามารถประชุมได้ ไม่เกินเดือนละ 1 ครั้ง โดยกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิในคณะกรรมการราชทัณฑ์ชุดที่ 1 นี้ จะมีวาระด�ำรงต�ำแหน่ง 3 ปี เมือ่ ครบก�ำหนด แล้วกรมราชทัณฑ์จะได้ด�ำเนินกระบวนการ สรรหาและแต่งตัง้ ผูท้ รงคุณวุฒทิ งั้ 7 ด้านใหม่ อีกครั้ง การมี ค ณะกรรมการราชทั ณ ฑ์ จะช่ ว ยส่ ง ผลถึ ง แนวโน้ ม การพั ฒ นางาน ราชทัณฑ์ในภาพรวม ด้วยเหตุที่นับจากนี้ กรมราชทัณฑ์จะสามารถก�ำหนดนโยบาย การบริหารงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รบั มุมมองและข้อเสนอแนะแนวทางทีร่ อบด้านจากทัง้ ผูแ้ ทนหน่วยงาน ส�ำคัญและผูท้ รงคุณวุฒใิ นด้านทีเ่ กีย่ วข้องทีม่ คี วามรู้ ความสามารถ ประสบการณ์อนั เป็นทีย่ อมรับ อีกทัง้ เป็นการผสาน ความร่วมมือและเปิดโอกาสให้หน่วยงานอื่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและการยอมรับต่อผู้พ้นโทษ การด�ำเนินงานทั้งหมดที่กล่าวมาจึงถือเป็นมิติใหม่ของกรมราชทัณฑ์ ตามบทบัญญัติของกฎหมายใหม่ ซึ่งบุคลากรกรมราชทัณฑ์ทุกคนควรทราบไว้

วารสารราชทั ณ ฑ์ 9

วันที่ 9 มีนาคม 2561 นางสาวเพลินใจ แต้เกษม รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายพัฒนาพฤตินสิ ยั เป็นประธาน ในพิธเี ปิดการสัมนาเจ้าหน้าทีป่ ระจ�าศูนย์ประสานงานและ ส่งเสริมการมีงานท�า (CARE : Center of Assistance to Reintegration and Employment) จัดโดย กองพัฒนา พฤตินสิ ยั กรมราชทัณฑ์ มีขา้ ราชการ/เจ้าหน้าที่ เรือนจ�า/ ทัณฑสถาน ทัว่ ประเทศ จ�านวน 137 แห่ง เข้าร่วมสัมมนา ณ ห้องสัมมนา กรมราชทัณฑ์ ชั้น 3 อาคารกรมราชทัณฑ์

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 พันต�ารวจเอกณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดี กรมราชทัณฑ์ เป็นประธานในพิธเี ปิดการแข่งขันกรีฑาอาเซียน ครัง้ ที่ 20 โดยจัดขึน้ ระหว่างวันที่ 12 - 16 มีนาคม 2561 ณ สนามติณสูลานนท์ และสนามกอล์ฟ เซาเทิรน์ ฮิลกอล์ฟ จังหวัดสงขลา โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เป็นการเชือ่ มสัมพันธ์ระหว่าง กรมราชทัณฑ์ในประเทศสมาชิก อาเซียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ด้านราชทัณฑ์ และพัฒนาทักษะ ด้ า นกรี ฑ าของข้ า ราชการสั ง กั ด ราชทั ณ ฑ์ ในประเทศสมาชิ ก อาเซียนซึ่งประเทศสมาชิกได้ผลัด เปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ

10 วารสารราชทั ณ ฑ

ข‹าวกรมราชทัณฑ

วั น ที่ 26 มี น าคม 2561 พิ ธี ล งนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงว่ า ด้ ว ยการประสานความร่ ว มมื อ (MOU) “โครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผูต้ อ้ งขัง” ระหว่างกรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมราชทัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ณ ทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษ จังหวัดปทุมธานี กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม

วันที่ 2 เมษายน 2561 พลอากาศเอกประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง ยุติธรรม พลต�ารวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรี ว่ า การกระทรวงแรงงาน เดิ น ทางเข้ า ตรวจเยี่ ย ม ทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี พร้อมบันทึกเทป การให้ สั ม ภาษณ์ ร ายการ “เดิ น หน้ า ประเทศไทย” ตาม “โครงการประชารัฐร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพให้ ผู้ต้องขัง” โดยมี พันต�ารวจเอกณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และคณะผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ ให้การต้อนรับ ณ ทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี

วารสารราชทั ณ ฑ 11

เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2561 กรมราชทัณฑ์ จัดพิธีรดน�้าขอพรเนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์ โดยมี พันต�ารวจเอกณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานในพิธีกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน และเรียนเชิญอดีตผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ผู้อาวุโสสูงสุด กล่าวให้พรแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ณ ห้องสัมมนากรมราชทัณฑ์ ชั้น 3

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2561 พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุตธิ รรม เป็นประธานในพิธเี ปิดการแข่งขันกีฬา ภายในกระทรวงยุติธรรม ประจ�าปี พ.ศ. 2561 โดยมี ศาสตราจารย์พเิ ศษวิศษิ ฏ์ วิศษิ ฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวง ยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงยุติธรรม และพันต�ารวจเอกณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เข้ า ร่ ว มพิ ธี ดั ง กล่ า ว ณ สนามอิ น ทรี จั น ทรสถิ ต ย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 12 วารสารราชทั ณ ฑ

ข‹าวกรมราชทัณฑ

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�าเนินทรงเปิด “ห้องสมุดพร้อมปัญญา” เพือ่ สร้างความตระหนักในการพัฒนาห้องสมุดให้ได้มาตรฐานเป็นแหล่งเรียนรูท้ สี่ ร้างประโยชน์ แก่เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังต่อไป ณ ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

พั น ต� า รวจเอกณรั ช ต์ เศวตนั น ทน์ อธิ บ ดี กรมราชทัณฑ์ ร่วมกับ Mr.Mohammad Toghi Soltan Mohammadi ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตอิสลาม แห่ ง อิ ห ร่ า นประจ� า ประเทศไทย จั ด พิ ธี โ อนตั ว นั ก โทษ เด็ดขาดสัญชาติอิหร่าน จ�านวน 2 ราย เพื่อกลับไปรับโทษ ต่อยังสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ณ เรือนจ�ากลาง คลองเปรม วารสารราชทั ณ ฑ 13

ข‹าวพัฒนาบุคลากร หลักสูตรขŒำรำชกำรรำชทัณฑบรรจุใหม่ (แรกรับ) ด�าเนินการฝึกอบรมระหว่างวันที่ 22 มกราคม - 23 มีนาคม 2561

รุน่ ที่ 139

มีผู้เข้ารับการอบรม จ�านวน 115 คน ณ ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ประจ�า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ�าเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

รุน่ ที่ 140

ผู้เข้ารับการอบรม จ�านวน 99 คน ณ ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ประจ�า ภาคเหนือ อ�าเภอเมืองล�าปาง จังหวัดล�าปาง

รุน่ ที่ 141

มีผู้เข้ารับการอบรม จ�านวน 150 คน ณ ศูนย์ฝึกยุทธวิธีต�ารวจกลาง (หนองสาหร่าย) อ�าเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

14 วารสารราชทั ณ ฑ

อบรมหลักสูตร ภำษำยำวีและวัฒนธรรมมุสลิม ส�ำหรับเจŒำหนŒำที่เรือนจ�ำในพื้นที่จังหวัดชำยแดนใตŒ ด�าเนินการฝึกอบรมระหว่างวันที่ 18 - 22 ธันวาคม 2560 มีผู้รับการฝึกอบรม 30 คน ณ ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการ ราชทัณฑ์ประจ�าภาคใต้ เรือนจ�ากลางสงขลา อ�าเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

กำรอบรมหลักสูตร นักบริหำรงำนเรือนจ�ำระดับหัวหนŒำฝ†ำย (นบฝ.) ฝ†ำยบริหำรทั่วไป ด�าเนินการฝึกอบรมระหว่างวันที่ 12 – 23 กุมภาพันธ์ 2561 มีผู้รับการฝึกอบรม 50 คน ณ สถาบันพัฒนาข้าราชการ ราชทัณฑ์ อ�าเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

อบรมหลักสูตรครูฝƒกรำชทัณฑระดับตŒน ด�าเนินการฝึกอบรมระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 25 พฤษภาคม 2561 รุ่นที่ 3 มีผู้รับการฝึกอบรม 60 คน ณ กองก�ากับการ 7 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการต�ารวจตระเวนชายแดน ค่ายศรียานนท์ อ�าเภอชะอ�า จังหวัดเพชรบุรี

วารสารราชทั ณ ฑ 15

ศูนย์ประสานงาน และส่งเสริมการมีงานท�า

CARE

Center for Assistance to Reintegration and Employment เบ็ญจมาส ศรีประวัติ กองพัฒนาพฤตินิสัย

16 วารสารราชทั ณ ฑ

กระทรวงยุติธรรม มีนโยบายเน้นหนักในการคืนคนดีสู่สังคม โดยการให้หน่วยงานในกระทรวง ยุติธรรมบูรณาการการท�ำงานเพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพผู้กระท�ำผิดอย่างยั่งยืน ซึ่งกรมราชทัณฑ์ โดยท่านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ พันต�ำรวจเอกณรัชต์ เศวตนันทน์ ได้มนี โยบายในการจัดตัง้ ศูนย์ประสานงาน และส่งเสริมการมีงานท�ำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือผู้ต้องขัง และผู้พ้นโทษให้มีงานท�ำ ทั้งใน ขณะต้องโทษในเรือนจ�ำ และการน�ำความรู้จากการอบรมวิชาชีพ การฝึกอาชีพระยะสั้นระหว่าง ที่อยู่ในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน ไปประกอบอาชีพสุจริตภายหลังพ้นโทษ รวมทั้ง เป็นศูนย์ประสานงานและให้ความช่วยเหลือผูพ้ น้ โทษในด้านต่างๆ เพือ่ ด�ำเนินการ ตามนโยบาย 3 ส. 7 ก. ของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ในการคืนคนดีสู่สังคม มุ่งเน้น ให้ ผู ้ พ ้ น โทษมี อ าชี พ มี ง านท� ำ ภายหลั ง พ้ น โทษ สามารถช่ ว ยเหลื อ ตนเอง ไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม และไม่กลับมากระท�ำผิดซ�้ำ

กรมราชทัณฑ์ จึงได้กำ� หนดให้เรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน ทั่วประเทศ 137 แห่ง (ยกเว้นสถานกักขัง และสถานกักกัน) ด�ำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) ตัง้ แต่วนั ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 โดยก�ำหนด บทบาทภารกิจ หน้าที่ของศูนย์ CARE ในการเป็นหน่วยงาน ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารกั บ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ผู ้ พ ้ น โทษ และญาติ ในการให้ ความช่วยเหลือด้านการมีงานท�ำเป็นหลัก เช่น การติดต่อ กับบริษัท ห้างร้าน ที่ยินดีรับผู้พ้นโทษเข้าท�ำงาน การหา ต�ำแหน่งงานว่างทีเ่ หมาะสม เพือ่ รองรับผูต้ อ้ งขังทีจ่ ะพ้นโทษ การให้คำ� แนะน�ำ การให้คำ� ปรึกษา การประสานงานในการให้ ความช่ ว ยเหลื อ ในการขอรั บ ทุ น ประกอบอาชี พ จาก แหล่งทุนต่างๆ และการให้ความช่วยเหลือในด้านอืน่ ๆ ให้กบั ผูร้ บั บริการตามความเหมาะสม เพือ่ เป็นการตอบสนองนโยบาย รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรมในการให้ ศู น ย์ CARE ท�ำหน้าทีใ่ นการประสานงานและให้การสงเคราะห์ชว่ ยเหลือ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ ไม่ ใ ห้ ผู ้ พ ้ น โทษออกไปสร้ า งปั ญ หา ความเดือดร้อนให้กับสังคมอีกต่อไป วารสารราชทั ณ ฑ์ 17

ในการนี้ กรมราชทัณฑ์ จึงได้วางแนวทางและกรอบบทบาทหน้าทีข่ องศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ ในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน เพือ่ ให้การด�ำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถตอบสนองต่อนโยบายของผูบ้ ริหาร ดังนี้ 1) ด�ำเนินการประชาสัมพันธ์วัตถุประสงค์ในการด�ำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำให้ กับผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษ ผู้พ้นโทษ ตลอดจนญาติ เพื่อขอรับการประสานงานช่วยเหลือได้ 2) ด�ำเนินการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน เพื่อจัดท�ำข้อมูลผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษ ในช่วงระยะเวลาก่อนปล่อยตัว 1 ปี หรือในช่วงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ทั้งผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัว พักการลงโทษและลดวันต้องโทษจ�ำคุก และผูท้ จี่ ะได้รบั การปล่อยตัวตามก�ำหนดโทษ เพือ่ วางแผนและประสานหน่วยงาน บริษทั ห้างร้าน หรือสถานประกอบการทีย่ นิ ดีรบั ผูพ้ น้ โทษเข้าท�ำงาน หรือการน�ำบริษทั ห้างร้าน หรือสถานประกอบการ เข้ามาเสริมการฝึกทักษะอาชีพทีจ่ ำ� เป็นต้องได้รบั การฝึกฝนขณะอยูใ่ นเรือนจ�ำ เพือ่ เตรียมพร้อมในการออกไปประกอบ อาชีพ หรือวางแผนและประสานการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ 3) ติดต่อประสานงานและจัดท�ำข้อมูลท�ำเนียบหน่วยงานเครือข่าย ด้านการท�ำงาน การให้การสงเคราะห์ชว่ ยเหลือในด้านต่างๆ ตามสภาพ ปัญหาของผู้ต้องขัง กับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดของเรือนจ�ำ เพื่อรวบรวมท�ำเนียบหน่วยงาน เครือข่ายไว้เป็นข้อมูลในการประสานงานการให้ความช่วยเหลือ 4) รับค�ำร้องขอรับความช่วยเหลือด้านการมีงานท�ำและด้านต่างๆ ให้กบั ผูต้ อ้ งขังทีใ่ กล้พน้ โทษ และผูพ้ น้ โทษ และด�ำเนินการประสานงาน การให้ความช่วยเหลือ 5) การให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำด้านการด�ำเนินชีวิตภายหลังพ้นโทษ และด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสม 6) เป็นศูนย์กลางในการประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพือ่ ให้ความช่วยเหลือกรณีเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน ไม่สามารถด�ำเนินการ ให้ความช่วยเหลือได้ 7) การแต่งตั้งคณะท�ำงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการ มีงานท�ำ โดยผูบ้ ญั ชาการเรือนจ�ำ/ผูอ้ ำ� นวยการทัณฑสถาน ต้องมอบหมาย และก�ำชับให้ทุกส่วน/ฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือและให้ความ 18 วารสารราชทั ณ ฑ์

ส�ำคัญกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ร่วมเป็นคณะท�ำงานฯ ต้องมีส่วนร่วมและมีหน้าที่ชัดเจน เพื่อลดภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่ง 8) ประชาสัมพันธ์ภารกิจของศูนย์ฯ เพือ่ ให้ผรู้ บั บริการ (ผูต้ อ้ งขัง ผูพ้ น้ โทษและญาติ) สามารถเข้าถึงข้อมูลและ เข้าใจภารกิจหน้าทีข่ องศูนย์ฯ และเตรียมตนเองให้พร้อมก่อนเข้ารับบริการ การประชาสัมพันธ์อาจท�ำได้หลายช่องทาง เช่น การจัดท�ำแผ่นพับ เอกสาร ป้ายประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์โดยเจ้าหน้าที่ ฯลฯ เพื่อเผยแพร่ภารกิจ ของศูนย์ฯ ข้อมูลต�ำแหน่งงานว่าง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการมีงานท�ำ ทั้งภายในและภายนอกเรือนจ�ำ เพื่อให้ผู้รับบริการได้มีการเตรียมข้อมูล เตรียมเอกสารก่อนที่จะเข้ามารับบริการในศูนย์ CARE เพื่อให้มีความรวดเร็ว เป็นการลดขั้นตอน ประหยัดเวลาในการให้บริการ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจให้กับผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ ในภารกิจของศูนย์ CARE ว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านการมีงานท�ำ เป็นการท�ำงานเชิงรุก เนื่องจากผู้ต้องขัง มักจะไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว พร้อมทั้งให้ผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษ (ภายในระยะเวลา 1 ปี) กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มก่อนปล่อยตัว เพื่อเป็นข้อมูลให้ศูนย์ CARE วางแผนในการให้ความช่วยเหลือ 9) การสร้างช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าทีป่ ระจ�ำศูนย์ฯ ควรมีมากกว่า 1 ช่องทาง (แก้ไขปัญหาการไม่มเี จ้าหน้าที่ นัง่ ประจ�ำศูนย์ฯ) เช่น หมายเลขโทรศัพท์ แอพพลิเคชัน่ ไลน์ เฟซบุก๊ ฯลฯ เพือ่ เพิม่ ช่องทางในการติดต่อของผูร้ บั บริการ ซึ่งสามารถฝากข้อความ ฝากหมายเลขโทรศัพท์ให้โทรกลับ หรือฝากประเด็นปัญหาไว้ให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่นั่งประจ�ำ 10) จัดท�ำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายในระดับท้องที่ หรือจัดประชุมหารือ ท�ำการ ประสานงานด้วยหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเพิ่มความชัดเจนของการประสานงาน การส่งต่อข้อมูล การส่งต่อ ผู้รับบริการเพื่อขอรับความช่วยเหลือ เพราะถึงแม้จะมีการท�ำบันทึกความตกลงร่วมกัน (MOU) ของหน่วยงานระดับ กระทรวง หรือระดับกรม แต่พบว่าหน่วยงานภายใต้การดูแลของกระทรวงหรือกรมต่างๆ ในระดับพื้นที่ไม่ได้ให้ ความส�ำคัญ หรือบางแห่งยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการท�ำข้อตกลงการน�ำนโยบายไปสู่การปฏิบัติยังกระจายไม่ทั่วถึง นอกจากการวางแนวทางการด�ำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำให้กับเรือนจ�ำ/ ทัณฑสถาน ทั่วประเทศแล้ว กรมราชทัณฑ์ยังมีแผนในการยกระดับมาตรฐานการด�ำเนินงานภายใต้การก�ำกับดูแล ของกองพัฒนาพฤตินสิ ยั ซึง่ เป็นหน่วยงานกลางทีค่ อยให้คำ� แนะน�ำปรึกษา และผลักดันให้ศนู ย์ประสานงานและส่งเสริม การมีงานท�ำ สามารถตอบสนองต่อนโยบายของผู้บริหารและนโยบายของกระทรวงยุติธรรม นั่นคือสามารถให้ความ

วารสารราชทั ณ ฑ์ 19

ช่วยเหลือผู้พ้นโทษ หรือผู้ต้องขังที่ใกล้จะพ้นโทษ ได้รับความ ช่ ว ยเหลื อ ด้ า นการมี ง านท� ำ การเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล แหล่ ง งาน ต�ำแหน่งงานว่าง สามารถมีอาชีพ มีรายได้รองรับระหว่างทีอ่ ยู่ ภายในเรือนจ�ำและภายหลังพ้นโทษ โดยมีหน่วยงานทีค่ อยดูแล ให้ความช่วยเหลือได้โดยตรง ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำส่วนกลาง กรมราชทัณฑ์ (กองพัฒนาพฤตินิสัย โดยส่วนสวัสดิการและ สงเคราะห์ผู้ต้องขัง) จะด�ำเนินงานในภาพรวมระดับนโยบาย เพื่ อ ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ ศู น ย์ CARE ในเรื อ นจ� ำ / ทัณฑสถาน สามารถด�ำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งได้ดำ� เนินการ ดังนี้ 1) แต่งตั้งคณะท�ำงานศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำของส่วนกลาง กรมราชทัณฑ์ มีอ�ำนาจหน้าที่ ในการก�ำกับดูแล ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ คิดค้นนวัตกรรม ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอก เพือ่ ส่งเสริมสนับสนุนให้การด�ำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถานทัว่ ประเทศ บรรลุวัตถุประสงค์ที่กรมราชทัณฑ์ก�ำหนด 2) ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ เกี่ยวกับการด�ำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ ผ่านช่องทาง แอปพลิเคชั่น ไลน์ ชื่อกลุ่ม “ศูนย์ประสานงาน CARE 1” และ “ศูนย์ประสานงาน CARE 2” และทางโทรศัพท์ กรณีที่เจ้าหน้าที่ประจ�ำศูนย์ CARE ต้องการขอรับความช่วยเหลือ ด้านการประสานงาน การส่งต่อข้อมูล หรือมีปัญหา ข้อสงสัยด้านอื่นๆ

20 วารสารราชทั ณ ฑ์

3) จัดท�ำศูนย์กลางข่าวสารข้อมูล (Web Page) เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านการมีงานท�ำของบุคคล หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับบริการ (ผู้พ้นโทษ ญาติ) ผู้ประสานงาน (เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ประสานงานและส่งเสริม การมีงานท�ำของเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน ทั่วประเทศ และผู้ประสานงานส่วนกลางกรมราชทัณฑ์) หน่วยงานเครือข่าย ที่ให้การสนับสนุน (หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน บริษัท ห้างร้าน) และประชาชนที่สนใจ ข้อมูลที่มีความจ�ำเป็น และส�ำคัญในระบบฐานข้อมูล ได้แก่

สามารถติดตามข่าวสาร ข้อมูล และกิจกรรมการด�ำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำได้ที่ http://www.correct.go.th/care/care/index.php 3.1 ข้อมูลรายชื่อหน่วยงาน ผู้ประกอบการที่มีต�ำแหน่งงานว่าง และมีความต้องการพนักงาน ลูกจ้าง และยินดีรับผู้พ้นโทษเข้าท�ำงาน 3.2 ข้อมูลการยกระดับมาตรฐานการฝึกวิชาชีพของเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน (หลักสูตรการฝึกวิชาชีพ อาชีพที่เปิดการอบรม/จ�ำนวนผู้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย) 3.3 จ�ำนวนและข้อมูลของผู้พ้นโทษที่ลงทะเบียนพร้อมเข้าท�ำงาน วุฒิการศึกษา ความสามารถพิเศษ หรือคุณสมบัติอื่นๆ เพื่อให้สถานประกอบการหรือนายจ้างพิจารณา 3.4 ข้อมูลช่องทางการให้ความช่วยเหลือ แหล่งทุนประกอบอาชีพ วิธีการ ขั้นตอน ในการขอรับ การสงเคราะห์ช่วยเหลือ 3.5 ข้อมูลด้านการประสานส่งต่อของหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมคุมประพฤติ กรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน สมาคมองค์การบริหารส่วนต�ำบล สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตลอดจนบริษัท ห้างร้าน และสถานประกอบการภาคเอกชนต่างๆ 3.6 ข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการประสานงานการให้ความช่วยเหลือด้านการมีงานท�ำ และด้านอื่นๆ 3.7 ข้อมูลสถิติผู้เข้าใช้บริการในศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ 3.8 ข้อมูลอื่นๆ วารสารราชทั ณ ฑ์ 21

4) ยกระดับมาตรฐานการด�ำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ โดยสนับสนุนชุดอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ส�ำนักงานให้กับศูนย์ CARE ของเรือนจ�ำ/ทัณฑสถานแห่งละ 1 ชุด ส�ำหรับใช้ในการรายงานผลสถิติข้อมูล แบบเรียลไทม์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การบันทึกข้อมูลลงในระบบข้อมูลผู้ต้องขังผ่าน MENU CARE การสืบค้นข้อมูล ของหน่วยงานภาคีเครือข่าย การติดต่อขอรับข้อมูล การประสานงาน ช่วยลดขัน้ ตอนการท�ำงานของเจ้าหน้าทีโ่ ดยเฉพาะ งานด้านเอกสาร ท�ำให้การด�ำเนินงานมีความสะดวก รวดเร็ว ตอบสนองการท�ำงานในสังคมดิจิทัล และสังคม แห่งเทคโนโลยี ซึ่งทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา เป็นการบริหารจัดการข้อมูลให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 และไทยนิยมยั่งยืน อันเป็นการบูรณาการของรัฐบาล ทุกกระทรวง ทั้งงานระดับนโยบาย และงานตามภารกิจของหน่วยงาน 5) การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ประจ�ำศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ เพื่อให้สามารถท�ำหน้าที่ ผูป้ ระสานงานและผูใ้ ห้ความช่วยเหลือด้านการมีงานท�ำ ตามวัตถุประสงค์ของศูนย์ CARE ซึง่ ผูป้ ฏิบตั หิ น้าทีป่ ระจ�ำศูนย์ฯ จะต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับเครือข่ายด้านการประกอบอาชีพ สถานประกอบการ ห้างร้าน เครือข่ายภาคสังคม ที่สามารถให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายได้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ประจ�ำศูนย์ CARE จะต้องมี Service Mind และ ความเสียสละพร้อมทัง้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการช่วยเหลือจึงจะท�ำให้การด�ำเนินงานประสบความส�ำเร็จ ทัง้ นี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กองพัฒนาพฤตินิสัย ได้จัดท�ำโครงการสัมมนาเจ้าหน้าที่ประจ�ำศูนย์ประสานงานและ ส่งเสริมการมีงานท�ำ เพือ่ สร้างความรูค้ วามเข้าใจและทิศทางการด�ำเนินงานให้เป็นในทิศทางเดียวกัน โดยในปีงบประมาณ ต่อไป จะได้มีโครงการพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์ CARE อย่างต่อเนื่อง

22 วารสารราชทั ณ ฑ์

นับตัง้ แต่มกี ารเปิดศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถานทัว่ ประเทศ จ�ำนวน 137 แห่ง มีสถิติผู้เข้าใช้บริการ ดังนี้

ข้อมูลการเข้าใช้บริการศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ (CARE) ข้อมูล ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2561 สถิติเดิม

สถิติเพิ่มเติม (15 มิ.ย. 21 มิ.ย. 61)

(15 ก.พ. 21 มิ.ย. 61)

หมายเหตุ

1. การลงทะเบียนเข้าใช้บริการ (คน)

17,298

863

18,161

2. จ�ำนวนผู้เข้าใช้บริการ (คน)

16,944

704

17,648

3. ประเภทของการให้บริการ (รวม/คน)

20,280

842

21,122

3.1 จ้างงาน (คน) 3.1.1 ได้รับการจ้าง 316 คน 3.1.2 ขอข้อมูลแหล่งงาน 2,556 คน

2,780

92

2,872

3.2 การให้ค�ำปรึกษา (คน)

8,867

350

9,217

ในระหว่างวันที่ 15 มิ.ย. ถึงวันที่ 21 มิ.ย. 2561 มีผู้ใช้บริการในศูนย์ CARE แยกตามกลุ่มได้ดังนี้ 1. ผู้ต้องขัง จ�ำนวน 280 คน 2. ผูพ้ น้ โทษ จ�ำนวน 254 คน 3. ญาติ+อืน่ ๆ จ�ำนวน 170 คน รวมทั้งสิ้น 704 คน

3.3 การให้การสงเคราะห์ดา้ นต่างๆ (คน)

8,633

400

9,033

รายละเอียด ตามแบบฟอร์มการรายงาน

(15 ก.พ. 14 มิ.ย. 61)

รวมทั้งสิ้น

การด�ำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ จะประสบความส�ำเร็จเป็นไปตามนโยบายของ กระทรวงยุติธรรมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนของผู้บริหารทั้งในระดับกรม และระดับเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน พร้อมทั้งต้องได้รับความร่วมมือจากภาคสังคมในการให้โอกาสและยอมรับผู้ที่เคยก้าวพลาด ให้สามารถพิสูจน์ตนเอง ด้วยการมีอาชีพที่สุจริต และไม่หวนกลับมาสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมซ�้ำอีก ซึ่งกรมราชทัณฑ์ไม่เคยหยุดนิ่ง ทีจ่ ะคิดค้นนวัตกรรม หรือแนวทางในการพัฒนาพฤตินสิ ยั และพัฒนาทักษะอาชีพเพือ่ เป็นพืน้ ฐานในการออกไปใช้ชวี ติ ภายหลังพ้นโทษให้กับผู้ต้องขัง เพื่อที่จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมว่า พวกเขาเหล่านี้จะปรับตนให้เป็น พลเมืองที่ดีต่อไป

วารสารราชทั ณ ฑ์ 23

พิธีลงนามบันทึกขŒอตกลง โครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผู้ต้องขัง รุ่งธิวา เขียวสนั่น ทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มีนโยบาย ในการลดการกระท�าผิดซ�้าของผู้กระท�าผิด และพัฒนาให้ผู้ผ่านกระบวนการแก้ไขฟื้นฟู มีการศึกษา มีงานท�า มีรายได้ สามารถพึง่ ตนเอง และกลับไปใช้ชวี ติ ในสังคมได้อย่างปกติสขุ ภายหลังพ้นโทษ โดยมุง่ เน้น การฝึกอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เน้นการบูรณาการการฝึกอาชีพร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม รวมทัง้ พัฒนาระบบติดตามและส่งต่อการมีงานท�าภายหลัง พ้นโทษ ให้สามารถประกอบอาชีพได้ตามทักษะที่ได้รับการพัฒนา รวมถึงติดตามช่วยเหลือ ให้ค�าปรึกษา แก่กลุ่มบุคคลเหล่านี้ ทั้งด้านการท�างาน ครอบครัว และที่อยู่อาศัย กรมราชทัณฑ์ จึงได้เล็งเห็นความส�าคัญในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการลงโทษเพือ่ ความยุตธิ รรม (Retribution) การลงโทษเพือ่ การป้องปราม (Deterrence) การลงโทษ เพือ่ ตัดโอกาสกระท�าผิด (Incapacitation) มาเป็น การลงโทษเพือ่ แก้ไขฟืน้ ฟู (Rehabilitation) โดยผลักดัน ให้เกิดการฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพขึน้ ในเรือนจ�า/ทัณฑสถาน ทัว่ ประเทศ รวมทัง้ น�ากระบวนการขัดเกลา คุณธรรมและจริยธรรมมาใช้ควบคูก่ นั ในการพัฒนาผูต้ อ้ งขัง ให้กลับตนเป็นพลเมืองดี เปิดโอกาสให้ผกู้ ระท�าผิด แก้ไขปรับปรุงตัว ให้การบ�าบัดแก้ไขเป็นกลุ่มและรายบุคคล ทั้งนี้เพื่อมุ่งแก้ไขสาเหตุที่ท�าให้ผู้กระท�าผิด มีความบกพร่องและเป็นเหตุให้กระท�าผิด เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ภายหลัง ที่ได้พ้นโทษแล้ว

24 วารสารราชทั ณ ฑ

ดังนั้น จึงเกิดความร่วมมือระหว่างกรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน และกรมราชทัณฑ์ ได้กา� หนดจัดท�า พิธลี งนามบันทึกข้อตกลง โครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้ า งอาชี พ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ระหว่ า ง 5 หน่ ว ยงานขึ้ น ดั ง นี้ กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมราชทัณฑ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ณ ทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี เมือ่ วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561 โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายพากร วังศิราบัตร รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายภูมนิ ทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงและร่วมเป็นพยานในพิธีฯ

โครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผู้ต้องขัง

มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เปิดโอกาสให้กับผู้ที่เคยกระท�าผิดได้ปรับปรุงตนเอง 2. เป็นการคืนคนดีสู่สังคม 3. เป็ น การแก้ ไขปั ญ หาการขาดแคลนแรงงาน ในบางสาขาอาชีพ พร้อมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ ภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดย กรมการจัดหางาน มีกรอบแนวทางความร่วมมือ ดังนี้ - ประสานงานและให้คา� แนะน�าแก่สถานประกอบการ หรื อ นายจ้ า งในการส่ ง เสริ ม การมี ง านท� า ให้ แ ก่ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ใน เรือนจ�าและการรับผู้ต้องขังที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ กรมราชทัณฑ์ก�าหนด เข้าฝึกทักษะในสถานประกอบการ วารสารราชทั ณ ฑ 25

- ส่ ง เสริ ม การมี ง านท� ำ โดยการจั ด สาธิ ต การฝึกทักษะอาชีพอิสระระยะสั้นแก่ผู้ต้องขังก่อน พ้นโทษ จัดวิทยากรบรรยายให้ความรู้ แนะแนวอาชีพ ให้ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน ให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำ การประกอบอาชี พ อิ ส ระ ได้ แ ก่ การหาท� ำ เล การค�ำนวณต้นทุน การหาตลาด การหาแหล่งเงินทุน และการบริหารจัดการ - รับลงทะเบียนและบริการจัดหางานให้แก่ ผู้พ้นโทษที่ประสงค์จะหางานท�ำ โดยมีการประสาน ข้อมูลกับศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) ของกรมราชทัณฑ์ กรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน มีกรอบความร่วมมือ ดังต่อไปนี้ - ด�ำเนินการฝึกอาชีพในหลักสูตรการฝึก ฝีมอื แรงงานในสาขาอาชีพตามความต้องการของผูต้ อ้ งขัง เพือ่ เพิม่ เติมความรู้ รวมทัง้ ประกอบชิน้ งานเพือ่ จ�ำหน่าย และสร้างรายได้แก่ผู้ต้องขัง - ด�ำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานให้แก่ผตู้ อ้ งขังในสาขาอาชีพตามความต้องการและสอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีกรอบความร่วมมือ ดังต่อไปนี้ - ประสานงานกับสถานประกอบการหรือนายจ้างเพื่อเข้าร่วมโครงการ - ประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในฐานะที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคเอกชน - ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ เพื่อการรับรู้และเจตคติที่ดี ในการรับผู้ต้องขัง พ้นโทษเข้าท�ำงานกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคเอกชน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีกรอบความร่วมมือ ดังต่อไปนี้ - ประสานงานกับสถานประกอบการหรือนายจ้างเพื่อเข้าร่วมโครงการ - ประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในฐานะที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย - เป็นตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจการค้าและบริการภาคเอกชน - ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ เพื่อการรับรู้และเจตคติที่ดี ในการรับผู้ต้องขัง เข้าท�ำงานกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าและบริการภาคเอกชน กรมราชทัณฑ์ มีกรอบความร่วมมือ ดังต่อไปนี้ - จัดท�ำฐานข้อมูลผู้ต้องขัง เพื่อประสานการส่งเสริมการมีงานท�ำ และจัดท�ำขั้นตอนการด�ำเนินงาน รับชิ้นงานเข้าไปผลิตในเรือนจ�ำ และการส่งผู้ต้องขังที่มีคุณสมบัติ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมราชทัณฑ์กำ� หนด เข้าฝึกทักษะ ในสถานประกอบการ 26 วารสารราชทั ณ ฑ์

- ประสานกรมการจัดหางาน ในการส่งเสริมการมีงานท�ำให้กบั ผูต้ อ้ งขังในเรือนจ�ำและทัณฑสถานก่อนพ้นโทษ - ประสานกรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน ในการฝึกอาชีพหลักสูตรฝึกเตรียมเข้าท�ำงาน และฝึกยกระดับฝีมอื แรงงาน รวมทั้งการด�ำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน - อ�ำนวยความสะดวกด้านสถานที่ในการฝึกอบรม และการปฏิบัติงาน - ควบคุม ดูแล ติดตามผลผู้ต้องขังที่ได้รับการส่งเสริมการมีงานท�ำผ่านกลไกของศูนย์ประสานงานและ ส่งเสริมการมีงานท�ำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) 



บทบาทของกรมราชทัณฑ์ ต่อการสนองเจตนารมณ์รัฐบาล ในการสร้างโอกาสให้แก่ผู้ต้องขัง

กรมราชทั ณ ฑ์ ได้ มุ ่ ง มั่ น ที่ จ ะแสดงเจตนารมณ์ เ พื่ อ ตอบสนองนโยบายรั ฐ บาล และสานพลั ง ประชารั ฐ ด้ ว ยการสร้ า งโอกาสและคุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ใ ห้ แ ก่ ผู ้ ต ้ อ งขั ง เพื่ อ เป็ น การคื น คนดี สู ่ สั ง คม และแก้ ไขปั ญ หาการ ขาดแคลนแรงงานในสถานประกอบการ ด้วยโครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผู้ต้องขัง โดยกรมราชทัณฑ์ มีเป้าหมายที่จะด�ำเนินการ ดังนี้ 1. จัดท�ำทะเบียนผูต้ อ้ งขัง เพือ่ ประสานการส่งเสริมการมีงานท�ำ โดยการคัดเลือกผูต้ อ้ งขังทีป่ ระพฤติดี มีความ อุตสาหะ มีความตั้งใจ และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมราชทัณฑ์ก�ำหนด เข้าฝึกทักษะในสถานประกอบการ 2. ประสานกรมการจั ด หางานในการส่ ง เสริ ม การมี ง านท� ำ ให้ กั บ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ในเรื อ นจ� ำ และทั ณ ฑสถาน ก่อนพ้นโทษ 3. ประสานกรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน ในการฝึกอาชีพหลักสูตรฝึกเตรียมเข้าท�ำงาน และฝึกยกระดับฝีมอื แรงงาน รวมทั้งการด�ำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 4. อ�ำนวยความสะดวกด้านสถานที่ในการฝึกอบรม และการปฏิบัติงาน 5. ควบคุม ดูแล ติดตามผลผู้ต้องขังที่ได้รับการส่งเสริมการมีงานท�ำ วารสารราชทั ณ ฑ์ 27

โดยกรมราชทัณฑ์ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน และส่งเสริมการมีงานท�า เพื่อให้การประสานความ ร่วมมือกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ในการคืนคนดีสสู่ งั คม เป็ น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ลดการกระท� า ผิ ด ซ�้ า สร้างคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืน การลงโทษเพือ่ แก้ไขฟน ฟู (Rehabilitation) ในทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี ภารกิ จ หลั ก ของทั ณ ฑสถานบ� า บั ด พิ เ ศษ จังหวัดปทุมธานี นอกจากการควบคุมให้มีตัวผู้ต้องขัง อยูใ่ นเรือนจ�า โดยเน้นการควบคุมตามหลักสิทธิมนุษยชน หลักอาชญาวิทยาสมัยใหม่ และหลักเมตตาธรรมแล้ว อีกภารกิจหนึ่งซึ่งมีความส�าคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือภารกิจด้าน การพัฒนาพฤตินสิ ยั เพือ่ คืนคนดีสสู่ งั คม มิให้ผตู้ อ้ งขังกลับไปกระท�าผิดซ�า้ ภายหลังพ้นโทษ และประคับประคองให้ผตู้ อ้ งขัง เหล่านั้น ได้มีอาชีพ มีงานท�าภายหลังพ้นโทษ ซึ่งถือได้ว่ามีความยากล�าบากในการปฏิบัติงาน อันประกอบด้วยหลาย ปัจจัย เช่น พฤติกรรมส่วนบุคคลของตัวผู้ต้องขังเอง การไม่ให้โอกาสและไม่ยอมรับของสังคมภายนอก ซึ่งจะท�าให้เกิด การกระท�าผิดซ�้าของผู้กระท�าผิดอีกเมื่อพ้นโทษ และด้วยปัจจุบนั จังหวัดปทุมธานี ได้ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เนือ่ งจากโรงงาน ในจังหวัดปทุมธานีมีจ�านวนมาก ท�าให้เกิดปัญหาคนท�างานมีไม่เพียงพอต่อปริมาณงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหา ทั้งภาคอุตสาหกรรม และทัณฑสถาน จึงได้คิดบูรณาการร่วมกันในการท�าโรงงานในเรือนจ�าขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยให้แก่กลุ่มผู้ต้องขังใกล้ พ้นโทษ ให้มีอาชีพรองรับหลังจากพ้นโทษ ทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย (บริษัทเอ็ดดี้ โกลด์ จ�ากัด) ในการฝึกวิชาชีพช่างท�าทองรูปพรรณ ให้กับผู้ต้องขังในทัณฑสถาน และต่อมาได้เปิด เป็นโรงงาน ฝึกวิชาชีพช่างท�าทองรูปพรรณ ซึง่ ในอนาคตทัณฑสถาน มีนโยบายทีจ่ ะส่งผูต้ อ้ งขังออกไปท�างานยังบริษทั ภายนอกทัณฑสถาน การเปิดโอกาศให้บริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลภายนอกเข้ามาใช้แรงงานรับจ้างภายในทัณฑสถาน นอกจาก เป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมแล้ว ยังถือเป็นโอกาสอันดีในการฝึกการประกอบอาชีพ ให้แก่ผตู้ อ้ งขัง เพือ่ เตรียมตัวในการก้าวออกจากเรือนจ�าไปสูส่ งั คมภายนอก โดยทัณฑสถาน เปิดโอกาสให้บริษทั ต่างๆ เข้ามาด�าเนินการจ้างแรงงานผู้ต้องขังหลายบริษัท เช่น โรงงานท�าทองรูปพรรณ บริษทั เอ็ดดี้ โกลด์ จ�ากัด (Eddy Gold Co., Ltd.) มีผตู้ อ้ งขังประจ�าโต๊ะทอง 107 คน ปริมาณการฝึกวิชาชีพ (จ�านวนคน/เส้น/วัน) เฉลี่ย 2 เส้น (หรือประมาณ 4,000 เส้น/เดือน) โรงงานเย็บจักรอุตสาหกรรม (ชิ้นส่วนรองเท้า) มีผู้ต้องขังแรงงานรับจ้าง จ�านวน 331 คน โรงงานเย็บจักรอุตสาหกรรม (ผ้าเช็ดเครื่องยนต์) มีผู้ต้องขังแรงงานรับจ้าง จ�านวน 111 คน โรงงานช่างประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้ มีผู้ต้องขังแรงงานรับจ้าง จ�านวน 56 คน และงานรับจ้างแรงงานอื่นๆ เช่น งานพับถุง ถักอวน ฯลฯ ซึ่งมีผู้ต้องขังแรงงานรับจ้างจ�านวน 2,201 คน นอกเหนือจากการเปิดให้มีการรับจ้างแรงงานในทัณฑสถานแล้วนั้น ทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี ยังได้ส่งเสริมการฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้ต้องขังต่างๆ เช่น การท�าเกษตรกรรม การฝึกวิชาชีพการล้างและดูแลรถยนต์ ฯลฯ ทัง้ นี้ เพือ่ ให้ผตู้ อ้ งขังได้มโี อกาสปรับตัว และสร้างการยอมรับจากสังคม เมือ่ ผูต้ อ้ งขังพ้นโทษ สามารถน�าวิชาชีพ ที่ได้รับการฝึกนี้ไปใช้ประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ หรือแม้กระทั่งสมัครงานในโรงงานนั้นๆ ได้ทันที 28 วารสารราชทั ณ ฑ

การจัดทําสื่อการเรียนรู้

ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เพลินใจ แต้เกษม อดีตรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์

การศึกษาเรือ่ ง “การจัดท�าสือ่ การเรียนรูใ้ นการพัฒนาพฤตินสิ ยั ผู้ต้องขัง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสื่อการเรียนรู้ในการพัฒนาพฤตินิสัย ผู้กระท�าผิดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้มีเครื่องมือสื่อการเรียนรู้ ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง สร้างนวัตกรรมใหม่ในกระบวนการแก้ไข ฟืน้ ฟูผตู้ อ้ งขังของกรมราชทัณฑ์ และเพือ่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สอื่ กับการสร้างแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนทัศนคติพฤติกรรมผู้ต้องขัง โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ (Mixed Method) ประกอบด้วย การส�ารวจแนวทางปฏิบัติในการใช้สื่อการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังของเรือนจ�า/ทัณฑสถาน ทั่วประเทศ การจัดประชุมและสัมมนาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การทดลองใช้สื่อวีดิทัศน์ และสือ่ สิง่ พิมพ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรูก้ บั ผูต้ อ้ งขังพร้อมทัง้ ประเมินผล ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เป็นเครื่องมือ ตลอดจน การจัดประชุมกลุม่ ย่อย (Focus Group) เจ้าหน้าทีเ่ รือนจ�าส่วน/ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการพัฒนาพฤตินิสัยและการใช้สื่อในการจัดอบรม ผู้ต้องขัง แห่งละ 15 - 20 คน เพื่อน�าไปสู่การจัดท�าคู่มือการจัดกิจกรรม สื่อการเรียนรู้ และการจัดท�าหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้ส�าหรับผู้ต้องขัง ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้ วารสารราชทั ณ ฑ 29

สรุ ป ผลส� ำ รวจการด� ำ เนิ น งานด้ า นแนวทางปฏิ บั ติ ใ นการใช้ สื่ อ การเรี ย นรู ้ เ พื่ อ การพั ฒ นาพฤติ นิ สั ย ผู ้ ต ้ อ งขั ง ของเรื อ นจ� ำ /ทั ณ ฑสถาน ทั่วประเทศ (Survey Method) จ�ำนวน 143 แห่ง มีเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน ตอบแบบส�ำรวจกลับมาจ�ำนวน 92 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64 โดยสรุปพบว่าเรือนจ�ำ ส่วนใหญ่มีจ�ำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ในปัจจุบันของเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน ไม่เกิน 5 คน ร้อยละ 70.7 จึงมีการน�ำสื่อ มาใช้เป็นเครือ่ งมือในการจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาพฤตินสิ ยั การให้ความรูแ้ ละ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด ทัศนคติ อาทิเช่น เสียงตามสาย ร้อยละ 19.6 เครื่องฉาย โปรเจคเตอร์ ร้อยละ 25.2 เครื่องเล่น DVD ร้อยละ 27.6 และโทรทัศน์ ร้อยละ 27.6 เวลาในการเปิดเสียงตามสาย ในช่วงเช้าและเย็นจะเป็นการเปิดบทสวดมนต์ ธรรมะ และสาระน่ารู้รวมทั้งบทเพลง ส่วนกลางวันส่วนใหญ่จะใช้เสียงตามสาย ในการประชาสัมพันธ์ การจัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดท�ำสื่อการเรียนรู้ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง พบว่า กองพัฒนาพฤตินิสัยซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงได้จัดหาสื่อต่างๆ ส่งให้กับเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน ทั้งในรูปแบบสื่อ สิ่งพิมพ์ วีดิทัศน์ ฯลฯ แต่ยังไม่เพียงพอ และยังไม่สามารถท�ำให้สื่อต่างๆ ที่มีน�ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้ง โอกาสที่ผู้ต้องขังจะเข้าถึงสื่อยังมีข้อจ�ำกัด จึงควรมีการสร้างระบบให้ชัดเจนและใช้สื่อเป็นเครื่องมือแทนอัตราก�ำลัง เจ้าหน้าที่ในการอบรม นอกจากนั้น ยังสามารถจัดประเภทของสื่อการเรียนรู้ในเรือนจ�ำ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. สื่อสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด 2. สื่อวีดิทัศน์ (รายการโทรทัศน์/ภาพยนตร์) 3. เสียงตามสาย/การฝึกให้ผู้ต้องขังแสดงออก อย่างสร้างสรรค์ 4. วิทยากรภายนอก/ป้ายส่งเสริมการอ่าน 5. การเรียนรูผ้ า่ นสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ ซึง่ เรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน แต่ละแห่งมีการน�ำสือ่ มาใช้หลากหลาย และแตกต่างกันไปตามบริบทของกลุม่ ผูต้ อ้ งขัง อัตราก�ำลังเจ้าหน้าทีแ่ ละความพร้อม ของสถานที่ การศึกษาภาคสนาม (Field Method) โดยการทดลองน�ำร่องการใช้สื่อ และจัดการประชุม เรื่องการจัดท�ำ สื่อการเรียนรู้ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน 6 เขต ประกอบด้วย เรือนจ�ำกลางอุดรธานี เรือนจ�ำจังหวัดพิษณุโลก เรือนจ�ำจังหวัดจันทบุรี ทัณฑสถานหญิงสงขลา เรือนจ�ำจังหวัดบุรีรัมย์ และเรือนจ�ำกลาง นครศรีธรรมราช โดยเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษาฯ จากเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน รวม 6 เขต (ประกอบด้วยเขต 2 3 4 6 8 และ 9) เข้าร่วมประชุม และด�ำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลการทดลองใช้สื่อการเรียนรู้กับผู้ต้องขัง ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ผู้ต้องขังเข้าใหม่ไม่เกิน 3 เดือน จ�ำนวน 56 คน 2. ผู้ต้องขังเหลือโทษสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป จ�ำนวน 59 คน และ 3. ผู้ต้องขังที่ใกล้ปล่อยตัวพ้นโทษ จ�ำนวน 60 คน รวมทั้งหมด 175 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่ 1 การใช้สื่อวีดิทัศน์ เรื่อง “นิค” ชายไร้แขนขา ระยะเวลา 7 นาที ผู้ต้องขังที่เข้ากลุ่มส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.8 เห็นว่า สื่อวีดิทัศน์ช่วยสร้างแรงบันดาลใจที่จะปรับเปลี่ยนตนเองใหม่ในทางที่ดีขึ้น ร้อยละ 92.8 เห็นว่า ช่วยกระตุน้ ให้เกิดการพัฒนาด้านความคิด เข้าใจชีวติ ดีขนึ้ รองลงมาในจ�ำนวนใกล้เคียงกัน เห็นว่า การใช้สอื่ ช่วยให้เกิด การเรียนรูท้ นี่ า่ สนใจ เนือ้ หาของสือ่ ช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นการคลายเครียด ซึง่ ผูต้ อ้ งขัง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.2 ต้องการให้เรือนจ�ำใช้สื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้กับผู้ต้องขัง เพราะท�ำให้เกิดกระบวนการ เรียนรู้ได้ง่ายและจดจ�ำได้นาน รูปแบบที่ 2 สื่อสิ่งพิมพ์ โดยการน้อมน�ำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จากหนังสือ 99 พระบรมราโชวาท น้อมน�ำราษฎร์ร่มเย็นเป็นสุขศานต์ ในประเด็นเรื่อง “คุณสมบัติ 5 ประการ 30 วารสารราชทั ณ ฑ์

ของผู้ที่จะสร้างความส�ำเร็จในการงานและชีวิต” โดยให้ผู้ต้องขังแบ่งกลุ่มอ่าน พร้อมกัน และมีประเด็นค�ำถามให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผลการศึกษา พบว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.0 เห็นว่าสื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าวช่วยสร้าง แรงบันดาลใจที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองใหม่ในทางที่ดีขึ้น ร้อยละ 91.2 เห็นว่า ช่วยกระตุน้ ให้เกิดการพัฒนาด้านความคิด เข้าใจชีวติ ดีขนึ้ ซึง่ ผูต้ อ้ งขังส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.8 ต้องการให้เรือนจ�ำใช้สื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้กับผู้ต้องขัง สอดคล้องตรงกันกับการใช้สื่อวีดิทัศน์ ดังนั้นการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่อ ทัง้ การดูผา่ นวีดทิ ศั น์และการอ่านช่วยให้ปรับเปลีย่ นทัศนคติ วิธคี ดิ ได้ในระดับ มากที่สุด การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการจัดท�ำสื่อการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง” วันที่ 8 ธันวาคม 2559 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร มีเนื้อหาโดยสรุปคือภารกิจหน้าที่ในการแก้ไขนั้น เป็นงานที่ยากล�ำบาก ต้องใช้ความรู้ เทคนิค ทักษะ และเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์และมีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งกรมราชทัณฑ์ประสบปัญหาการขาดแคลนทั้งงบประมาณ และอัตราก�ำลัง จึงควรใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมเข้ามา ช่วยในการแก้ไขผู้ต้องขัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ต้องขังสามารถเรียนรู้ได้โดยง่ายผ่านการใช้สื่อวีดิทัศน์ ภาพยนตร์ สารคดี หนังสือและเพลง สื่อเสียงต่างๆ จะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้ต้องขัง ท�ำให้เกิดความสนุกและ เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกาญจนาภิเษก ที่มีแนวคิดว่า ไม่มีใครที่เกิดมาเพื่อเป็นอาชญากร จึงมีการสร้างนวัตกรรมด้านการแก้ไขขึน้ มา โดยการออกแบบสือ่ การเรียนวิชาชีวติ แบ่งเป็นกลุม่ สาระ 8 กลุม่ แทนการเรียนหนังสือในระบบการศึกษาทั่วไป มีพ่อแม่เป็นหุ้นส่วน มีจิตอาสา และออกแบบ กิจกรรมที่ส�ำคัญ เช่น การท�ำพิธีขอขมาเหยื่อ มีการเรียนเรื่องการวิเคราะห์ข่าวโดยเฉพาะ และน�ำกรณีศึกษาต่างๆ มาให้เด็กและเยาวชนได้อ่านและท�ำกิจกรรมร่วมกัน การให้ดูภาพยนตร์ที่คัดเลือกมาแล้ว สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และมี ค�ำถามกระตุน้ ความคิด มีกจิ กรรมหนึง่ ชัว่ โมงหนึง่ ความคิด มีชวั่ โมง “คนตายได้ ความคิดไม่ตาย” ไม่วา่ จะเป็นไอสไตน์ สตีฟ จ๊อป ฯลฯ ที่น�ำชีวิตของบุคคลส�ำคัญมาเป็นบทเรียนชีวิตที่ส�ำคัญ มีการเรียนรู้วิชา ผู้รอดบนความขาดพร่อง การตั้งค�ำถามที่เข้าใจง่ายจะท�ำให้การให้ค�ำปรึกษาต่อไปง่ายขึ้น เด็กจะเติบโตและงอกงามรวมทั้งสามารถสร้างคลังค�ำ คลังภาษา และคลังความคิดของตนเองขึ้นมา ซึ่งเด็กและเยาวชนที่ผ่านกิจกรรมเหล่านี้ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ถ้าหากได้มีโอกาสเรียนรู้แบบที่เรียนในบ้านกาญจนาภิเษกแต่แรก จะไม่ก้าวพลาดแน่นอน นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ออกไปท�ำจิตอาสาภายนอก ผลสรุปการจัดประชุมเจ้าหน้าที่เรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน 6 เขต พบว่ามีกิจกรรมการเรียนรู้คล้ายคลึงกัน ทั้งในส่วนของห้องสมุด เสียงตามสาย และการให้ผู้ต้องขังดูรายการโทรทัศน์ แต่ยังขาดกิจกรรมหรือโจทย์การบ้านให้ ต่อยอดจากการให้ผู้ต้องขังได้อ่านหรือฟังจากสื่อ มีเพียงเรือนจ�ำบางแห่งที่เจ้าหน้าที่ริเริ่มกิจกรรมต่างๆ จากการ ฟังเสียงตามสาย หรือหนังสือในห้องสมุดซึง่ มีความน่าสนใจ เช่น เรือนจ�ำกลางอุดรธานี มีการให้ผตู้ อ้ งขังเขียนเรียงความ ฝึกการเป็นดีเจ การสวดมนต์ในกลุ่มผู้ต้องขังสูงอายุ ให้ผู้ต้องขังอ่านหนังสือให้เพื่อนฟัง กิจกรรมท�ำความดีทุกวันแล้ว ให้มาเล่าให้เพื่อนฟัง ในห้องสมุดมีลงบันทึกสถิติหนังสือที่ผู้ต้องขังยืมบ่อยๆ หรือตู้แสดงความคิดเห็นเพื่อประเมินผล มีการฉายคลิปการฝึกวิชาชีพให้ผตู้ อ้ งขังดูซงึ่ ผูต้ อ้ งขังส่วนใหญ่จะสนใจ เรือนจ�ำจังหวัดพิษณุโลก มีการประกวดท่องบท สวดมนต์ชินบัญชร ห้องสมุดมีชีวิต มีมุมความรู้ต่างๆ เช่น มุมวิชาชีพ มุมเศรษฐกิจพอเพียง มุมสุขภาพ ซึ่งดูคลิปจาก คอมพิวเตอร์และมีอุปกรณ์ที่ให้ลงมือทดลองปฏิบัติได้ทันที วารสารราชทั ณ ฑ์ 31

ส่วนทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก มีโครงการสนับสนุนการอ่านหนังสือ มียา่ มใส่หนังสือให้ผตู้ อ้ งขังน�ำหนังสือขึน้ ไป อ่านบนเรือนนอน เป็นต้น ปัญหาอุปสรรคที่ส�ำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ การอบรมแบบบรรยายทั่วไป ผู้ต้องขังไม่ให้ความสนใจ และสื่อไม่ทันสมัย เรือนจ�ำบางแห่งขาดวัสดุอุปกรณ์ โดยเฉพาะเครื่องเล่นสื่อโสตทัศน์ มีไม่เพียงพอ ประกอบกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการควบคุมยังไม่ค่อยเห็นความส�ำคัญของงานด้านการพัฒนา พฤตินิสัย โดยภาพรวมข้อเสนอแนะจากการประชุม พบว่า เจ้าหน้าทีส่ ว่ นใหญ่เห็นควรให้มกี ารจัดท�ำคูม่ อื การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในการพัฒนาพฤตินิสัยให้แก่ผู้ต้องขัง และควรพัฒนาอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการใช้สื่อ การเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนเห็นว่ากรมราชทัณฑ์ควรผลิตสื่อใหม่ๆ ให้ทันยุคสมัยสนับสนุนให้กับเรือนจ�ำ และทัณฑสถาน กรมราชทัณฑ์ควรจัดระบบการบริจาคหนังสือ โดยส�ำรวจความต้องการ และให้การสนับสนุนในหมวด ทีย่ งั ขาดแคลน ส�ำหรับเรือนจ�ำ/ทัณฑสถานในเขตชายแดนใต้ หรือในพืน้ ทีท่ มี่ ผี ตู้ อ้ งขังนับถือศาสนาอืน่ ๆ กรมราชทัณฑ์ ควรมีการประสานงานกับหน่วยงานทีด่ แู ลหลักสูตรการพัฒนาจิตใจของศาสนาต่างๆ อาทิเช่น ส�ำนักงานคณะกรรมการ อิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อวางหลักสูตรให้กับผู้ต้องขังที่นับถือศาสนาอิสลาม หรือสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย เพือ่ วางหลักสูตรส�ำหรับผูต้ อ้ งขังทีน่ บั ถือศาสนาคริสต์ นอกจากนัน้ เรือนจ�ำเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยควรมีสอื่ เฉพาะ ให้กับผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษ และหากเรือนจ�ำใดมีการจัดระเบียบเรือนจ�ำได้มีประสิทธิภาพดีแล้ว ควรเน้นในด้าน การแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัย และมีกิจกรรมที่สนับสนุนให้ผู้ต้องขังสามารถอ่านหนังสือได้มากขึ้น ส�ำหรับประโยชน์จากการศึกษาวิจยั ครัง้ นี้ น�ำไปสูก่ ารด�ำเนินงานทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ องค์กรและผูต้ อ้ งขัง ดังนี้ 1. ได้จดั ท�ำคูม่ อื การจัดกิจกรรมสือ่ การเรียนรูใ้ นการพัฒนาพฤตินสิ ยั ผูต้ อ้ งขังให้กบั เรือนจ�ำ/ทัณฑสถานทัว่ ประเทศ 2. สร้างหลักสูตรในการส่งเสริมการเรียนรู้ส�ำหรับผู้ต้องขัง ผ่านการใช้สื่อและกิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อช่วย ให้ผู้ต้องขังปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ เพื่อเป็นคนดีของสังคมและไม่กลับไปกระท�ำผิดซ�้ำ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ และหัวหน้าฝ่ายการศึกษาของเรือนจ�ำ/ทัณฑสถานต่างๆ มาร่วมกันจัดท�ำหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้ส�ำหรับผู้ต้องขัง มีก�ำหนดระยะเวลาการอบรมในหลักสูตร 40 ชั่วโมง เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะผู้ต้องขังด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึง่ เป็นองค์ความรูท้ จี่ ำ� เป็นในการด�ำรงชีวติ ประจ�ำวัน ท�ำให้ผตู้ อ้ งขังรูจ้ กั การคิดวิเคราะห์ พัฒนาศักยภาพ ตนเอง หากผู้ต้องขังผ่านหลักสูตรดังกล่าวเห็นควรน�ำไปใช้ประกอบการเลื่อนชั้น และเป็นแนวทางในการด�ำเนินงาน ของเจ้าหน้าทีเ่ พือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการแก้ไขฟืน้ ฟู ซึง่ ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาพฤตินสิ ยั ผูต้ อ้ งขัง ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการคืนคนดีสู่สังคมซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายในการ พัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดีมีคุณค่าของสังคม 3. การศึกษาวิจัยครั้งนี้น�ำไปสู่การท�ำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โครงการ จัดท�ำสื่อการเรียนรู้ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ระหว่าง กรมราชทัณฑ์กับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เพื่อสร้าง ความร่วมมือในการผลิตสื่อการเรียนรู้ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง และการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ต้องขัง ในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถานด้านการผลิตสื่อ โดยปัจจุบันมีนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผลิตสื่อเชิงสร้างสรรค์ให้กับกรมราชทัณฑ์น�ำไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ให้กับผู้ต้องขัง และสร้างการยอมรับ จากสังคม

32 วารสารราชทั ณ ฑ์

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย ด้านกรมราชทัณฑ์ 1. กรมราชทัณฑ์ควรมุง่ เน้นในการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ โดยการจัดอบรม ให้ความรู้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ด้านการ ออกแบบ การผลิตและใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผู้ต้องขัง โดยเฉพาะการผลิตสื่อ มัลติมีเดีย 2. กรมราชทัณฑ์ควรผลิต รวบรวมสื่อวีดิทัศน์ให้มีเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ ทัง้ ในด้านแนวทางการประกอบอาชีพ ประวัตบิ คุ คลส�ำคัญทีป่ ระสบความส�ำเร็จ สารคดี ที่น่าสนใจ ฯลฯ ส่งให้กับเรือนจ�ำให้ทันยุคสมัยสนับสนุนให้กับเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน 3. การพั ฒ นาระบบเสี ย งตามสายเรื อ นจ� ำ /ทั ณ ฑสถานทั่ ว ประเทศให้ มี มาตรฐานเดียวกัน พร้อมทั้งพัฒนาเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบระบบเสียงตามสายให้มี การเผยแพร่ความรู้ เนือ้ หาทีส่ อดแทรกด้านคุณธรรม จริยธรรม และความบันเทิงควบคูก่ นั 4. กรมราชทัณฑ์ควรวางระบบการบริจาคหนังสือ โดยส�ำรวจความต้องการ และให้การสนับสนุนในหมวดที่ยังขาดแคลนหนังสือใหม่ๆ 5. กรมราชทัณฑ์ควรมีการประสานงานกับหน่วยงานที่ดูแลหลักสูตรการ พัฒนาจิตใจของศาสนาต่างๆ อาทิเช่น ส�ำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย 6. ส�ำหรับเรือนจ�ำที่มีการจัดระเบียบเรื่องยาเสพติดและโทรศัพท์มือถือ เรียบร้อยแล้ว หากมีความพร้อมอนุญาตให้ผู้ต้องขังน�ำหนังสือขึ้นเรือนนอนได้คนละ 1 เล่ม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง 7. ควรจัดท�ำช่องทีวรี ายการของกรมราชทัณฑ์ หรือหนังสือพิมพ์รายเดือน เพือ่ เผยแพร่ขา่ วสารและรายการดีๆ ให้ผู้ต้องขังทราบและเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริหารพบปะกับผู้ต้องขัง มีการสื่อสารถึงกัน 8. ควรมีการแก้ไขระเบียบกรมราชทัณฑ์ที่จ�ำกัดสิทธิผู้ต้องขังชั้นเลวไม่ให้เรียนระดับปริญญาตรี ซึ่งไม่ได้เกิด จากการลดชั้นกรณีกระท�ำผิดวินัย เพื่อให้โอกาสผู้ต้องขังกรณีที่เป็นผู้ต้องขังกระท�ำผิดซ�้ำ ซึ่งไม่ได้เริ่มต้นที่ชั้นกลาง 9. ควรมีการพัฒนาอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อการ พัฒนาพฤตินิสัย ด้านการด�ำเนินงานของเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน 1. สนับสนุนให้ผู้ต้องขังที่มีความสามารถด้านการผลิตสื่อ งานด้านการประชาสัมพันธ์หรือจบการศึกษา ด้านนิเทศศาสตร์ และมีความรูค้ วามช�ำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการจัดท�ำสือ่ การเรียนรูข้ องทางเรือนจ�ำ 2. กลุ่มที่สนใจในเรื่องเดียวกันให้ตั้งเป็นชมรม เช่น ชมรมคนรักหนังสือ และผลิตสื่อเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพ ในเรื่องที่ผู้ต้องขังต้องการและให้ความสนใจ 3. ควรมีการก�ำหนดตารางรายการสื่อที่น�ำมาฉายให้ผู้ต้องขัง ว่าควรมีเนื้อหาด้านใดในสัดส่วนเท่าใด และมี การตัง้ คณะกรรมการขึน้ เพือ่ พิจารณาการก�ำหนดเนือ้ หาของสือ่ ทีจ่ ะน�ำมาฉายให้กบั ผูต้ อ้ งขัง เพือ่ กลัน่ กรองให้มเี นือ้ หา ที่เหมาะสม เป็นประโยชน์และเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์

วารสารราชทั ณ ฑ์ 33

ดนตรี

สามารถพัฒนาผู้ต้องขัง เรือนจ�ำพิเศษมีนบุรีได้อย่างไร นายแพทย์สมภพ สังคุตแก้ว 1 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตัง้ กรมราชทัณฑ์ เมือ่ วันที่ 13 ตุลาคม 2458 และ ทรงพระราชทานเครื่องมือในการพัฒนาผู้ต้องขังให้กับกรมราชทัณฑ์ที่ส�ำคัญใน 2 ส่วน ได้แก่ 1) กระบวนการลูกเสือ ซึง่ หัวใจร่วมของการลูกเสือและการลูกเสือราชทัณฑ์ไทย (ภารกิจของลูกเสือคือการพัฒนาเยาวชนเพือ่ ให้เป็นพลเมืองดี ของประเทศ และภารกิจของกรมราชทัณฑ์คือการพัฒนาผู้ต้องขังซึ่งเป็นผู้ที่เคยกระท�ำผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง เพื่อให้กลับตนเป็นพลเมืองดี มีคุณค่าของสังคมและประเทศ) และ 2) ดนตรี ซึ่งเสียงเพลงท�ำให้รู้สึกผ่อนคลายและ มีความสุข รวมทัง้ ยังเป็นสือ่ กลางในการเสริมสร้างความสามัคคีและสามารถเข้าถึงได้ทกุ กลุม่ เป้าหมาย ดังจะเห็นได้จาก บทพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งทางด้านดนตรีที่ว่า “ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก” พระราชนิพนธ์ แปลจาก “The Merchant of Venice” ของ William Shakespeare ความส�ำคัญของดนตรี ดนตรี คือลักษณะของเสียงทีไ่ ด้รบั การจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้าง ชัดเจน ซึ่งดนตรีสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) เพื่อความสุนทรีย์ 2) เพื่อการบ�ำบัดรักษา และ 3) เพื่อการศึกษา เนื่องจากการเล่นดนตรีหรือได้ฟังเพลงจะช่วยเปลี่ยนการท�ำงานของคลื่นสมองจากภาวะปกติคือ คลืน่ แอลฟา (alpha wave) ทีม่ คี วามเร็วสูงให้เป็นคลืน่ เบต้า (beta wave) ซึง่ เป็นคลืน่ สมองช่วงทีค่ วามเร็วต�ำ่ ลง และ หลั่งสาร Endorphin หรือสารแห่งความสุขออกมา ท�ำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มและผ่อนคลาย ลดความคิดฟุ้งซ่าน ร่างกาย จึงเกิดความสุขและสุนทรียท์ างอารมณ์ไปกับเสียงดนตรี ท�ำให้การท�ำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายเป็นไปตามปกติ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง 1

ผู้บัญชาการเรือนจ�ำพิเศษมีนบุรี

34 วารสารราชทั ณ ฑ์

การน�ำดนตรีมาใช้เพื่อการบ�ำบัดรักษา (Music Therapy) การน�ำดนตรีมาใช้เพื่อการบ�ำบัดรักษาพบว่า มีการน�ำมาใช้กนั มาหลายพันปีแล้ว โดยเริม่ จากชนเผ่าพืน้ เมืองทัว่ โลกได้ใช้ดนตรีในการเต้นร�ำและประกอบพิธกี รรม รวมถึง เป็นส่วนหนึง่ ของการเยียวยารักษาโรคเมือ่ ประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว โดยกรีกเป็นชนชาติแรกทีน่ ำ� ดนตรีมาบ�ำบัดรักษา (ใช้พิณดีดรักษาโรคซึมเศร้า) หลังจากนั้นดนตรีบ�ำบัดได้มีความก้าวหน้าจนถึงในปัจจุบัน ซึ่งมีการน�ำดนตรีมาใช้ บ�ำบัดโรคต่างๆ ทัง้ โรคทางกายและทางจิตเวชได้อย่างดียงิ่ เช่น มีการค้นพบว่าดนตรีใช้ลดอาการเจ็บปวดจากการคลอด จากการถอนฟัน รักษาคนที่มีความเครียดกังวล แยกตัวจากสังคม หรือคนพิการซ�้ำซ้อนได้ดี ตลอดจนผู้ป่วยจิตเภท ผู้มีพฤติกรรมถดถอยได้ และที่ส�ำคัญคือเสียงเพลงสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนได้เนื่องจากดนตรีช่วยปรับ สภาพจิตใจให้อยูใ่ นสภาวะสมดุล มีมมุ มองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุน้ และพัฒนา ทักษะการเรียนรูแ้ ละความจ�ำ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม การสือ่ สาร การเคลือ่ นไหว และการปรับลดพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนสามารถท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ตัวอย่างเช่น 1) จังหวะหรือลีลา (Rhythm) ช่วยสร้างเสริมสมาธิ และช่วยในการผ่อนคลาย 2) ระดับเสียง (Pitch) เสียงในระดับต�่ำและระดับสูงปานกลาง จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ 3) ความดัง (Volume/Intensity) เสียงทีเ่ บานุม่ จะท�ำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ ในขณะทีเ่ สียงดังท�ำให้เกิด การเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบในการควบคุมตนเองได้ดี มีความสงบ และ เกิดสมาธิได้ในที่สุด 4) ท�ำนองเพลง (Melody) ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ท�ำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และ ลดความวิตกกังวล 5) การประสานเสียง (Harmony) ช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกได้โดยดูจากปฏิกิริยาที่แสดงออกมา เมื่อฟังเสียงประสานต่างๆ จากบทเพลง

วารสารราชทั ณ ฑ์ 35

ประโยชน์ของการร้องเพลงประสานเสียง โดยนักวิจยั ทีม่ หาวิทยาลัย Gothenburg ประเทศสวีเดน ค้นพบว่า การร้องเพลงร่วมกันแบบคณะประสานเสียงจะท�ำให้ลมหายใจเข้าออกของนักร้องทุกคนต้องสัมพันธ์กันและยังท�ำให้ การเต้นของหัวใจเป็นจังหวะเดียวกันด้วย และนักวิจยั ด้านประสาทวิทยา Bjorn Vickhoff ซึง่ เป็นนักร้องและนักแต่งเพลง ระบุว่าเมื่อนักร้องเปล่งเสียงร้อง อัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง และเมื่อหยุดพักระหว่างประโยคเพื่อหายใจเข้าไป อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น สลับกันเช่นนี้ไปตลอดทั้งเพลง โดยได้ท�ำการทดสอบพบว่านักร้องทุกคนในคณะ ประสานเสียงที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีจังหวะการเต้นของหัวใจไปในทางเดียวกัน ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็มีแนวโน้มที่นักร้อง ทุกคนในคณะจะมีอารมณ์ร่วมในแบบเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องหายใจเข้าลึกๆ ในช่วงท่อนแยกจะท�ำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย สรุปว่าการร้องเพลงประสานเสียงจะท�ำให้เกิดความผูกพันทัง้ ทางร่างกายและจิตใจในหมูน่ กั ร้องประสานเสียง โดยไม่รู้ตัว ดนตรีกบั ความสามารถของสมองทีเ่ กีย่ วข้องการติดยาเสพติด จากการรวบรวมผลการวิจยั ต่างประเทศของ รศ.ดร. นวลจันทร์ จุฑาภักดีกลุ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวติ Executive function (EFs) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ความบกพร่องในการท�ำงานของสมอง EFs (ชุดกระบวนการทางความคิด ทีช่ ว่ ยให้วางแผน/เป้าหมายและจัดการกับงานหลายๆ อย่างให้ลลุ ว่ งเรียบร้อยได้ สามารถจัดล�ำดับความส�ำคัญของงาน และท�ำไปเป็นขั้นตอนจนส�ำเร็จ รวมทั้งควบคุมแรงอยาก แรงกระตุ้นต่างๆ ไม่ให้สนใจไปนอกลู่นอกทาง) ซึ่งเป็นสาเหตุ ของการติดยาเสพติด เนื่องจากความบกพร่องในการท�ำงานของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ซึ่งท�ำหน้าที่ ยับยัง้ การเข้าหายาเสพติดโดยการควบคุมความคิดและการกระท�ำ (Cognitive control) ท�ำให้ไม่สามารถยับยัง้ ความคิด และการกระท�ำ (Inhibition) ทีเ่ กีย่ วข้องกับทุกขัน้ ตอนของการติดยาเสพติด ตัง้ แต่การท�ำให้เข้าไปอยูใ่ นสถานการณ์เสีย่ ง ทดลองใช้ แ ละใช้ ซ้� ำ จนติ ด รวมทั้ ง กลั บ ไปเสพติ ด ซ�้ ำ ซึ่ ง การพั ฒ นา EFs จะเป็ น การสร้ า งภู มิ คุ ้ ม กั น ยาเสพติ ด โดยผ่านกระบวนการ การเรียนรูท้ หี่ ลากหลายตามช่วงวัย เช่น การอ่านช่วยพัฒนาทักษะสมองและสมาธิ การเล่นดนตรี/ ท�ำงานศิลปะท�ำให้สมองมีความตื่นตัวในการท�ำงาน และการเล่นกีฬา/การเล่นที่มีกฎกติกาหรือเล่นเป็นทีมจะช่วยฝึก เรื่องการคิดและการวางเป้าหมาย (จะน�ำเสนอการส่งเสริมกีฬาเพื่อการพัฒนาผู้ต้องขัง “แดนสามัคคีเกมส์ เรือนจ�ำ พิเศษมีนบุรี” ในคราวต่อไป) เป็นต้น เพื่อมิให้กลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรือกระท�ำผิดซ�ำ้ การพัฒนาผู้ต้องขังด้วยดนตรี เรือนจ�ำพิเศษมีนบุรีได้ส่งเสริมให้ผู้ต้องขังได้รับการพัฒนาทางด้านดนตรีมานานหลายปี ทั้งดนตรีไทย (วงอังกะลุงของผู้ต้องขังหญิง) และดนตรีสากล (วงดนตรีของผู้ต้องขังชาย) ตามความสนใจเท่านั้น ยังไม่ได้น�ำหลักวิชาการเข้ามาพัฒนาผู้ต้องขังอย่างเป็นระบบ จนกระทั่ง ในช่วงกลางปี 2559 จึงได้พัฒนากระบวนการน�ำดนตรีมาพัฒนาผู้ต้องขังให้มีประสิทธิภาพ มากยิง่ ขึน้ เนือ่ งจากดนตรีสามารถเข้าถึงกลุม่ ผูต้ อ้ งขังได้งา่ ย และจากการทบทวนองค์ความรู้ ที่ผ่านมาในข้างต้น เรือนจ�ำได้เชิญอาจารย์จากโรงเรียนวัดปากบึงที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านอังกะลุงและได้รบั รางวัลรองแชมป์ประเทศไทยเข้ามาสอนการเล่นอังกะลุง ให้กับผู้ต้องขังหญิง และเชิญอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดนตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเข้ามาสอนการร้องประสานเสียง ให้กบั ผูต้ อ้ งขังชายและผูต้ อ้ งขังหญิง ต่อมาจึงได้จดั ตัง้ คณะนักร้องประสานเสียงขึ้น เพื่อรับเสด็จ

36 วารสารราชทั ณ ฑ์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมือ่ คราว เสด็ จ เปิ ด ห้ อ งสมุ ด พร้ อ มปั ญ ญา เรื อ นจ� ำ พิ เ ศษมี น บุ รี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 เพื่อทอดพระเนตรห้องเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชด�ำริฯ การฝึกวิชาชีพ การประกอบอาหารคาว-หวานของผูต้ อ้ งขัง ห้องเรียนผูไ้ ม่รู้ หนังสือ และห้องฝึกวิชาชีพช่างสิบหมู่ และทอดพระเนตร การแสดงอังกะลุงของผู้ต้องขังหญิงซึ่งเล่นเพลง “ชะตาชีวิต” เป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช และก่อนเสด็จฯ กลับ กลุม่ ผูต้ อ้ งขังชาย-หญิง ซึง่ เป็นนักร้องประสานเสียงได้ยนื ร้องเพลง ประสานเสียง บทเพลงพระราชนิพนธ์ “สายฝน” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรใกล้ๆ และ ทอดพระเนตรจนการแสดงจบลงก่อนเสด็จฯ กลับ ซึง่ ในครัง้ นัน้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงชืน่ ชมและทรงให้ ก�ำลังใจกับคณะนักร้องประสานเสียงและทรงให้หมั่นฝึกซ้อม และทรงรับสั่งว่า “หากสังคมไม่ให้โอกาส ก็จะไม่มีคนดี คืนสู่สังคม” นักดนตรี (มือเปียโน) ของคณะนักร้องประสานเสียงเล่าว่า “...ผมเป็นนักดนตรีมอื อาชีพ ก็เคยเล่นกัญชามาบ้าง เรียนจบปริญญาตรี แต่ผมก็พลาดกลายเป็นผู้ต้องขังชายจนได้... ถูกขังมาหลายปีแล้ว เห็นการเปลี่ยนแปลงของ เรือนจ�ำ ซึ่งในยุคนี้เน้นที่การพัฒนาในตัวพวกผม และท�ำให้ผมเปลี่ยนไป ในวันที่ทางเรือนจ�ำตามหานักดนตรีมืออาชีพ เพื่อเล่นเปียโน ซึ่งตอนนั้นทั้งเรือนจ�ำมีผมคนเดียวที่เล่นได้... ผมต้องออกจากกองลูกเสือ (เพราะหาคนอื่นเป็นลูกเสือ แทนผมได้) มาเป็นนักดนตรีของนักร้องประสานเสียง ในวันรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก่อนที่จะ เสด็จกลับ เมือ่ ผมเล่นโน้ตตัวแรก ทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรใกล้ๆ และทอดพระเนตรจนการ แสดงจบลงก่อนเสด็จฯ ผมและทุกคนน�้ำตาไหลอย่างมีความสุข ผมเล่นดนตรี ได้ทุกชนิดและแสดงคอนเสิร์ตมีคนปรบมือให้กับวงดนตรีของผม มาเป็นล้านๆ คน แต่ไม่มเี สียงปรบมือทีเ่ พราะทีส่ ดุ และมีคา่ มากที่สุดในชีวิตของผมเท่ากับเสียงของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ...”

วารสารราชทั ณ ฑ์ 37

ผู้ฝึกสอน อาจารย์ผู้ฝึกสอนเล่าว่า “...การสอนผู้ต้องขังไม่ยากเพราะผู้ต้องขังมีความสนใจเรื่องดนตรี และ มีความตั้งใจมุ่งมั่นอยู่แล้ว แต่ขาดหลักวิชาการและทักษะที่ถูกต้อง เราเพียงสอนหลักการให้และที่ส�ำคัญคือสร้าง ความเชื่อมั่นและให้ก�ำลังใจว่าทุกคนท�ำได้... งานแรกคืองานรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทุกคนท�ำได้ดีมาก และฝึกฝนพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนสามารถออกไปแสดงในงานใหญ่ๆ มาหลายงานแล้ว...” เรือนจ�ำจึงได้สนองพระมหากรุณาธิคุณ ได้ฝึกฝนพัฒนาคณะนักร้องประสานเสียงสืบต่อมา และได้รับการ ยอมรับจากหน่วยงานและบุคคลภายนอก ได้รับเชิญให้ไปท�ำการแสดงยังหน่วยงานภายนอกบ่อยครั้ง ซึ่งต้องอาศัย ความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกสอนและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมผู้ต้องขังออกไปแสดงภายนอกเรือนจ�ำ (การท�ำงาน เป็นทีมที่มีความเข้มแข็ง) เช่น

- พิธีเปิดงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ 2560

- พิธเี ปิดการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครัง้ ที่ 18 ณ เมืองทองธานี จัดโดยกรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข

- งานแถลงข่าว 100 วัน เปลีย่ นความโทมนัสเป็นพลัง ณ ลานวิคทอรีพ่ อ้ ยส์ เกาะพญาไท อนุสาวรียช์ ยั สมรภูมิ จัดโดยส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

38 วารสารราชทั ณ ฑ์

วาทยกร (Conductor) ของคณะนักร้องประสานเสียงที่มีรอยสักเต็มตัวและล�ำคอ (สักมาจากข้างนอกก่อน เข้ามาอยู่ในเรือนจ�ำ) เล่าว่า “...ครั้งแรกผมเป็นเพียงนักร้องประสานเสียงคนหนึ่งเท่านั้น แต่ท่านอาจารย์มองเห็นว่า ผมเป็น Conductor ได้ เพราะถ้าจะให้ท่านอาจารย์มาเป็น Conductor ให้ทุกครั้งก็คงเป็นไปไม่ได้ ผมไม่มีความรู้เลย เมื่อท่านมั่นใจว่าผมท�ำได้ ผมก็ต้องท�ำได้ ท่านพูดเล่นๆ กับผมว่าท�ำได้อยู่แล้ว ขนาดทนเจ็บกับการสักทั้งตัวได้ ท่านก็ เริ่มสอนหลักการต่างๆ ให้ เช่น ตีความหมายของบทเพลง ผมมีหน้าที่ส�ำคัญก็คือดึงความสัมพันธ์ของคณะนักร้องออก มาเพื่อสอดผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และควบคุมโดยการใช้สัญญาณมือ ก็มือขวาส�ำหรับให้จังหวะ ส่วนมือซ้ายก็ ควบคุมในด้านอื่น เช่น ให้ร้องเสียงดังหรือค่อย หรือเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์อื่นๆ หลังจากนั้นก็เรียนรู้เพิ่มเติม จนทุกวันนี้ ผมมีความสุขมากผมเป็น Conductor ของคณะนักร้องประสานเสียงเรือนจ�ำพิเศษมีนบุรี ไม่ใช่ผู้ต้องขัง ที่ไร้ค่า...” ทั้งนี้ เรือนจ�ำนอกจากจะสอนทักษะด้านดนตรีแล้ว ยังเพิ่มเรื่องการ Empowerment เพื่อให้มี Self esteem และการปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ จนท�ำให้ผู้ต้องขังชาย-หญิงกล้าเปิดเผยใบหน้าต่อสื่อสาธารณะ เพื่อเป็นก�ำลังใจ ให้ทุกคนกล้ายอมรับความผิดพลาดแล้วเริ่มต้นใหม่ด้วยชัยชนะ ตัวอย่างเช่น - การให้ยอมรับความจริงว่า “ตนเองเคยกระท�ำผิดและสามารถกลับตัวเป็นคนดีของสังคมได้ โดยเริม่ จากการ ให้โอกาสแก่ตัวเอง” และ “การมองไปข้างหน้าเพื่อสร้างความหวัง แล้วมองไปข้างหลังเพื่อแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด” - การฝึกให้เป็นคนคิดบวก โดยการเรียนรูจ้ ากเนือ้ หาของบทเพลงต่างๆ เช่น เพลงอยูท่ เี่ รียนรู้ เพลงศรัทธา ฯลฯ “แม้พวกเราจะสูญเสียอิสรภาพ แต่พวกเรายังมีความหวังทีเ่ ปีย่ มไปด้วยศรัทธาทีจ่ ะเป็นคนดี” และ “จุดต�ำ่ สุดของชีวติ ที่ทุกคนมีโอกาสประสบเป็นได้ทั้งจุดจบและบทเรียนที่ดี”

นักแต่งเพลง ผู้ต้องขังที่เป็นนักแต่งเพลงนับร้อยเพลงของเรือนจ�ำเล่าว่า “...ผมไม่มีความรู้ ถูกจับเข้าคุกมา หลายรอบ ไม่เคยมีความคิดที่จะเลิกเล่นและขายยาบ้า ก็มันไม่รู้จะท�ำอะไร คิดแต่ว่าเมื่อออกไปจะต้องขายยา ให้เยอะขึน้ เพือ่ จะได้เงินมากขึน้ จะได้คมุ้ กับการถูกจับ แต่ครัง้ นีพ้ อได้แต่งเพลงตามความฝันและเพลงก็ดงั มีแต่คนขอเพลง และเมื่อได้มาเป็นนักร้องประสานเสียง มันท�ำให้เริ่มมีความคิดที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ตั้งใจที่จะเปลี่ยนตัวเองให้ได้ เป็นครั้งแรก...” นอกจากนี้ เรือนจ�ำยังได้ประสานทีมงานจิตอาสาเพือ่ เข้าบันทึกเสียงคณะนักร้องประสานเสียงเรือนจ�ำพิเศษมีนบุรี ในเพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน สายฝน ชะตาชีวิต” และเพลงซึ่งผู้ต้องขังได้แต่งขึ้นมาเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทมหาภูมพิ ลอดุลยเดชฯ เพลงจงรักภักดีและเพลงรักพ่อต้องรักกัน เพือ่ ประชาสัมพันธ์ผา่ นทาง สื่อต่างๆ “ถึงแม้ตัวจะออกไม่ได้ แต่ขอเอาเสียงเพลงออกไปเพื่อขอโอกาสในสังคม” โดยสามารถติดตามชมได้ใน YouTube “ผู้ต้องขังร้องเพลงเรือนจ�ำพิเศษมีนบุรี”

วารสารราชทั ณ ฑ์ 39

ในปี 2560 ได้พัฒนาไปอีกขั้น โดยสอนให้นักร้องประสานเสียงได้ร้องเพลงประกอบท่าทาง (เช่น เพลงบัวขาว ซึง่ เป็นเพลงประจ�ำของกระทรวงยุตธิ รรม เป็นต้น) และการน�ำวงอังกะลุงและคณะนักร้องประสานเสียงมาแสดงร่วมกัน เพือ่ ผสมผสานร้อยเรียงทัง้ ดนตรีไทยและดนตรีสากล รวมทัง้ กระตุน้ ให้ผตู้ อ้ งขังและเจ้าหน้าทีร่ ว่ มกันคิดพัฒนาการแสดง ให้น่าสนใจและดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ต้องเปิดรับสิ่งใหม่ตลอดเวลา

เมือ่ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 ร่วมกับ สสส. ด�ำเนิน โครงการ “เสียงจากคนข้างในก�ำแพงส่งถึงคนภายนอก” ภายใต้ โ ครงการแรงบั น ดาลใจจากพระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชฯ สูผ่ ตู้ อ้ งราชทัณฑ์ในการ สร้างเสริมสุขภาวะและการสร้างทักษะชีวติ และรับมอบหนังสือ 100 วัน ร้อยเรื่องเปลี่ยนความโทมนัสเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ การประชาสั ม พั น ธ์ ค ณะนั ก ร้ อ งประสานเสี ย ง เรื อ นจ� ำ พิ เ ศษมี น บุ รี ผ ่ า นสื่ อ ต่ า งๆ โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ต้องขังคนอื่นๆ และผู้พ้นโทษ อันจะน�ำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือสังคมให้การยอมรับและ ให้โอกาสแก่ผู้พ้นโทษกลับมาเป็นคนดีของสังคมและมีที่ยืนอยู่ในสังคมได้อย่างแท้จริง เอกสารอ้างอิง จิรภรณ์ อังวิทยาธร. ดนตรีบ�ำบัด: ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล : www. pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/395/ดนตรีบ�ำบัด/. ดนตรีบ�ำบัด:https://www.baanjomyut.com/library/musical_therapy/. นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. Executive Functions (การคิดเชิงบริหาร). เอกสารประกอบการประชุม เชิงปฏิบัติการระดมสมองวางกรอบประเด็นและเนื้อหาหนังสือนิทานฯ โครงการ “หนังสือนิทานสร้างภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดสาหรับเด็กปฐมวัย”. Executive Function Fact Sheet: http://www.ncld.org/ld-basics/ld-aamp-executive-functioning/basic-ef-facts/executive-function-fact-sheet. Musical therapy https://www.baanjomyut.com/library/musical_therapy/. Music therapy: http://www.goodtherapy.org/learn-about-therapy/types/music-therapy. http://www.thaihealth.or.th/Content/32566-ข้อดีของ“ดนตรีบำ� บัด”.html. American Music Therapy Association. (2015). What is music therapy? Retrieved fromhttp:// www.musictherapy.org/faq/. Music benefits: http://www.thebestbrainpossible.com/how-listening-to-music-benefitsyour-brain/. 40 วารสารราชทั ณ ฑ์

การส่งผู้ต้องขังคืนสู่สังคมของราชทัณฑ์สิงคโปร์ วันวิสา เพ็งอุดม สิงคโปร์นับเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบความส�ำเร็จในการส่งผู้ต้องขังกลับสู่สังคม เนื่องด้วยมีระบบการฟื้นฟู ดูแล และการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยจากเรือนจ�ำทีเ่ ข้มข้นภายใต้การก�ำกับดูแลโดยกรมราชทัณฑ์ การสร้างโอกาส ในการประกอบอาชีพของผู้ต้องขังหลังพ้นโทษโดยความร่วมมือของหน่วยงานในภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม การผลักดันค่านิยมการสร้างการยอมรับและให้โอกาสในการกลับมาใช้ชีวิตในสังคม หลังพ้นโทษผ่านโครงการต่างๆ ด้วยระบบทีม่ กี ารเชือ่ มโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ ท�ำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทีเ่ ข้มแข็ง และเป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ในการส่ ง ตั ว ผู ้ ต ้ อ งขั ง กลับสูส่ งั คมของราชทัณฑ์สงิ คโปร์ได้อย่างดีเยีย่ ม ส่งผลให้สถิติการกระท�ำผิดซ�้ำของผู้ต้องขัง ที่ถูกปล่อยตัวออกไปครบ 3 ปี ลดลงจาก ร้อยละ 26.5 ในปี 2014 เป็นร้อยละ 25.9 ในปี 2015 บทความนี้ จึงมุ่งเน้นที่จะเสนอในเรื่อง การเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังก่อนปล่อยตัว และการดูแลผู้ต้องขังหลังปล่อยตัว เพื่อให้ ทราบถึงกระบวนการในการส่งตัวผูต้ อ้ งขังคืน สู่สังคมของราชทัณฑ์สิงคโปร์ได้อย่างชัดเจน

วารสารราชทั ณ ฑ์ 41

เรือนจ�ำเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยของสิงคโปร์ เรื อ นจ� ำ ของสิ ง คโปร์ อ ยู ่ ภ ายใต้ ก ารควบคุ ม ดู แ ลของ กรมราชทัณฑ์ โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ศูนย์ Changi Prison Complex ที่นี่มีทั้งเรือนจ�ำระดับความมั่นคงสูงสุด เรือนจ�ำระดับความมั่นคง ปานกลาง จนถึ ง เรื อ นจ� ำ ระดั บ ความมั่ น คงต�่ ำ โดยเป็ น เรื อ นจ� ำ เตรียมความพร้อมก่อนปล่อยที่มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมให้ ผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ ทั้งด้านการพัฒนาพฤตินิสัย การปรับเปลี่ยน พฤติกรรม และการฝึกอาชีพ ภายในมีการจัดการสนับสนุนการ เตรี ย มความพร้ อ มอย่ า งครบวงจร โดยรวมเอาทั้ ง เรื อ นนอน สถานพยาบาล สถานฝึกอาชีพ โรงเรียน และโรงงานมาไว้ในอาคาร เดียวกัน ความมั่นคงในการควบคุมและรักษาความปลอดภัยถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีตามประเทศในแถบยุโรป มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการจัดการ เช่น การใช้ Housing Control Center ควบคุมการเปิดปิดประตู อัตโนมัติ การใช้ระบบ Barcode สายรัดข้อมือของผู้ต้องขัง เป็นต้น ภายในเรือนนอนของผูต้ อ้ งขังมีทอี่ าบน�ำ้ และส้วม มีของใช้สว่ นตัวทีจ่ ำ� เป็น ประกอบด้วย ผ้าห่ม ถังน�ำ้ พลาสติก แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ช้อน และเสื้อผ้า ใน 1 เรือนนอนมีทั้งหมด 2 ชั้น แต่ละชั้นมี 19 ห้อง ห้องหนึ่งสามารถ อยู่ได้สูงสุด 3 คน มีโทรทัศน์ที่ถูกตั้งโปรแกรมรายการต่างๆ ไว้ตามความเหมาะสม เช่น สารคดี ข่าวที่ช้ากว่าภายนอก 1 สัปดาห์ มีห้องส�ำหรับเยี่ยมญาติผ่าน VDO conference โดยผู้ต้องขังมีสิทธิ์เยี่ยมญาติได้เดือนละ 2 ครั้ง ผ่าน VDO conference 1 ครั้ง และแบบพบหน้า 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ผู้ต้องขังมีเวลาออกจากเรือนนอนเพื่อพักผ่อนได้วันละ 1 ชั่วโมง โดยบริเวณที่ให้ผู้ต้องขังพักผ่อนเป็นลานกีฬากว้างๆ มีหลังคาเป็นกรงเหล็ก แสงแดดสามารถส่องผ่านได้ และอากาศถ่ายเทสะดวก เรือนจ�ำเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยใน Changi Prison Complex มีโรงงานผลิตขนมปังโดยฝีมือผู้ต้องขัง ซึง่ อยูภ่ ายใต้การควบคุมดูแลของ SCORE เป็นโรงงานทีม่ เี ครือ่ งมือในการผลิตทีค่ รบครัน สะอาดและมีการรักษามาตรฐาน เป็นอย่างดี SCORE จัดหลักสูตรการท�ำขนมปังให้แก่ผู้ต้องขัง โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการท�ำขนมปัง เข้ามาสอนโดยตรง หลังจากจบหลักสูตรผู้ต้องขังจะได้รับใบรับรอง Singapore Workforce Skills Qualification ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสมัครงานหลังจากพ้นโทษ ขนมปังจากโรงงานในเรือนจ�ำแห่งนี้ถูกผลิตขึ้นตลอด 365 วัน มีเจ้าหน้าที่จาก SCORE 1 คน เข้ามาควบคุมมาตรฐานการผลิตในทุกวัน ขนมปังที่ผลิตได้จะถูกส่งออกไปยังโรงแรม สายการบิน บริษัทจัดเลี้ยง ร้านอาหาร และร้านขนมหลายแห่งในประเทศสิงคโปร์ นอกจากโรงงานขนมปังแล้วยังมี โรงซักรีดทีท่ นั สมัย รับซักรีดให้กบั โรงแรมต่างๆ ในสิงคโปร์มากมาย รวมทัง้ ยังมีโรงงานขนาดย่อยๆ หลายแห่ง ซึง่ จัดการ โดยเอกชนภายนอกที่เข้ามาจัดตั้งโรงงานในเรือนจ�ำ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังได้ฝึกอาชีพและเมื่อพ้นโทษผู้ต้องขัง สามารถออกไปท�ำงานกับโรงงานเหล่านี้ได้ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยของเรือนจ�ำในสิงคโปร์ มีทงั้ โปรแกรมพืน้ ฐานส�ำหรับนักโทษทุกคน เช่น โปรแกรมการศึกษา โปรแกรมการฝึกอาชีพ โปรแกรมการฝึกทักษะในการท�ำงาน โปรแกรมพัฒนาพฤตินิสัย นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมเฉพาะของแต่ละบุคคลโดยปรับตามปัจจัยต่างๆ ทั้งฐานความผิด จ�ำนวนโทษ หรือตาม ความต้องการของผู้ต้องขัง ตัวอย่างโปรแกรมเฉพาะ เช่น โปรแกรมเตรียมความพร้อม 10 เดือน ส�ำหรับนักโทษ ที่มีระดับความเสี่ยงสูง โปรแกรมบ�ำบัดส�ำหรับผู้ต้องขังยาเสพติด เป็นต้น 42 วารสารราชทั ณ ฑ์

Singapore Corporation of Rehabilitative Enterprises (SCORE) การที่เรือนจ�ำของสิงคโปร์มีการฝึก วิชาชีพผู้ต้องขังที่ก้าวหน้าและเป็นระบบ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ภายนอกเรือนจ�ำ ตลอดจนมีการท�ำงานของ ผู้ต้องขังในเรือนจ�ำเป็นระบบอุตสาหกรรม ที่มีประสิทธิภาพนั้น สืบเนื่องมาจากสิงคโปร์ มีการจัดตัง้ หน่วยงาน Singapore Corporation of Rehabilitative Enterprises (SCORE) ท�ำหน้าที่เช่นเดียวกับส�ำนักพัฒนาพฤตินิสัย ของราชทั ณ ฑ์ ไ ทย แต่ มี ค วามคล่ อ งตั ว เนื่ อ งจากถู ก แยกตั ว ออกมาเป็ น อิ ส ระ ด�ำเนินการแบบกึง่ ราชการกึง่ เอกชนมีคณะกรรมการซึง่ ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน บริษทั และหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยในการส่งเสริม การฝึกวิชาชีพและการหาตลาดแรงงานให้กับผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ SCORE เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทย จัดตัง้ ขึน้ ในปี 1976 โดยมีบทบาทส�ำคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการ ประกอบอาชีพของผูต้ อ้ งขังหลังพ้นโทษ เพือ่ ให้พวกเขาสามารถกลับไป ใช้ชีวิตกับครอบครัวในสังคมภายนอกและไม่กลับมากระท�ำผิดซ�้ำอีก SCORE ใช้วิธีการหลากหลายรูปแบบในการ บูรณาการเพือ่ บ�ำบัดฟืน้ ฟูผตู้ อ้ งขัง โดยมุง่ เน้นไปทีก่ ารฝึกอบรมด้วยโปรแกรมการท�ำงานต่างๆ หลักการส�ำคัญของ SCORE ในการช่วยเหลือผู้ต้องขังให้สามารถกลับเข้าสู่สังคมได้ คือการฝึกอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อม การเตรียมตลาดงาน เพือ่ รองรับ และการสร้างความยัง่ ยืนในการท�ำงาน SCORE ได้จดั ตัง้ ศูนย์ Case Management Services เพือ่ ช่วยดูแล การจ้างงานของผูต้ อ้ งขังใน 6 เดือนแรกหลังปล่อยตัว อีกทัง้ ช่วยจัดสรรงานให้ตรงตามความสามารถและความเหมาะสม ของผู้ต้องขัง ผ่านการจ�ำแนกโดยการประเมินด้วยแบบทดสอบของ SCORE มีบริการแนะแนวอาชีพเพื่อเตรียมความ พร้อมให้แก่ผตู้ อ้ งขังในการเข้าท�ำงาน มีหน่วยช่วยเหลือในการหางาน รวมทัง้ พัฒนาทักษะงานระยะยาวเพือ่ ให้พวกเขา สามารถอยู่กับงานนั้นๆ ได้เป็นระยะเวลานาน มีบริษัทมากมายกว่า 4,000 แห่ง ที่ยินดีรับผู้พ้นโทษเข้าท�ำงานโดยให้ ค่าแรงตามที่กฎหมายระบุ ก่อนที่ผู้ต้องขังจะเข้าสู่ตลาดงานหลังจากพ้นโทษ SCORE ได้จัดโปรแกรมเตรียมความพร้อม ทั้งโปรแกรม ฝึกอาชีพเฉพาะด้าน เช่น การท�ำขนม การท�ำอาหารเบื้องต้น การจัดสวน การซักรีดเสื้อผ้า หรือการปฏิบัติงานด้าน โลจิสติกส์ โปรแกรมฝึกทักษะทัว่ ไปทีจ่ ำ� เป็น เช่น ทักษะการอ่าน การเขียน หรือทักษะการหางาน รวมทัง้ โปรแกรมการ ท�ำงาน ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ส่วนบริหารธุรกิจ จัดการโดย SCORE โดยมีเจ้าหน้าที่จาก SCORE เข้ามาควบคุมการผลิตและคุณภาพสินค้าก่อนน�ำส่งลูกค้า เช่น การผลิตอาหารกล่องฮาลาล เบเกอรี่ เป็นต้น และ ส่วนที่สองคือ ส่วนการฝึกงานจากบริษัทภายนอก

วารสารราชทั ณ ฑ์ 43

Community Action for the Rehabilitation of Ex-Offenders (CARE) Network ในการส่งผูต้ อ้ งขังกลับสูส่ งั คมโดยไม่ให้พวกเขากลับมากระท�าผิด ซ�า้ อีกนัน้ นอกเหนือจาก SCORE ทีท่ า� หน้าทีใ่ นการฝึกวิชาชีพและเชือ่ มต่อ กับตลาดแรงงานภายนอกแล้ว ยังมีการจัดตั้ง Community Action for the Rehabilitation of Ex-Offenders (CARE) Network หรือเครือข่าย CARE ขึ้น ซึ่งเป็นก�าลังส�าคัญในการสนับสนุน เครือข่าย CARE เริ่มด�าเนินการในปี 2000 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการฟืน้ ฟูสมรรถภาพของผูต้ อ้ งขังในสิงคโปร์ มุ่งเน้นในเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยและสร้าง ความยืดหยุน่ ในการจัดการชีวติ ของผูต้ อ้ งขัง สนับสนุนผูต้ อ้ งขังและครอบครัวให้มโี อกาสครัง้ ทีส่ อง ในการด�าเนินชีวิตต่อไป โดยเป็นการผนึกก�าลังและการร่วมมือกันของเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มี บทบาทส�าคัญในประเทศ 9 ฝ่าย ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพัฒนาสังคมและครอบครัว กรมราชทัณฑ์ สิงคโปร์ SCORE, National Council of Social Service, Industrial and Services Co-operative Society Ltd, Singapore Anti-Narcotics Association, Singapore After-Care Association และ Yellow Ribbon Project การผนึกก�าลังของเครือข่ายจากฝ่ายต่างๆ นี้ ท�าให้เกิดพลังของการร่วมมือและสนับสนุนผูต้ อ้ งขังได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งธนาคารต�าแหน่งงาน (Job Bank) ที่สามารถจัดสรรงานในต�าแหน่งต่างๆ ในบริษัทหรือห้างร้านให้กับ ผู้พ้นโทษ โดยที่ผู้พ้นโทษไม่ต้องไปตระเวนหางานที่ใดขอเพียงมีความกล้าที่จะเปิดเผยตัวเองและตั้งใจปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตใหม่ ซึ่งประเด็นนี้มักจะเป็นปัญหาส�าหรับผู้พ้นโทษเพราะโดยทั่วไปที่จะมี Stigma หรือมลทินเป็นตราบาป กลัวสังคมรังเกียจว่าเป็นคนขี้คุกขี้ตะรางหรือกลัวสังคมจะไม่ยอมรับ ซึ่งด้วยเหตุนี้สิงคโปร์จึงได้จัดตั้งโครงการ Yellow Ribbon ขึ้นมาเพื่อรองรับ

Yellow Ribbon Project โครงการ Yellow Ribbon หนึ่งในพันธมิตรของเครือข่าย CARE เริ่มด�าเนินการ ในปี 2004 เป็ น โครงการที่ พ ยายามท� า งานร่ ว มกั บ ชุ ม ชนเพื่ อ สร้ า งการยอมรั บ และการตระหนักรู้ถึงความจ�าเป็นในการให้โอกาสผู้พ้นโทษและครอบครัวในการกลับมา ใช้ชีวิตในสังคมภายนอก ด้วยการสร้างพลังของชุมชนผ่านโครงการต่างๆ โดยมีเครือข่าย CARE เป็นก�าลังส�าคัญในการ ผลักดันและสนับสนุนโครงการ แรงบันดาลใจส�าหรับโครงการนี้มาจากเพลง Tie a Yellow Ribbon Round the Old Oak Tree ซึ่งเป็น การผูกโบว์สีเหลืองไว้ที่ต้นโอ๊กเพื่อตอบรับการกลับบ้านของทหารผ่านศึก แสดงถึงการยอมรับและไม่รังเกียจ จากสังคม เช่นเดียวกับโครงการนี้ที่ต้องการสื่อให้ผู้พ้นโทษทราบว่า สังคมยังให้การตอบรับและพร้อมจะให้อภัย ผู้พ้นโทษ เป็นโครงการที่เข้ามาช่วยเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองด้านลบของคนในสังคมที่มีต่อผู้พ้นโทษ กระตุ้น และผลักดันให้เกิดความร่วมมือในสังคมเพื่อปลดล็อกความกลัวการไม่ยอมรับจากสังคมของผู้พ้นโทษ ไม่ให้สังคม ต้องกลายเป็นคุกที่สองส�าหรับพวกเขา 44 วารสารราชทั ณ ฑ

โครงการ Yellow Ribbon มี ก ารรณรงค์ ใ หญ่ ทุ ก ปี โ ดยมี ทั้ ง ประชาชน จากภาคส่วนต่างๆ รวมทัง้ ผูบ้ ริหารระดับสูงของประเทศเข้าร่วมรณรงค์ดว้ ย มีการจัดวิง่ มาราธอนประจ�ำปีและการระดมทุนต่างๆ มากมาย ท�ำให้โครงการนี้ส่งผลกระทบ ในวงกว้างต่อการรับรู้ของคนในสังคมและมีส่วนในการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคน ในสังคมต่อการให้โอกาสและยอมรับผูพ้ น้ โทษ โครงการ Yellow Ribbon ของสิงคโปร์นนั้ ถูกน�ำไปเป็นแบบอย่าง พร้อมทั้งได้รับการยอมรับและยกย่องในหลายประเทศ แม้แต่ ในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติก็ได้มีการกล่าวถึงโครงการนี้

บ้านกึ่งวิถี (Halfway House) บ้านกึง่ วิถใี นสิงคโปร์ ก่อตัง้ ขึน้ ในปี 1995 อยูภ่ ายใต้การดูแลของกรมสวัสดิการสังคมของสิงคโปร์ เป็นสถานที่ ช่วยเหลือและเตรียมความพร้อมผู้พ้นโทษที่ยังไม่สามารถกลับสู่สังคมได้ มีทั้งผู้พ้นโทษที่ไม่มีบ้าน ครอบครัว ญาติ หรือสถานที่ให้กลับไป และเปิดรับผู้ต้องขังใกล้พ้นโทษที่ได้รับการคัดเลือกให้สามารถเข้ามาทดลองใช้ชีวิตเพื่อปรับตัว ทัง้ ในด้านการท�ำงาน การออกไปอยูก่ บั สภาพแวดล้อมและสังคมภายนอก ก่อนทีพ่ วกเขาจะได้รบั การปล่อยตัว บ้านกึง่ วิถี ไม่ได้รับเฉพาะผู้กระท�ำผิดเท่านั้น ยังเปิดรับคนเร่ร่อนที่ไม่มีที่ไปอีกด้วย โดยสมาชิกทุกคนที่เข้ามาอยู่ในบ้านกึ่งวิถี จะต้องเข้าโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยใน 6 เดือนแรก นั่นคือโปรแกรมการฟื้นฟูขั้นพื้นฐาน HSM (Basic HSM rehabilitation Program) ซึง่ ออกแบบโดยราชทัณฑ์สงิ คโปร์ ในปี 2010 เป็นโปรแกรมทีช่ ว่ ยฟืน้ ฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ฝึกวินยั และความรับผิดชอบในการ ท�ำงาน โดยขณะนี้โปรแกรมการฟื้นฟูขั้นพื้นฐาน HSM ได้ถูกทดลองใช้ในบ้านกึ่งวิถี ทั่วประเทศสิงคโปร์ซ่ึงมีทั้งหมด 8 แห่ง ได้แก่ Breakthrough Missions, Green Haven, HEB-Ahram Halfway House, Jamiyah Halfway House (Darul Islah), Pertapis Halfway House, Teen Challenge, The Turning Point และ The Helping Hand

บ้านกึ่งวิถี Helping Hand ตัวอย่างหนึ่งของบ้านกึ่งวิถีในสิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 ในฐานะ Christian Halfway House ที่ช่วยฟื้นฟู ผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด ปัจจุบัน Helping Hand เปิดรับผู้พ้นโทษชายและผู้ต้องขังชายที่ใกล้พ้นโทษ โดยสามารถ รองรับสมาชิกได้ 110 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้พ้นโทษที่ไม่มีบ้าน ครอบครัว ญาติ หรือสถานที่ให้กลับไป ครึ่งหนึ่งของ ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นี้มีอายุมากกว่า 30 ปี Helping Hand ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้พ้นโทษและผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษ ให้สามารถกลับสู่สังคมได้โดยหยึดหลักธรรมของศาสนาคริสต์เป็นวิสัยทัศน์ในการด�ำเนินการ ทุกคนที่เข้ามาอยู่จะต้อง เข้าสู่โปรแกรมการฟื้นฟูขั้นพื้นฐาน HSM (Basic HSM rehabilitation Program) ในช่วง 6 เดือนแรก และต่อด้วย โปรแกรมการบ� ำ บั ด เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มในการใช้ ชี วิ ต ภายนอก โดยจั ด สรรโปรแกรมตามความเหมาะสม ของแต่ละบุคคล เช่น - โปรแกรมการบ�ำบัดด้วยการท�ำงาน เปิดโอกาสให้ได้ทดลองท�ำงาน เพื่อฝึกจรรยาบรรณในการท�ำงาน ฝึกความรับผิดชอบ และเพื่อให้เห็นว่าตนเองสามารถประสบความส�ำเร็จได้จากการท�ำงาน - โปรแกรมการบ�ำบัดทางจิตใจ ใช้หลักธรรมของศาสนาคริสต์ในการฟื้นฟูจิตใจ เพื่อให้พร้อมต่อการใช้ชีวิต ภายนอกได้อย่างถูกต้อง - โปรแกรมสังคมบ�ำบัด สร้างทักษะการเข้าสังคมระหว่างบุคคลในสภาพแวดล้อมที่ดีและเอื้ออ�ำนวย ช่วยให้ สามารถพัฒนาความสัมพันธ์ใหม่ๆ และมีโอกาสที่ดีในการสร้างจิตส�ำนึกที่ดีต่อสังคม วารสารราชทั ณ ฑ์ 45

- โปรแกรมกายภาพบ�ำบัด ใช้กีฬาเข้ามาช่วยในการบ�ำบัด มีการจัดแข่งขันฟุตบอล ว่ายน�้ำ วิ่ง เป็นต้น เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตที่ดี ให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยเชื่อว่าจะส่งผลให้มีจิตใจที่แข็งแกร่งด้วยเช่นกัน เมื่อจบโปรแกรมต่างๆ ที่จัดไว้ ทุกคนสามารถทดลองออกไปท�ำงานภายนอกได้ และยังมีสิทธิ์ กลับบ้านในวันอาทิตย์แต่มีข้อห้ามไม่ให้เสพสารเสพติด ดื่มสุรา และสูบบุหรี่ หากตรวจพบว่า มีการกระท�ำดังกล่าวจะถูกไล่ออกหรือส่งกลับไปยังเรือนจ�ำทันที เงินทุนที่ Helping Hand ใช้ในการด�ำเนินการ นอกจากได้รับจากรัฐบาล และการรั บ บริ จ าคแล้ว Helping Hand ยังสร้า งรายได้ เ พิ่ ม ด้ วยการผลิ ต เฟอร์นิเจอร์ไม้ เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน รวมทั้งเปิดบริการรับจ้างขนย้ายของ และมีร้านขายอุปกรณ์ตกปลาชื่อว่า Big Fish อีกด้วย

บทสรุป ประเทศสิงคโปร์มรี ะบบการส่งตัวผูต้ อ้ งขังคืนสูส่ งั คมทีเ่ กิดจากการเชือ่ มโยงความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วน ในสังคม ก่อให้เกิดเครือข่ายของการด�ำเนินการส่งตัวผูต้ อ้ งขังคืนสูส่ งั คมทีส่ มบรูณข์ นาดใหญ่ โดยมีกรมราชทัณฑ์สงิ คโปร์ เป็นเสาหลักส�ำคัญในการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือนี้ นับตั้งแต่การควบคุมบริหารจัดการเรือนจ�ำที่ท�ำหน้าฟื้นฟู และดูแลผูต้ อ้ งขังให้กลับมาเป็นคนดีผา่ นโปรแกรมพัฒนาในด้านต่างๆ เพือ่ เตรียมความพร้อมผูต้ อ้ งขังก่อนพ้นโทษ เชือ่ มโยง หน่วยงาน Singapore Corporation of Rehabilitative Enterprises (SCORE) ให้เข้ามาช่วยสร้างทักษะ ความรู้ และโอกาสในการประกอบอาชีพสุจริตแก่ผตู้ อ้ งขังหลังจากพ้นโทษ สนับสนุนโครงการ Yellow Ribbon ทีช่ ว่ ยปรับเปลีย่ น มุมมองของคนในสังคมที่มีต่อผู้พ้นโทษและครอบครัว เพื่อสร้างสะพานแห่งการยอมรับและการให้โอกาสแก่ผู้พ้นโทษ นอกจากนีย้ งั มีเครือข่ายทีส่ ำ� คัญ Community Action for the Rehabilitation of Ex-Offenders (CARE) Network คอยสนับสนุนระบบการส่งตัวผู้ต้องขังคืนสู่สังคมให้เกิดความมั่นคงและเข้มแข็ง รวมทั้ง บ้านกึ่งวิถี Halfway House ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้พ้นโทษให้พร้อมและสามารถกลับไปใช้ชีวิตในโลกภายนอกได้อีกครั้ง มีหลายประเทศ น�ำระบบการด�ำเนินการส่งตัวผู้ต้องขังของสิงคโปร์ไปเป็นแบบอย่าง และมีหลายโครงการที่ได้รับรางวัลและค�ำชมเชย จากเวทีระดับโลก ทั้งหมดนี้นับได้ว่าเป็นความส�ำเร็จก้าวใหญ่ที่ส�ำคัญของราชทัณฑ์สิงคโปร์ บรรณานุกรม “Singapore Prison service” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sps.gov.sg สืบค้น 1 พฤษภาคม 2561. “Singapore Corporation of Rehabilitative Enterprises” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.score. gov.sg สืบค้น 1 พฤษภาคม 2561. “Community Action for the Rehabilitation of Ex-Offenders (CARE) Network” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก: http://www.score.gov.sg สืบค้น 1 พฤษภาคม 2561. “Yellow Ribbon Project” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.yellowribbon.org.sg สืบค้น 1 พฤษภาคม 2561. “The Helping Hand” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://thehelpinghand.org.sg สืบค้น 1 พฤษภาคม 2561. สถาบันเพือ่ การยุตธิ รรมแห่งประเทศไทย. ประเทศสิงคโปร์. ใน รายงานการศึกษาวิจยั เรือ่ งการเปรียบเทียบการ ปฏิบัติต่อผู้กระท�ำผิดในและนอกเรือนจ�ำของกลุ่มประเทศอาเซีย. หน้า 8-1 ถึง 8-26. Thailand Institute of Justice. Overview of the community – based treatment system for drug users and drug offenders Singapore. Pages 123-139. 2017. 46 วารสารราชทั ณ ฑ์

เรื่องเล่า......ประสบการณ์จากการเรียนรู้ ณ สาธารณรัฐเกาหลี……….

เอกกมล ลวดลาย กองทัณฑปฏิบัติ

หากพูดถึงประเทศชั้นแนวหน้าในเอเชียและในระดับโลก คงต้องมีชื่อ สาธารณรัฐเกาหลีหรือที่เราเรียกกันว่า ประเทศเกาหลีใต้ นั้นเอง ซึ่งสาธารณรัฐ เกาหลี เ ป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ มี ค วามน่ า สนใจ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การพั ฒ นา อย่างรวดเร็วในระบบต่างๆ และก้าวสู่ประเทศชั้นแนวหน้าของโลกภายในระยะเวลา ไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นได้จากความเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชากรซึ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สาธารณรัฐเกาหลี จึงเป็นอีกหนึง่ ประเทศทีถ่ อื ได้วา่ เป็นห้องเรียนทีส่ ำ� คัญและน่าเรียนรู้ ในการน�ำประสบการณ์และน�ำมาซึง่ แนวคิดในด้านต่างๆ เพือ่ มาปรับประยุกต์และพัฒนาประเทศไทยของเรา ซึง่ จากการทีผ่ เู้ ขียนได้รบั โอกาสรับทุนรัฐบาลไปฝึกอบรมและศึกษา ดูงานทีส่ าธารณรัฐเกาหลี ตามโครงการข้าราชการผูม้ ผี ลสัมฤทธิส์ งู รุน่ ที่ 11 ในครัง้ นี้ นับว่าเป็นการเปิดโอกาสทางการ เรียนรูข้ องผูเ้ ขียนในการเรียนรูแ้ ละเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาประเทศของประเทศชัน้ แนวหน้าของโลกทีม่ กี ารพัฒนา ประเทศของตนให้มีศักยภาพเป็นประเทศชั้นน�ำได้ ผ่านแหล่งเรียนรู้ส�ำคัญต่างๆ ของสาธารณรัฐเกาหลี จ�ำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1) Technovalley & Gyeonggi Center for Creative Economy & Innovation (CCEI) Pangyo 2) Samsung Innovation Museum (SIM) 3) Digital Media City (DMC) & CJ Creative Center for Convergence Culture (CJ CCCC) 4) Korean Development Institute (KDI) & KDI School และ The Incheon Bridge and Songdo International Business District ซึ่งในแต่ละแหล่งการเรียนรู้ ต่างก็มีความน่าสนใจและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส�ำคัญ ในการมีส่วนช่วยขับเคลื่อนสาธารณรัฐเกาหลีให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับของประเทศทั่วโลก ผูเ้ ขียนจึงขอแชร์ประสบการณ์ทดี่ จี ากการเรียนรูใ้ นครัง้ นีส้ ผู่ อู้ า่ นทุกๆ ท่าน เพือ่ ให้เกิดการแลกเปลีย่ นเรียนรูป้ ระสบการณ์ ร่วมกันผ่านวารสารราชทัณฑ์ฉบับนี้ การได้เข้าไปศึกษาแหล่งการเรียนรู้ทั้ง 5 แห่งดังกล่าว เปรียบเหมือนมิติแต่ละด้านที่ต่างก็มีความโดดเด่นและ มีความส�ำคัญต่อการขับเคลือ่ นสาธารณรัฐเกาหลีให้เกิดการพัฒนา โดยแต่ละสถานทีต่ า่ งมีความน่าสนใจและให้แนวคิด ต่างๆ ดังต่อไปนี้

วารสารราชทั ณ ฑ์ 47

Technovalley & Gyeonggi Center for Creative Economy & Innovation (CCEI) Pangyo แหล่งการเรียนรู้แห่งนี้ มีความน่าสนใจในฐานะเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งนวัตกรรมด้านการผลิตเทคโนโลยี ที่ส�ำคัญของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส�ำคัญของประเทศตั้งอยู่ ณ เมืองปังโย (Pangyo) ความโดดเด่นที่น่าสนใจของเมืองดังกล่าวคือ การสร้างแนวคิดในการพัฒนาประเทศที่ก�ำหนดให้มีการจัดตั้ง เป็นเมืองแห่งการผลิตด้านเทคโนโลยีอย่างครบวงจร โดยเฉพาะการด�ำเนินงานตั้งแต่การวิจัย การพัฒนาระบบ จนน�ำ ไปสูก่ ารผลิตและจัดจ�ำหน่ายไปทัว่ โลก และยังเป็นทีต่ งั้ บริษทั ชัน้ น�ำทางด้านเทคโนโลยีจากทัว่ โลก รวมถึงเป็นศูนย์กลาง แห่งการพัฒนาระบบเกมส์ออนไลน์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอีกด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นเมืองที่ตั้งใหม่เพื่อใช้เป็นแหล่ง อุตสาหกรรมทางเทคโนโลยีกต็ าม แต่ทว่ากลับได้รบั การสนับสนุนทีด่ อี ย่างต่อเนือ่ งจากทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชนในการ พัฒนาเพือ่ ให้เป็นฐานการผลิตทีส่ ำ� คัญของประเทศในการส่งออกสินค้าและผลิต ซึง่ ผลิตภัณฑ์ดา้ นเทคโนโลยีถกู จัดส่ง ไปจ�ำหน่ายทัว่ โลก การประสบความส�ำเร็จดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการร่วมมือและประสานงาน การส่งเสริมและพัฒนา แนวคิดต่างๆ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ทีเ่ น้นพัฒนาไม่เพียงแต่ผลิตภัณฑ์จากบริษทั ยักษ์ใหญ่ของประเทศเท่านัน้ แต่ยังส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดบริษัทขนาดเล็ก และเปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ได้พัฒนาผลงานของตนเพื่อเข้าสู่ เส้นทางธุรกิจของประเทศ ที่ส�ำคัญยังเน้นส่งเสริมงานวิจัยต่างๆ ให้สามารถน�ำมาใช้ได้จริง ซึ่งจากการด�ำเนินการ ดังกล่าวท�ำให้เห็นถึงการด�ำเนินงานที่เป็นระบบและน�ำไปสู่ประสิทธิภาพในการด�ำเนินงานต่างๆ ของทุกภาคส่วน ในการท�ำงานของสาธารณรัฐเกาหลี

Samsung Innovation Museum (SIM) ส�ำหรับการศึกษาดูงานบริษัท ซัมซุง ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัท หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเกาหลี ข้าพเจ้าได้มี โอกาสเข้าชมในส่วนของ Samsung Innovation Museum (SIM) ซึ่ ง เป็ น แหล่ ง การเรี ย นรู ้ ที่ ส� ำ คั ญ ที่ น� ำ เสนอด้ า นการพั ฒ นา ทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ของบริษทั ซัมซุงในการพัฒนาระบบ และผลิตภัณฑ์ให้มคี ณ ุ ภาพตอบสนองความต้องการของผูใ้ ช้ได้อย่างเหมาะสมตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั จนสามารถพัฒนา สูก่ ารเป็นสินค้าระดับโลก ซึง่ ความโดดเด่นของแหล่งการเรียนรูแ้ ห่งนีท้ ำ� ให้เห็นคุณค่าในเชิงความคิดในการทีจ่ ะพัฒนา ระบบเทคโนโลยีเพื่ออ�ำนวยความสะดวกและต่อยอดความรู้ทางนวัตกรรมที่เป็นสิ่งส�ำคัญในการสร้างความโดดเด่น ให้แก่สาธารณรัฐเกาหลี โดยเฉพาะแนวนโยบายที่เน้นให้ความส�ำคัญในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และความเป็นเลิศทางนวัตกรรม น�ำมาพัฒนาจนเติบโตกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส�ำคัญในการสร้างฐานเศรษฐกิจ ให้แก่ประเทศ ซึ่งแนวคิดในการส่งเสริมทางความคิดดังกล่าวยังสามารถน�ำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทีจ่ ะมีขนึ้ ในอนาคตของไทยให้สามารถพัฒนาไปในทิศทางทีเ่ หมาะสม ทัง้ นี้ สิง่ ส�ำคัญอีกอย่างหนึง่ ก็คอื การพัฒนาอย่าง ต่อเนือ่ งเพือ่ ให้กอ่ เกิดการคิดทีส่ ร้างสรรค์ รวมถึ ง การส่ ง เสริ ม จากทุ ก ภาคส่ ว น ในการทีจ่ ะร่วมมือกันพัฒนาให้เป็นระบบ อย่างจริงจังเพือ่ ทีจ่ ะสามารถสร้างชือ่ เสียง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ ห้ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ ทั้ ง ในระดั บ ประเทศและนานาชาติต่อไป 48 วารสารราชทั ณ ฑ์

Digital Media City (DMC) & CJ Creative Center for Convergence Culture (CJ CCCC) ในบทบาทของ DMC และ CJ CCCC นั้ น มี บ ทบาทส�ำ คั ญ ที่ ช ่ ว ยในการพั ฒ นาด้ า นการสื่ อ สาร วัฒนธรรมของประเทศ และเทคโนโลยีให้นานาประเทศ ได้รับรู้วัฒนธรรมและรูปแบบต่างๆ ของสาธารณรัฐ เกาหลี ทั้งในรูปแบบ ความบันเทิง เทคโนโลยี และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ส่งผลให้เกิดกระแสความนิยมใน วัฒนธรรมและความเป็นเอกลักษณ์ของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งความน่าสนใจของแหล่งเรียนรู้แห่งนี้เปรียบเสมือน หน่วยประชาสัมพันธ์ที่ส�ำคัญของประเทศ ซึ่งจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ท�ำให้เกิดแนวคิดในด้านการประชาสัมพันธ์ ทีม่ สี ว่ นส�ำคัญในการส่งเสริมประเทศและยังเป็นการส่งผ่านวัฒนธรรมของชาติตอ่ ไปยังชาติอนื่ ๆ ให้ได้เรียนรูแ้ ละซึมซับ วัฒนธรรมของชาตินั้นๆ ผ่านการสื่อสารในรูปอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป

Korean Development Institute (KDI) & KDI School KDI school เป็ น แหล่ ง การศึ ก ษาที่ ส� ำ คั ญ อีกแห่งของสาธารณรัฐเกาหลีโดยเป็นแหล่งการศึกษา ที่ส�ำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศ มีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนทีเ่ น้นในการพัฒนา ทางด้านนโยบายทีส่ ำ� คัญ ของประเทศ โดยเข้ า รับฟังการบรรยายใน 2 หัวข้อที่ส�ำคัญด้วยกัน ในหัวข้อที่หนึ่ง เรื่องการต่อต้านการทุจริตและคณะกรรมการสิทธิ ของสาธารณรัฐเกาหลี ที่น�ำเสนอการด�ำเนินการในด้านการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตของประเทศที่มีความน่าสนใจในด้านการน�ำหน่วยงานภายนอกมาช่วยในการ ตรวจสอบการทุจริตในแต่ละภาคส่วนซึง่ มีความส�ำคัญในการช่วยลดการทุจริตของประเทศ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีการตั้งคณะกรรมการมาร่วมด�ำเนินการช่วยตรวจสอบและให้ ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานต่างๆ ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึง่ ความโดดเด่น ที่น่าสนใจคือการร่วมมือและสามารถด�ำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภายใน ประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ส�ำหรับในหัวข้อที่สอง เรื่องการสร้างภาวะผู้น�ำและการสร้าง สมรรถนะและการจัดการเพื่อการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งในหัวข้อดังกล่าวได้รับ ความรู้ในการสร้างภาวะผู้น�ำและการน�ำหลักแนวคิดต่างๆ ของผู้นำ� มาปรับประยุกต์ใช้ใน องค์กรซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี อีกทั้งยังเน้นถึงการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีส่วนส�ำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรที่จะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กับการพัฒนาองค์กรซึ่งไม่ใช่แค่เพียงแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นส�ำคัญ วารสารราชทั ณ ฑ์ 49

The Incheon Bridge and Songdo International Business District ส�ำหรับแหล่งการเรียนรู้สุดท้าย สะพานอินชอนและเขตเศรษฐกิจนานาชาติซองโด (The Incheon Bridge and Songdo International Business District) เป็นอีกแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่ส�ำคัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าสะพานที่ยาว ทีส่ ดุ ในเอเชียและมีความส�ำคัญเป็นอย่างมากต่อการเชือ่ มโยงเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเกาหลีกบั แผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะ เป็นสะพานในการเชื่อมโยง สาธารณูปโภคพื้นฐานที่ส�ำคัญของประเทศเพื่อรองรับการขนส่งและส่งเสริมทางเศรษฐกิจ ของประเทศที่ส�ำคัญอีกทางหนึ่ง อีกทั้ง ยังถือว่าเป็นการลงทุนโดยเอกชนทั้งหมดอีกด้วย นอกจากนี้ สะพานแห่งนี้ ยังมีความน่าสนใจในทางด้านวิศวกรรมในการใช้เทคโนโลยีทที่ นั สมัยเข้ามาช่วยในการด�ำเนินการก่อสร้างตลอดระยะทาง ทั้งยังมีความโดดเด่นทางด้านรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีความทันสมัย รูปทรงสวยงาม ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มา เยี่ยมชมและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของสาธารณรัฐเกาหลีอีกด้วย จากประสบการณ์และโอกาสในการเรียนรู้ในสาธารณรัฐเกาหลีครั้งนี้ท�ำให้ผู้เขียนเห็นถึงศักยภาพของ ประเทศไทยและองค์กร ในหลายมิติซึ่งสามารถน�ำแนวคิดเหล่านั้นมาประยุกต์และปรับใช้พัฒนากับประเทศไทยและ องค์กรตามประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ ดังนี้ การพัฒนาด้านการศึกษา สาธารณรัฐเกาหลีถือได้ว่าเป็นประเทศที่ให้ความส�ำคัญเป็นอย่างมากส�ำหรับการศึกษา และเป็นแนวทาง ขัน้ พืน้ ฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทยี่ งั่ ยืน โดยมีการส่งเสริมทัง้ การศึกษาสายสามัญและสายวิชาชีพควบคู่ ไปพร้ อ มๆ กั น ซึ่ ง หากมี ก ารน� ำ แนวคิ ด ด้ า นการศึ ก ษามาปรั บ ใช้ กั บ การพั ฒ นาพฤติ นิ สั ย ให้ แ ก่ ผู ้ ต ้ อ งขั ง เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเตรียมความพร้อมให้ผู้ต้องขังเหล่านั้นเป็นคนดีสามารถกลับคืนสู่สังคม แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาที่จัดให้ส�ำหรับผู้ต้องขังนั้น ก็ควรเน้นองค์ความรู้และทักษะทางวิชาชีพที่เหมาะสม ตรงจุดและเกิดประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ต้องขังและตลาดแรงงานเพื่อที่ผู้ต้องขัง จะสามารถน�ำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ภายหลังพ้นโทษได้ทันที อาทิเช่น ความรู้ในทางวิชาชีพหรือ ความรู้ที่เพิ่มพูนทักษะให้แก่ผู้ต้องขังสามารถน�ำไปใช้ต่อยอดหรือทางความคิดหรือเกิดการสร้างสรรค์ผลงาน ได้ด้วยตนเองภายหลังการพ้นโทษ

50 วารสารราชทั ณ ฑ์

การพัฒนาฝีมือแรงงงาน ด้านแรงงานวิชาชีพ ถือเป็นอีกด้านหนึ่งที่สาธารณรัฐเกาหลีได้ให้ความส�ำคัญ และพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งควบคูก่ บั การพัฒนาด้านการศึกษาสายสามัญ ซึง่ การพัฒนา ด้านฝีมือแรงงานเป็นการช่วยเพิ่มก�ำลังแรงงานที่มีคุณภาพสู่ภาคธุรกิจ โดยมีการ จัดตัง้ โรงเรียนเพือ่ คัดเลือกนักเรียนทีม่ คี วามเป็นเลิศทางสายอาชีวศึกษาเข้าศึกษาต่อ และให้ โ อกาสในการเรี ย นรู ้ แ ละเตรี ย มพร้ อ มเข้ า เป็ น แรงงานที่ มี คุ ณ ภาพตาม ความต้องการของตลาดแรงงาน จากแนวคิดดังกล่าวหากกรมราชทัณฑ์มกี ารพัฒนา อย่างต่อเนื่องในการสร้างแรงงานที่มีคุณภาพภายในเรือนจ�ำตรงตามความต้องการตลาดแรงงาน โดยเฉพาะ ในด้านหรือสาขาที่ขาดแคลนและสามารถตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศไทย เช่น สาขา อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้าก�ำลัง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นส่วนส�ำคัญในการช่วยสร้างแรงงานที่มีคุณภาพ ของประเทศ อีกทัง้ ยังช่วยให้ผตู้ อ้ งขังมีงานรองรับภายหลังพ้นโทษได้ ทีส่ ำ� คัญยังจะมีสว่ นช่วยลดอัตรากระท�ำผิดซ�ำ้ เมื่ อ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ได้ ก ลั บ ไปสู ่ สั ง คมอี ก ครั้ ง เนื่ อ งจากผู ้ ต ้ อ งขั ง มี โ อกาสได้ ง านตามที่ ต นเองถนั ด และมี ร ายได้ ในการเลี้ยงชีพภายหลังการพ้นโทษและไม่หวนกลับมาก่ออาชญากรรมซ�้ำ นอกจากนี้ การเรียนการสอนควรมี การน�ำผู้บริหารหรือผู้มีความเชี่ยวชาญจากภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้บรรยายพิเศษ อย่างเช่นใน สาธารณรัฐเกาหลีเข้ามาบรรยายให้ความรู้ภายในเรือนจ�ำ เพื่อให้เกิดความหลากหลายในเนื้อหา และยังดึงดูด การเรียนการสอนให้นา่ สนใจ เกิดการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผตู้ อ้ งขังและช่วยแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพ ของผูต้ อ้ งขังให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึง่ จะเป็นส่วนส�ำคัญต่อการแนะแนวทางอาชีพและสร้าง ความมัน่ ใจให้แก่ผตู้ อ้ งขังในอนาคต รวมถึงเป็นการสร้างคุณค่าในตัวเองให้แก่ผตู้ อ้ งขังภายหลังได้รบั การพ้นโทษ การพัฒนาความร่วมมือของทุกส่วนอย่างเป็นระบบ การร่วมมือของทุกภาคส่วนของประเทศนับเป็นสิง่ ส�ำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึง่ รวมถึงความร่วมมือของ หลายฝ่ายทีจ่ ะเข้ามามีสว่ นส�ำคัญในการช่วยเหลือพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อมให้แก่ผตู้ อ้ งขัง ซึง่ การด�ำเนินงาน ควรมีสว่ นร่วมจากทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชน อย่างเช่นในสาธารณรัฐเกาหลีทมี่ กี ารพัฒนาระบบต่างๆ จากการร่วมมือ ที่มีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาด้านต่างๆ ของประเทศ ซึ่งการช่วยเหลือผู้ต้องขัง ควรมีการพัฒนาความร่วมมือทัง้ ในภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนให้ดำ� เนินการอย่างเป็นระบบ โดยทุกภาคส่วนจ�ำเป็น ต้องเข้าใจถึงแนวทางและระบบของกรมราชทัณฑ์ในการช่วยเหลือเตรียมความพร้อม พัฒนาพฤตินิสัยให้แก่ ผูต้ อ้ งขัง เช่น ในกรณีการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย จ�ำเป็นต้องร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนในการวางแผนงาน พัฒนาช่วยเหลือผูต้ อ้ งขังอย่างเป็นระบบตัง้ แต่แรกเข้า จนภายหลังพ้นโทษ อาทิ การดูแลการให้ความรูแ้ ละพัฒนา ทักษะต่างๆ ว่าหน่วยงานจะมีสว่ นรับผิดชอบและด�ำเนินการในแต่ละขัน้ ให้เกิดประสิทธิภาพ และเกิดความต่อเนือ่ ง ในการด� ำ เนิ น งานของระบบเพื่ อ การพั ฒ นาพฤติ นิ สั ย ให้ แ ก่ ผู ้ ต ้ อ งขั ง สามารถกลั บ คื น สู ่ สั ง คมอี ก ครั้ ง เช่ น การมอบหมายกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยให้แก่ผู้ต้องขังให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมราชทัณฑ์ ในขณะที่มอบหมายให้ภาคเอกชนหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องท�ำหน้าที่รับช่วงต่อในการดูแลอดีตผู้ต้องขัง ให้มีความพร้อมและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างแท้จริงภายหลังการพ้นโทษ ทั้งนี้จำ� เป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างหน่วยงานในการช่วยเหลือและดูแลอดีตผูต้ อ้ งขังได้อย่างเหมาะสมมีการท�ำงานเป็นระบบของทุกภาคส่วน อย่างที่แท้จริง วารสารราชทั ณ ฑ์ 51

การพัฒนาการสร้างสรรค์ในผลิตภัณฑ์ผู้ต้องขัง การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ถือเป็นความโดดเด่นของการพัฒนาในสาธารณรัฐเกาหลี ซึง่ ความโดดเด่นดังกล่าวสามารถน�ำมาประยุกต์กบั แนวคิดในการส่งเสริมผลงานผลิตภัณฑ์ฝมี อื ผูต้ อ้ งขังให้มคี วาม โดดเด่น เปลีย่ นแปลงไปตามยุคสมัย ทีส่ ำ� คัญควรเป็นทีต่ อ้ งการของตลาดในการจัดจ�ำหน่าย เนือ่ งจากในปัจจุบนั สินค้าราชทัณฑ์ยังคงมีรูปแบบที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนจากเดิมมากนัก ซึ่งหากมีการปรับแนวทางการส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ผตู้ อ้ งขังจากรูปแบบเดิมสูผ่ ลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ มีความโดดเด่น แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทหี่ าได้ตาม ท้องตลาด และมีรปู แบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ก็จะมีสว่ นส�ำคัญในการช่วยส่งเสริมการจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ จากฝีมือผู้ต้องขังให้ได้ตรงตามความต้องการของตลาดสินค้าและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็น อย่างมาก ซึง่ จะเป็นแนวทางให้เกิดการพัฒนาในหลายๆ ด้านไม่เพียงแต่ทกั ษะการฝึกวิชาชีพผูต้ อ้ งขัง แต่ยงั เป็น โอกาสและช่องทางในการหารายได้ของผู้ต้องขังผู้ที่มีความประสงค์จะด�ำเนินธุรกิจหรือน�ำความคิดไปต่อยอด ทางธุรกิจของตนภายหลังพ้นโทษต่อไป การต่อเนื่องของนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นโยบายที่ต่อเนื่องถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำ� คัญที่ท�ำให้สาธารณรัฐเกาหลี เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด อย่างเช่นทุกวันนี้ แม้วา่ หากเกิดการเปลีย่ นแปลงด้านต่างๆ ทุกภาคส่วนยังคงสามารถด�ำเนินการต่อไปตามกรอบ แนวนโยบายเดิมที่วางไว้ โดยเป็นสิ่งที่หลายๆ ประเทศชั้นน�ำของโลกได้ด�ำเนินการตามนโยบายเหล่านั้น อย่างต่อเนือ่ ง หากการท�ำงานของภาครัฐในประเทศไทยมีความต่อเนือ่ งของนโยบายแล้ว ไม่วา่ จะด�ำเนินโครงการใดๆ ทั้งในระดับประเทศจนถึงระดับกรมอย่างกรมราชทัณฑ์แล้ว ย่อมจะมีส่วน ส� ำ คั ญ ในการผลัก ดันให้ก ารด�ำเนินงานในภาครั ฐ รวมถึ ง งานราชทั ณ ฑ์ นั้น สามารถเกิดการพัฒนาได้อย่างเต็มรูปแบบและเป็นรูปธรรมได้อย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึง่ สามารถน�ำมาปรับประยุกต์ใช้ในทุกๆ ระดับ อย่างเช่น หากเรือนจ�ำและทัณฑสถานมีแผนหรือนโยบายรวมถึงโครงการดีๆ แล้ว ก็ควรด�ำเนินการต่อเนื่องตามแผนนโยบายเหล่านั้น และควรด�ำเนินการให้ส�ำเร็จ เสร็ จ สิ้ น เพื่ อ ที่ จ ะได้ เ ห็ น ถึ ง ผลของการด� ำ เนิ น การตามนโยบายต่ า งๆ เหล่ า นั้ น ว่ามีผลลัพธ์เป็นเช่นไร ซึง่ จะช่วยก่อให้เกิดประสิทธิภาพทัง้ ในด้านการควบคุมและพัฒนา พฤตินิสัยผู้ต้องขังอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างความมั่นใจแก่สังคมในการที่จะด�ำเนินการ พัฒนางานราชทัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนต่อไป ซึ่ ง มุ ม มองดั ง กล่ า วเหล่ า นี้ เ ป็ น เพี ย งมุ ม มองของผู ้ เขี ย นที่ ไ ด้ น� ำ ความรู ้ ท่ี ไ ด้ จ าก ประสบการณ์การเรียนรูใ้ นครัง้ นีม้ าประยุกต์ใช้บริบทของงานราชทัณฑ์ และแบ่งปันประสบการณ์ เรือ่ งราวดีๆ ผ่านบทความในวารสารฉบับนี้ ซึง่ เชือ่ ได้วา่ ผูอ้ า่ นท่านอืน่ ยังมีมมุ มองดีๆ ในด้านอืน่ ๆ ร่วมกันที่จะได้มีส่วนในการน�ำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ของ กรมราชทัณฑ์ของเราต่อไป

52 วารสารราชทั ณ ฑ์

สรุปสาระส�ำคัญของการสัมมนา

เรื่องระบบราชการ 4.0 และ PMQA 4.0 เอื้องพร ตรีทอง กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมกรมราชทัณฑ์

การยกระดับหน่วยงานภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0

WEF (World Economic Forums) ได้จัดให้ไทยเป็นประเทศในกลุ่มที่เน้นการท�ำงานหนักเพื่อให้ได้ ผลผลิต โดยทิศทางของประเทศไทยแล้ว ต้องการที่จะมุ่งสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ในการสร้างให้เกิด Value ที่มากขึ้น ซึ่งในส่วนของภาครัฐ จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับตัวด้วย เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการ ของประชาชนที่มากขึ้น ค�ำถามที่เกิดขึ้นเสมอก็คือ ระบบ 4.0 ในส่วนราชการมีไว้เพื่ออะไร ค�ำตอบก็คือเพื่อสร้างให้เกิด Value กับ ประชาชน คือ การท�ำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ดังนั้นสิ่งที่รัฐจะต้องท�ำเพื่อให้เกิด Value ดังกล่าว

1) การเปิดตัวเอง ท�ำงานร่วมกับภาคต่างๆ ทั้งภาคเอกชน และภาคสังคม ตัวอย่างของด้านการศึกษาที่ ภาคเอกชนได้เข้ามาช่วยบริหารโรงเรียนทีม่ ปี ญ ั หาให้ หรือการทีเ่ อกชนรวมตัวกัน เข้ามาช่วยบริหารจัดการ เช่น ขอนแก่น พัฒนา รวมไปถึงการเปิดข้อมูลให้เอกชนสามารถ เข้าถึงได้โดยสะดวก 2) การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน เปลี่ยนจากการรอให้ประชาชน มายืน่ ค�ำขอรับอนุญาตจากทางราชการ เป็นการน�ำเสนอให้กบั ประชาชนโดยไม่ตอ้ งรอให้รอ้ งขอ โดยวิเคราะห์จากข้อมูล ต่างๆ ที่ทางราชการได้เก็บรวบรวมไว้ เช่น กรณีศึกษาของสรรพากร ที่ต่อไปจะสามารถแจ้งประชาชนได้เลยว่าต้อง ช�ำระภาษีเท่าไหร่ โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลทุกปี เพราะสรรพากรจะรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ให้ได้ทันที 3) การปรับตัวให้ส่วนราชการมีสมรรถนะสูงและมีความทันสมัย

วารสารราชทั ณ ฑ์ 53

นั่นคือที่มาของแนวคิดเรื่อง ระบบราชการ 4.0 ดังแสดงในรูป

ระบบราชการ 4.0 ยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (Better Governance, Happier CitiZens)

ภาครัฐที่เปิดกว้าง และเชื่อมโยงกัน Open and Connected Government

Collaboration ภาครัฐ ที่ยึดประชาชน เป็นศุนย์กลาง Citizen-Centric Government

ภาครัฐต้องเป็นที่พึ่ง ของประชาชนและ เชื่อถือไว้วางใจได้ Credible & Trusted Government

Digitization

Innovation

ภาครัฐที่มี ขีดสมรรถนะสูง Smart and High Performance Government

ระบบราชการ 4.0 จะเป็นการบริหารจัดการที่ยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อ ประโยชน์สุขของประชาชน และรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทย 4.0 ให้สามารถ เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งของประชาชน โดยอย่างแท้จริง (Credible and Trusted Government) ค� ำ ถามต่ อ มาคื อ จะใช้ วิ ธี ก ารอะไรที่ จ ะท� ำ ให้ ห น่ ว ยงานต่ า งๆ สามารถ เปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทิศทางดังกล่าวได้ จะมีเครื่องมืออะไรที่จะสามารถใช้ในการ ประเมินส่วนราชการถึงระดับความพร้อมที่จะมุ่งสู่การเป็นองค์การ 4.0 ที่มุ่งสู่ระบบ ราชการ 4.0 ซึ่งเป็นที่มาของการน�ำเกณฑ์ PMQA หรือเกณฑ์คุณภาพ การบริหาร จัดการภาครัฐมาพัฒนาต่อยอดเป็น PMQA 4.0 เพือ่ ใช้เป็นแนวทางในการประเมินและ พัฒนาส่วนราชการต่อไป 54 วารสารราชทั ณ ฑ์

เครื่องมือในการยกระดับหน่วยงานภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 จากประเด็นส�ำคัญของระบบราชการ 4.0 น�ำมาสู่การก�ำหนดเป็นคุณลักษณะส�ำคัญ 10 ประการของระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย 1) ท�ำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ 2) ท�ำงานเชิงรุก แก้ไขปัญหา สร้างคุณค่า และตอบสนองความต้องการของประชาชน 3) แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เชื่อมโยงการท�ำงานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จ ในจุดเดียว 4) ใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูลทีท่ นั สมัย เพือ่ สนับสนุนการวางแผน ยุทธศาสตร์ และการตัดสินใจในการท�ำงาน 5) ปรับรูปแบบการท�ำงานให้คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะ เครือข่าย 6) ท�ำงานอย่างเตรียมการไว้ลว่ งหน้า ตอบสนองต่อสถานการณ์ทนั เวลา มีการวิเคราะห์ความเสีย่ งทัง้ ในระดับ องค์การและในระดับปฏิบัติการ 7) เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจไปด�ำเนินการแทนได้ 8) ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการท�ำงานที่ทันต่อการ เปลี่ยนแปลง 9) บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและมุ่งเน้นผลงานที่ดี 10) ให้ความส�ำคัญกับบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง พัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุก รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร ส�ำหรับ PMQA ที่ส่วนราชการด�ำเนินการอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นเกณฑ์บูรณาการ ที่เน้นการด�ำเนินการ อย่างเป็นระบบมีประสิทธิผล (Efective Systematic) มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงเน้นการปรับปรุงพัฒนาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ PMQA 4.0 จะยึดเป้าหมายของการพัฒนาไปสู่ราชการ 4.0 ที่ค�ำนึงถึงความท้าทายทั้งส่วนราชการ และการพัฒนาประเทศ และยึดความส�ำเร็จ 3 ด้านของราชการ 4.0 กล่าวโดยสรุปแล้ว PMQA 4.0 จะเป็นเครือ่ งมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น แนวทางให้หน่วยงานภาครัฐพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0

ความเชื่อมโยง PMQA กับระบบราชการ 4.0 เมื่อพิจารณาจากหมวดต่างๆ ของ PMQA (เดิม) กับระบบราชการ 4.0 จะพบว่าในแต่ละปัจจัยความสําเร็จ จะมีความเชื่อมโยงกับประเด็นสําคัญในหมวดต่างๆ ของ PMQA ด้วย 1) การเปิดกว้าง ผู้น�ำต้องเป็นต้นแบบ มีความโปร่งใส (หมวด 1) มีความคิดแบบเป้าประสงค์เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ประเทศ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (หมวด 2) ข้อมูลต้องดี เปิดเผย เข้าดูได้สะดวก และเป็นที่สนใจ มีความคล่องตัว ในการใช้ข้อมูล (หมวด 4) มีการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการท�ำงานข้ามหน่วยงาน เช่น Doing Business การปราบปรามทุจริต รวมถึง การท�ำงานในระบบเปิด (หมวด 6) วารสารราชทั ณ ฑ์ 55

2) ประชาชนเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนเป็น Demand driven รู้ว่าประชาชนต้องการอะไร มีการออกแบบที่เฉพาะตัวได้ การออกแบบ ให้บริการเชิงนวัตกรรม (หมวด 3) และประเด็นอื่นๆ ในหมวด 5 หมวด 6 และหมวด 7 3) สมรรถนะสูง ท�ำงานสอดคล้องไปในทางเดียวกัน และมอบอ�ำนาจในการตัดสินใจ การสร้างคนในรุ่นต่อไป (หมวด 1) ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ (หมวด 2) และประเด็นอื่นๆ ในหมวด 4 หมวด 5 หมวด 6 และหมวด 7

เกณฑ์ PMQA 4.0 และระดับการพัฒนา ในแต่ละประเด็นของเกณฑ์ PMQA 4.0 จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 Basic (A&D) มีการจัดการ อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิผล (มีประสิทธิผล หมายถึงการ น�ำไปใช้ และมีการวัดผล มีการปรับปรุง) ระดับที่ 2 Advance (Alignment) มีการเชื่อมโยงกับทิศทางประเทศ และนโยบายระดับบน ระดับที่ 3 Significance (Integration) ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชน ส�ำหรับการอธิบายเกณฑ์ในแต่ละหมวด แต่ละข้อ และแต่ละระดับการพัฒนา สามารถติดตามได้ในเอกสาร การบรรยายประเมินตนเองต่อไป

PMQA 4.0 กับ PMQA เดิม มีอีกค�ำถามหนึ่งที่ส�ำคัญคือ เมื่อมี PMQA 4.0 แล้ว PMQA แบบเดิม จะยังมีอยู่หรือไม่ PMQA 4.0 ไม่ได้มาทดแทน PMQA เดิมแต่อย่างใด แต่จะเป็นทางเลือก ของส่วนราชการ โดยจะเป็นกรอบการประเมินตนเอง เพือ่ พิจารณาว่าส่วนราชการ PMQA 4.0 มีความพร้อมในการมุ่งสู่ระบบราชการ 4.0 มาก น้อยเพียงใด ทั้งนี้ถ้าหากส่วน PMQA เดิม ราชการได้ประเมินตนเองแล้ว และเห็นว่ามีพัฒนาการที่ดี ก็สามารถขอรับการ ประเมินเพื่อรับรางวัลเหมือนกับการประเมิน PMQA เดิมได้ด้วย โดยการประเมิน PMQA 4.0 จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับตามระดับการพัฒนา นั่นคือ ระดับ Basic จะ เทียบ เท่าคะแนน 300 คะแนน ซึ่งส่วนราชการที่ผ่านการประเมินในระดับนี้ จะได้รับ Certificate PMQA ระดับ FL Version 2 และประกาศเกียรติคุณรับรองสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 ระดับ Basic ส่วนระดับที่สองคือระดับ Advance จะเทียบเท่ากับคะแนน 400 คะแนน และระดับ Significance จะ เทียบเท่ากับคะแนน 500 คะแนน ซึ่งส่วนราชการที่ผ่านการประเมินในระดับ Advance และระดับ Significance นี้จะได้รับ รางวัล PMQA ระดับดีเด่น (ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานเดียวที่ได้รับรางวัลนี้จาก ระบบการประเมิน PMQA เดิม) และประกาศเกียรติคุณรับรองสถานะเป็นระบบราชการ 4.0 ระดับ Advance และระดับ Significance ตามล�ำดับ แต่ถ้าส่วนราชการไหน ยังไม่พร้อมหรือยังไม่ต้องการประเมินตาม PMQA 4.0 ก็ยังสามารถพัฒนาและ ประเมินตามแนวทาง PMQA เดิมต่อได้ ตั้งแต่ระดับ Certified FL version 2.0 (275 คะแนน) รางวัล PMQA รายหมวด (300 คะแนน) รางวัล PMQA ระดับดีเด่น (400 คะแนน) และ รางวัล PMQA ระดับดี เลิศ (650 คะแนน)

&

56 วารสารราชทั ณ ฑ์

ท้อแท้ได้ แต่อย่าท้อถอย กรรณิกา ปาใข มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ชีวติ ของมนุษย์กเ็ ปรียบเหมือนกับเหรียญ ทีม่ สี องด้านคือ หัว และ ก้อย ซึง่ ชีวติ ของคนก็ยอ่ มมีสองด้านเช่นกัน คือมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ด้านมืดและด้านสว่าง ไม่มีใครขาวหมดจด และไม่มีใครที่ดำ� มืดตลอดเวลา ในบางครั้งชีวิต อยูใ่ นจุดทีส่ งู สุดจุดทีห่ ลายคนต้องการจะอยูจ่ ดุ นัน้ และบางครัง้ คนเราก็ตกอยูใ่ นจุดทีม่ ดื มน แต่การทีจ่ ะออกมาจากตรง นัน้ ได้ยอ่ มมีโอกาสเสมอ บางคนใช้เวลาเพียงไม่นานก็สามารถออกมาจากจุดนัน้ ได้ บางคนอยูน่ านถึงครึง่ ชีวติ จึงจะออก มาได้ แต่สำ� หรับบางคนแม้ใช้ทั้งชีวิตของเขาก็ไม่สามารถออกมาได้ การที่คนเราตกอยู่ในจุดที่มืดมน และแย่ที่สุดนั้น ล้วนแล้วแต่มาจากความสิ้นหวัง จากสิ่งที่หวังไว้แล้วไม่เป็น ไปตามหวัง ท�ำให้ความหวังที่มีต้องกลายเป็นศูนย์และสลายไป ผู้ที่ท้อแท้พึงบอกตัวเองเสมอว่า

“อย่าคิดว่าสูญเสียแล้วชีวิตจะต้องเป็นศูนย์ เรานับหนึ่งใหม่ได้เสมอหากเราคิดจะนับซะอย่าง” ถ้าหากสิ่งที่เราคาดหวังไม่เป็นดั่งหวัง ถ้าสิ่งที่เราพยายามทุ่มเทสุดแรงกายแรงใจ ไม่ประสบผลส�ำเร็จ ถ้าสิ่งที่ ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นมันก็เกิดขึ้น และได้สร้างความบอบช�้ำจนท�ำให้เราต้องจมอยู่กับความทุกข์เราก�ำลัง ก้าวสู่ “ชีวิตที่เป็นจริง” แล้ว เพราะความเป็นจริงของชีวิต จะสอนให้เรารู้จักยอมรับความพ่ายแพ้ สอนให้เรารู้จักสูญ เสียน�้ำตา เพื่อที่จะได้รอยยิ้มคืนกลับมาเป็นรางวัลตอบแทน แต่มันก็ไม่เคยท�ำให้ใครหมดสิ้นความหวัง หมดสิ้นพลัง และก�ำลังใจไปกับความพ่ายแพ้ เพียงแค่ความเป็นจริงสอนให้พวกเราทุกคนรู้ว่า วารสารราชทั ณ ฑ์ 57

อย่าเพียรสร้างความหวัง แต่ให้เชื่อมั่นในความหวัง เพราะความเชื่อมั่นจะน�าพาเราไปพบกับ “หนทางสู่ความส�าเร็จ” แม้ว่าจะต้องฝ่าฟ˜นอะไรอีกมากมายกว่าจะถึงวันนั้น แม้ว่าจะต้องล้มลงอีกสักกี่ครั้ง แม้ว่าจะต้องผิดหวังอย่างแรงอีกสักกี่หนก็ตาม การปล่อยให้ชีวิตผิดพลาดเสียบ้าง ปล่อยให้ความคาดหวังได้เจอกับความผิดหวัง ปล่อยให้ความฝันกลายเป็น ฝันค้างลอยกลางอากาศ ปล่อยให้อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด แม้ว่าเกิดขึ้นแล้วจะเลวร้ายกับชีวิตก็ตามทีเพราะทุกๆ อย่าง ที่เกิดขึ้น จะช่วยสอนและช่วยเป็นบทเรียนอันล�้าค่าให้แก่ชีวิต ที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วบนโลกใบนี้คุณบอย โกสิยพงศ์ เคยให้สมั ภาษณ์กบั นิตยสารเล่มหนึง่ เขาพูดให้แง่คดิ ทีด่ เี กีย่ วกับการเปลีย่ นแปลง ซึง่ มันอาจจะสร้างบาดแผลให้กบั ใคร หลายๆ คน มาบ่อยครั้ง คุณบอยพูดไว้ว่า...

“ไม่มีอะไรที่อยู่กับเราตลอดชีวิต ทุกอย่างมันก็รอเวลาจากเราไปทั้งนั้น เชื่อว่าถ้าชีวิตคนเราไม่ยึดติด ไม่ต้องแขวนชีวิตไว้กับความคาดหวัง เวลาที่เราสูญเสีย หรือเวลาที่เราต้องเจอกับความล้มเหลว เราคงมีภูมิต้านทานมากพอที่จะเอาไว้ต่อสู้กับความท้อแท้ อย่าคิดว่าสูญเสียแล้วชีวิตจะต้องเป็นศูนย์ เพราะว่าเรานับหนึ่งใหม่ได้เสมอ หากเราคิดที่จะนับซะอย่าง ไม่มีอะไรบนโลกที่น่ากลัว และไม่จ�าเป็นต้องกลัว กับความเป็นจริงของชีวิต”

58 วารสารราชทั ณ ฑ

“มีพบก็ต้องมีจาก มีได้ก็ต้องมีเสีย และมีสุขก็ต้องมีทุกข์เป็นสัจธรรม” เมื่อไรที่เราได้รู้จักสัมผัส และได้เรียนรู้กับชีวิตทั้งสองด้าน เมื่อนั้นเราจะไม่รู้สึกเสียดายหากเราได้มีโอกาสล้ม ทั้งยืน แต่เราจะเสียใจไปตลอดชีวิตหากเราไม่สามารถก้าวข้ามความล้มเหลวที่ผ่านเข้ามาได้มีคนเคยบอกเอาไว้ว่า...

การตั้งความหวัง คือการเสี่ยงกับความเจ็บปวด การพยายาม คือการเสี่ยงกับความล้มเหลว แต่ยังไงก็ต้องเสี่ยง เพราะในสิ่งที่อันตรายที่สุดในชีวิตก็คือ

การไม่เสี่ยงอะไรเลย “ล้ม” ลงสักกี่ครั้ง ผิดหวังมาสักกี่หน ลุกขึ้นยืนให้ได้ แล้วสักวันเราจะเจอความสุข เพราะความสุขไม่ได้หนีจาก เราไปไหนหรอก มันอยู่ใกล้เราแค่เพียงเอื้อมมือจริงๆ ถ้าหากเราไม่ได้ไปตัดสินว่า โลกมันควรเป็นอย่างที่เราอยากให้ เป็น และไม่ได้ตั้งกฎเกณฑ์ให้กับตัวเองมากจนเกินไป เวลาคิดหรือท�าอะไรสักอย่างแล้วมีข้อบังคับ มีกรอบ และสร้าง มโนภาพความส�าเร็จไว้ล่วงหน้า เมื่ออะไรๆ ไม่เป็นไปตามกฎของเรา เราก็ทุกข์ เราก็เสียใจ และเราก็ใจเสียเอาได้ง่ายๆ ดังที่ มาร์ตินลูเทอร์คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr.) เคยกล่าวไว้ว่า

วารสารราชทั ณ ฑ 59

การที่เราได้ล้มลง “ถ้าคุณบินไม่ได้ก็จงวิ่ง ถ้าคุณวิ่งไม่ได้ก็จงเดิน ถ้าคุณเดินไม่ได้ก็จงคลาน ไม่ว่าคุณจะท�ำอะไรก็ตาม คุณต้องก้าวต่อไปข้างหน้าให้ ได้” หลายคนเคยบอกไว้วา่ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับคุณ ไม่ใช่สงิ่ ทีจ่ ะก�ำหนดความสุขของคุณ แต่มนั เป็นความคิดของคุณเอง ต่างหากความคิดที่มีต่อสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับคุณนั่นwเองจะสุขหรือจะทุกข์ก็ขึ้นอยู่ที่เราทั้งนั้นเป็นคนก�ำหนด ล้มทั้งยืน เสียบ้างก็คงไม่เสียหายอะไร แต่ล้มไม่เป็นเลยนี่สิน่าเสียดายกว่าหลายเท่า การที่คนเราจะท้อแท้มันเป็นเรื่องที่สามารถ เกิดขึน้ ได้กบั ทุกคน แต่คนทีท่ อ้ แท้แล้วไม่ทอ้ ถอยคือคนทีช่ นะแล้ว อย่างน้อยก็ชนะใจตัวเอง และเป็นธรรมดาทีช่ ว่ งหนึง่ ของชีวิตที่เราจะรู้สึกแย่แต่ขออย่าท้อแท้ เพราะคงไม่มีใครที่จะแพ้ได้ทุกวัน แหล่งอ้างอิง เนื้อหา https://hilight.kapook.com/view/51855 แหล่งอ้างอิง ภาพ http://www.dmc.tv/page_print.php?p=บทความให้ก�ำลังใจ/บทความให้ก�ำลังใจ-ตอนที่-4.html https://health.campus-star.com/app/uploads/2018/06/friend2.jpg http://jadiberita.com/wp-content/uploads/2017/10/daisy-1-768x384.jpg https://pantip.com/topic/35684070 60 วารสารราชทั ณ ฑ์

สรุปย่อค�ำวินิจฉัย พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 วีระเชษฐ์ จรรยากูล ส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี

ด้วย ส�ำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม แจ้ ง ว่ า ส� ำ นั ก งานปลั ด ส� ำ นั ก นายกรั ฐ มนตรี โดยส�ำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ ราชการ ได้จัดท�ำเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ พระราชบั ญ ญั ติ ข ้ อ มู ล ข่ า วสารของราชการ พ.ศ. 2540 เช่น สรุปย่อค�ำวินจิ ฉัยของคณะกรรมการ วินจิ ฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สรุปข้อร้องเรียน ของคณะอนุกรรมการพิจารณาและให้ความเห็น เรือ่ งร้องเรียน สรุปข้อหารือของคณะอนุกรรมการ ตอบข้อหารือ ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของ ราชการ เป็นต้น และส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายก รัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า เอกสารเผยแพร่ดังกล่าวข้างต้น จะเป็นประโยชน์เพื่อน�ำไปใช้ประกอบการปฏิบัติหน้าที่ ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ต่อไป จึงขอความอนุเคราะห์ในการเผยแพร่ สรุปย่อค�ำวินิจฉัยและบทความ จ�ำนวน 2 เรื่อง ทางสื่อต่างๆ ของหน่วยงานนี้ เพื่อส่งให้ส่วนราชการในการก�ำกับดูแลต่อไป กองบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ์พจิ ารณาแล้ว เพือ่ ให้เป็นประโยชน์ในการน�ำไปใช้ประกอบการปฏิบตั หิ น้าที่ ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 จึงได้น�ำสรุป ย่อค�ำวินิจฉัยและบทความ จ�ำนวน 2 เรื่อง ดังกล่าว เผยแพร่ในวารสารราชทัณฑ์ รายละเอียดดังนี้

วารสารราชทั ณ ฑ์ 61

บทความ อ. 34/2560

ผมเสียเท่าคนอื่นไหม ก็เป็นเรือ่ งของความข้องใจสงสัยว่า ธุรกิจแบบเดียวกัน คล้ายกัน ถูกเรียกเก็บภาษีเท่ากัน หรือไม่ ถ้าเท่ากัน ด้วยหลักเกณฑ์เดียวกัน ก็ ไม่ได้ว่าอะไร นายกิจการเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟและรีสอร์ทที่น่าอยู่แห่งหนึ่ง ได้ขอรายชื่อผู้ประกอบการ โรงแรม รีสอร์ท และร้านอาหารที่เสียภาษีตามกฎหมายในเขตอ�ำเภอเขาค้อและอ�ำเภอหล่มเก่า แต่สรรพากรพื้นที่เพชรบูรณ์ปฏิเสธ การเปิดเผยด้วยเหตุผลว่า ถ้าเปิดเผยจะเป็นการรุกล�้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร และเป็นข้อมูลที่มีผู้ให้มา โดยไม่ประสงค์ให้น�ำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น ตามมาตรา 15 (5) และ (5) จึงต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา 10 แห่งประมวลรัษฎากร นายกิจการจึงมีหนังสือไปอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ในการพิจารณาของคณะกรรมการวินจิ ฉัยฯ ส�ำนักงานสรรพากรพืน้ ทีเ่ พชรบูรณ์มหี นังสือส่งเอกสารตามอุทธรณ์ ได้แก่ รายชื่อผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท และร้านอาหารที่เสียภาษีในพื้นที่อ�ำเภอเขาค้อ จ�ำนวน 496 ราย และ อ�ำเภอหล่มเก่า จ�ำนวน 86 ราย ให้คณะกรรมการวินิจฉัยฯ เพื่อประกอบการพิจารณา และได้ชี้แจงร่วมกับผู้แทน กรมสรรพากรสรุปได้วา่ นายกิจการได้ขอข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเพือ่ ต้องการทราบว่า กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมที งั้ หมดกีร่ าย ตามเก็บจากผู้ประกอบการครบถ้วนทุกรายหรือไม่ ซึ่งส�ำนักงานสรรพากรพื้นที่เพชรบูรณ์ได้รวบรวมข้อมูลที่ได้ จากการส�ำรวจผู้เสียภาษี ข้อมูลผู้เสียภาษี และยังได้ส�ำรวจผู้ประกอบการประเภทกิจการที่พักแรมและบริการ ด้านอาหาร เพื่อน�ำเข้าระบบภาษีอากรต่อไป แล้วจัดท�ำข้อมูลรายชื่อผู้ประกอบการต่อไป ส่วนข้อมูลข่าวสารตามที่ นายกิ จ การมี ค� ำ ขอนั้ น พิ จ ารณาเห็ น ว่ า เป็ น ข้ อ มู ล ข่ า วสารส่ ว นบุ ค คล จึ ง ได้ มี ห นั ง สื อ แจ้ ง ปฏิ เ สธพร้ อ มเหตุ ผ ล ตามที่ได้แจ้งแล้ว คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาแล้วเห็นว่า รายชื่อผู้ประกอบการ โรงแรม รีสอร์ท และร้านอาหารที่เสียภาษีในพื้นที่อ�ำเภอเขาค้อ และอ�ำเภอหล่มเก่า เป็นข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามปกติของหน่วยงานของรัฐ แม้การเปิดเผยรายชื่อดังกล่าวจะท�ำให้ทราบว่าผู้มีรายชื่อเป็นผู้ประกอบกิจการที่ต้อง เสียภาษีประเภทใด แต่ก็เป็นหน้าที่ของบุคคลและนิติบุคคลผู้มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว กรณีนี้นายกิจการต้องการ ขอเพียงรายชื่อผู้ประกอบการ การเปิดเผยจึงไม่เป็นการรุกล�้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร แต่ตรงข้ามการเปิดเผย จะแสดงให้เห็นความถูกต้องโปร่งใส เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งการ เสียภาษีของผู้ประกอบการได้ จึงให้สรรพากรพื้นที่เพชรบูรณ์เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ตามค�ำขอพร้อมรับรองส�ำเนา ถูกต้องให้นายกิจการ เรื่องนี้เป็นเรื่องการรักษาสิทธิของตัวเอง และความสบายใจที่ได้เห็นความโปร่งใสในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ของหน่วยงานครับ อาจเกิดกับใครก็ได้ หากต้องการเอกสารราชการไปใช้คมุ้ ครองสิทธิของตนเองแล้วไม่ได้ ขอให้นกึ ถึง คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการครับ เพราะ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” ติดต่อได้ที่ 0 2283 4678 หรือ www.oic.go.th (ที่ สค 181/2560)

62 วารสารราชทั ณ ฑ์

บทความ อ. 35/2560

เปิดหมดครับ เรื่ อ งนี้ ก็ เ ป็ น เรื่ อ งส� ำ คั ญ อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ครั บ เกิ ด จากการนั บ เวลาการด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ผิ ด พลาด ซึ่งอาจมีหน่วยงานอื่นอีก งานการเจ้าหน้าที่ก็ลองตรวจสอบดูกันครับ เรื่องนี้นายขาวเป็นนิติกรช�ำนาญการ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา ได้รับแต่งตั้งให้ด�ำรง ต�ำแหน่งนี้ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551 แต่ต่อมา อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับต�ำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตรวจพบว่า นายขาวมีระยะเวลาขั้นต�่ำในการด�ำรงต�ำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งตามคุณวุฒิของบุคคล และระดับ ต�ำแหน่งทีจ่ ะแต่งตัง้ ไม่ครบ 5 ปี จึงมีมติให้สำ� นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาพะเยา แก้ไขค�ำสัง่ แต่งตัง้ นายขาว จากเดิมวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นได้ไม่ก่อนวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 นายขาวจึงมีหนังสือถึงส�ำนักงาน ก.ค.ศ. เพือ่ ขอข้อมูลข่าวสารเกีย่ วกับรายงานการประชุมและลายมือชือ่ คณะกรรมการ ผูเ้ ข้าร่วมประชุมรวม 2 รายการ คือ 1) ส�ำเนารายงานการประชุม ก.ค.ศ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ทำ� หน้าที่แทน ก.ค.ศ. ที่เกี่ยวข้องกับมติ 2) ส�ำเนาลายมือชื่อ คณะกรรมการหรืออนุกรรมการทีเ่ ข้าร่วมประชุมทัง้ หมด แต่สำ� นักงาน ก.ค.ศ. มีหนังสือแจ้งอนุญาตให้ถา่ ยส�ำเนารายงาน การประชุม อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับต�ำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เรื่องที่ 4.3 ที่เกี่ยวข้องกับนายขาว แต่ไม่อนุญาตให้ส�ำเนาลายมือชื่อคณะกรรมการหรืออนุกรรมการ ที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด เนื่องจากอาจเกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใดตามมาตรา 15 (4) นายขาวจึงมีหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ในการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ส�ำนักงาน ก.ค.ศ. มีหนังสือชี้แจงว่า ได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารบางส่วน ให้นายขาวแล้ว แต่ที่ไม่เปิดเผยก็เป็นไปตามเหตุผลที่แจ้งแล้วเช่นกัน คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารที่ปกปิดคือ รายชื่อของ ผู้มาประชุม รายชื่อของผู้ไม่มาประชุม เวลาที่เริ่มประชุม และเลิกประชุม เป็นข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติงานตามปกติ ของหน่วยงาน การเปิดเผยเป็นการเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบและแสดงความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ซึง่ เปิดเผยได้ จึงให้สำ� นักงาน ก.ค.ศ. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารทีย่ งั ปกปิดอยูพ่ ร้อมทัง้ ให้สำ� เนาทีม่ คี ำ� รับรองถูกต้องให้นายขาว การจะปฏิเสธโดยอ้างเหตุผลตามมาตรา 15 (4) นั้น ต้องค�ำนึงสถานะต�ำแหน่งของผู้ขอด้วยครับ เช่น เป็นผูม้ บี ารมี มีอทิ ธิพล เป็นผูบ้ งั คับบัญชาทีใ่ ห้คณ ุ ให้โทษได้ และเนือ้ หาสาระของเรือ่ งทีข่ อด้วย เช่น เรือ่ งทีถ่ กู ร้องเรียน เรื่องที่มีพยานให้ถ้อยค�ำ เรื่องสอบสวน เรื่องชาวบ้านร้องเรียนผู้ประกอบการที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนร�ำคาญ ประมาณนี้ มีขอ้ สงสัยการปฏิบตั หิ รือการใช้สทิ ธิตามพระราชบัญญัตขิ อ้ มูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ขอให้นกึ ถึง คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการครับ ติดต่อเพิม่ เติมได้ที่ 0 2283 4678 หรือ www.oic.go.th ( ที่ สค 95/2560)

วารสารราชทั ณ ฑ์ 63

บทความ อ. 38/2560

อยากไปเที่ยวอีกไหม เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วครับ ยกคณะกันไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับกิจการสภา แต่มีภาพมีหลักฐานว่า ไปดูฟุตบอลพรีเมียร์ลีกเป็นของแถมด้วย สื่อมวลชนจึงขอส�ำเนาหลักฐานโครงการ เสียชื่อเชียวครับ เงินภาษี ประชาชนครับ ใช้แบบคุ้มค่าหน่อย นายไก่ได้ไปเห็นภาพถ่ายเซลฟีท่ คี่ ณะผูบ้ ริหารและพนักงานของเทศบาลไปถ่ายคูก่ บั สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วสวยงามต่างๆ จึงได้มีหนังสือขอส�ำเนาข้อมูลข่าวสารรายชื่อคณะผู้บริหารหรือพนักงานเทศบาลผู้ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา ให้เดินทางไปราชการเพื่อไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2559 แต่เทศบาลมีหนังสือแจ้งปฏิเสธ การเปิดเผยโดยให้เหตุผลว่า เป็นการขอข้อมูลข่าวสารจ�ำนวนมาก และขอข้อมูลย้อนหลังไปกว่า 10 ปี เป็นภาระเกิน สมควรทีเ่ ทศบาลจะต้องจัดเจ้าหน้าทีไ่ ปจัดท�ำวิเคราะห์ จ�ำแนก และรวบรวม จึงไม่อนุญาตให้นายไก่ถา่ ยส�ำเนาเอกสาร ตามที่มีค�ำขอ นายไก่แกก็คุ้นๆ อยู่ว่า เอกสารราชการจะต้องเก็บไว้อย่างน้อย 10 ปี จึงจะท�ำลายได้ เมื่อไม่ให้ดู ชักจะอย่างไรเสียแล้ว จึงมีหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ในการพิ จ ารณาของคณะกรรมการวินิจฉั ย การเปิ ด เผยข้ อ มู ล ข่ า วสาร เทศบาลได้ มี ห นั ง สื อ ส่ ง เอกสาร เพือ่ ประกอบการพิจารณาและชีแ้ จงต่อคณะกรรมการฯ ไป 3 ฉบับ โดยส่งส�ำเนารายชือ่ ผูไ้ ด้รบั อนุญาตให้ไปศึกษาดูงาน ต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2556 – 2557 ส่วนในปี พ.ศ. 2558 แจ้งว่าไม่มีคณะผู้บริหารหรือพนักงานเทศบาลผู้ใด ได้รบั อนุญาตให้เดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศ และส�ำหรับในปี พ.ศ. 2548 - 2555 ได้มบี นั ทึกรายงานหัวหน้าฝ่าย อ�ำนวยการว่า จากการตรวจสอบไม่พบเอกสารหรือค�ำสั่ง ในการเดินทางไปต่างประเทศแต่อย่างใด เทศบาลชี้แจง คณะกรรมการวินิจฉัยฯ ไป 3 ประเด็นนี้ครับ คณะกรรมการวิ นิ จ ฉั ย การเปิ ด เผยข้ อ มู ล ข่ า วสารพิ จ ารณาแล้ ว เห็ น ว่ า รายชื่ อ คณะผู ้ บ ริ ห ารหรื อ พนักงานเทศบาล ผูไ้ ด้รบั อนุญาตจากผูบ้ งั คับบัญชาให้เดินทางไปราชการเพือ่ ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2559 ที่เทศบาลส่งไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยฯ พิจารณานั้น เป็นข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติ ราชการตามปกติของหน่วยงานของรัฐ ไม่มีตรงไหนที่เปิดเผยไม่ได้ตามมาตรา 15 ส่วนรายชื่อไปดูงานต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 - 2555 ที่แจ้งว่าไม่พบเอกสารหรือค�ำสั่งเดินทางไปราชการ และในปี พ.ศ. 2558 ที่ชี้แจงว่าไม่มี ผูบ้ ริหารหรือพนักงานเทศบาลผูใ้ ดได้รบั อนุญาตจากผูบ้ งั คับบัญชาให้เดินทางไปราชการเพือ่ ไปศึกษาดูงานต่างประเทศนัน้ เป็นกรณีทหี่ น่วยงานของรัฐแจ้งว่าไม่มขี อ้ มูลข่าวสารตามทีม่ คี ำ� ขออยูใ่ นความครอบครอง หากนายไก่ไม่เชือ่ ว่าเป็นความจริง ก็ใช้สิทธิร้องเรียนให้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อขอให้ตรวจสอบได้ตามมาตรา 33 ดังนั้น จึงวินิจฉัย ให้เทศบาลเปิดเผยรายชื่อคณะผู้บริหารหรือพนักงานเทศบาล ผู้ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาให้เดินทางไปราชการ เพื่อไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2556 - 2557 และ พ.ศ. 2559 พร้อมส�ำเนาถูกต้องให้นายไก่ การเดินทางไปราชการเพื่อไปศึกษาดูงานต่างประเทศ เป็นการใช้งบประมาณของประเทศและเงินภาษี ของประชาชน จึงควรใช้อย่างประหยัด และกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ที่ส�ำคัญต้องเปิดเผยให้ประชาชน เข้าตรวจสอบได้ มีข้อสงสัยติดต่อหารือได้ที่ส�ำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ส�ำนักงานปลัดส�ำนัก นายกรัฐมนตรี 0 2283 4678 หรือ www.oic.go.th “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” (สค 217/2560) 64 วารสารราชทั ณ ฑ์

บทความวิชาการ

ป˜จจัยที่มีผลต่อการน�ายุทธศาสตร์ พัฒนาพฤตินิสัยไปปฏิบัติ นักศึกษาผู้บัญชาการเรือนจ�า (นผบ.) รุ่นที่ 31 กลุ่มที่ 3 กรมราชทัณฑ์มียุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา พฤตินิสัยตามแผนปฏิบัติราชการกรมราชทัณฑ์ 4 ปี (พ.ศ. 2559 - 2562) ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เพื่อคืนคนดีสู่สังคมเป็น แนวทางในการด�าเนินงานของเรือนจ�าและทัณฑสถาน ปั จ จุ บั น กรมราชทั ณ ฑ์ มี ผู ้ ต ้ อ งขั ง ในการ ควบคุม จ�านวน 360,000 คน มีเรือนจ�าและทัณฑสถาน ทีร่ องรับการดูแลผูต้ อ้ งขัง จ�านวน 134 แห่ง แต่มพี นื้ ที่ ที่ ส ามารถรองรั บ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ไว้ ใ นการควบคุ ม เพี ย ง 120,000 คน สภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการ พัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง อีกทั้งปัญหาจากสภาพของเรือนจ�าที่มีอายุการใช้งานมานาน โดยเฉลี่ยมีอายุการใช้งาน ถึง 50 ปีขึ้นไป มีจ�านวนมากถึง 87 แห่ง สภาพภายในเรือนจ�าไม่สอดคล้องในการบริหารจัดการกับแผนยุทธศาสตร์ เพื่อให้การด�าเนินการพัฒนาพฤตินิสัยของกรมราชทัณฑ์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่วา่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี รวมถึงการตอบสนองความคาดหวังสังคมทีม่ ตี อ่ การด�าเนินงานของ กรมราชทัณฑ์ รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ภายใต้การขับเคลื่อนโดยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งเน้นการพัฒนาให้คนไทยมีวินัย มีทัศนคติและพฤติกรรม ตามบรรทัดฐานทีด่ ี เป็นพลเมืองทีต่ นื่ รูป้ รับตัวเท่าทันสถานการณ์ และรับผิดชอบต่อประโยชน์สว่ นรวม รวมถึงเป้าหมาย ที่ 16 การส่งเสริมสังคมทีส่ งบสุขและครอบคลุมเพือ่ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน ให้ทกุ คนเข้าถึงความยุตธิ รรม และสร้างสถาบัน ทีม่ ปี ระสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมทุกระดับ ตลอดจนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทีเ่ น้นการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) ดังนั้น เพื่อการด�าเนินงานด้านพัฒนาพฤตินิสัยของกรมราชทัณฑ์บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของ แผนปฏิบัติการกรมราชทัณฑ์ 4 ปี (พ.ศ. 2559-2562) จึงมีความจ�าเป็นต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการน�ายุทธศาสตร์ พัฒนาพฤตินิสัยไปปฏิบัติ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาไว้ 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มี ผลต่อการน�ายุทธศาสตร์พฒ ั นาพฤตินสิ ยั ไปปฏิบตั ขิ องเจ้าหน้าทีท่ ปี่ ฏิบตั งิ านในเรือนจ�าและทัณฑสถาน และประการที่ 2 เพือ่ ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการน�ายุทธศาสตร์พฒ ั นาพฤตินสิ ยั ไปปฏิบตั ใิ นเรือนจ�าและทัณฑสถาน โดยก�าหนด วิธีการศึกษา คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเรือนจ�าและทัณฑสถาน จ�านวน 5 แห่ง

วารสารราชทั ณ ฑ 65

จากการศึ ก ษาวิ จั ย ปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ การน� ำ ยุ ท ธศาสตร์ พั ฒ นาพฤติ นิ สั ย พบว่ า ความชั ด เจนของ ยุทธศาสตร์พฒ ั นาพฤตินสิ ยั เพือ่ คืนคนดีสสู่ งั คม ได้กำ� หนด เรือ่ งเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ คือ คืนคนดีทมี่ คี ณ ุ ค่ากลับ สูส่ งั คม และก�ำหนดเรือ่ งกลยุทธ์หลักในการด�ำเนินงาน คือ การพัฒนาพฤตินสิ ยั ของผูต้ อ้ งขัง ฟืน้ ฟูสมรรถภาพผูต้ อ้ งขัง ตามความเหมาะสม การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ ที่ เ หมาะสม โดยก� ำ หนดแนวทางการด� ำ เนิ น งาน คื อ การจัดการศึกษา พัฒนาจิตใจ ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม การใช้ศกั ยภาพของผูต้ อ้ งขัง พร้อมทัง้ การจัดสวัสดิการและ ให้การสงเคราะห์ทเี่ หมาะสม โดยการก�ำหนดตัวชีว้ ดั ต่างๆ มีความชัดเจนทีท่ ำ� ให้เจ้าหน้าทีส่ ามารถเข้าใจและเห็นด้วยได้ รวมทั้งมีส่วนร่วมในยุทธศาสตร์พัฒนาพฤตินิสัย แต่อย่างไรก็ตามการก�ำหนดกลยุทธ์ไว้อย่างกว้างๆ ตามหลักการ ทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการพัฒนาผู้ต้องขังตามศักยภาพของแต่ละเรือนจ�ำและทัณฑสถาน ประกอบกับ ความแตกต่างในบริบทของแต่ละเรือนจ�ำและทัณฑสถาน ทั้งในเรื่องของจ�ำนวนผู้ต้องขัง ลักษณะผู้ต้องขัง สถานที่ ความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ยังคงให้ความ ส�ำคัญกับการควบคุมผู้ต้องขังเป็นหลักจึงเป็นผลให้ความชัดเจนของยุทธศาสตร์ไม่มีผลต่อการน�ำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ ความพอเพียงของทรัพยากรในหน่วยงานทั้งในด้านงบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ พบว่า งบประมาณ มีความเพียงพอต่อการด�ำเนินงานตามยุทธศาสตร์ไปปฏิบตั ิ โดยใช้งบประมาณทีไ่ ด้รบั จากการจัดสรรจากกรมราชทัณฑ์ และเงินนอกงบประมาณของเรือนจ�ำและทัณฑสถาน ที่ได้จากผลพลอยได้ผลผลิตของผู้ต้องขังท�ำให้ทางเรือนจ�ำและ ทัณฑสถาน สามารถบริหารจัดการเงินทัง้ สองส่วนในการพัฒนาพฤตินสิ ยั ของผูตอ้ งขังได้ ส่วนทางด้านบุคลากรทีป่ ฏิบตั งิ าน นั้นไม่เพียงพอ มีความจ�ำเป็นที่จะต้องเพิ่มบุคลากรอย่างยิ่ง เนื่องจากปริมาณงานและจ�ำนวนผู้ต้องขังเพิ่มมากขึ้น และบุคลากรหนึ่งคนปฏิบัติงานหลายหน้าที่ ท�ำให้ไม่สามารถดูแลและพัฒนาต่อยอดความคิดในการท�ำงานเพื่อพัฒนา พฤตินสิ ยั ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส�ำหรับทางด้านวัสดุอปุ กรณ์ทใี่ ช้อยูใ่ นปัจจุบนั มีความเหมาะสมน้อย เพราะไม่ทนั สมัย และอยูใ่ นสภาพทีช่ ำ� รุดเป็นจ�ำนวนมาก รวมตลอดถึงหลักสูตรทีใ่ ช้ในการพัฒนาพฤตินสิ ยั ทีม่ คี วามสอดคล้องกับลักษณะ ของการกระท�ำความผิด สาเหตุของการกระทําความผิด โดยเฉพาะโปรแกรมชุมชนบําบัดที่เป็นการแก้ไขบําบัดฟื้นฟู ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด และการอบรมตามลักษณะคดีที่มีสาเหตุการกระทําความผิดอย่างอื่นยังไม่ครอบคลุม ทุกลักษณะของการกระทําความผิด ความเพียงพอของทรัพยากรในหน่วยงานมีผลต่อการนํายุทธศาสตร์พัฒนา พฤตินิสัยไปปฏิบัติ ความรูค้ วามสามารถและทัศนคติของผูน้ าํ นโยบายไปปฏิบตั ิ เจ้าหน้าทีข่ องเรือนจาํ และทัณฑสถาน เป็นปัจจัย สําคัญอย่างยิ่งต่อการนํายุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ โดยหากเจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถ และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับ การพัฒนาพฤตินิสัย ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติตามนโยบายหรือยุทธศาสตร์ แต่ในทาง ความเป็นจริง เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ความสามารถในหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม จึงมีการเชิญหน่วยงานภายนอก มาเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาพฤตินิสัยให้กับผู้ต้องขัง ซึ่งวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกอาจไม่เข้าใจถึง สภาพและลักษณะของผู้ต้องขังทําให้การพัฒนาพฤตินิสัยไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากนัก 66 วารสารราชทั ณ ฑ์



สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน ทางเรือนจําและทัณฑสถาน ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ อย่ า งดี จ ากหน่ ว ยงานภายนอก โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นปัจจัยสาํ คัญอย่างยิง่ ในการนํา นโยบายหรือยุทธศาสตร์ไปปฏิบตั ิ ทัง้ การสนับสนุนในเรือ่ ง วิทยากร และการจ้างงาน ส่วนทางด้านครอบครัวนัน้ แม้จะ ได้รบั ความร่วมมือไม่เต็มที่ ขึน้ อยูก่ บั ความเข้าใจและสภาพ สังคมเศรษฐกิจของแต่ละครอบครัว ส่วนที่สําคัญที่สุด ในการส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล ของการนาํ ความรู้ที่ได้จากการอบรมเพื่อพัฒนาพฤตินิสัย ไปปฏิบัติคือ สังคม เนื่องจากหากสังคมให้การยอมรับ ผู้ต้องขังที่พ้นโทษออกไป ทั้งส่งเสริมในการประกอบอาชีพและการอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม จึงทําให้โอกาสในการ กระทําความผิดซ�้ำของผู้พ้นโทษน้อยลง และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน เรือนจําและทัณฑสถาน มีผลต่อการนํายุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ ด้านจิตใจและทัศนคติของผู้ต้องขัง พบว่า อิทธิพลของสังคมหรือกลุ่มของผู้ต้องขังในเรือนจํามีอิทธิพลและ เป็นอุปสรรคในการพัฒนาพฤตินิสัยอย่างมาก แต่จากการพัฒนาพฤตินิสัยที่ทางเรือนจําและทัณฑสถาน จัดให้นั้น ผูต้ อ้ งขังมีทศั นคติทดี่ ตี อ่ การฝึกวิชาชีพ และมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรทีไ่ ด้รบั การฝึกวิชาชีพ และเมือ่ ผูต้ อ้ งขังพ้นโทษแล้ว สามารถนําความรูท้ ไี่ ด้จากการพัฒนาไปใช้ได้ ซึง่ ปัจจัยด้านจิตใจและทัศนคติของผูต้ อ้ งขังมีอทิ ธิพลต่อการนาํ ยุทธศาสตร์ ไปปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการน�ำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ จากผลการศึก ษา สรุปได้ว่า ปัจ จั ย ด้ า นความเพี ย งพอของทรั พ ยากรในหน่ วยงาน ปั จจั ย ด้ า นความรู ้ ความสามารถและทัศนคติของผูน้ าํ นโยบายไปปฏิบตั ิ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน และปัจจัยด้านจิตใจ และทัศนคติของผู้ต้องขังมีผลต่อการนํายุทธศาสตร์พัฒนาพฤตินิสัยไปปฏิบัติ ยกเว้นปัจจัยด้านความชัดเจนของ ยุทธศาสตร์พัฒนาพฤตินิสัยที่ไม่ส่งผลต่อการนํายุทธศาสตร์พัฒนาพฤตินิสัยไปปฏิบัติ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรกําหนดตัวชีว้ ดั ให้เหมาะสมและเป็นมาตรฐานทีท่ กุ คนสามารถปฏิบตั ไิ ด้เป็นอย่างดี เต็มศักยภาพของตนเอง และก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาพฤตินสิ ยั ของผูต้ อ้ งขังอย่างดีทสี่ ดุ รวมทัง้ ควรพิจารณาถึงบริบท ที่แตกต่างกันของแต่ละเรือนจําและทัณฑสถาน ทั้งในเรื่องประเภทของผู้ต้องขัง ประเภทของเรือนจํา รวมทั้งศักยภาพ ของแต่ละเรือนจําและทัณฑสถาน แต่ละแห่งควรมีการจัดการพัฒนาพฤตินิสัยอย่างไร ตลอดจนเมื่อได้มีการกําหนด ยุทธศาสตร์ออกมาแล้ว ควรต้องมีการชี้แจงรายละเอียดของยุทธศาสตร์ให้ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในเรือนจําและ ทัณฑสถานได้เข้าใจ หรือเห็นด้วยและมีทศั นคติทดี่ ตี อ่ ยุทธศาสตร์ เพือ่ พร้อมนาํ ไปปฏิบตั งิ านได้จริง บุคลากรผูป้ ฏิบตั งิ าน มีความเข้าใจ มีความเห็นด้วยและมีทัศนคติที่ดีต่อยุทธศาสตร์ ก็จะทําให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการดําเนินงาน ตามยุทธศาสตร์พฒ ั นาพฤตินสิ ยั และสามารถส่งผลให้ยทุ ธศาสตร์ประสบความสาํ เร็จ นอกจากนัน้ ควรมีการลดจาํ นวน ผู้ต้องขังลง ซึ่งการลงโทษผู้กระทําความผิดให้อยู่ในเรือนจําและทัณฑสถานนั้น ควรเป็นผู้กระทําความผิดคดีร้ายแรง หรือผูท้ กี่ ระทําความผิดซ�ำ้ ทีไ่ ม่สามารถจะแก้ไขและพัฒนาพฤตินสิ ยั ได้ หรือไม่สามารถทีจ่ ะอยูร่ ว่ มกับคนอืน่ ๆ ในสังคมได้ และเป็นผู้กระทําความผิดที่จะสร้างความเดือดร้อน เป็นพิษภัยแก่ผู้คนในสังคมให้มาอยู่ในเรือนจําและทัณฑสถาน ส่วนผู้ที่กระทําความผิดครั้งแรกและไม่ร้ายแรง รวมทั้งเป็นผู้พร้อมจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรให้มีการลงโทษโดย วารสารราชทั ณ ฑ์ 67

วิธกี ารอืน่ ๆ ทีไ่ ม่ตอ้ งอยูใ่ นเรือนจําและทัณฑสถาน อาจเป็นการคุมประพฤติให้บาํ เพ็ญประโยชน์แทน ส่วนกรณีผตู้ อ้ งขัง ที่ป่วยหนัก เมื่ออยู่ในเรือนจําและทัณฑสถานหรือโรงพยาบาลราชทัณฑ์จะเป็นภาระของรัฐที่จะต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษาให้หายจากโรคร้ายหรือให้หายจากอาการป่วย เสนอให้สามารถปล่อยตัวมาอยู่ภายนอกได้ แต่ต้องมี การติดตามว่าได้อยู่ที่บ้านหรือสถานพยาบาลหรือไม่ โดยอาจทําการฝังเครื่องติดตามเป็นปลอกแขน หรือกําไลข้อเท้า (Electronic Monitoring) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าขณะนี้ผู้ต้องขังอยู่ในสถานที่ที่กําหนดไว้หรือไม่ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจําและทัณฑถานจะต้องได้รับการพัฒนาและอบรม อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ทํางานเกี่ยวกับการพัฒนาพฤตินิสัยที่ต้องทํางานกับผู้ต้องขัง จําเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ รวมทัง้ วุฒภิ าวะทางอารมณ์ทมี่ ากกว่าผูต้ อ้ งขัง และต้องมีทศั นคติทดี่ ใี นการปฏิบตั งิ าน เนือ่ งจากผูต้ อ้ งขังมา จากแหล่งที่หลากหลาย มีการกระทําความผิดในคดีที่แตกต่างกันมีพื้นฐานทางด้านความรู้และทัศนคติที่แตกต่างกัน แต่ตอ้ งสามารถทีจ่ ะควบคุมและพัฒนาผูต้ อ้ งขังเหล่านีใ้ ห้อยูร่ ว่ มกันได้ และสามารถพัฒนาพฤตินสิ ยั ได้ รวมทัง้ ในปัจจุบนั นี้ ผูต้ อ้ งขังบางส่วนมีการศึกษาสูงจบตัง้ แต่ปริญญาตรีถงึ ปริญญาเอก ดังนัน้ เจ้าหน้าทีเ่ รือนจาํ และทัณฑสถานตัง้ แต่ระดับสูง จนถึงระดับปฏิบตั กิ ารจะต้องมีการพัฒนาอยูเ่ สมอ และต้องสามารถบริหารจัดการให้กลุม่ คนเหล่านีส้ ามารถอยูร่ ว่ มกัน และสามารถพัฒนาได้ ทั้งทางด้านการศึกษา ทักษะวิชาชีพ และด้านจิตใจ ตลอดจนสามารถบริหารจัดการให้ผู้ต้องขัง ที่มีความรู้ความสามารถสูงนําความสามารถเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดระยะเวลาที่อยู่ในเรือนจําและ ทัณฑสถาน สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานทางเรือนจําและทัณฑสถาน รวมถึงครอบครัวหน่วยงานทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน สภาวะทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทุกภาคส่วนเหล่านี้ล้วนมีความสําคัญในการสนับสนุน การพัฒนาพฤตินิสัยให้ผู้ต้องขังสามารถกลับไปอยู่ในสังคมได้โดยเฉพาะครอบครัวที่เป็นสถาบันหลักในการส่งเสริม ให้คนเป็นคนดี เมื่อผู้ต้องขังได้รับการปล่อยตัวออกไปก็ต้องกลับไปอยู่กับครอบครัว ซึ่งทางครอบครัวเป็นส่วนสําคัญ ทีค่ อยให้กาํ ลังใจ และให้ความช่วยเหลือผูต้ อ้ งขังตัง้ แต่อยูใ่ นเรือนจาํ และทัณฑสถาน ในการปฏิบตั แิ ละฝึกอบรมเวลาอยู่ ในเรือนจําเมื่อออกไปทางครอบครัวเป็นส่วนสําคัญในการปลุกกําลังใจให้ผู้ต้องขังมีความกล้าและมีความอดทนที่จะ ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ และในการทําความดีไม่หวนกลับไปกระทําความผิดซ�้ำอีก ส่วนทางด้านสังคม กลุ่มคนในชุมชน ควรที่จะให้โอกาสผู้พ้นโทษเหล่านี้ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ เปิดโอกาสในการทํางานประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้ สามารถใช้ดําเนินชีวิตได้

68 วารสารราชทั ณ ฑ์

นอกจากนั้น หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถช่วยให้การพัฒนาพฤตินิสัยประสบความสําเร็จได้ ในด้านของงบประมาณอุดหนุนในการฝึกวิชาชีพ ด้านวิทยากรที่มาฝึกอบรมให้ผู้ต้องขัง และการจ้างงานให้ผู้ต้องขัง มีงานทํา ซึง่ เป็นการฝึกฝนทักษะในด้านวิชาชีพ รวมทัง้ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ผตู้ อ้ งขังและให้แก่เรือนจาํ และทัณฑสถาน อีกทางในการนําเงินเหล่านี้มาบริหารจัดการภายในเรือนจําและทัณฑสถาน ให้สามารถดําเนินการพัฒนาพฤตินิสัย ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทางเรือนจําและทัณฑสถานจึงควรสร้างเครือข่ายกับทุกภาคส่วนทั้งทางด้านครอบครัวผู้ต้องขัง สังคม/ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นแนวร่วมในการพัฒนาพฤตินิสัย ด้านจิตใจและทัศนคติของผู้ต้องขัง ถือว่าเป็นส่วนที่สําคัญในแง่การพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง เนื่องจาก ผู้ต้องขังเป็นกลุ่มเป้าหมายในการดําเนินการตามยุทธศาสตร์ ถ้าผู้ต้องขังไม่มีความสนใจหรือใส่ใจในการพัฒนา หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีหรือไม่ยอมรับในหลักสูตร โปรแกรมหรือแนวทางปฏิบัติที่ทางเรือนจําและทัณฑสถานจัดให้ ก็จะไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนา ดังนั้นในการพัฒนาพฤตินิสัยเรือนจําและทัณฑสถานจะต้องให้ความรู้และชี้แนะ ให้ผตู้ อ้ งขังเห็นถึงประโยชน์ทไี่ ด้จากการพัฒนาพฤตินสิ ยั ในรูปแบบต่างๆ ทัง้ การศึกษา การฝึกวิชาชีพ การพัฒนาจิตใจ รวมทัง้ การทาํ งานสาธารณะ ผูต้ อ้ งขังจะได้ในเรือ่ งของรายได้ และสิทธิประโยชน์ตา่ งๆ อาทิ วันลดโทษ การพักโทษหรือ ความรู้ที่จะได้นําไปใช้ภายหลังจากพ้นโทษแล้ว ผู้ต้องขังจะมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาพฤตินิสัยมากขึ้น รวมทั้ง ต้องขจัดเรื่องอิทธิพลภายในเรือนจํา ที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มสร้างเครือข่ายกันภายในเรือนจําทําให้ผู้ต้องขังบางคน จําเป็นต้องไปรวมกลุ่มเพื่อความอยู่รอดไม่ถูกทําร้ายภายในเรือนจํา ซึ่งอิทธิพลภายในเรือนจํานั้นถ้าเป็นการรวมกลุ่ม กันในเรื่องที่ดี เช่น ชักชวนกันไปเข้ากองงานต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเป็นกลุ่มอิทธิพลที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น ไปสร้างเครือข่ายด้านยาเสพติดภายในเรือนจาํ หรือการรวมกลุม่ เป็นปรปักษ์ตอ่ เจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ านก็จะเป็นอุปสรรค ในการพัฒนาพฤตินิสัย

คณะผู้จัดท�ำบทความวิชาการ (กลุ่ม กป.3) หลักสูตรนักศึกษาผู้บัญชาการเรือนจ�ำ (นผบ.รุ่น 31) 1. นายพัศพงษ์ ใจคล่องแคล่ว 2. นายมงคล จันทะจร 3. นางโสภิต โหมดม่วง 4. นายขวัญไชย สันติภราภพ 5. นายวิรัตน์ แดงเถิน 6. นายสังคม อินทะ 7. นายสามารถ เสงี่ยมไพศาล 8. นายพิทักษ์ หนูน้อย 9. นายนนทรัตน์ หอมศรีประเสริฐ 10. นายพลเทพย์ คงสุทธิ ์

นักทัณฑวิทยา ช�ำนาญการพิเศษ นักทัณฑวิทยา ช�ำนาญการพิเศษ นักทัณฑวิทยา ช�ำนาญการพิเศษ นักทัณฑวิทยา ช�ำนาญการพิเศษ นักทัณฑวิทยา ช�ำนาญการพิเศษ นักทัณฑวิทยา ช�ำนาญการพิเศษ นักทัณฑวิทยา ช�ำนาญการพิเศษ นักทัณฑวิทยา ช�ำนาญการพิเศษ นักทัณฑวิทยา ช�ำนาญการพิเศษ เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ อาวุโส

สังกัดเรือนจ�ำกลางเพชรบุรี สังกัดกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สังกัดทัณฑสถานหญิงชลบุรี สังกัดเรือนจ�ำกลางสมุทรปราการ สังกัดเรือนจ�ำกลางตาก สังกัดเรือนจ�ำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดเรือนจ�ำกลางปัตตานี สังกัดเรือนจ�ำจังหวัดปทุมธานี สังกัดเรือนจ�ำจังหวัดพะเยา สังกัดเรือนจ�ำกลางนครปฐม

วารสารราชทั ณ ฑ์ 69

มุมมอง ตŒนกลŒำรำชทัณฑ

กองบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ์

ในชีวิตของทุกคนย่อมมีความต้องการที่จะประสบความส�าเร็จในชีวิต ของการท�างาน โดยแต่ละเส้นทางนั้นย่อมแตกต่างกันออกไป บางคนเส้นทาง ที่เดินนั้นราบรื่น แต่บางคนกลับมีอุปสรรคขวากหนามคอยกีดขวางอยู่เสมอ ซึ่งในทุกเส้นทางล้วนแล้วแต่อาศัยความพยายามที่จะประสบความส�าเร็จ และการได้มาเป็นข้าราชการราชทัณฑ์ ถือเป็นอีกสิง่ หนึง่ ทีแ่ สดงให้เห็นถึงความ พากเพียร อดทนของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ท่ามกลางความแห้งแล้งมีคนเคยกล่าวว่า “ขุดลึกลงไปจะเจอน�้า” ซึ่งเป็นค�ากล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้จริง บางคนมีอุปกรณ์ที่ดีเลิศแต่กลับท้อถอย ไปก่อนจึงไม่เจอน�้า แต่ส�าหรับบางคนพยายามขุดต่อไปเพราะอยากรู้ว่ามีน�้า จริงหรือไม่? จนในที่ สุ ด ก็ เจอแหล่ ง น�้ า ท่ า มกลางพื้ นทะเลทรายที่ แ ห้ ง แล้ ง เช่นเดียวกันกับการฝึกอบรมของหลักสูตรต่างๆ ที่เข้ามาท้าทายความสามารถ ของคนเราอยู่เสมอ โดยในหลักสูตรเจ้าพนักงานเรือนจ�า เมื่อหลังจากจบ การฝึกอบรมแล้วนัน้ ผูเ้ ข้ารับการฝึกอบรมจะได้ปฏิบตั งิ านเป็นเจ้าหน้าทีข่ า้ ราชการ ประจ�ากรมราชทัณฑ์ เป็นผูป้ ฏิบตั งิ านเพือ่ ประชาชน เพือ่ ส่วนรวม โดยยึดมัน่ ใน พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ 9 ซึ่ ง ได้ ทรงพระราชทานเนือ่ งในวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ความว่า “พระราชทานให้แก่ขา้ ราชการพลเรือนใช้เป็นทางประพฤติปฏิบตั เิ พือ่ ก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ ประชาชน สังคม ประเทศชาติ”

70 วารสารราชทั ณ ฑ

แนวทางการพัฒนางานเรือนจ�า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรข้าราชการราชทัณฑ์บรรจุใหม่ รุ่นที่ 140

ค�าว่าคุก หรือเรือนจ�า ทุกคนจะนึกถึงสภาพที่แออัด คับแคบ สภาพแวดล้อมที่ไม่น่าอยู่เอาเสียเลย ผู้ต้องขังที่เข้ามาอยู่ก็มาจาก ร้อยพ่อพันแม่ มีขาใหญ่คอยคุมในคุก (ผูต้ อ้ งขังด้วยกัน) บางคนก็โดนคดี ฆ่าคนตาย ยาเสพติด ข่มขืน ลักทรัพย์ ทุจริตต่างๆ เรือนจ�าเล็กๆ จะมี ผู้ต้องขังน้อยกว่า ผู้ต้องขังที่เข้ามาอยู่โดยคดีเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่ ว นเรื อ นจ� า ใหญ่ ห รื อ เรื อ นจ� า พิ เ ศษจะมี ผู ้ ต ้ อ งขั ง จ� า นวนมากกว่ า เป็นนักโทษทีต่ อ้ งคอยคุมดูแลเป็นพิเศษ กฎระเบียบก็จะเข้มงวดแตกต่าง กันไป แต่ส่วนใหญ่ระบบต่างๆ ภายในเรือนจ�าก็จะคล้ายๆ กัน คนที่ เข้ามาเป็นผูค้ มุ ในเรือนจ�า ชีวติ ความเป็นอยูก่ ไ็ ม่ตา่ งจากผูต้ อ้ งขังสักเท่าไหร่ ก็เหมือนกับการติดคุกภายในเรือนจ�านั่นแหละ ที่แตกต่างก็เพียงแต่ ได้เงินเดือน คอยควบคุมผู้ต้องขัง คอยสอดส่องดูแลให้ผู้ต้องขังอยู่ใน กฎระเบียบของทางเรือนจ�า มีการสอนงานให้กบั ผูต้ อ้ งขังได้มคี วามรูแ้ ละ อาชีพติดตัว ฟังดูอาจเหมือนเป็นงานทีส่ บายไม่ตอ้ งเหนือ่ ย ไม่ตอ้ งท�างาน เอกสาร ไม่ ต ้ อ งใช้ แรงงานแรงกายเท่ า ไหร่ แต่ ค วามเสี่ ย งในด้ า น ภัยอันตรายต่างๆ ก็ดูจะมีค่อนข้างมากทีเดียว ไม่มีอิสรภาพในกิจกรรม ต่างๆ เหมือนกับผู้ต้องขัง เช่น ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารใดๆ ทุกชนิด จะมีอาวุธก็เพียงแค่ ไม้ตะบองคูก่ าย กับเพียงวิทยุสอื่ สารทีไ่ ด้รบั อนุญาต ให้ใช้แค่ภายในเรือนจ�าเท่านั้นเอง

วารสารราชทั ณ ฑ 71

ชีวิตในเรือนจ�าของข้าพเจ้าในฐานะผู้คุมผู้ต้องขัง ซึ่งเรือนจ�าที่ข้าพเจ้าปฏิบัติงานอยู่เป็นเรือนจ�าระดับจังหวัด ขนาดของเรือนจ�าไม่ใหญ่ มีผตู้ อ้ งขังสองพันกว่าคน และมีเจ้าหน้าทีจ่ า� นวน 89 คน เวลาท�างานเริม่ เวลา 08.30 - 16.30 น. และเข้าเวรรักษาการกลางคืน จะมี 3 ผลัด คือ เวรปลัดที่ 1 เวลา 16.30 - 24.00 น. เวรผลัดที่ 2 เวลา 24.00 - 03.00 น. เวรผลัดที่ 3 เวลา 03.00 - 08.30 น. ของใช้ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ เช่น กระเปาสตางค์ โทรศัพท์ และอื่นๆ ทางเรือนจ�า จะมีตใู้ ห้เก็บของใช้สว่ นตัวของแต่ละคน ส่วนผูต้ อ้ งขังทีอ่ ยูใ่ นเรือนจ�าก็จะมีงานด้านต่างๆ ให้เขาท�า เพือ่ ทีเ่ มือ่ เขาพ้นโทษ ออกไปก็จะได้มคี วามรูค้ วามสามารถไว้สา� หรับประกอบอาชีพเลีย้ งตนเองและครอบครัว ระหว่างการท�างานทางเรือนจ�า ก็จะมีเงินเดือนให้แก่ผตู้ อ้ งขัง ซึง่ เรียกว่า เงินผลพลอยได้จากงาน เมือ่ พ้นโทษออกไปก็จะได้มเี งินเป็นทุนไว้สา� หรับเลีย้ ง ตนเองต่อไป ผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดี ใกล้พ้นโทษก็จะมีโอกาสให้สามารถออกมาช่วยงานด้านหน้าของเรือนจ�าได้ เช่น การท�างานด้านช่างต่างๆ การท�าที่จอดรถ หรืองานอื่นๆ ที่เขาสามารถท�าได้ โดยมีผู้คุมที่คอยควบคุมดูแลอยู่ อย่างใกล้ชิด เรือนจ�าที่ข้าพเจ้าปฏิบัติงานอยู่ถึงจะเป็นแค่เรือนจ�าเล็กๆ แต่ก็ยังมีบุคลากรที่ไม่เพียงพอส�าหรับการดูแล ภารกิจต่างๆ ของเรือนจ�า อาจจะเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจต่ออาชีพนีไ้ ม่มาก บ้างก็เข้ามาแล้วออกไป อีกทัง้ บ้านพักของเจ้าหน้าทีก่ ม็ รี องรับได้ไม่เพียงพอกับจ�านวนเจ้าหน้าที่ หรืออาจเป็นเพราะเป็นแค่เรือนจ�าเล็กๆ งบประมาณ ที่จะมาช่วยเหลือจึงน้อยลงตามไปด้วย การจัดเวรในช่วงกลางคืนหรือวันหยุด ก็มีการจัดที่กระชั้นชิด โดยจะรู้ก่อน ล่วงหน้าเพียงแค่หนึง่ หรือสองวันเท่านัน้ เอง บางช่วงก็รแู้ ค่ตอนบ่ายและต้องเข้าเวรในวันรุง่ ขึน้ ก็จะส่งผลให้ไม่สามารถ วางแผนชีวิตได้เลย ระบบงานส่วนใหญ่ของทางเรือนจ�าที่ข้าพเจ้าปฏิบัติงานอยู่ และได้ศึกษาดูงานตามเรือนจ�าจังหวัดต่างๆ มาก็ ดูเป็นระบบเป็นระเบียบดีอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาบางสิ่งเท่านั้นเอง สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการพัฒนา งานเรือนจ�ามีดังนี้ 1. ด้านอาคาร และสถานที่ ควรมีการปรับปรุงโครงสร้าง เริม่ ตัง้ แต่จดุ ตรวจค้น โดยเพิม่ อุปกรณ์ตรวจค้นสิง่ ของ ต้องห้ามที่จะเข้ามาในเรือนจ�า อย่างเข้มงวด และเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงของเรือนจ�าเพื่อที่จะไม่ให้ผู้ต้องขังหลบหนี ไปได้

72 วารสารราชทั ณ ฑ

2. ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง เช่น ยาเสพติด ให้ผู้ที่ติดยาเสพติดไปบ�าบัดก่อน ซึ่งหลังจากบ�าบัด แล้วสามารถกลับสู่สังคมได้ โดยไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม คนที่กระท�าผิดไปแล้วกลับมาเป็นคนดี และน�าความรู้ ไปประกอบอาชีพ อยู่กับคนอื่นและสังคมภายนอกได้ สามารถสร้างรายได้ต่อตนเองและครอบครัว แล้วจะได้ ไม่มาก่อเหตุซ�้าอีก โดยเรือนจ�ามีการอบรมก่อนปล่อยผู้ต้องขัง และให้ทุนแก่ผู้ต้องขังที่ส�าเร็จการศึกษาภายในเรือนจ�า ไปประกอบอาชีพ เป็นทุนที่ได้รับจากเรือนจ�า เช่น โครงการของแมนเดลา ผู้ต้องขังก่อนปล่อยและหลังปล่อย มีการ ติดตามดูแลผู้ต้องขังที่พ้นโทษไปแล้ว ว่าผู้ต้องขังได้รับทุนไปแล้วนั้น บรรลุผลตามเป้าหมายอย่างไร 3. งานฝึกอาชีพผู้ต้องขังในเรือนจ�า ฝึกให้ผู้ต้องขังมีความรู้ในด้านอาชีพต่างๆ เช่น งานก่อสร้าง งานช่าง งานทาสี งานไฟฟ้า สามารถน�าไปประกอบอาชีพหลังพ้นโทษออกไปได้ 4. ผูต้ อ้ งขังได้รบั การศึกษาทุกระดับชัน้ มีการอบรมผูต้ อ้ งขัง โดยวิทยากรจากภายนอกเรือนจ�าเข้ามาให้ความรู้ และให้การศึกษาแก่ผู้ต้องขัง และให้น�าความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์หลังจากพ้นโทษออกไปสู่สังคมภายนอกและสามารถ น�าไปสมัครงานได้ 5. งานสังคมสงเคราะห์แก่ผู้ต้องขัง เมื่อพ้นโทษออกไปแล้วและทางเรือนจ�าจะหางานหรืออาชีพให้ผู้ต้องขัง ได้ท�าและมีอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงตนเอง และไม่กลับมาท�าความผิดซ�้า 6. ภายในเรือนจ�ามีศนู ย์บา� บัดและปราบปรามยาเสพติด เพือ่ บ�าบัดผูท้ ตี่ ดิ ยาเสพติดไม่ให้กลับมาติดยาเสพติดอีก จึงต้องมีศูนย์บ�าบัดยาเสพติดเข้ามาช่วยเหลือผู้ต้องขังโดยตรง มีผู้ให้ค�าปรึกษาแนะน�าให้ผู้ต้องขังเข้าใจถึงโทษและ ผลของยาเสพติด และสามารถเลิกได้อย่างถาวรไม่หวนกลับไปเสพอีก 7. สถานพยาบาลที่มีแพทย์รักษาโดยตรง เพราะว่าปัจจุบันจะมีแค่พยาบาลวิชาชีพ หรือถ้ามีแพทย์แต่ เครื่องมือในการรักษาไม่ครบ ท�าให้ผู้ต้องขังเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยฉับพลัน เนื่องจากขาดเครื่องมือแพทย์ ไม่พร้อม ที่ จ ะรั ก ษาผู ้ ต้องขังที่เจ็บป่วยได้ทันท่วงที ข้ า พเจ้ า จึงอยากให้สถานพยาบาลในเรือนจ�าได้มกี ารเก็บข้อมูล เหมือนโรงพยาบาลทั่วไปเพื่อที่จะได้รู้ประวัติผู้ต้องขัง ทีป่ ว่ ยว่าเขาเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อน มีโรคประจ�าตัว อะไรบ้าง และเพือ่ การรักษาอย่างต่อเนือ่ ง และรูป้ ระวัติ การเจ็บก่อนหน้า ให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มากยิง่ ขึน้ และจะได้รกั ษาอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ทันท่วงที และเหตุการณ์ที่ผู้ต้องขังเสียชีวิตภายในเรือนจ�าก็จะ ลดน้อยลงหรือไม่มีเลย อยากให้ฝ่ายสถานพยาบาล และฝ่ า ยควบคุ ม ภายในเรื อ นจ� า ท� า งานร่ ว มมื อ กั น อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การส่งตัวผู้ต้องขังป่วยหนัก ไปรักษาภายนอกเรือนจ�า เพือ่ ผูต้ อ้ งขังจะได้ ไม่เสียชีวติ เหมือนที่ผ่านมาในอดีต

วารสารราชทั ณ ฑ 73

งานภายในเรือนจ�าเป็นงานทีล่ า� บาก ถ้าเราไม่สามารถท�างานกันเป็นทีมได้ อาจส่งผลให้การท�างานภายในเรือนจ�า เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านบุคลากร และปัญหาด้านผู้ต้องขัง อาจท�าให้ทั้งองค์กรและเรือนจ�าเองไม่สามารถ ทีจ่ ะแก้พฤตินสิ ยั แก่ผตู้ อ้ งขังได้ และเป็นทีค่ าดหวังของผูค้ นภายนอกทีจ่ ะสร้างคนดีคนื สูส่ งั คมได้ งานของผูค้ มุ ในเรือนจ�า นอกจากจะต้องคอยควบคุมดูแลผู้ต้องขังให้อยู่ในกฎระเบียบของทางเรือนจ�าแล้ว ยังมีหน้าที่ต้องให้ความส�าคัญ ต่อการพัฒนาให้ผู้ต้องขังทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของกฎหมาย ความรู้รับผิดชอบชั่วดี และผลของ การกระท�าผิด โดยเมื่อพ้นโทษออกไปจะต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมภายนอกได้ อีกทั้งยังได้มีความรู้และ ประสบการณ์จากการท�างานภายในเรือนจ�า สามารถน�าไปปรับใช้เพือ่ ประกอบอาชีพหาเลีย้ งตนเองได้ และไม่กอ่ ให้เกิด ความเดือดร้อนแก่สังคมภายนอกและครอบครัวในอนาคต

74 วารสารราชทั ณ ฑ

ตอนที่

1

ยูยิตสูในเรือนจ�า

มีดŒวยหรือ ? เอกลักษณ์ ทิพวงศ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการราชทัณฑ์

การฝกยูยิตสูในโรงเรียนที่ประเทศญี่ปุน เมื่อป พ.ศ. 2463

ภารกิจของกรมราชทัณฑ์ เป็นงานทีห่ นัก เหน็ดเหนือ่ ย และมีความเสีย่ งอันตราย โดยเฉพาะเจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั ิ หน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังทั้งภายใน และภายนอกเรือนจ�า จะต้องคอยระมัดระวังเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ที่มาในรูปแบบหลากหลาย เช่น ผู้ต้องขังท�าร้ายตนเอง ผู้ต้องขังเข้าท�าร้ายเจ้าหน้าที่ มีการจับตัวประกัน ผู้ต้องขัง ก่อเหตุแหกหักเพื่อหลบหนี มีคนร้ายเข้าชิงตัวผู้ต้องขังหรือมุ่งหวังสังหารเพื่อปิดปาก อย่างนี้เป็นต้น ก็ล้วนแต่สร้าง ความเสียหายให้แก่กรมราชทัณฑ์ ด้วยบทบาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควบคุมจึงมีความจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง มีความรู้และทักษะมากเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพียงเพื่อเอาตัวรอด แต่จะต้องมีความสามารถในการเข้าระงับเหตุร้าย ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วารสารราชทั ณ ฑ 75

ในบทความนี้ ผูเ้ ขียนจึงขอกล่าวถึงศิลปะป้องกันตัว แขนงหนึ่งที่มีความส�าคัญ คือ ยูยิตสู (JU JITSU) ซึ่งเป็น วิชาการต่อสู้ของนักรบญี่ปุ่น ที่เรียกว่า “ซามูไร” เมื่อกว่า 1,000 ปี มาแล้ว ยูยิตสูเป็นวิชาที่ใช้เพื่อการรบ สังหารกัน เป็นวิชาที่มีความรุนแรง และอันตรายมาก ในอดีตประเทศ ญี่ปุ่นนิยมฝึกยูยิตสูกันอย่างกว้างขวาง กล่าวกันว่า มีส�านัก ยูยิตสูกว่า 5,000 ส�านัก แต่บางยุคบางสมัย โชกุนสั่งห้าม ไม่ให้มีการฝึกยูยิตสู เพราะเป็นวิชาที่อันตรายและกระทบ ต่อความมั่งคงของประเทศ ต่อมายูยิตสูได้แตกแขนงออกมา หลากหลาย เป็นวิชาใหม่ๆ ทั้งในญี่ปุ่นเอง และต่างประเทศ เช่น ยูโด ไอคิโด ซูโม่ เคนโด คาราเต้ บราซิลเลี่ยนยูยิตสู แซมโบ เป็นต้น ยูยิตสู (JU JITSU) มีความหมายว่า ศิลปะแห่ง ความอ่อนโยน หมายถึง การใช้เทคนิคจัดการกับแรงของ ฝ่ายตรงข้ามด้วยความอ่อนโยน ยืดหยุ่น แทนการปะทะ โดยตรง การฝึกของยูยิตสู มีทั้งการใช้มือเปล่าสู้กับมือเปล่า หม่ อ มเจ้ า วิ บู ล ย ส วั ส ดิ์ ว งศ สวั ส ดิ กุ ล (27 มือเปล่ากับอาวุธ และอาวุธกับอาวุธ อาวุธทีใ่ ช้กเ็ ช่น มีด ดาบ พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. ไม้ พลอง เป็นต้น ส่วนการฝึกต่อสูด้ ว้ ยมือเปล่า ในปัจจุบนั ได้ 2483) เปนพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศเธอ จัดรูปแบบระบบการฝึกที่ปลอดภัยขึ้นและเข้าใจง่ายขึ้น พระองค เจ้ า สวั ส ดิ ป ระวั ติ กรมพระสมมต อมรพันธกับหม่อมเพิ่ม สวัสดิกุล ณ อยุธยา แบ่งออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาค 1 ยืนต่อสู้ ภาค 2 การทุม่ และเป น พระนั ด ดาในพระบาทสมเด็ จ ภาค 3 จับล็อกในท่านอน เรียกได้ว่ายูยิตสูนั้นมีครบเครื่อง พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงนิยมฝึกกันในหน่วยงานทีบ่ งั คับใช้กฎหมาย และหน่วยงาน ทางทหารทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเราด้วย ส� า หรั บ ประเทศไทยนั้ น ยู ยิ ต สู ถู ก น� า เข้ า มากว่ า 100 ปี ก ่ อ น ท� า ให้ มี บั น ทึ ก ที่ ห ลงเหลื อ อยู ่ ค ่ อ นข้ า งน้ อ ย กล่าวกันว่า มีเซนเซ (อาจารย์) ไม่ทราบชื่อ เป็นชาวญี่ปุ่นที่ เข้ามาท�างานที่บริษัทมิตซุยบุนเซนในประเทศไทย ได้มาสอนวิชายูยิตสูให้แก่เพื่อนร่วมงานในบริษัท และต่อมา หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล ได้ศึกษาวิชายูยิตสูจากต่างประเทศในยุโรป ประมาณปี พ.ศ. 2455 พระองค์ เห็นความส�าคัญของวิชายูยิตสู จึงได้น�าเข้าไปสอนในโรงเรียนนายร้อยต�ารวจ โดยทรงท�าการฝึกสอนด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังทรงสอนให้กับคณะครูในกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) และโรงเรียนพละศึกษากลาง (โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย) แต่เนือ่ งจากยูยติ สูถกู มองว่าเป็นวิชาทีม่ คี วามรุนแรง การฝึกฝนให้ครบทุกด้านนัน้ มีความยากและ ใช้เวลามาก ยูยิตสูในประเทศไทยจึงหาผู้สืบทอดต่อได้น้อย และมีการปฏิรูปใหม่เป็นวิชายูโดเข้ามาแทน

76 วารสารราชทั ณ ฑ

ยูยติ สูในประเทศไทยยุคปัจจุบนั ได้นา� วิชายูยติ สูเข้ามาในประเทศไทยอีกครัง้ อย่างเป็นทางการ เมือ่ พ.ศ. 2552 โดยมีบุคคลส�าคัญคือ อาจารย์ปราโมทย์ เมษะมาน ผู้ก่อตั้งสมาคมยูยิตสูแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการฝึกวิชายูยิตสู จากประเทศญี่ปุ่น ได้ด�าเนินการเปิดการฝึกยูยิตสูขึ้นอย่างเป็นทางการ และจัดให้มีการแข่งขันกีฬายูยิตสู ทั้งภายใน ประเทศและในระดับนานาชาติ และได้มีการด�าเนินการต่อจนถึงปัจจุบัน ส�าหรับยูยติ สูในเรือนจ�านัน้ ผูเ้ ขียนได้นา� ยูยติ สูเข้าฝึกในเรือนจ�า ซึง่ ผูเ้ ขียนได้รับการถ่ายทอดวิชายูยิตสูรุ่นแรก จนได้สายคาดเอววิทยฐานะ สายด�า ชั้น 1 จากสมาคมยูยิตสูแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2553 ต่อมาได้เห็น ความส�าคัญของวิชายูยิตสูว่าควรจัดให้มีฝึกในเรือนจ�า ซึ่งขณะนั้นผู้เขียนรับราชการอยู่ที่เรือนจ�ากลางบางขวาง เมื่อปี พ.ศ. 2557 ได้เปิดสอนยูยิตสูด้วยตนเอง ให้แก่เจ้าหน้าที่ เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่เรือนจ�ากลางบางขวาง และสอนให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น ทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษกลาง เรือนจ�าอ�าเภอกบินทร์บุรี ชมรมยูยิตสูสมาคมกีฬา แห่งจังหวัดนนทบุรี แผนกศิลปะการต่อสู้กองทัพอากาศ ฯลฯ ปัจจุบันผู้เขียนได้ย้ายมาปฏิบัติงานที่สถาบันพัฒนา ข้าราชการราชทัณฑ์ ได้เปิดสอนยูยิตสูให้แก่เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ และสอนเสริมในหลักสูตรข้าราชการราชทัณฑ์ การบรรจุใหม่ อีกทั้งให้มีการทดสอบความรู้ความสามารถ ในการเลื่อนระดับสายคาดเอววิทยฐานะ

ครูเอกลักษณ ทิพวงศ ฝกยูยิตสูที่สมาคมยูยิตสูแห่งประเทศไทย

วารสารราชทั ณ ฑ 77

คุณวุฒิ สายดํายูยิตสู 2 Dan (สายดําคาราเต้ 1 Dan, กระบี่กระบอง)

ในบทความเบื้องต้นนี้ผู้เขียนได้เห็นความส�าคัญว่า ควรมีวชิ ายูยติ สูสอนให้กบั เจ้าหน้าทีท่ กุ คนโดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูท้ ปี่ ฏิบตั งิ านในเรือนจ�า รวมถึงเจ้าหน้าทีร่ ะดับผูบ้ งั คับบัญชา ก็ควรมีทักษะการเอาตัวรอด เพราะอาจตกเป็นเป้าหมาย ของผู้ต้องขังในการจับเป็นตัวประกัน ซึ่งอาจเป็นตัวประกัน ทีเ่ พิม่ อ�านาจการต่อรองของผูต้ อ้ งขังได้ วิชาศิลปะป้องกันตัว ที่สามารถน�ามาใช้ในเรือนจ�าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงนั้น ผู้เขียนเห็นว่า วิชายูยิตสู เป็นศิลปะป้องกันตัวที่ครบเครื่อง หากจะอธิบายให้เห็นภาพได้ง่ายคือ มีการเตะต่อยได้อย่าง มวย คาราเต้ มีการจับหัก ล็อก ยืมแรงอย่างไอคิโด มีการออก อาวุธด้วยมือได้อย่างมวยจีน มีเทคนิคการทุม่ ทีร่ นุ แรงได้อย่าง ยูโด มีการจับหัก ล็อกได้จากท่านอนเหมือนมวยปล�า้ เป็นต้น สามารถน�าไปปรับใช้ให้กบั เจ้าหน้าทีเ่ รือนจ�าได้เหมาะสม เช่น การต่อสู้ในที่แคบๆ อย่างห้องขัง เรือนนอน ห้องน�้า พื้นที่ ภายในแดนที่มีสิ่งกีดขวาง พื้นที่ที่จ�ากัดอาณาบริเวณอย่าง ในแดนจะหลีกหนีให้พ้นภัยไม่ได้ง่ายๆ เป็นพื้นที่การต่อสู้ที่ ไม่เหมือนที่อื่นใด การต่อสู้อาจเกิดได้จากผู้ต้องขังคนเดียว หลายคน ไม่ มี อ าวุ ธ หรื อ มี อ าวุ ธ แม้ แ ต่ ภ ารกิ จ รั ก ษา ความปลอดภั ย เข้ า ระงั บ เหตุ ร ้ า ย ควบคุ ม ผู ้ ต ้ อ งขั ง ในเหตุการณ์ปกติ หรือไม่ปกติ ด้วยสถานการณ์รา้ ยเกิดขึน้ ได้ ทุ ก รู ป แบบ ทุ ก สถานที่ ในเรื อ นจ� า ยู ยิ ต สู จึ ง เป็ น วิ ช าที่ ตอบโจทย์นี้ได้อย่างดี ส่วนผู้ฝึกนั้นสามารถเลือกฝึกฝนได้ว่า จะเอาทักษะความช�านาญให้โดดเด่นไปทางใด

การฝึกยูยิตสูเบื้องต้น การฝึกยูยิตสูให้ประสบความส�าเร็จอย่างรวดเร็วนั้น จะต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของยูยิตสู เพราะถือว่า เป็นหัวใจที่จะขาดไม่ได้ ดังนี้ (1) การวางตัว ลักษณะของการวางตัวต้องอยู่ในต�าแหน่งที่ปลอดภัย และพร้อมที่จะป้องกันตัวได้ อย่างถนัดในท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน (2) ระยะ หมายถึง ต�าแหน่งของตัวเองกับต�าแหน่งของคู่ต่อสู้ มีระยะที่ปลอดภัย และสามารถเข้าโจมตี ได้อย่างถนัดและรวดเร็ว

78 วารสารราชทั ณ ฑ

ครูเอกลักษณ ทิพวงศ สอนยูยิตสูในเรือนจําต่างๆ (พ.ศ. 2557-ปจุบัน)

(3) ท่ายืน มีลกั ษณะท่ายืนแตกต่างกัน เช่น ยืนเท้าชิดปลายเท้าชิดส้นเท้าชิด ยืนส้นเท้าชิดปลายเท้าแยก ยืนเท้าแยกลักษณะขนานกัน ยืนเท้าน�าเท้าตาม ยืนท่าขีม่ า้ ยืนท่าแมวยืน ฯลฯ ลักษณะการยืนท่าต่างๆ ของยูยติ สู ล้วนมีความได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ เช่น ยืนรอ จังหวะตั้งรับ ยืนรอจังหวะเข้าโจมตีก่อน ยืนรอจังหวะใช้เท้าโจมตี ยืนรอจังหวะใช้มือโจมตี (4) จังหวะ จังหวะของการต่อสู้เป็นสิ่งที่ต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝนมาจากประสบการณ์ จากความรู้สึก จนเกิดเป็นทักษะ อาศัยครูอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะเป็นพิเศษ อย่าเช่นจังหวะหลบ จังหวะหลีก จังหวะ โจมตี ซึ่งบางครั้งอาจมีการสร้างจังหวะขึ้นมาเอง เช่น การฟุตเวิร์ค การหลอก เป็นต้น (5) ตามองคูต่ อ่ สู้ ลักษณะการมองคูต่ อ่ สูข้ องยูยติ สูจะมองไปทีต่ าของคูต่ อ่ สู้ ในลักษณะมองแบบไม่หวัน่ กลัว และอ่านใจคู่ต่อสู้ให้ออก ในเบื้องต้นให้มองแบบเบลอๆ ให้เห็นคู่ต่อสู้ทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่การมอง ให้ตนเป็นฝ่ายถูกสะกดเสียเอง หรือมองแบบเหม่อลอย (6) การเคลื่อนที่ จะท�าในลักษณะอวัยวะของร่างกายบางส่วนสัมผัสพื้น หรือไม่ห่างจากพื้นมาก เช่น การสืบเท้า เป็นต้น ถ้าไม่จ�าเป็นจะไม่กระโดด (7) การตั้งการ์ด การ์ดของยูยิตสูมีหลายลักษณะ ทั้งแบมือ ก�าหมัด หรือทั้ง 2 อย่าง ผสมกันก็ได้ แล้วแต่ สถานการณ์นั้นๆ เช่น แบมือเพื่อความรวดเร็วในการคว้าจับ ใช้มือฟัน นิ้วจิ้ม ส่วนก�าหมัดเพื่อความ รวดเร็วในการชกต่อย ทุบ กระแทก นอกจากนี้ยังมีท่านั่งการ์ด นอนการ์ด ด้วย (8) อวัยวุธกับจุดอ่อน คือ อาวุธที่สร้างขึ้นจากการจัดระเบียบร่างกายอวัยวะของเราเอง เช่น นิ้วมือ สันหมัด สันมือ ส้นมือ หลังเท้า จมูกเท้า เป็นต้น สามารถน�าไปใช้ให้เหมาะสมกับจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ได้อย่างเหมาะสม เช่น ส่วนหัว ส่วนท้อง ส่วนหลัง ส่วนแขนขา ข้อต่อกระดูก จุดกดเส้นประสาทและ เส้นเอ็น เป็นต้น ในครัง้ ต่อไปผูเ้ ขียนจะมาแนะน�าท่าฝึกของยูยติ สู ในบทความวารสารราชทัณฑ์ ฉบับต่อไปนะครับ...สวัสดีครับ ครู...ยูยิตสู วารสารราชทั ณ ฑ 79

ตามไปเยือน

ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก กองบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ์

ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดพิษณุโลกไปทางด้านทิศตะวันออก ถนนพิษณุโลก-หล่มสัก ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นราชการบริหารส่วนกลาง สังกัดกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม มีเนื้อที่ทั้งหมด 113 ไร่ 46 ตารางวา แยกเป็นพื้นที่ภายในทัณฑสถาน 7 ไร่ 3 งาน และพื้นที่ภายนอกทัณฑสถาน 105 ไร่ 1 งาน 76 ตารางวา ซึ่งเป็นบ้านพักของเจ้าพนักงานและสถานที่สวนป่าส�ำหรับด�ำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชด�ำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลกโดยการน�ำของผู้อ�ำนวยการ พรทิพย์ รัตนชัยฤทธิ์ ได้นอ้ มน�ำแนวคิดในการพัฒนามาปรับใช้ในการบริการงานเห็นได้จากนโยบายการพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรภายในทัณฑสถานในโครงการฝึกอบรมระเบียบวินัยให้แก่เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลกซึ่งมี วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการปฎิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามแนว ปฎิบัติ ดังกล่าวสอดคล้องอย่างยิง่ กับหลักการพัฒนาทุนมนุษย์ซงึ่ จะน�ำพาบุคลากรของกรมราชทัณฑ์เป็นผูม้ ศี กั ยภาพ และเป็น ที่ยอมรับของสังคมอย่างยังยืนสืบไป

80 วารสารราชทั ณ ฑ์

โครงสร้างการบริหารงานทัณฑสถานหญิง พิษณุโลก โครงสร้ า งการบริ ห ารงานทั ณ ฑสถานหญิ ง พิษณุโลกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนและ 6 ฝ่าย มีบทบาทและ ภารกิ จ ในการควบคุ ม ผู ้ ต ้ อ งขั ง หญิ ง ระหว่ า งสอบสอน พิจารณาคดี อุทธรณ์ ฎีกา และนักโทษเด็ดขาดก�ำหนดโทษ ไม่เกิน 30 ปี ปฏิบัติต่อผู้กระท�ำความผิดให้เป็นไปตาม ค�ำพิพากษาของศาลและได้ถือปฏิบัติตามนโยบายของ กรมราชทัณฑ์ในการด�ำเนินงาน ทัง้ ภารกิจด้านควบคุมและ พัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่ แรกเข้าจนกระทัง่ ได้รบั การปล่อยตัว ซึง่ เป็นสิง่ ทีข่ า้ ราชการ ทุกคนจะต้องถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด สมดั่งวิสัยทัศน์ของ ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลกทีว่ า่ ยึดมัน่ คุณธรรม บริหารงาน โปร่ ง ใส ควบคุ ม พั ฒ นาพฤติ นิ สั ย ด้ ว ยใจ เพื่ อ คื น คนดี มีคุณค่าสู่สังคม

วารสารราชทั ณ ฑ์ 81

ภารกิจด้านการควบคุม การควบคุมผูต้ อ้ งขังไม่ให้หลบหนีถอื ว่าเป็นหัวใจหลักของการบริหารงาน ซึง่ ในปัจจุบนั ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก มีผตู้ อ้ งขังอยูใ่ นการควบคุมกว่า 800 คน เจ้าหน้าทีจ่ งึ ต้องเพิม่ ความระมัดระวังในการควบคุมดูแลผูต้ อ้ งขังให้มากยิง่ ขึน้ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติมิให้ผู้ต้องขังคนใดคนหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษเหนือผู้ต้องขังคนอื่นๆ

การรับตัวผู้ต้องขัง ผู้ต้องขังเข้าใหม่จะถูกแยกขังเป็นเวลา 3 วัน เพื่อสังเกตพฤติกรรม ณ สถานพยาบาล หรือ แดนแรกรับ และ ต้องเข้ารับอบรมจิตภาวนาเพือ่ ปรับสภาพจิตใจ และอบรมความรูท้ วั่ ไปเพือ่ ให้เข้าใจถึงกฎระเบียบ สิทธิและการใช้ชวี ติ ภายในทัณฑสถาน

การจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขัง

จะค�ำนึงถึงสุขภาพพฤติการณ์ของคดีก�ำหนดโทษความถนัดและความสนใจของผู้ต้องขังเป็นส�ำคัญ

การดูแลสุขอนามัยส่วนตัวผู้ต้องขัง มีพยาบาลวิชาชีพดูแลตรวจสุขภาพของ ผู้ต้องขังในเบื้องต้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคและส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพที่ ดี ข องผู ้ ต ้ อ งขั ง โดยได้รบั การสนับสนุนแพทย์จากโรงพยาบาลวังทอง จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก เข้ า ตรวจสุ ข ภาพเป็ น ประจ� ำ ทุกเดือน

การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีการด�ำเนินการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด ทัง้ เจ้าหน้าทีแ่ ละผูต้ อ้ งขัง และท�ำการจูโ่ จมตรวจค้น สิ่งของต้องห้ามโดยเจ้าหน้าที่ทุกวันตามนโยบาย เรื อ นจ� ำ สี ข าวและนอกจากนี้ ยั ง ได้ ข อรั บ การ สนั บ สนุ น จากเจ้ า หน้ า ที่ เรื อ นจ� ำ ใกล้ เ คี ย ง และ เจ้ า หน้ า ที่ ท หาร ต� ำ รวจ เข้ า จู ่ โ จมตรวจค้ น เป็นประจ�ำ การรักษาความปลอดภัยการฝึกซ้อม วางแผนระงับเหตุรา้ ยต่างๆ และการฝึกสมรรถภาพ ร่ า งกายให้ แ ก่ เจ้ า หน้ า ที่ ด� ำ เนิ น การจั ด ท� ำ แผน มาตรการการรั ก ษาความปลอดภั ย แก่ อ าคาร สถานที่

82 วารสารราชทั ณ ฑ์

การสงเคราะห์ผู้ต้องขัง ทัณฑสถานได้ด�ำเนินแนวทางในการจัดสวัสดิการและ การให้การสงเคราะห์ทางด้านปัจจัย 4 การเสริมสร้าง ก�ำลังใจ เพือ่ ให้ผตู้ อ้ งขังมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ แี ละได้ประสาน ความร่ ว มมื อ กั บ หน่ ว ยงานภายนอกทั้ ง ภาครั ฐ และ ภาคเอกชน ในการให้บริการด้านการสงเคราะห์ผู้ต้องขัง อย่างต่อเนื่อง โดยงานสังคมสงเคราะห์ซึ่งให้ค�ำปรึกษา สงเคราะห์ครอบครัว สงเคราะห์ทนุ การศึกษาบุตรผูต้ อ้ งขัง และการสงเคราะห์กลุม่ ผูต้ อ้ งขังกลุม่ พิเศษ ได้แก่ ผูต้ อ้ งขัง หญิงตั้งครรภ์ ผู้ต้องขังพิการ ผู้ต้องขังสูงอายุ และเด็ก ติดผู้ต้องขัง

การจัดการศึกษาโดยฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ มีการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้ต้องขังสายสามัญ ตั้งแต่ผู้ไม่รู้หนังสืออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ไปจนถึงระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายและเปิดโอกาสให้กับผู้ต้องขังได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ส�ำหรับการจัดการเรียนการสอน สายอาชีพ มีระดับ ปวช. และ ปวส. ด้านการพัฒนาจิตใจจัดสอนธรรมะศึกษาอบรมจิตภาวนาหลักสูตรสัคสาสมาธิ ตามแนวทางพระธรรมมงคลญาณ หลวงพ่อวิรยิ งั ค์ สิรนิ ธโร การจัดโครงการวันส�ำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ยังได้จัดกิจกรรมสนับสนุนให้ผู้ต้องขังได้ปฏิบัติตามศาสนาที่ตนนับถือ

วารสารราชทั ณ ฑ์ 83

การฝึกอบรมวิชาชีพในโรงงานฝึกวิชาชีพ มุ ่ ง เน้ น ฝึ ก พั ฒ นาอาชี พ ให้ มี ค วามหลากหลาย ตรงตามความต้ อ งการของตลาดและความสนใจของ ผูต้ อ้ งขัง ส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพในระหว่างต้องโทษ ให้ เ กิ ด ผลสั ม ฤทธิ์ สู ง สุ ด และส่ ง ผลให้ ผู ้ ต ้ อ งขั ง มี ร ายได้ ในรูปแบบปันผลในขณะต้องโทษ

การแก้ ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังเสพยาเสพติด การบ� ำ บั ด แก้ ไ ขฟื ้ น ฟู ส มรรถภาพผู ้ ต ้ อ งขั ง เสพยาเสพติดในรูปแบบชุมชนบ�ำบัด โครงการทูบนี มั เบอร์วนั โปรแกรมแก้ ไขฟื ้ น ฟู ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ผู ้ ค ้ า รายย่ อ ย และ โปรแกรมอื่นๆ ตามที่กรมราชทัณฑ์ก�ำหนด กล่าวได้ว่า กิ จ กรรมทุ ก กิ จ กรรมที่ จั ด ขึ้ น ส� ำ เร็ จ ลุ ล ่ ว งไปได้ ด ้ ว ยดี ทัง้ นีม้ าจากเจ้าหน้าทีท่ กุ คนทุกฝ่ายต่างทุม่ เทแรงกายแรงใจ เสียสละเวลาโดยไม่ได้ค�ำนึงถึงความเหนื่อยยากทุกคนได้ ร่วมมือกันปฏิบตั หิ น้าทีอ่ ย่างจริงจัง เพือ่ ให้ผตู้ อ้ งขังทุกคน มีความประพฤติเรียบร้อยอยูใ่ นระเบียบวินยั และสามารถ น�ำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษได้

84 วารสารราชทั ณ ฑ์

ความภาคภูมิใจสูงสุด พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยิ าภา เสด็ จ ยั ง อาคารแม่ แ ละเด็ ก ในโครงการก� ำ ลั ง ใจ ในพระราชด�ำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิติยาภา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนา พรรณวดี เสด็จเปิดศูนย์ร่วมใจ ทูบีนัมเบอร์วัน ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผลงานและรางวัลแห่งความส�ำเร็จ รางวัลชนะเลิศ การประกวดโครงการราชทัณฑ์เชิงสมานฉันท์ระหว่างผูต้ อ้ งขังกับสังคม รางวัลชนะเลิศประเภท ความคิดสร้างสรรค์ การท�ำผลิตภัณฑ์จากผ้า ประจ�ำปี พ.ศ. 2557 รับรางวัลโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อาสายุวกาชาด ประเภทหน่วยงานดีเด่น ประจ�ำปี พ.ศ. 2558 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัล หน่วยงานภาคีเครือข่ายสนับสนุนการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยระดับดีเด่นระดับประเทศ ได้รับ รางวัลชนะเลิศรางวัลงานประดิษฐ์ประเภทเสื้อผ้า ชื่อชุด อัปสรสะคราญ ในงานนิ ท รรศการผลิ ต ภั ณ ฑ์ ร าชทั ณ ฑ์ ครั้ ง ที่ 44 และรางวั ล อื่ น ๆ อีกมากมายรางวัล ทุกรางวัลความส�ำเร็จทุกความส�ำเร็จ และผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากฝีมือผู้ต้องขังทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากทุกคนละเลยหน้าที่ ของตน ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั เจ้าหน้าทีท่ กุ คนเป็นก�ำลังส�ำคัญท�ำให้การด�ำเนินงาน ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ขอบคุณค่ะ

วารสารราชทั ณ ฑ์ 85

เรือนจ�ำไทยในอดีต

เรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรี กองบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ์

เรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรี เป็นเรือนจ�ำขนาดเล็ก ก่อตัง้ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2452 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมกับ การตั้งเมืองธัญญบุรี ที่มีอายุ 119 ปี มีความมั่นคง ปานกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 78 หมู่ที่ 4 ต�ำบลรังสิต อ�ำเภอ ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เนือ่ งจากเรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรี ได้กอ่ สร้างมานาน เรือนนอนเป็นไม้ ก�ำแพงเป็นสังกะสี ได้ช�ำรุดทรุดโทรม ไปตามสภาพ ในปี พ.ศ. 2511 - 2515 เรือนจ�ำอ�ำเภอ ธัญบุรี ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณจากกรมราชทัณฑ์ ก่ อ สร้ า งเรื อ นนอน ก� ำ แพง ที่ ท� ำ การ และบ้ า นพั ก เจ้าพนักงานเรือนจ�ำตามแบบแปลนของกรมราชทัณฑ์ ให้มีความมั่นคงแข็งแรงสวยงามขึ้น เรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรี ซึ่งแต่เดิมมี “นายอ�ำเภอธัญบุรี” เป็นผู้บัญชาการเรือนจ�ำโดยต�ำแหน่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 กรมราชทัณฑ์ได้แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.กนกทัณฑ์ วรวุฒิ เป็นผู้บัญชาการเรือนจ�ำโดยเฉพาะเป็นคนแรกของ เรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา 86 วารสารราชทั ณ ฑ์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 กรมราชทัณฑ์ ได้อนุมัติ งบประมาณในการก่อสร้างเรือนนอนแดนชาย จ�ำนวน 1 หลัง เรือนนอนแดนหญิง จ�ำนวน 1 หลัง และขยาย ก�ำแพงเรือนจ�ำ ท�ำให้ลดความแออัดของผูต้ อ้ งขังทัง้ ชาย และหญิง และท�ำให้เรือนจ�ำมีความมั่นคงสูงกว่าเดิม

วารสารราชทั ณ ฑ์ 87

ในปี พ.ศ. 2546 เรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรี ได้ดำ� เนินการ สร้ า งห้ อ งสมุ ด เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาส ทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา และในวันที่ 15 ตุลาคม 2556 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงเปิดห้องสมุดภายในเรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรี เป็ น แห่ ง แรก และพระราชทานนามห้ อ งสมุ ด นี้ ว ่ า “ห้องสมุดพร้อมปัญญา” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็น แหล่งศึกษา ค้นคว้า และให้ความรู้แก่ผู้ต้องขัง เดิมเรือนจ�ำมีพนื้ ทีท่ งั้ หมด 6 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา แบ่งเป็นพื้นที่ภายในเรือนจ�ำประมาณ 4 ไร่ และเนื้อที่ ภายนอกเรื อ นจ� ำ ประมาณ 2 ไร่ เ ศษ ต่ อ มาได้ มี ค� ำ สั่ ง กระทรวงยุตธิ รรม ก�ำหนดอาณาเขตเรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรใี หม่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 119 ตอนพิเศษ 116 ง วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ก�ำหนดอาณาเขตเรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรี มีพนื้ ที่ ภายใน 5 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา และพื้นที่ภายนอกเรือนจ�ำ จ�ำนวน 4 ไร่เศษ จังหวัดปทุมธานีประกอบด้วยอ�ำเภอรวม 7 อ�ำเภอ คื อ อ� ำ เภอเมื อ งปทุ ม ธานี อ� ำ เภอสามโคก อ� ำ เภอ ลาดหลุมแก้ว อ�ำเภอธัญบุรี อ�ำเภอคลองหลวง อ�ำเภอ หนองเสือ และอ�ำเภอล�ำลูกกา ส�ำหรับเรือนจ�ำอ�ำเภอธัญบุรี มีอ�ำนาจหน้าที่ในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา ของศาลจังหวัดธัญบุรี โดย ครอบคลุมพื้นที่ 4 อ�ำเภอ คือ อ�ำเภอธัญบุรี อ�ำเภอคลองหลวง อ�ำเภอล�ำลูกกา และ อ�ำเภอหนองเสือ

แหล่งอ้างอิง : หนังสือต�ำนานคุกไทย 88 วารสารราชทั ณ ฑ์

แบบสำ�รวจความคิดเห็นในการจัดทำ�วารสารราชทัณฑ์ คำ�ชี้แจง โปรดทำ�เครื่องหมาย ✓ ลงใน ❍ หรือเติมข้อความในช่องว่าง

1. เพศ .................................................................. 2. อายุ .................................................................. 3. การศึกษา ......................................................... ❍ 1) ตํ่ากว่าปริญญาตรี ❍ 3) ปริญญาโท

❍ 2) ปริญญาตรี ❍ 4) ปริญญาเอก

แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของวารสารราชทัณฑ์ ระดับความคิดเห็น ความคิดเห็นเกี่ยวกับวารสารราชทัณฑ์

มาก (5)

ค่อนข้าง ปาน ค่อนข้าง มาก กลาง น้อย (4) (3) (2)

น้อย (1)

1. มี ค วามชั ด เจน ถู ก ต้ อ ง น่ า เชื่ อ ถื อ และข้ อ มู ล มี ก าร ปรับปรุงอยู่เสมอ 2. ปริมาณเนื้อหาเพียงพอต่อความต้องการ 3. ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ มีความเหมาะสม น่าสนใจ 4. การจัดลำ�ดับเนื้อหาขั้นตอน มีความต่อเนื่อง อ่านแล้ว เข้าใจ 5. การจัดรูปแบบของวารสารราชทัณฑ์ ง่ายต่อการอ่าน และการใช้งาน 6. สีสันในการออกแบบวารสารราชทัณฑ์มีความเหมาะสม 7. สีพื้นหลังกับสีตัวอักษรมีความเหมาะสมต่อการอ่าน 8. ขนาดตัวอักษรและรูปแบบตัวอักษร อ่านง่ายและสวยงาม 9. ภาพกับเนื้อหามีความสอดคล้องกัน และสามารถ สื่อความหมายได้ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงวารสารราชทัณฑ์ ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... วารสารราชทั ณ ฑ์ 89

E-Commerce ร�ชทัณฑ์

GPGPTHAI

WWW.GPGPTHAI.COM

เขต 1 • เรือนจำ�กล�งสมุทรปร�ก�ร 02-3137146 02-3137147 ต่อ 104

• เรือนจำ�จังหวัดสิงห์บุรี 036-511714 ต่อ 17

• เรือนจำ�กล�งลพบุรี 036-411068 ต่อ 13

• เรือนจำ�จังหวัดอ่�งทอง 035-611591 ต่อ 14

• เรือนจำ�กล�งพระนครศรีอยุธย� 035-242594 035-245643

• เรือนจำ�อำ�เภอชัยบ�ด�ล 036-456740

• ทัณฑสถ�นบำ�บัดพิเศษจังหวัดปทุมธ�นี 02-5773292-3 ต่อ 117

• เรือนจำ�อำ�เภอธัญบุรี 02-5771250 ต่อ 106

• ทัณฑสถ�นบำ�บัดพิเศษพระนครศรีอยุธย� 035-241658 ต่อ 103

• สถ�นกักขังจังหวัดปทุมธ�นี 02-5771794

• ทัณฑสถ�นบำ�บัดพิเศษหญิง 02-5771805 02-5771989 • ทัณฑสถ�นวัยหนุ่มกล�ง 02-9041580 02-9047514 ต่อ 302 • ทัณฑสถ�นวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธย� 035-345518 • เรือนจำ�จังหวัดชัยน�ท 036-411711 056-412628 17 ต่อ 15 • เรือนจำ�จังหวัดปทุมธ�นี 02-5931981 ต่อ 15 • เรือนจำ�จังหวัดพระนครศรีอยุธย� 035-322244 • เรือนจำ�จังหวัดสระบุรี 036-211054 ต่อ 15 90 วารสารราชทั ณ ฑ

โตะหมู่บูชาไม้สักทอง เรือนจ�าจังหวัดชัยนาท

เขต 2 • เรือนจำ�กล�งชลบุรี 038-282692 038-271827 ต่อ 109

• เรือนจำ�จังหวัดตร�ด 039-520226 ต่อ 18

• เรือนจำ�กล�งระยอง 038-637759 ต่อ 109

• เรือนจำ�จังหวัดนครน�ยก 037-311280 ต่อ 18

• เรือนจำ�กล�งฉะเชิงเทร� 038-511013 ต่อ 103

• เรือนจำ�จังหวัดปร�จีนบุรี 037-212135 ต่อ 14

• ทัณฑสถ�นหญิงชลบุรี 038-282002 ต่อ 113

• เรือนจำ�จังหวัดสระแก้ว 037-243056 ต่อ 14

• ทัณฑสถ�นเปดทุ่งเบญจ� 039-320171

• เรือนจำ�พิเศษพัทย� 038-240804

• ทัณฑสถ�นเปดบ้�นเนินสูง 037-308012 037-219904

• เรือนจำ�อำ�เภอกบินทร์บุรี 037-281176 ต่อ 18

• ทัณฑสถ�นเปดห้วยโปง 038-681611

• สถ�นกักขังจังหวัดตร�ด 039-511055 039-530504

• เรือนจำ�จังหวัดจันทบุรี 039-311020 ต่อ 111

ผลิตภััณฑ์ จากไม้ชิ้นเล็ก

เรือนจ�าอ�าเภอกบินทร์บุรี

วารสารราชทั ณ ฑ 91

เขต 3 • เรือนจำ�กล�งนครร�ชสีม� 044-242029 044-264938 ต่อ 22

• เรือนจำ�จังหวัดศรีสะเกษ 045-611585 ต่อ 21

• เรือนจำ�กล�งอุบลร�ชธ�นี 045-240889 045-243404

• เรือนจำ�จังหวัดอำ�น�จเจริญ 045-511464 045-511957 ต่อ 17

• เรือนจำ�กล�งสุรินทร์ 044-511181 ต่อ 104

• เรือนจำ�อำ�เภอกันทรลักษณ์ 045-662218

• เรือนจำ�กล�งคลองไผ่ 044-323123 044-323391-5

• เรือนจำ�อำ�เภอน�งรอง 044-632312

• ทัณฑสถ�นหญิงนครร�ชสีม� 044-323402-3 044-32340-7 ต่อ 31

• เรือนจำ�อำ�เภอบัวใหญ่ 044-461303

• ทัณฑสถ�นเกษตรอุตส�หกรรมเข�พริก 044-323324 044-323325

• เรือนจำ�อำ�เภอภูเขียว 044-861337

• เรือนจำ�จังหวัดชัยภูมิ 044-812831 044-821287

• เรือนจำ�อำ�เภอรัตนบุรี 044-599654

• เรือนจำ�จังหวัดบุรีรัมย์ 044-611242 044-613469

• เรือนจำ�อำ�เภอสีคิ้ว 044-412477

• เรือนจำ�จังหวัดยโสธร 045-711506 044-712248

ชุดรับแขกไม้ไผ่ เรือนจ�าอ�าเภอสีคิ้ว

92 วารสารราชทั ณ ฑ

เขต 4 • เรือนจำ�กล�งขอนแก่น 043-241235 043-243449 ต่อ 109

• เรือนจำ�จังหวัดร้อยเอ็ด 043-519567

• เรือนจำ�กล�งอุดรธ�นี 042-421072 ต่อ 14

• เรือนจำ�จังหวัดเลย 042-811491

• เรือนจำ�กล�งนครพนม 042-543235-6 ต่อ 105

• เรือนจำ�จังหวัดสกลนคร 042-712579

• เรือนจำ�กล�งขอนแก่น 043-241235 043-243449 ต่อ 109

• เรือนจำ�จังหวัดหนองค�ย 042-411503

• เรือนจำ�จังหวัดก�ฬสินธุ์ 043-873341

• เรือนจำ�จังหวัดหนองบัวลำ�ภู 042-314215 ต่อ 13

• เรือนจำ�จังหวัดบึงก�ฬ 042-491742

• เรือนจำ�อำ�เภอพล 043-418563-4

• เรือนจำ�จังหวัดมห�ส�รค�ม 043-711204 ต่อ 806

• เรือนจำ�อำ�เภอสว่�งดินแดน 042-721088 042-722078 ต่อ 25

• เรือนจำ�จังหวัดมุกด�ห�ร 042-614312

• สถ�นกักขังจังหวัดร้อยเอ็ด 043-624065

ชิงช้าไม้สักทอง เรือนจ�ากลางขอนแก่น

วารสารราชทั ณ ฑ 93

เขต 5 • เรือนจำ�กล�งเชียงใหม่ 053-122401-2 ต่อ 18

• เรือนจำ�จังหวัดแพร่ 054-511057

• เรือนจำ�กล�งเชียงร�ย 053-737593-40 ต่อ 107

• เรือนจำ�จังหวัดแม่ฮ่องสอน 053-612058 ต่อ 20

• เรือนจำ�กล�งลำ�ป�ง 054-217048 ต่อ 18

• เรือนจำ�จังหวัดลำ�พูน 053-560755 ต่อ 209

• ทัณฑสถ�นหญิงเชียงใหม่ 053-221231 ต่อ 17

• เรืองจำ�อำ�เภอเทิง 053-451060 ต่อ 14

• ทัณฑสถ�นบำ�บัดพิเศษลำ�ป�ง 054-356676 ต่อ 15

• เรือนจำ�อำ�เภอฝ�ง 053-451060 ต่อ 14

• เรือนจำ�จังหวัดน่�น 054-710275 ต่อ 18

• เรือนจำ�อำ�เภอแม่สะเรียง 053-681072

• เรือนจำ�จังหวัดพะเย� 054-431922

• สถ�นกักขังจังหวัดลำ�ป�ง 054-241315

ชุดรับแขกรากไม้อเนกประสงค์ เรือนจ�าอ�าเภอแม่สะเรียง

94 วารสารราชทั ณ ฑ

เขต 6 • เรือนจำ�กล�งพิษณุโลก 055-311383

• เรือนจำ�จังหวัดเพชรบูรณ์ 056-711460 056-721675 ต่อ 13

• เรือนจำ�กล�งนครสวรรค์ 056-221110 ต่อ 15

• เรือนจำ�จังหวัดสุโขทัย 055-612459 ต่อ 104

• เรือนจำ�กล�งกำ�แพงเพชร 055-711981 ต่อ 87-88

• เรือนจำ�จังหวัดอุตรดิตถ์ 055-411013

• เรือนจำ�กล�งต�ก 055-510004

• เรือนจำ�จังหวัดอุทัยธ�นี 056-511588 ต่อ 24

• ทัณฑสถ�นหญิงพิษณุโลก 055-312806-8 ต่อ 15

• เรือนจำ�อำ�เภอแม่สอด 055-531226

• ทัณฑสถ�นเปดหนองนำ้�ขุ่น 056-287103

• เรือนจำ�อำ�เภอสวรรคโลก 055-641674

• เรือนจำ�จังหวัดพิจิตร 056-616396

• เรือนจำ�อำ�เภอหล่มสัก 5670 1764 ต่อ 109

• เรือนจำ�จังหวัดพิษณุโลก 055-311485

ชุดสนามไม้สัก 4 ที่นั่ง เรือนจ�ากลางพิษณุโลก

วารสารราชทั ณ ฑ 95

เขต 7 • เรือนจำ�กล�งนครปฐม 034-251972 034-275743-4 ต่อ 116

• เรือนจำ�จังหวัดประจวบคีรีขันย์ 032-611159 ต่อ 120

• เรือนจำ�กล�งร�ชบุรี 032-228118-9 ต่อ 105

• เรือนจำ�จังหวัดสมุทรส�คร 034-411021 ต่อ 15

• เรือนจำ�กล�งเข�บิน 032-228106-8 ต่อ 105

• เรือนจำ�จังหวัดสุพรรณบุรี 035-511013 035-522509 ต่อ 105

• เรือนจำ�กล�งเพชรบุรี 032-425014 ต่อ 17

• เรือนจำ�อำ�เภอทองผ�ภูมิ 034-599317 ต่อ 600

• เรือนจำ�กล�งสมุทรสงคร�ม 034-715575

• สถ�นกักกันนครปฐม 034-262-076

• เรือนจำ�จังหวัดก�ญจนบุรี 034-511163 ต่อ 17

โตะอาหาร

เรือนจ�ากลางนครปฐม 96 วารสารราชทั ณ ฑ

เขต 8 • เรือนจำ�กล�งสุร�ษฎร์ธ�นี 077-272145 ต่อ 112

• เรือนจำ�อำ�เภอเก�ะสมุย 077-419204

• เรือนจำ�กล�งนครศรีธรรมร�ช 075-358913 ต่อ 102

• เรือนจำ�อำ�เภอไชย� 077-43113 ต่อ 115

• ทัณฑสถ�นวัยหนุ่มนครศรีธรรมร�ช 075-341187 ต่อ 106

• เรือนจำ�อำ�เภอตะกั่วป� 076-421100 ต่อ 16

• เรือนจำ�จังหวัดกระบี่ 075-611378 ต่อ 104

• เรือนจำ�อำ�เภอทุ่งสง 075-411112

• เรือนจำ�จังหวัดชุมพร 077-511211 ต่อ 13

• เรือนจำ�อำ�เภอป�กพนัง 075-517288

• เรือนจำ�จังหวัดพังง� 076-412051 ต่อ 12

• เรือนจำ�อำ�เภอหลังสวน 077-541066

• เรือนจำ�จังหวัดภูเก็ต 076-212104 ต่อ 15

• สถ�นกักขังจังหวัดนครศรีธรรมร�ช 075-460422

• เรือนจำ�จังหวัดระนอง 077-811090 ต่อ 105

เรือประมงจ�าลอง เรือนจ�าจังหวัดชุมพร

วารสารราชทั ณ ฑ 97

เขต 9 • เรือนจำ�กล�งสงขล� 074-336063 ต่อ 118

• เรือนจำ�จังหวัดตรัง 075-213265 ต่อ 13

• เรือนจำ�กล�งยะล� 073-224286

• เรือนจำ�จังหวัดนร�ธิว�ส 073-511131 ต่อ 107

• เรือนจำ�กล�งพัทลุง 074-613021 ต่อ 13

• เรือนจำ�จังหวัดสงขล� 074-336066 ต่อ 14

• เรือนจำ�กล�งปตต�นี 073-414254

• เรือนจำ�จังหวัดสตูล 074-711065 ต่อ 15

• ทัณฑสถ�นหญิงสงขล� 074-336065 ต่อ 117

• เรือนจำ�อำ�เภอน�ทวี 074-371598

• ทัณฑสถ�นบำ�บัดพิเศษสงขล� 074-337514-5 ต่อ 13

• เรือนจำ�อำ�เภอเบตง 073-231313 ต่อ 16

• ทัณฑสถ�นเปดบ้�นน�วง 074-606133

ชุดรับแขกหวาย

ทัณฑสถานบ�าบัดพิเศษสงขลา 98 วารสารราชทั ณ ฑ

เขต 10 • เรือนจำ�กล�งคลองเปรม 02-5895245 02-5898052 ต่อ 186

• เรือนจำ�พิเศษมีนบุรี 02-407315-6 ต่อ 102

• เรือนจำ�พิเศษกรุงเทพมห�นคร 02-5917060 ต่อ 49

• ทัณฑสถ�นโรงพย�บ�ลร�ชทัณฑ์ 02-953-3999

• เรือนจำ�กล�งบ�งขว�ง 02-5250486 ต่อ 140

• ทัณฑสถ�นหญิงกล�ง 02-5884832 02-5895243 ต่อ 109

• เรือนจำ�จังหวัดนนทบุรี 02-5253137

• ทัณฑสถ�นหญิงธนบุรี 02-453319 02-8953272 ต่อ 313

• เรือนจำ�พิเศษธนบุรี 02-4530321 02-4530859

• ทัณฑสถ�นบำ�บัดพิเศษกล�ง 02-5910555 02-9533453 ต่อ 119

เก้าอี้นั่งเหล็กดัด

เรือนจ�าพิเศษกรุงเทพมหานคร

วารสารราชทั ณ ฑ 99

1 ป (3 ฉบับ) 100 บาท วารสารที่ให้คุณได้เป็นต่อเหนือใคร ด้วยเนื้อหา สาระความรู้ ในงานราชทัณฑ์ ที่สามารถน�าไปใช้ในการปฏิบัติงานเรือนจ�าได้จริง

ใบสมัครสมาชิกวารสารราชทัณฑ ปที่ 66-67 ประจําป พ.ศ. 2561-62 £ สมัครสมาชิกใหม £

ตออายุสมาชิกวารสารราชทัณฑ ป พ.ศ. 2560

ขาพเจา (นาย/นาง/นางสาว) ............................................................................................................................................... สถานที่ทํางาน/ที่อยู ................................................................................................................................................................ ...................................................................................................................................................................................................... เบอรติดตอ .................................................................................................................................................................................. ขาพเจาขอสมัครเปนสมาชิกวารสารราชทัณฑ ปที่ 66-67 ประจําป พ.ศ. 2561-2562 (จํานวน 3 ฉบับ) สําหรับ สมาชิกสังกัดกรมราชทัณฑ สงเงินคาสมัครสมาชิกโดยสงธนาณัติเงิน จํานวน 100.- บาท (หนึ่งรอยบาทถวน) สั่งจาย ป.ณ. สวนใหญ ในนามบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ สถาบันพัฒนาขาราชการราชทัณฑ 67/16 ถนนนนทบุรี 1 ตําบลสวนใหญ อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท 02-5269014 ชําระเงินสด จํานวน 100.- บาท (หนึ่งรอยบาทถวน) โดยตรงที่ฝายบริหารทั่วไป สถาบันพัฒนาขาราชการราชทัณฑ สําหรับ สมาชิกที่เปนบุคคลทั่วไป สงเงินคาสมัครสมาชิกโดยสงธนาณัติเงิน จํานวน 160.- บาท (หนึ่งรอยหกสิบบาทถวน) สั่งจาย ป.ณ.สวนใหญ ในนามบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ สถาบันพัฒนาขาราชการราชทัณฑ 67/16 ถนนนนทบุรี 1 ตําบลสวนใหญ อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท 02-5269014 ชําระเงินสด จํานวน 160.- บาท (หนึ่งรอยหกสิบบาทถวน) โดยตรงที่ฝายบริหารทั่วไป สถาบันพัฒนาขาราชการราชทัณฑ หมายเหตุ : สมาชิกยายที่อยู/ที่ทํางาน โปรดแจงมายัง กองบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ สถาบันพัฒนาขาราชการราชทัณฑ 67/16 ถนนนนทบุรี 1 ตําบลสวนใหญ อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท 02-5269014 เพือ่ ทีก่ องบรรณาธิการวารสารราชทัณฑจะไดดาํ เนินการจัดสงวารสารราชทัณฑ ใหทา นไดอยางถูกตอง

100 วารสารราชทั ณ ฑ

สําหรับเจาหนาที่ ลงทะเบียนแลว เลมที่............................ เลขที่ใบเสร็จ..............

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.